การนำเข้าสินค้าจากประเทศจีน มีหลักๆอยู่ สอง วิธีที่ใช้กันทั่วไป คือ
1. นำเข้าสินค้าด้วยบริษัทของเราเอง (นิติบุคคล) เหมาะสำหรับผู้ที่นำเข้าในปริมานเยอะ หรือเต็มตู้คอนเทนเนอร์
2. นำเข้าโดยผ่านบริษัทรับขนส่งสินค้าต่างๆ ซึ่งหาได้ทาง อินเตอร์เน็ตทั่วไป การขนส่งแบบนี้เหมาะสำหรับผู้ที่นำเข้าสินค้าปริมาณไม่เยอะ
#การนำเข้าแบบที่ 1 คือ การนำเข้าสินค้าด้วยบริษัทของเราเอง
สิ่งที่เราต้องใช้ในการนำเข้าคือ
-บริษัทที่จะใช้เป็นผู้นำเข้า และผู้รับสินค้า
-ใบอนุญาตนำเข้า ซึ่งทางกรมศุลกากรเป็นผู้ออกให้
ขั้นตอนการนำเข้า
1. เราจะต้องติดต่อหาบริษัท เรือ หรือ Freight Forwarder เพื่อเป็นผู้จัดการด้านการขนส่งสินค้าให้เรา
2. บริษัทFreight Forwarder และเราจะต้องตรวจสอบภาษีนำเข้าเพื่อความถูกต้องของรหัส และอัตตราภาษี และอย่าลืมตรวจสอบสินค้านั้นว่าเป็นสินค้าควบคุมหรือไม่ มีหลักเกณฑ์ในการนำเข้ายังไง
3. บริษัทตัวแทนนำเข้า และเราจะต้องตรวจสอบเอกสารนำเข้าอย่างละเอียดเพื่อความถูกต้อง
4. เริ่มขนส่งจากต้นทาง ถึง ปลายทาง
5. เราต้องติดต่อหา Custom Broker หรือตัวแทนออกของศุลกากร หรือทางFreight Forwarder จัดการให้เรา
6. จัดส่งถึงปลายทางผู้รับ
สิ่งแรกเมื่อเราติดต่อกับทางโรงงานหรือร้านค้า เราจะต้องตกลงเงื่อนไขในการขนส่งสินค้าด้วยในตอนขอใบเสนอราคา
หรือที่เราเคยได้ยินกันก็คือ ราคา ** FOB, CIF, CNF
เงื่อนไขการขนส่งสินค้านั้นจะถูกเรียกว่า International Commercial Terms หรือ เรียกสั้นๆว่า INCO TERMS
INCO TERMS เป็นข้อกําหนดสากลในการส่งมอบสินค้า หรือเงื่อนไขการส่งมอบสินค้า ระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย ซึ่งกําหนดขึ้นโดยสภาหอการค้านานาชาติ เพื่อให้คู่ค้า ทราบถึงขอบเขตความรับผิดชอบ ภาระค่าใช้จ่าย และความเสี่ยงต่างๆโดยช่วยให้ทั้งสองฝ่ายให้มีความเข้าใจตรงกัน
ปัจจุบันเราใช้ INCO TERMS ของปี 2010
Inco terms ปี 2010 มีทั้งหมด 11 รูปแบบ แต่ประเทศจีนเราจะใช้ FOB, CNF, และ CIF เป็นส่วนใหญ่
**FOB หรือ ที่เรียกกันเต็มๆว่า Free on Board
ทางโรงงานจะเป็นผู้จัดการด้านขนส่ง ภาระค่าใช้จ่ายจากโรงงานจนถึงที่ท่าเรือที่ได้ทำข้อตกลงกับทางผู้ซื้อไว้ หลังจากที่ผู้ขายได้ส่งสินค้าข้ามขึ้นกาบเรือไปเรียบร้อยแล้วจะถือว่าทางโรงงานได้หมดภาระจากทางสินค้าแล้ว หลังจากนั้นภาระค่าใช้จ่ายต่างๆ ประกันสินค้า ความเสี่ยง ระหว่างการเดินทางจะตกอยู่กับทางผู้ซื้อทั้งหมด
CNF คือ Cost And Freight
การขนส่งประเภทนี้จะมีผู้ขายเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทุกอย่างตั้งแต่ท่าเรือต้นทางจนถึงท่าเรือปลายทางเท่านั้น เพียงแต่ ค่าประกันภัย ทางผู้ซื้อจะเป็นคนจ่ายเอง
CIF คือ Cost Insurance Freight
การขนส่งประเภทนี้เหมือนกับ CNF เพียงแต่ทางโรงงานจะรับผิดชอบค่าประกันสินค้าด้วย
เอกสารหลักที่ต้องใช้เมื่อนำเข้าสินค้า
1. BL (ทางสายเรือจะป็นผู้ออกให้)BIll of landing เป็นเอกสารสำรับใช้รับสินค้า
2. INVOICE เป็น เอกสารที่เราทำการตกลงซื้อขายที่ระบุชนิดสินค้า จำนวน และมูลค่า
3. PACKING LIST เป็นเอกสารที่ระบุว่าสินค้าของเรา บรรจุแบบไหน มีทั้งหมดกี่กล่อง แล้วในแต่ละกล่องมีอะไรบ้าง
4. C/O certificate of origin FORM E (ถ้าเกิดว่ามีเอกสารนี้ จะสามารถขอลดหย่อนภาษีลงหรือยกเว้นภาษี อย่างไรก็ตามสินค้าบางชนิดภาษีนำเข้าอาจจะยังเท่าเดิม)
5. เอกสารพิเศษที่ทางกรมการค้าต่างประเทศ หรือศุลกากรบังคับ เช่นเอกสารมาตรฐานสินค้า เอกสารแสดงการรับรองสินค้าไม่มีสารประกอบต้องห้ามเกินปริมานที่กำหนด
การตรวจสอบภาษีนำเข้า
สินค้าทุกชนิดจะถูกกำหนดรหัสไว้เป็นมาตรฐานสากลเพื่อตรวจสอบภาษีอากร ซึ่งเราจะเรียกรหัสนั้นว่า HS CODE หรือ Harmonize code ปัจจุบันใช้ของปี 2012
เราสามารถค้นหารหัสสินค้า และอัตตราภาษีอากรขาเข้าได้ที่ เว็บไซต์ของกรมศุลกากร
http://igtf.customs.go.th/igtf/th/main_frame.jsp
การตรวจสอบสินค้าควบคุมหรือไม่
เราสามารถตรวจสอบได้ที่กรมการค้าต่างประเทศ ตามช่องทางนี้ได้เลย
http://www.dft.go.th/Default.aspx?tabid=101
สายด่วนกรมการค้าต่างประเทศ 1385 หรือ 02-5474771-86
ค่าใช้จ่ายในการนำเข้า
1.ค่าภาษีนำเข้า + ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%
2.ค่ารับ D/O = delivery order
3.ค่าภาระท่าเรือ
4.ค่ารถ
5.ค่าธรรมเนียมศุลกากร
-ใบอนุญาติ
-ค่าล่วงเวลา
-ค่าคืนตู้
การคำนวนต้นทุนค่าใช้จ่าย
-ค่าสินค้า+ค่าขนส่งระหว่างประเทศ+(ภาษีนำเข้า)+ภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT 7%
-ค่า custom clearance
-ค่าขนส่งภายในประเทศ
# การนำเข้าแบบที่ 2 คือ การใช้บริการบริษัทขนส่งต่างๆ เหมาะสำหรับผู้ที่นำเข้าสินค้าปริมานไม่เยอะ
การนำเข้าโดยบริษัทขนส่งต่างๆมีข้อดีคือ
สะดวก และง่าย ไม่ต้องมีบริษัท เหมาะสำหรับผู้ที่เริ่มนำเข้าสินค้ามาจำหน่าย
เพียงแค่ผู้ซื้อสั่งของจากโรงงาน หรือทางร้านขาย และให้จัดส่งของเข้าโกดังของบริษัทขนส่งนั้นๆ เพียงแค่นั้นบริษัทขนส่งก็จะส่งของให้ถึงผู้รับได้โดยที่ไม่ต้องเตรียมเอกสารอะไรเลย
(ค่าใช้จ่ายที่บริษัทขนส่งจะเสนอ จะรวมค่าภาษีทุกอย่างแล้ว)
ค่าขนส่งทางเรือ จะอยู่ที่ประมาณ
กิโลละ 45-70 (4500-7000ต่อคิว) บาท
ค่าขนส่งทางรถ จะอยู่ที่ประมาณ
กิโลละ 65-100(6500-10000ต่อคิว) บาท
ระยะเวลาการขนส่งทางรถ ประมาน 5-10วันโดยทั่วไป
ระยะเวลาการขนส่งทางเรือ ประมาน 10-20วัน
(ราคานี้ขึ้นอยู่กับว่าส่งสินค้าอะไร ขนาดเท่าไร สามารถต่อราคาได้ตามความเหมาะสม)
สำหรับการส่งประเภทนี้โดยส่วนมากแล้วทางขนส่งจะรับแค่เพียงขนส่งอย่างเดียวโดยที่ทางโรงงาน หรือร้านค้าจะแพ็คสินค้าเองและส่งไปยังโกดังของบริษัท หลังจากสินค้าถึงโกดังขนส่งจะมีการแกะสินค้าดูว่าสินค้านั้นๆเป็นอะไรและแพ็คให้เราใหม่(บางที่ก็แพ็คกลับดีบางที่ก็ไม่ดี)
ถ้ากรณีที่สินค้าของลูกค้าเป็นสินค้ที่เสียหายง่าย เราควรจะต้องกำชับกับทางโรงงานหรือรร้านค้าให้ระวังเรื่องการแพ็คให้ดีขึ้นแข็งแรงขึ้น ถ้าเกิดความเสียหาย ทางขนส่งจะรับผิดชอบแค่ส่วนหนึ่ง โดยทั่วไปประมาน ไม่เกิน3เท่าของค่าส่งสินค้า
สินค้าที่บริษัทขนส่งส่วนใหญ่ไม่รับขนส่ง คือ
-สินค้าติด มอก. เครื่องใช้ไฟฟ้ามียี่ห้อ
-อาหาร
-ของเหลว เช่นน้ำ (บางขนส่งรับ แต่ส่วนใหญ่ไม่ค่อยรับ)
-แบตเตอรี่
-ของแบรนด์เนม (บางขนส่งรับ แต่ราคา ค่าขนส่งจะสูงขึ้น)
ถ้าการนำเข้าผ่านบริษัทขนส่งสะดวกขนาดนี้ ทำไมเราถึงยังต้องขนส่งด้วยเราเอง
1. สินค้าเราจะไม่ปะปนกับของคนอื่น ลดความเสี่ยงเรื่องสินค้าสูญหาย และชำรุดได้
2. ถ้านำเข้าเต็มตู้คอนเทนเนอร์ ราคาที่เรานำเข้าด้วยบริษัทเราเองจะถูกกว่าในระดับนึง
3. เรามีเอกสาร และหลักฐานการนำเข้าครบถ้วน
*ด้วยกฏหมายของประเทศจีน และข้อมูลต่างๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ข้อมูลบางส่วนอาจผิดพลาดได้ จึงขออภัยมา ณ ที่นี้
บทความข้อมูลจาก BLOG
http://www.bkt-asiantrading.com/blog/c903#!blog/c903
บทความน่าสนใจเกี่ยวกับ วิธีการนำเข้าสินค้าจากประเทศจีน
1. นำเข้าสินค้าด้วยบริษัทของเราเอง (นิติบุคคล) เหมาะสำหรับผู้ที่นำเข้าในปริมานเยอะ หรือเต็มตู้คอนเทนเนอร์
2. นำเข้าโดยผ่านบริษัทรับขนส่งสินค้าต่างๆ ซึ่งหาได้ทาง อินเตอร์เน็ตทั่วไป การขนส่งแบบนี้เหมาะสำหรับผู้ที่นำเข้าสินค้าปริมาณไม่เยอะ
#การนำเข้าแบบที่ 1 คือ การนำเข้าสินค้าด้วยบริษัทของเราเอง
สิ่งที่เราต้องใช้ในการนำเข้าคือ
-บริษัทที่จะใช้เป็นผู้นำเข้า และผู้รับสินค้า
-ใบอนุญาตนำเข้า ซึ่งทางกรมศุลกากรเป็นผู้ออกให้
ขั้นตอนการนำเข้า
1. เราจะต้องติดต่อหาบริษัท เรือ หรือ Freight Forwarder เพื่อเป็นผู้จัดการด้านการขนส่งสินค้าให้เรา
2. บริษัทFreight Forwarder และเราจะต้องตรวจสอบภาษีนำเข้าเพื่อความถูกต้องของรหัส และอัตตราภาษี และอย่าลืมตรวจสอบสินค้านั้นว่าเป็นสินค้าควบคุมหรือไม่ มีหลักเกณฑ์ในการนำเข้ายังไง
3. บริษัทตัวแทนนำเข้า และเราจะต้องตรวจสอบเอกสารนำเข้าอย่างละเอียดเพื่อความถูกต้อง
4. เริ่มขนส่งจากต้นทาง ถึง ปลายทาง
5. เราต้องติดต่อหา Custom Broker หรือตัวแทนออกของศุลกากร หรือทางFreight Forwarder จัดการให้เรา
6. จัดส่งถึงปลายทางผู้รับ
สิ่งแรกเมื่อเราติดต่อกับทางโรงงานหรือร้านค้า เราจะต้องตกลงเงื่อนไขในการขนส่งสินค้าด้วยในตอนขอใบเสนอราคา
หรือที่เราเคยได้ยินกันก็คือ ราคา ** FOB, CIF, CNF
เงื่อนไขการขนส่งสินค้านั้นจะถูกเรียกว่า International Commercial Terms หรือ เรียกสั้นๆว่า INCO TERMS
INCO TERMS เป็นข้อกําหนดสากลในการส่งมอบสินค้า หรือเงื่อนไขการส่งมอบสินค้า ระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย ซึ่งกําหนดขึ้นโดยสภาหอการค้านานาชาติ เพื่อให้คู่ค้า ทราบถึงขอบเขตความรับผิดชอบ ภาระค่าใช้จ่าย และความเสี่ยงต่างๆโดยช่วยให้ทั้งสองฝ่ายให้มีความเข้าใจตรงกัน
ปัจจุบันเราใช้ INCO TERMS ของปี 2010
Inco terms ปี 2010 มีทั้งหมด 11 รูปแบบ แต่ประเทศจีนเราจะใช้ FOB, CNF, และ CIF เป็นส่วนใหญ่
**FOB หรือ ที่เรียกกันเต็มๆว่า Free on Board
ทางโรงงานจะเป็นผู้จัดการด้านขนส่ง ภาระค่าใช้จ่ายจากโรงงานจนถึงที่ท่าเรือที่ได้ทำข้อตกลงกับทางผู้ซื้อไว้ หลังจากที่ผู้ขายได้ส่งสินค้าข้ามขึ้นกาบเรือไปเรียบร้อยแล้วจะถือว่าทางโรงงานได้หมดภาระจากทางสินค้าแล้ว หลังจากนั้นภาระค่าใช้จ่ายต่างๆ ประกันสินค้า ความเสี่ยง ระหว่างการเดินทางจะตกอยู่กับทางผู้ซื้อทั้งหมด
CNF คือ Cost And Freight
การขนส่งประเภทนี้จะมีผู้ขายเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทุกอย่างตั้งแต่ท่าเรือต้นทางจนถึงท่าเรือปลายทางเท่านั้น เพียงแต่ ค่าประกันภัย ทางผู้ซื้อจะเป็นคนจ่ายเอง
CIF คือ Cost Insurance Freight
การขนส่งประเภทนี้เหมือนกับ CNF เพียงแต่ทางโรงงานจะรับผิดชอบค่าประกันสินค้าด้วย
เอกสารหลักที่ต้องใช้เมื่อนำเข้าสินค้า
1. BL (ทางสายเรือจะป็นผู้ออกให้)BIll of landing เป็นเอกสารสำรับใช้รับสินค้า
2. INVOICE เป็น เอกสารที่เราทำการตกลงซื้อขายที่ระบุชนิดสินค้า จำนวน และมูลค่า
3. PACKING LIST เป็นเอกสารที่ระบุว่าสินค้าของเรา บรรจุแบบไหน มีทั้งหมดกี่กล่อง แล้วในแต่ละกล่องมีอะไรบ้าง
4. C/O certificate of origin FORM E (ถ้าเกิดว่ามีเอกสารนี้ จะสามารถขอลดหย่อนภาษีลงหรือยกเว้นภาษี อย่างไรก็ตามสินค้าบางชนิดภาษีนำเข้าอาจจะยังเท่าเดิม)
5. เอกสารพิเศษที่ทางกรมการค้าต่างประเทศ หรือศุลกากรบังคับ เช่นเอกสารมาตรฐานสินค้า เอกสารแสดงการรับรองสินค้าไม่มีสารประกอบต้องห้ามเกินปริมานที่กำหนด
การตรวจสอบภาษีนำเข้า
สินค้าทุกชนิดจะถูกกำหนดรหัสไว้เป็นมาตรฐานสากลเพื่อตรวจสอบภาษีอากร ซึ่งเราจะเรียกรหัสนั้นว่า HS CODE หรือ Harmonize code ปัจจุบันใช้ของปี 2012
เราสามารถค้นหารหัสสินค้า และอัตตราภาษีอากรขาเข้าได้ที่ เว็บไซต์ของกรมศุลกากร
http://igtf.customs.go.th/igtf/th/main_frame.jsp
การตรวจสอบสินค้าควบคุมหรือไม่
เราสามารถตรวจสอบได้ที่กรมการค้าต่างประเทศ ตามช่องทางนี้ได้เลย
http://www.dft.go.th/Default.aspx?tabid=101
สายด่วนกรมการค้าต่างประเทศ 1385 หรือ 02-5474771-86
ค่าใช้จ่ายในการนำเข้า
1.ค่าภาษีนำเข้า + ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%
2.ค่ารับ D/O = delivery order
3.ค่าภาระท่าเรือ
4.ค่ารถ
5.ค่าธรรมเนียมศุลกากร
-ใบอนุญาติ
-ค่าล่วงเวลา
-ค่าคืนตู้
การคำนวนต้นทุนค่าใช้จ่าย
-ค่าสินค้า+ค่าขนส่งระหว่างประเทศ+(ภาษีนำเข้า)+ภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT 7%
-ค่า custom clearance
-ค่าขนส่งภายในประเทศ
# การนำเข้าแบบที่ 2 คือ การใช้บริการบริษัทขนส่งต่างๆ เหมาะสำหรับผู้ที่นำเข้าสินค้าปริมานไม่เยอะ
การนำเข้าโดยบริษัทขนส่งต่างๆมีข้อดีคือ
สะดวก และง่าย ไม่ต้องมีบริษัท เหมาะสำหรับผู้ที่เริ่มนำเข้าสินค้ามาจำหน่าย
เพียงแค่ผู้ซื้อสั่งของจากโรงงาน หรือทางร้านขาย และให้จัดส่งของเข้าโกดังของบริษัทขนส่งนั้นๆ เพียงแค่นั้นบริษัทขนส่งก็จะส่งของให้ถึงผู้รับได้โดยที่ไม่ต้องเตรียมเอกสารอะไรเลย
(ค่าใช้จ่ายที่บริษัทขนส่งจะเสนอ จะรวมค่าภาษีทุกอย่างแล้ว)
ค่าขนส่งทางเรือ จะอยู่ที่ประมาณ
กิโลละ 45-70 (4500-7000ต่อคิว) บาท
ค่าขนส่งทางรถ จะอยู่ที่ประมาณ
กิโลละ 65-100(6500-10000ต่อคิว) บาท
ระยะเวลาการขนส่งทางรถ ประมาน 5-10วันโดยทั่วไป
ระยะเวลาการขนส่งทางเรือ ประมาน 10-20วัน
(ราคานี้ขึ้นอยู่กับว่าส่งสินค้าอะไร ขนาดเท่าไร สามารถต่อราคาได้ตามความเหมาะสม)
สำหรับการส่งประเภทนี้โดยส่วนมากแล้วทางขนส่งจะรับแค่เพียงขนส่งอย่างเดียวโดยที่ทางโรงงาน หรือร้านค้าจะแพ็คสินค้าเองและส่งไปยังโกดังของบริษัท หลังจากสินค้าถึงโกดังขนส่งจะมีการแกะสินค้าดูว่าสินค้านั้นๆเป็นอะไรและแพ็คให้เราใหม่(บางที่ก็แพ็คกลับดีบางที่ก็ไม่ดี)
ถ้ากรณีที่สินค้าของลูกค้าเป็นสินค้ที่เสียหายง่าย เราควรจะต้องกำชับกับทางโรงงานหรือรร้านค้าให้ระวังเรื่องการแพ็คให้ดีขึ้นแข็งแรงขึ้น ถ้าเกิดความเสียหาย ทางขนส่งจะรับผิดชอบแค่ส่วนหนึ่ง โดยทั่วไปประมาน ไม่เกิน3เท่าของค่าส่งสินค้า
สินค้าที่บริษัทขนส่งส่วนใหญ่ไม่รับขนส่ง คือ
-สินค้าติด มอก. เครื่องใช้ไฟฟ้ามียี่ห้อ
-อาหาร
-ของเหลว เช่นน้ำ (บางขนส่งรับ แต่ส่วนใหญ่ไม่ค่อยรับ)
-แบตเตอรี่
-ของแบรนด์เนม (บางขนส่งรับ แต่ราคา ค่าขนส่งจะสูงขึ้น)
ถ้าการนำเข้าผ่านบริษัทขนส่งสะดวกขนาดนี้ ทำไมเราถึงยังต้องขนส่งด้วยเราเอง
1. สินค้าเราจะไม่ปะปนกับของคนอื่น ลดความเสี่ยงเรื่องสินค้าสูญหาย และชำรุดได้
2. ถ้านำเข้าเต็มตู้คอนเทนเนอร์ ราคาที่เรานำเข้าด้วยบริษัทเราเองจะถูกกว่าในระดับนึง
3. เรามีเอกสาร และหลักฐานการนำเข้าครบถ้วน
*ด้วยกฏหมายของประเทศจีน และข้อมูลต่างๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ข้อมูลบางส่วนอาจผิดพลาดได้ จึงขออภัยมา ณ ที่นี้
บทความข้อมูลจาก BLOGhttp://www.bkt-asiantrading.com/blog/c903#!blog/c903