ไส้กรอก
หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเนื้อและไขมัน ผสมกับเครื่องเทศ เกลือ และเครื่องปรุงรสต่างๆ
ผ่านการบดจนเป็นเนื้อเดียวกัน นำมาบรรจุในไส้หรือแบบเพื่อให้คงรูปร่างอยู่ได้
ความแตกต่างของไส้กรอกขึ้นอยู่กับชนิดของเนื้อสัตว์ เครื่องเทศ ไส้บรรจุและวิธีการผลิต
javascript:void(0);
>>> ชนิดของไส้กรอก <<<
จัดแบ่งชนิดไส้กรอกทั่วไป
- ไส้กรอกสด ‘ fresh sausages เป็นไส้กรอกที่ได้จากการบดหรือสับเนื้อ แล้วนำมาผสมกับเครื่องปรุงต่างๆ บรรจุในไส้บรรจุชนิดแท้ เช่น ไส้กรอกอีสาน ไส้กรอกเนื้อ ไส้กรอกหมู
- ไส้กรอกสุก ‘ cooked sausages of domestic sausages ได้จากการบดเนื้อผสมกับเครื่องปรุง บรรจุในไส้แท้หรือไส้เทียม จากนั้นอาจผ่านการรมควันหรือต้มให้สุก เช่น เวียนนา แฟรงเฟอร์เตอร์ ไส้กรอกเลือด แนกเวอร์สท์
- ไส้กรอกแห้ง ‘dried sausages ทำจากเนื้อสัตว์หลายชนิด นำมาหมักและบรรจุลงไส้ ทำให้แห้งภายในสภาวะควบคุม ไส้กรอกชนิดนี้จะยังไม่สุก ก่อนทานต้องนำมาปรุงให้สุกก่อน เช่น กุนเชียง ซาลามี
จัดแบ่งชนิดของไส้กรอกโดยใช้เนื้อสัมผัสเป็นเกณฑ์
- ไส้กรอกลักษณะเนื้อหยาบ เนื้อไส้กรอกจะมีลักษณะหยาบ ไม่รวมเป็นเนื้อเดียวกัน
- ไส้กรอกบดละเอียด ส่วนผสมต่างๆ ถูกบดและสับละเอียดจนโครงสร้างระดับเส้นใยกล้ามเนื้อเปลี่ยนแปลงไป มีโปรตีนแอกทินและไมโอซินแยกออกมานอกเส้นใย ทำให้ส่วนผสมเปลี่ยนเป็นมวลเหนียว เรียกลักษณะนี้ว่าอิมัลชั่น เช่น ไส้กรอกเวียนนา แฟรงเฟอร์เตอร์ ลูกชิ้น หมูยอ
จัดแบ่งชนิดไส้กรอกตามกรรมวิธีการผลิต ( เยอรมัน )
- ไส้กรอกลวก ให้ความร้อนในการต้มไม่เกิน 75 องศาเซลเซียสและในระหว่างเกิดอิมัลชั่น ต้องมีอุณหภูมิไม่สูงกว่า 14 องศาเซลเซียส เช่น เวียนนา แฟรงเฟอร์เตอร์ วิงเกนเวอร์
- ไส้กรอกต้ม ให้ความร้อนในการต้มมากกว่า 80 องศาเซลเซียส ในระหว่างเกิดอิมัลชั่น อุณหภูมิต้องสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส เช่น ตับบด ไส้กรอกเลือด
- ไส้กรอกดิบ เป็นไส้กรอกที่บดหยาบๆ แล้วปล่อยให้เกินการหมักที่ 15-20 องศาเซลเซียส ความชื้น 70-80% เช่น ซาลามี
>>> ไส้บรรจุ <<<
** ไส้บรรจุธรรมชาติ คือไส้บรรจุที่ทำมาจากลำไส้หรือส่วนของสัตว์ ซึ่งส่วนใหญ่ได้จากลำไส้และกระเพาะของหมู โค กระบือ แพะ แกะ
** ไส้บรรจุจากหมู ทำมาจากกระเพาะ ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่และปลายลำไส้ใหญ่
** ไส้บรรจุจากโค กระบือ มาจากหลอดอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ลำไส้ขับถ่ายและกระเพาะปัสสาวะ
** ไส้บรรจุจากแพะ แกะ ใช้ส่วนของลำไส้เล็ก
ไส้ที่ได้มากจากธรรมชาติมีคุณสมบัติที่ปล่อยให้ความชื้นและควันไฟซึมเข้าภายในเนื้อไส้กรอกได้ง่ายมากและสามารถหดตัวได้ง่าย จึงทำให้ไส้รัดแนบเข้ากับเนื้อได้อย่างสนิท
>>> ไส้สังเคราะห์ คือไส้ที่ผลิตขึ้นมา มี 3 ชนิด <<<
- ไส้บรรจุเซลลูโลส ทำมาจากใยฝ้ายสั้นชนิดที่อยู่ติดกับเมล็ดฝ้าย ทำให้ไส้กรอกสามารถยืดและหดได้คล้ายๆ กับไส้ธรรมชาติ
- ไส้บรรจุคอลลาเจนชนิดบริโภคได้และบริโภคไมได้ ทำมาจากคอลลาเจนจากหนังสัตว์ ชนิดที่บริโภคได้ เช่น ไส้กรอกหมูสด และแฟรงค์เฟอร์
- ไส้พลาสติก ใช้สำหรับไส้กรอกบางชนิด เช่น ไส้กรอกหมูสดแบบขนาดโตหรือไส้กรอกตับ ไส้กรอกชนิดนี้ไม่ต้องผ่านการรมควันหรือทำให้สุก พลาสติกที่ใช้ทำเป็นชนิดที่ควันไฟไม่สามารถผ่านเข้าออกได้ นอกจากนั้นก็อาจจะใช้กับผลิตภัณฑ์ที่ต้องการนำไปต้มสุกก่อนนำออกจำหน่าย เช่น ไส้กรอกหัวหมู
>>> เครื่องปรุงแต่งที่ใช้ <<<
- เกลือโซเดียมไนไตรต์ ทำให้ไส้กรอกมีสีชมพูอมแดง ทำให้สีคงตัว ป้องกันการเกิดจุลินทรีย์ ทำให้รสชาติดีขึ้น
- ฟอสเฟต ( STPP,TSP,TKPP ) ไส้กรอกแบบอิมัลชั่นนิยมใช้ STPP กันมาก เพราะช่วยให้อิมัลชั่นคงตัว ป้องกันไม่ให้มีการสูญเสียของเหลวในเนื้อ
- เกลือ
- binders คือโปรตีนที่ได้จากพืชหรือนม ช่วยเพิ่มความสามารถในการอุ้มน้ำ
- fillers คือพวกคาร์โบไฮเดรต ที่ช่วยให้การดูดซับน้ำ
- coloring agants นิยมใช้ อังคัก พริกป่น พริกไท เบทานีน
- antioxidants ตัวที่นิยมใช้คือ กรดแอสคอร์บิก ช่วยยืดอายุในการเก็บรักษา ลดกลิ่นหืน
- preservatives ช่วยยืดอายุในการเก็บรักษา เช่น โซเดียมซัลไฟต์ โซเดียมเมตาไบซัลไฟต์
- Gum ช่วยอุ้มน้ำ ปรับเนื้อสัมผัส
- น้ำตาล
- ascorbate and crythorbate ช่วยทำปฎิกิริยากับสารไนไตรต์เกิดเป็นไนตริกออกไซด์ ช่วยให้เกิดสีแดงในไส้กรอกได้เร็วขึ้น
*** มารู้จัก " ไส้กรอก " กันเถอะ ***
หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเนื้อและไขมัน ผสมกับเครื่องเทศ เกลือ และเครื่องปรุงรสต่างๆ
ผ่านการบดจนเป็นเนื้อเดียวกัน นำมาบรรจุในไส้หรือแบบเพื่อให้คงรูปร่างอยู่ได้
ความแตกต่างของไส้กรอกขึ้นอยู่กับชนิดของเนื้อสัตว์ เครื่องเทศ ไส้บรรจุและวิธีการผลิต
javascript:void(0);
>>> ชนิดของไส้กรอก <<<
จัดแบ่งชนิดไส้กรอกทั่วไป
- ไส้กรอกสด ‘ fresh sausages เป็นไส้กรอกที่ได้จากการบดหรือสับเนื้อ แล้วนำมาผสมกับเครื่องปรุงต่างๆ บรรจุในไส้บรรจุชนิดแท้ เช่น ไส้กรอกอีสาน ไส้กรอกเนื้อ ไส้กรอกหมู
- ไส้กรอกสุก ‘ cooked sausages of domestic sausages ได้จากการบดเนื้อผสมกับเครื่องปรุง บรรจุในไส้แท้หรือไส้เทียม จากนั้นอาจผ่านการรมควันหรือต้มให้สุก เช่น เวียนนา แฟรงเฟอร์เตอร์ ไส้กรอกเลือด แนกเวอร์สท์
- ไส้กรอกแห้ง ‘dried sausages ทำจากเนื้อสัตว์หลายชนิด นำมาหมักและบรรจุลงไส้ ทำให้แห้งภายในสภาวะควบคุม ไส้กรอกชนิดนี้จะยังไม่สุก ก่อนทานต้องนำมาปรุงให้สุกก่อน เช่น กุนเชียง ซาลามี
จัดแบ่งชนิดของไส้กรอกโดยใช้เนื้อสัมผัสเป็นเกณฑ์
- ไส้กรอกลักษณะเนื้อหยาบ เนื้อไส้กรอกจะมีลักษณะหยาบ ไม่รวมเป็นเนื้อเดียวกัน
- ไส้กรอกบดละเอียด ส่วนผสมต่างๆ ถูกบดและสับละเอียดจนโครงสร้างระดับเส้นใยกล้ามเนื้อเปลี่ยนแปลงไป มีโปรตีนแอกทินและไมโอซินแยกออกมานอกเส้นใย ทำให้ส่วนผสมเปลี่ยนเป็นมวลเหนียว เรียกลักษณะนี้ว่าอิมัลชั่น เช่น ไส้กรอกเวียนนา แฟรงเฟอร์เตอร์ ลูกชิ้น หมูยอ
จัดแบ่งชนิดไส้กรอกตามกรรมวิธีการผลิต ( เยอรมัน )
- ไส้กรอกลวก ให้ความร้อนในการต้มไม่เกิน 75 องศาเซลเซียสและในระหว่างเกิดอิมัลชั่น ต้องมีอุณหภูมิไม่สูงกว่า 14 องศาเซลเซียส เช่น เวียนนา แฟรงเฟอร์เตอร์ วิงเกนเวอร์
- ไส้กรอกต้ม ให้ความร้อนในการต้มมากกว่า 80 องศาเซลเซียส ในระหว่างเกิดอิมัลชั่น อุณหภูมิต้องสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส เช่น ตับบด ไส้กรอกเลือด
- ไส้กรอกดิบ เป็นไส้กรอกที่บดหยาบๆ แล้วปล่อยให้เกินการหมักที่ 15-20 องศาเซลเซียส ความชื้น 70-80% เช่น ซาลามี
>>> ไส้บรรจุ <<<
** ไส้บรรจุธรรมชาติ คือไส้บรรจุที่ทำมาจากลำไส้หรือส่วนของสัตว์ ซึ่งส่วนใหญ่ได้จากลำไส้และกระเพาะของหมู โค กระบือ แพะ แกะ
** ไส้บรรจุจากหมู ทำมาจากกระเพาะ ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่และปลายลำไส้ใหญ่
** ไส้บรรจุจากโค กระบือ มาจากหลอดอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ลำไส้ขับถ่ายและกระเพาะปัสสาวะ
** ไส้บรรจุจากแพะ แกะ ใช้ส่วนของลำไส้เล็ก
ไส้ที่ได้มากจากธรรมชาติมีคุณสมบัติที่ปล่อยให้ความชื้นและควันไฟซึมเข้าภายในเนื้อไส้กรอกได้ง่ายมากและสามารถหดตัวได้ง่าย จึงทำให้ไส้รัดแนบเข้ากับเนื้อได้อย่างสนิท
>>> ไส้สังเคราะห์ คือไส้ที่ผลิตขึ้นมา มี 3 ชนิด <<<
- ไส้บรรจุเซลลูโลส ทำมาจากใยฝ้ายสั้นชนิดที่อยู่ติดกับเมล็ดฝ้าย ทำให้ไส้กรอกสามารถยืดและหดได้คล้ายๆ กับไส้ธรรมชาติ
- ไส้บรรจุคอลลาเจนชนิดบริโภคได้และบริโภคไมได้ ทำมาจากคอลลาเจนจากหนังสัตว์ ชนิดที่บริโภคได้ เช่น ไส้กรอกหมูสด และแฟรงค์เฟอร์
- ไส้พลาสติก ใช้สำหรับไส้กรอกบางชนิด เช่น ไส้กรอกหมูสดแบบขนาดโตหรือไส้กรอกตับ ไส้กรอกชนิดนี้ไม่ต้องผ่านการรมควันหรือทำให้สุก พลาสติกที่ใช้ทำเป็นชนิดที่ควันไฟไม่สามารถผ่านเข้าออกได้ นอกจากนั้นก็อาจจะใช้กับผลิตภัณฑ์ที่ต้องการนำไปต้มสุกก่อนนำออกจำหน่าย เช่น ไส้กรอกหัวหมู
>>> เครื่องปรุงแต่งที่ใช้ <<<
- เกลือโซเดียมไนไตรต์ ทำให้ไส้กรอกมีสีชมพูอมแดง ทำให้สีคงตัว ป้องกันการเกิดจุลินทรีย์ ทำให้รสชาติดีขึ้น
- ฟอสเฟต ( STPP,TSP,TKPP ) ไส้กรอกแบบอิมัลชั่นนิยมใช้ STPP กันมาก เพราะช่วยให้อิมัลชั่นคงตัว ป้องกันไม่ให้มีการสูญเสียของเหลวในเนื้อ
- เกลือ
- binders คือโปรตีนที่ได้จากพืชหรือนม ช่วยเพิ่มความสามารถในการอุ้มน้ำ
- fillers คือพวกคาร์โบไฮเดรต ที่ช่วยให้การดูดซับน้ำ
- coloring agants นิยมใช้ อังคัก พริกป่น พริกไท เบทานีน
- antioxidants ตัวที่นิยมใช้คือ กรดแอสคอร์บิก ช่วยยืดอายุในการเก็บรักษา ลดกลิ่นหืน
- preservatives ช่วยยืดอายุในการเก็บรักษา เช่น โซเดียมซัลไฟต์ โซเดียมเมตาไบซัลไฟต์
- Gum ช่วยอุ้มน้ำ ปรับเนื้อสัมผัส
- น้ำตาล
- ascorbate and crythorbate ช่วยทำปฎิกิริยากับสารไนไตรต์เกิดเป็นไนตริกออกไซด์ ช่วยให้เกิดสีแดงในไส้กรอกได้เร็วขึ้น