ในที่สุดความพยายามผลักดันกฎหมายาคุ้มครองสัตว์เลี้ยงของกลุ่มคนรักสัตว์ก็ประสบความสำเร็จ หลังจากรอคอยกันมากว่า 15 ปี ตอนนี้รอเพียงการลงราชกิจจานุเบกษาเท่านั้น
กฎหมายฉบับนี้จะช่วยให้บ้านเรามีกฎหมายที่ชัดเจนขึ้นในการดูแลสัตว์เลี้ยง ใครทิ้งขวาง ทารุณ ทำร้ายสัตว์เลี้ยงของตัวเองโทษหนักถึงติดคุก
การทารุณกรรมสัตว์เลี้ยงเกิดขึ้นมานาน ยิ่งระยะหลังๆ มีการเผยแพร่ภาพสัตว์ถูกทารุณ จนผู้พบเห็นทนไม่ได้ อย่างกรณีของ "เจ้าเดียร์" สุนัขวัย 6 ปี ถูกเจ้าของนำไม้ฟาดหัว จนสมองบวม ตอบสนองช้า ติดเชื้อลุกลามจนกลายเป็นมะเร็ง
นักอนุรักษ์สัตว์ที่สมาคมพิทักษ์สัตว์ไทย บอกว่ากรณีของ "เจ้าเดียร์" เป็นเพียงหนึ่งตัวอย่างเท่านั้น ยังมีสัตว์อีกจำนวนมากถูกเจ้าของทอดทิ้ง ทารุณจนร่างกายพิการ จิตใจย่ำแย่ ยิ่งระยะหลังๆ มีขบวนการลักลอบค้าสัตว์ โดยเฉพาะสุนัขเพื่อนำไปขายให้กับพวกชอบเปิบพิสดารอีกด้วย
ตามหลักสากลนิยามคำว่าทารุณสัตว์ไว้ 5 ประเภท คือ ความหิวกระหาย ความไม่สะดวกสบาย ความเครียด ความเจ็บปวด และทำให้เกิดอันตราย ซึ่งทุกการกระทำนี้ถูกบรรจุรวมความไว้ในร่างพระราชบัญญัติป้องกันทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์
ดังนั้น เมื่อกฎหมายฉบับนี้ประกาศใช้อย่างเป็นทางการ พวกที่ชอบโมโหแล้วมาลงกับสัตว์เลี้ยง ทั้งเตะ เฆี่ยนตี หรือการนำสัตว์ออกขอทาน นำสัตว์พิการออกมาหารายได้ ใช้ยาหรือสารเสพติดเพื่อให้สัตว์ทำงานหนัก พรากลูกพรากแม่ การนำสัตว์ไปปล่อยไว้ตามวัดตามยถากรรม แม้แต่สวนสัตว์ที่เลี้ยงดูแลสัตว์ไม่ดี ก็ถือว่าผิดกฎหมายทั้งสิ้น
โทษของการทารุณสัตว์มีทั้งจำและปรับ โทษสูงสุดจำคุกถึง 2 ปี ปรับอีก 40,000 บาท จากเดิมมีแค่กฎหมายอาญา กำหนดไว้ใครทารุณสัตว์โดยไม่มีเหตุจำเป็น โทษสูงสุดจำคุกไม่เกิน 1 เดือน ปรับไม่เกิน 1 พันบาทแค่นั้น
กลุ่มคนรักสัตว์ต่างพอใจกับกฎหมายคุ้มครองสัตว์เลี้ยงฉบับแรกของไทย แต่ก็ยังมีข้อห่วงใย เพราะบางมาตรากฎหมายเปิดกว้างเกินไป และนิยามบางคำยังไม่ชัดเจนเท่าที่ควร เช่น กฎหมายเขียนไว้ว่า ให้ยกเว้นการฆ่าสัตว์เพื่อเป็นอาหารไม่ถือว่าผิดกฎหมาย แต่กรณีที่สุนัขถูกล่าส่งออกไปให้พวกชอบเปิดพิสดาร ผิดกฎหมายหรือไม่ต้องมาตีความกันอีก เพราะคนไทยไม่บริโภคสุนัข
หน้าที่ต่อไปของกลุ่มนักอนุรักษ์ คือจะผลักดันให้ออกกฎหมายลูก เพื่อทำให้กฎหมายคุ้มครองสัตว์เลี้ยงของไทยชัดเจน เข้มแข็งเทียบเท่ามาตรฐานสากล
การตรากฎหมายแม้จะรัดกุมมากเพียงใด แต่หากคนที่คิดจะเลี้ยงสัตว์ขาดจิตสำนึกความรับผิดชอบ เลี้ยงตามค่านิยม เลี้ยงตามความเชื่อต่างๆ ก็อย่านำสัตว์เหล่านั้นมาเลี้ยงให้เสี่ยงติดคุกเลย คนเลี้ยงสัตว์ต้องมีใจรักและความรับผิดชอบอีก 1 ชีวิตมากๆ
เครดิตข่าว
http://news.ch7.com/detail/97244
คนรักสัตว์เฮ! กฎหมายสวัสดิภาพสัตว์ฉบับแรก หลังรอคอนนานกว่า 15 ปี
ในที่สุดความพยายามผลักดันกฎหมายาคุ้มครองสัตว์เลี้ยงของกลุ่มคนรักสัตว์ก็ประสบความสำเร็จ หลังจากรอคอยกันมากว่า 15 ปี ตอนนี้รอเพียงการลงราชกิจจานุเบกษาเท่านั้น
กฎหมายฉบับนี้จะช่วยให้บ้านเรามีกฎหมายที่ชัดเจนขึ้นในการดูแลสัตว์เลี้ยง ใครทิ้งขวาง ทารุณ ทำร้ายสัตว์เลี้ยงของตัวเองโทษหนักถึงติดคุก
การทารุณกรรมสัตว์เลี้ยงเกิดขึ้นมานาน ยิ่งระยะหลังๆ มีการเผยแพร่ภาพสัตว์ถูกทารุณ จนผู้พบเห็นทนไม่ได้ อย่างกรณีของ "เจ้าเดียร์" สุนัขวัย 6 ปี ถูกเจ้าของนำไม้ฟาดหัว จนสมองบวม ตอบสนองช้า ติดเชื้อลุกลามจนกลายเป็นมะเร็ง
นักอนุรักษ์สัตว์ที่สมาคมพิทักษ์สัตว์ไทย บอกว่ากรณีของ "เจ้าเดียร์" เป็นเพียงหนึ่งตัวอย่างเท่านั้น ยังมีสัตว์อีกจำนวนมากถูกเจ้าของทอดทิ้ง ทารุณจนร่างกายพิการ จิตใจย่ำแย่ ยิ่งระยะหลังๆ มีขบวนการลักลอบค้าสัตว์ โดยเฉพาะสุนัขเพื่อนำไปขายให้กับพวกชอบเปิบพิสดารอีกด้วย
ตามหลักสากลนิยามคำว่าทารุณสัตว์ไว้ 5 ประเภท คือ ความหิวกระหาย ความไม่สะดวกสบาย ความเครียด ความเจ็บปวด และทำให้เกิดอันตราย ซึ่งทุกการกระทำนี้ถูกบรรจุรวมความไว้ในร่างพระราชบัญญัติป้องกันทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์
ดังนั้น เมื่อกฎหมายฉบับนี้ประกาศใช้อย่างเป็นทางการ พวกที่ชอบโมโหแล้วมาลงกับสัตว์เลี้ยง ทั้งเตะ เฆี่ยนตี หรือการนำสัตว์ออกขอทาน นำสัตว์พิการออกมาหารายได้ ใช้ยาหรือสารเสพติดเพื่อให้สัตว์ทำงานหนัก พรากลูกพรากแม่ การนำสัตว์ไปปล่อยไว้ตามวัดตามยถากรรม แม้แต่สวนสัตว์ที่เลี้ยงดูแลสัตว์ไม่ดี ก็ถือว่าผิดกฎหมายทั้งสิ้น
โทษของการทารุณสัตว์มีทั้งจำและปรับ โทษสูงสุดจำคุกถึง 2 ปี ปรับอีก 40,000 บาท จากเดิมมีแค่กฎหมายอาญา กำหนดไว้ใครทารุณสัตว์โดยไม่มีเหตุจำเป็น โทษสูงสุดจำคุกไม่เกิน 1 เดือน ปรับไม่เกิน 1 พันบาทแค่นั้น
กลุ่มคนรักสัตว์ต่างพอใจกับกฎหมายคุ้มครองสัตว์เลี้ยงฉบับแรกของไทย แต่ก็ยังมีข้อห่วงใย เพราะบางมาตรากฎหมายเปิดกว้างเกินไป และนิยามบางคำยังไม่ชัดเจนเท่าที่ควร เช่น กฎหมายเขียนไว้ว่า ให้ยกเว้นการฆ่าสัตว์เพื่อเป็นอาหารไม่ถือว่าผิดกฎหมาย แต่กรณีที่สุนัขถูกล่าส่งออกไปให้พวกชอบเปิดพิสดาร ผิดกฎหมายหรือไม่ต้องมาตีความกันอีก เพราะคนไทยไม่บริโภคสุนัข
หน้าที่ต่อไปของกลุ่มนักอนุรักษ์ คือจะผลักดันให้ออกกฎหมายลูก เพื่อทำให้กฎหมายคุ้มครองสัตว์เลี้ยงของไทยชัดเจน เข้มแข็งเทียบเท่ามาตรฐานสากล
การตรากฎหมายแม้จะรัดกุมมากเพียงใด แต่หากคนที่คิดจะเลี้ยงสัตว์ขาดจิตสำนึกความรับผิดชอบ เลี้ยงตามค่านิยม เลี้ยงตามความเชื่อต่างๆ ก็อย่านำสัตว์เหล่านั้นมาเลี้ยงให้เสี่ยงติดคุกเลย คนเลี้ยงสัตว์ต้องมีใจรักและความรับผิดชอบอีก 1 ชีวิตมากๆ
เครดิตข่าว http://news.ch7.com/detail/97244