ผู้สนใจสามารถดูกฏหมายนี้ ( ฉบับเต็ม ) ได้ตาม link นะครับ
--------------
http://www.lawamendment.go.th/index.php/laws-independent-entity/item/189-topic-189 อันนี้ร่างกฏหมายใหม่ ( คลิกที่รายละเอียดของร่าง )
http://www.thailandlawyercenter.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538976334&Ntype=19 อันนี้กฏหมายเก่า 2507
-------------
ไม่แน่ใจว่าผมเข้าใจถูกไหม? ว่าเอาจริงๆ เขาก็ไม่ได้ห้ามแบบที่ลือกันมาตลอดนะครับ เรื่องแยกชาย-หญิง ระดับมหา'ลัย นั่นแหละ
ผมลองสรุปข้อแตกต่างของกฏหมายเก่ากับใหม่ ได้ประมาณ 7 ข้อ ( ใครพบอีกมาเพิ่มเติมได้ครับ )
1.นายทะเบียน ( ผู้ออกใบอนุญาตตั้งหอพัก ) กฏหมายเก่าให้เป็นผู้ว่าฯ และ ผอ.สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพฯ แต่กฏหมายใหม่ให้เป็นอำนาจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2.พนักงานเจ้าหน้าที่ กฏหมายเก่าบอกแค่ว่าเป็นคนที่รัฐมนตรีแต่งตั้ง แต่กฏหมายใหม่ เพิ่มเติมผู้ว่าราชการจังหวัดเข้าไปด้วย
3.คณะกรรมการส่งเสริมกิจการหอพัก กฏหมายเก่าไม่มี กฏหมายใหม่มี และให้รัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาสังคม เป็นประธาน
4.ประเภทหอพัก กฏหมายเก่ามีแค่ 2 แบบ คือหอชายกับหอหญิง กฏหมายใหม่มี 4 แบบ คือ หอชาย หอหญิง หอของนักเรียน-นักศึกษาประจำ และหอสหศึกษา หญิงชายอยู่อาคารเดียวกันแต่แยกชั้น หรืออยู่บริเวณเดียวกันแต่คนละอาคาร
5.ผู้รับผิดชอบหอพัก กฏหมายเก่าเน้นคำว่า
"เจ้าของ" กฏหมายใหม่ใช้คำว่า "
ผู้ดำเนินกิจการ" ( ต่างกันยังไง วานนักกฏหมายมาอธิบายด้วยครับ )
6.กฏระเบียบหอพัก กฏหมายใหม่ห้ามเล่นพนัน เสพยาเสพติดและดื่มเครื่องดื่มมึนเมา รวมทั้งต้องมีรายชื่อผู้ดำเนินกิจการหอพักด้วย
7.สิทธิประโยชน์ กฏหมายใหม่ส่งเสริมให้ผู้ลงทุน สนใจดำเนินการหอพักแบบแยกชาย-หญิง มากขึ้น เพราะจะได้รับสิทธิลดหย่อนต่างๆ เช่น ภาษี ค่าบริการสาธารณูปโภค ฯลฯ
-------------
แล้วมาดูข่าวตามนี้
http://education.kapook.com/view105537.html?view=full
สังเกตที่บทเฉพาะกาลนะครับ
13.2 โดยที่ร่างพระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติห้ามผู้ใดใช้คำว่า "หอพัก" ในสถานที่ของตนโดยไม่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการหอพัก ซึ่งอาจกระทบต่อผู้ที่ใช้คำดังกล่าวอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ จึงกำหนดให้บุคคลดังกล่าวเลิกใช้คำว่า "หอพัก" ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ผมตีความว่า...เจตนารมณ์ของกฏหมายนี้ คือเขาต้องการห้ามห้องเช่าประเภทอื่นๆ ใช้คำว่า
"หอพัก" แค่นั้นเอง
สรุปไม่ต้องแตกตื่นครับ กฏหมายใหม่ต้องการแยก
"หอพัก" ออกจากห้องเช่าประเภทอื่นๆ แค่นั้นเองครับ เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับพ่อแม่ผู้ปกครองที่ห่วงใยใน
"พรหมจรรย์"ของลูกหลาน ก็เท่านั้นเอง
หุๆ
-----------------
ผมตีความถูกไหมครับ?
แล้วทุกท่านคิดเห็นยังไงกับกฏหมายใหม่นี้ครับ?
เห็นร่าง พรบ. หอพัก ( ใหม่ ) แล้วคิดเห็นยังไงกันบ้างครับ? แล้วผมตีความสาระของกฏหมายนี้ถูกไหม?
--------------
http://www.lawamendment.go.th/index.php/laws-independent-entity/item/189-topic-189 อันนี้ร่างกฏหมายใหม่ ( คลิกที่รายละเอียดของร่าง )
http://www.thailandlawyercenter.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538976334&Ntype=19 อันนี้กฏหมายเก่า 2507
-------------
ไม่แน่ใจว่าผมเข้าใจถูกไหม? ว่าเอาจริงๆ เขาก็ไม่ได้ห้ามแบบที่ลือกันมาตลอดนะครับ เรื่องแยกชาย-หญิง ระดับมหา'ลัย นั่นแหละ
ผมลองสรุปข้อแตกต่างของกฏหมายเก่ากับใหม่ ได้ประมาณ 7 ข้อ ( ใครพบอีกมาเพิ่มเติมได้ครับ )
1.นายทะเบียน ( ผู้ออกใบอนุญาตตั้งหอพัก ) กฏหมายเก่าให้เป็นผู้ว่าฯ และ ผอ.สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพฯ แต่กฏหมายใหม่ให้เป็นอำนาจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2.พนักงานเจ้าหน้าที่ กฏหมายเก่าบอกแค่ว่าเป็นคนที่รัฐมนตรีแต่งตั้ง แต่กฏหมายใหม่ เพิ่มเติมผู้ว่าราชการจังหวัดเข้าไปด้วย
3.คณะกรรมการส่งเสริมกิจการหอพัก กฏหมายเก่าไม่มี กฏหมายใหม่มี และให้รัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาสังคม เป็นประธาน
4.ประเภทหอพัก กฏหมายเก่ามีแค่ 2 แบบ คือหอชายกับหอหญิง กฏหมายใหม่มี 4 แบบ คือ หอชาย หอหญิง หอของนักเรียน-นักศึกษาประจำ และหอสหศึกษา หญิงชายอยู่อาคารเดียวกันแต่แยกชั้น หรืออยู่บริเวณเดียวกันแต่คนละอาคาร
5.ผู้รับผิดชอบหอพัก กฏหมายเก่าเน้นคำว่า "เจ้าของ" กฏหมายใหม่ใช้คำว่า "ผู้ดำเนินกิจการ" ( ต่างกันยังไง วานนักกฏหมายมาอธิบายด้วยครับ )
6.กฏระเบียบหอพัก กฏหมายใหม่ห้ามเล่นพนัน เสพยาเสพติดและดื่มเครื่องดื่มมึนเมา รวมทั้งต้องมีรายชื่อผู้ดำเนินกิจการหอพักด้วย
7.สิทธิประโยชน์ กฏหมายใหม่ส่งเสริมให้ผู้ลงทุน สนใจดำเนินการหอพักแบบแยกชาย-หญิง มากขึ้น เพราะจะได้รับสิทธิลดหย่อนต่างๆ เช่น ภาษี ค่าบริการสาธารณูปโภค ฯลฯ
-------------
แล้วมาดูข่าวตามนี้ http://education.kapook.com/view105537.html?view=full
สังเกตที่บทเฉพาะกาลนะครับ
13.2 โดยที่ร่างพระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติห้ามผู้ใดใช้คำว่า "หอพัก" ในสถานที่ของตนโดยไม่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการหอพัก ซึ่งอาจกระทบต่อผู้ที่ใช้คำดังกล่าวอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ จึงกำหนดให้บุคคลดังกล่าวเลิกใช้คำว่า "หอพัก" ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ผมตีความว่า...เจตนารมณ์ของกฏหมายนี้ คือเขาต้องการห้ามห้องเช่าประเภทอื่นๆ ใช้คำว่า "หอพัก" แค่นั้นเอง
สรุปไม่ต้องแตกตื่นครับ กฏหมายใหม่ต้องการแยก "หอพัก" ออกจากห้องเช่าประเภทอื่นๆ แค่นั้นเองครับ เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับพ่อแม่ผู้ปกครองที่ห่วงใยใน"พรหมจรรย์"ของลูกหลาน ก็เท่านั้นเอง
หุๆ
-----------------
ผมตีความถูกไหมครับ?
แล้วทุกท่านคิดเห็นยังไงกับกฏหมายใหม่นี้ครับ?