ผลจากการเตะบอล ทำให้เอ็นไขว้หน้าทั้งสองข้างขาด
หยุดเตะบอลไปหลายเดือนจนหายเจ็บ (แต่เอ็นก็ยังขาดเพราะไม่ได้ผ่าตัด)
ออกกำลังกายอย่างอื่นบ้าง ว่ายน้ำ ตีปิงปอง และตีแบดฯ
ผลคือ ทำให้หมอนรองเข่าฉีก คราวนี้มันเจ็บต่อเนื่อง ไม่หายเจ็บ เข่าล็อค เหยียดตรงสุดไม่ได้
ไปพบอาจารย์ชนินทร์ ล่ำซำ ที่โรงพยาบาลศิริราชเพื่อตัดสินใจเข้ารับการผ่าตัด
อาจารย์นัดผ่าด่วน เพราะเกรงว่าเข่าจะไม่สามารถใช้การได้เหมือนเดิมอันเนื่องมาจากหมอนรองเข่าฉีก
สิ่งที่จะทำการผ่าตัดคือ ต่อเชื่อมเอ็นไขว้หน้าที่ขาด และเย็บหมอนรองเข่าที่ฉีกขาด
ความกังวลก่อนผ่าตัดไม่มีเลย เข้าพักที่ห้องป่วยพิเศษเดี่ยวก่อนผ่าตัดหนึ่งคืน
มีวิสัญญีแพทย์และหมอผู้ช่วยมาตรวจดูอาการและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการผ่าตัด
วิสัญญีแพทย์อธิบายเรื่องการวางยาสลบและบล็อคหลัง
ถ้าวางยา จะต้องมีการใส่ท่อหายใจเข้าไปในช่องปาก อาจมีผลข้างเคียงบ้าง
ส่วนการบล็อคหลังก็จะทำให้ช่วงล่างไร้ความรู้สึกไปหลายชั่วโมง
ซึ่งทั้งสองวิธีก็คือการทำให้ไม่เจ็บปวดในระหว่างการผ่าตัด
ส่วนหมอผู้ช่วยมาคุยเรื่องวิธีการผ่าตัด โดยจะใช้การผ่าตัดส่องกล้อง
ให้ผู้ป่วยเลือกว่าจะให้เอาเส้นเอ็นบริเวณสะบ้ากับเอ็นด้านข้างที่เชื่อมจากสะโพก
ซึ่งผมเลือกให้หมอตัดเอ็นบริเวณสะบ้า ซึ่งตัดตัดออกไป 1/3 เพื่อไปเชื่อมกับเอ็นที่ขาดไป
ส่วนหมอนรองเข่าที่ฉีกขาดก็จะเย็บให้เข้าที่เข้าทาง
วันผ่าตัด สภาพจิตใจพร้อม ลั้นลาสุดชีวิต ไม่กังวลเรื่องการผ่าตัด
มีวิตกแค่เรื่องความเจ็บปวดที่จะเกิดหลังการผ่าตัดและอาการฉี่ไม่ออกจนอาจต้องทำการสวนฉี่
หลังจากให้น้ำเกลือ เข้าห้องผ่าตัด หมอทำการบล็อคหลัง นอนขดเป็นกุ้งเลย
โดยฉีดยาชาก่อน แล้วค่อยฉีดยาเข้าเส้นประสาทกลางหลัง ไม่เจ็บเพราะชาไปแล้ว
หลังจากนั้นก็เริ่มทำการผ่าตัด ได้ยินแต่เสียงคุณหมอกับเครื่องมือที่กำลังฟาดฟันบริเวณหัวเข่า
บางทีตัวก็เหมือนโดนเขย่าเพราะได้ยินเสียงตอกตึกๆๆ เสียงเหมือนเลื่อยกรีดผ่านเนื้อเข่า
แต่ไม่มีความรู้สึกเจ็บปวด ไม่รู้ว่าตัวเองอยู่ในท่าทางใดๆ ชันเข่า หรือนอนแบนราบ
ผ่านไปร่วม 3 ชั่วโมงเศษ กระบวนการดังกล่าวก็จบลง
ผมถูกนำตัวออกไปจากห้องผ่าตัดเพื่อไปพักฟื้นให้ความอบอุ่น
ร่างกายหนาวสั่นมาก น่าจะเกิดจากการเสียเลือด นอนห่มผ้าร้อนประมาณ 40 นาทีจนอุณหภูมิร่างกายเป็นปกติก็กลับสู่ห้องพักผู้ป่วย
พยาบาลคอยมาตรวจวัดความดันและเช็คอุณหภูมิร่างกายทุกๆ 1-2 ชั่วโมง
และสอบถามอาการเจ็บปวด โดยให้เรากะประมาณ 0-10 เอง
หลังจากผ่าตัด อาการชาจากการบล็อคหลังยังมีอยู่ ร่างกายเบื้องล่างไม่รู้สึกใดๆ ควบคุมอะไรไม่ได้
และที่สำคัญคือยังฉี่ไม่ได้ แต่ปวดท้องน้อยมาก เริ่มกังวลเรื่องสวนฉี่ จึงคิดหาวิธีฉี่ด้วยตนเอง
ลองขยับตัวลุกจากเตียงให้ท้องบีบรัดตัวเอง เกร็งหน้าท้อง ปรากฏว่าโอเคเลย
ฉี่ออกมาเองโดยที่เราไม่รู้ตัว ต้องใช้กระบอกฉี่มารอง รอดจากโดนสวนฉี่แล้ววววว!!!
หลังจากนั้นพอความชาของการบล็อคหลังหมดฤทธิ์
ผลข้างเคียงจากการบล็อคหลังที่โดนเพื่อนๆขู่ไว้ก่อนคือจะคัน ก็ไม่บังเกิด รอดตัวไป
ส่วนความเจ็บปวดตุ๊บๆบริเวณแผลผ่าตัดก็มีอยู่บ้าง แต่ไม่เจ็บปวดมาก ผมให้ความเจ็บปวดแค่ระดับ 3 โชคดีมากๆ
ไม่ต้องฉีดมอร์ฟีน พยาบาลก็มีให้ยาแก้ปวดทางสายน้ำเกลือหรือยาเม็ดบ้าง
อาจารย์ชนินทร์มาตรวจดูอาการในวันรุ่งขึ้น เห็นอาการแล้วบอกให้กลับบ้านได้ อีก 2 สัปดาห์มาตรวจดูผลและตัดไหม
แต่บอกว่า หมอนรองเข่าที่เย็บให้นั้น ตอนนี้เหลือใช้งานเพียง 60% เซ็งเลย T^T
ตอนนี้กลับมาบ้านก็ใช้ไม้ค้ำยันในการเดิน ปวดแผลที่ผ่าตัดบ้าง ประคบเย็นอย่างสม่ำเสมอ ฝึกทำกายภาพบำบัดตามที่แพทย์แนะนำ
ท่ายากสุดๆคือ งอขาให้ได้ 90 องศา ซึ่งจะปวดตึงไปที่แผลสุดๆ ต้องค่อยเป็นค่อยไป ส่วนท่าอื่นจะเป็นลักษณะของการเหยียดขาให้ตรง
ซึ่งท่านี้ไม่มีปัญหา เหยียดตรงได้แล้ว ทั้งๆที่ก่อนผ่าตัดคือเหยียดตรงไม่ได้เพราะเข่าเริ่มล็อคแล้ว ^^
ขอให้ผู้ที่ประสบปัญหาแบบเดียวกัน อย่าได้กังวลหรือกลัวเรื่องผ่าตัด
เราต้องใช้เข่าในการดำเนินชีวิตไปอีกหลายปี
การปล่อยไว้โดยไม่รักษา มีแต่จะทำให้แย่ลงๆ หมอนรองเข่าผมฉีกขาดเพราะไม่ยอมผ่าตัดตั้งแต่แรก
ก่อนหน้าที่จะหมอนรองเข่าจะฉีกขาด ผล MRI ออกมาแค่ช้ำ
ขอให้โชคดีมากมายครับ
เข้ารับการผ่าตัดเอ็นไขว้หน้าขาดและหมอนรองเข่าฉีกแล้วผลเป็นอย่างไร
หยุดเตะบอลไปหลายเดือนจนหายเจ็บ (แต่เอ็นก็ยังขาดเพราะไม่ได้ผ่าตัด)
ออกกำลังกายอย่างอื่นบ้าง ว่ายน้ำ ตีปิงปอง และตีแบดฯ
ผลคือ ทำให้หมอนรองเข่าฉีก คราวนี้มันเจ็บต่อเนื่อง ไม่หายเจ็บ เข่าล็อค เหยียดตรงสุดไม่ได้
ไปพบอาจารย์ชนินทร์ ล่ำซำ ที่โรงพยาบาลศิริราชเพื่อตัดสินใจเข้ารับการผ่าตัด
อาจารย์นัดผ่าด่วน เพราะเกรงว่าเข่าจะไม่สามารถใช้การได้เหมือนเดิมอันเนื่องมาจากหมอนรองเข่าฉีก
สิ่งที่จะทำการผ่าตัดคือ ต่อเชื่อมเอ็นไขว้หน้าที่ขาด และเย็บหมอนรองเข่าที่ฉีกขาด
ความกังวลก่อนผ่าตัดไม่มีเลย เข้าพักที่ห้องป่วยพิเศษเดี่ยวก่อนผ่าตัดหนึ่งคืน
มีวิสัญญีแพทย์และหมอผู้ช่วยมาตรวจดูอาการและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการผ่าตัด
วิสัญญีแพทย์อธิบายเรื่องการวางยาสลบและบล็อคหลัง
ถ้าวางยา จะต้องมีการใส่ท่อหายใจเข้าไปในช่องปาก อาจมีผลข้างเคียงบ้าง
ส่วนการบล็อคหลังก็จะทำให้ช่วงล่างไร้ความรู้สึกไปหลายชั่วโมง
ซึ่งทั้งสองวิธีก็คือการทำให้ไม่เจ็บปวดในระหว่างการผ่าตัด
ส่วนหมอผู้ช่วยมาคุยเรื่องวิธีการผ่าตัด โดยจะใช้การผ่าตัดส่องกล้อง
ให้ผู้ป่วยเลือกว่าจะให้เอาเส้นเอ็นบริเวณสะบ้ากับเอ็นด้านข้างที่เชื่อมจากสะโพก
ซึ่งผมเลือกให้หมอตัดเอ็นบริเวณสะบ้า ซึ่งตัดตัดออกไป 1/3 เพื่อไปเชื่อมกับเอ็นที่ขาดไป
ส่วนหมอนรองเข่าที่ฉีกขาดก็จะเย็บให้เข้าที่เข้าทาง
วันผ่าตัด สภาพจิตใจพร้อม ลั้นลาสุดชีวิต ไม่กังวลเรื่องการผ่าตัด
มีวิตกแค่เรื่องความเจ็บปวดที่จะเกิดหลังการผ่าตัดและอาการฉี่ไม่ออกจนอาจต้องทำการสวนฉี่
หลังจากให้น้ำเกลือ เข้าห้องผ่าตัด หมอทำการบล็อคหลัง นอนขดเป็นกุ้งเลย
โดยฉีดยาชาก่อน แล้วค่อยฉีดยาเข้าเส้นประสาทกลางหลัง ไม่เจ็บเพราะชาไปแล้ว
หลังจากนั้นก็เริ่มทำการผ่าตัด ได้ยินแต่เสียงคุณหมอกับเครื่องมือที่กำลังฟาดฟันบริเวณหัวเข่า
บางทีตัวก็เหมือนโดนเขย่าเพราะได้ยินเสียงตอกตึกๆๆ เสียงเหมือนเลื่อยกรีดผ่านเนื้อเข่า
แต่ไม่มีความรู้สึกเจ็บปวด ไม่รู้ว่าตัวเองอยู่ในท่าทางใดๆ ชันเข่า หรือนอนแบนราบ
ผ่านไปร่วม 3 ชั่วโมงเศษ กระบวนการดังกล่าวก็จบลง
ผมถูกนำตัวออกไปจากห้องผ่าตัดเพื่อไปพักฟื้นให้ความอบอุ่น
ร่างกายหนาวสั่นมาก น่าจะเกิดจากการเสียเลือด นอนห่มผ้าร้อนประมาณ 40 นาทีจนอุณหภูมิร่างกายเป็นปกติก็กลับสู่ห้องพักผู้ป่วย
พยาบาลคอยมาตรวจวัดความดันและเช็คอุณหภูมิร่างกายทุกๆ 1-2 ชั่วโมง
และสอบถามอาการเจ็บปวด โดยให้เรากะประมาณ 0-10 เอง
หลังจากผ่าตัด อาการชาจากการบล็อคหลังยังมีอยู่ ร่างกายเบื้องล่างไม่รู้สึกใดๆ ควบคุมอะไรไม่ได้
และที่สำคัญคือยังฉี่ไม่ได้ แต่ปวดท้องน้อยมาก เริ่มกังวลเรื่องสวนฉี่ จึงคิดหาวิธีฉี่ด้วยตนเอง
ลองขยับตัวลุกจากเตียงให้ท้องบีบรัดตัวเอง เกร็งหน้าท้อง ปรากฏว่าโอเคเลย
ฉี่ออกมาเองโดยที่เราไม่รู้ตัว ต้องใช้กระบอกฉี่มารอง รอดจากโดนสวนฉี่แล้ววววว!!!
หลังจากนั้นพอความชาของการบล็อคหลังหมดฤทธิ์
ผลข้างเคียงจากการบล็อคหลังที่โดนเพื่อนๆขู่ไว้ก่อนคือจะคัน ก็ไม่บังเกิด รอดตัวไป
ส่วนความเจ็บปวดตุ๊บๆบริเวณแผลผ่าตัดก็มีอยู่บ้าง แต่ไม่เจ็บปวดมาก ผมให้ความเจ็บปวดแค่ระดับ 3 โชคดีมากๆ
ไม่ต้องฉีดมอร์ฟีน พยาบาลก็มีให้ยาแก้ปวดทางสายน้ำเกลือหรือยาเม็ดบ้าง
อาจารย์ชนินทร์มาตรวจดูอาการในวันรุ่งขึ้น เห็นอาการแล้วบอกให้กลับบ้านได้ อีก 2 สัปดาห์มาตรวจดูผลและตัดไหม
แต่บอกว่า หมอนรองเข่าที่เย็บให้นั้น ตอนนี้เหลือใช้งานเพียง 60% เซ็งเลย T^T
ตอนนี้กลับมาบ้านก็ใช้ไม้ค้ำยันในการเดิน ปวดแผลที่ผ่าตัดบ้าง ประคบเย็นอย่างสม่ำเสมอ ฝึกทำกายภาพบำบัดตามที่แพทย์แนะนำ
ท่ายากสุดๆคือ งอขาให้ได้ 90 องศา ซึ่งจะปวดตึงไปที่แผลสุดๆ ต้องค่อยเป็นค่อยไป ส่วนท่าอื่นจะเป็นลักษณะของการเหยียดขาให้ตรง
ซึ่งท่านี้ไม่มีปัญหา เหยียดตรงได้แล้ว ทั้งๆที่ก่อนผ่าตัดคือเหยียดตรงไม่ได้เพราะเข่าเริ่มล็อคแล้ว ^^
ขอให้ผู้ที่ประสบปัญหาแบบเดียวกัน อย่าได้กังวลหรือกลัวเรื่องผ่าตัด
เราต้องใช้เข่าในการดำเนินชีวิตไปอีกหลายปี
การปล่อยไว้โดยไม่รักษา มีแต่จะทำให้แย่ลงๆ หมอนรองเข่าผมฉีกขาดเพราะไม่ยอมผ่าตัดตั้งแต่แรก
ก่อนหน้าที่จะหมอนรองเข่าจะฉีกขาด ผล MRI ออกมาแค่ช้ำ
ขอให้โชคดีมากมายครับ