ถ้าวัตถุเคลื่อนที่เร็วกว่าแสงแล้ว มวลจะมากขึ้นจริงหรือ

เห็นมีคนบอกว่าในจักรวาลสสารเคลื่อนที่ได้ความเร็วสูงสุดเท่ากับแสง ถ้าเคลื่อนที่มากกว่าแสงแล้วมวลจะมากขึ้น
    
อย่างเช่น หากเราอยู่เฉยๆแล้ววัตถุอันหนึ่งเคลื่อนที่เร็วเท่าแสงมวลจะยังเท่าเดิมใช่ไหม
            
            แล้วถ้าเราวิ่งสวนทางกับวัตถุนั้น จากที่เราเป็นผู้สังเกต แสดงว่าวัตถุนั้นเคลื่อนที่เร็วกว่าแสงใช่ไหม แล้วมวลจะมากขึ้นไหม
            
            แล้วเครื่องเร่งอนุภาค LHC เห็นว่าเร่งอนุภาคเข้าใกล้ความเร็วแสง ถ้ายิงสวนทางกัน มวลของสสารจะไม่เพิ่มขึ้นมากๆเลยเหรอ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
คำถามคุณมีสองส่วนครับ
-มวลเพิ่มขึ้นตามความเร็ว
-การรวมความเร็ว

ว่ากันทีละอัน ถ้าอ่านสมการเป็น วิธีที่ดีที่สุดคือดูสมการครับ

M = m / sqrt(1 - v^2/c^2)

M คือ มวลรวม (จากผลของความเร็ว)
m คือ มวลขณะหยุดนิ่ง (v = 0)
v คือ ความเร็วของมวล
c คือ ความเร็วแสง

ทำไมความเร็วเท่าแสงไม่ได้?
ความเร็วเท่าแสงจะทำให้ตัวหารของฝั่งขวาเป็นศูนย์
ทางเดียวที่สมการจะเป็นจริงได้คือ m ต้องเท่ากับศูนย์ด้วย (ตัวหารเป็นศูนย์ไม่ได้ ยกเว้นตัวตั้งเป็นศูนย์ด้วย)
ซึ่งสิ่งที่มวลนิ่งเท่ากับศูนย์ก็คือแสงนั่นเอง แปลว่าไม่มีอะไรมีความเร็วเท่าแสงได้นอกจากแสง (เพราะอย่างอื่นมวลนิ่งไม่เท่ากับศูนย์)
หรือถ้าลองเอาแนวคิดเรื่องแรงไปจับ ความเร็วจะเพิ่มขึ้นแปลว่ามีความเร่ง มีความเร่งแปลว่ามีแรงกระทำ ปัญหาคือมวลดันเพิ่มขึ้นตามความเร็ว แรงที่จะไปเร่งก็ยิ่งต้องใช้มากขึ้น กลายเป็นวงจรอุบาทว์ ยิ่งเร่งยิ่งหนัก มวลยิ่งมากยิ่งต้องการแรงมาก

(จริงๆ แล้วผมเข้าใจว่าบางส่วนจะมองว่ามวลมีค่าเดียว มวลที่ดูเหมือนเพิ่มเป็นเรื่องของโมเมนตัม แต่อันนั้นเป็นอีกมุมหนึ่ง)

จากสมการข้างบนจะเห็นว่าไม่ใช่ความเร็วเหนือแสงมวลถึงจะเพิ่ม แต่มวลเพิ่มทันทีที่มีความเร็ว
เพียงแต่ว่าที่ความเร็วต่ำกว่าแสงมวลสองค่ายังต่างกันไม่มาก เราถึงไม่ค่อยเห็นผลของมัน
(ลองคิดความเร็ว 50% ของความเร็วแสง ซึ่งถือว่าเร็วมากแล้ว จะได้ว่ามวลเพิ่มขึ้นแค่ 15% ของมวลนิ่ง)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่