สวัสดีชาว Pantip ครับ วันนี้ผมตัดสินใจเขียนกระทู้เกี่ยวกับเรื่องทางตัดผ่านรถไฟ หลังจากที่เขียนกระทู้เกี่ยวกับขนาดความกว้างทางรถไฟไปแล้ว ดันเป็นกระทู้แนะนำแบบงงๆ จุดประสงค์คือเพื่อให้ทุกคนที่อ่านมีความเข้าใจที่ถูกต้อง
เพราะช่วงที่ผ่านมานั้น เท่าที่สังเกตว่าจะมีข่าวรถยนต์กับรถไฟฉะกันอยู่บ่อยๆ ซึ่งก็มีทั้งรอด และ ตาย
จริงๆเรื่องแบบนี้มันเกิดขึ้นบ่อย แต่มันไม่เป็นข่าวเพราะมันไม่ค่อยมีเรื่องสยองสยด แต่พอเหตุการณ์เกิดขึ้นถี่ๆ ก็จะเป็นประเด็นเป็นข่าวขึ้นมา
และตัวทำให้ไฟติด ก็คือ “การพาดหัวข่าวของสื่อ” และ “การนำเสนอข่าวที่ไม่เข้าใจข้อเท็จจริงอย่างชัดเจน”
อยากให้ทุกคนได้ “อ่าน” ทั้งหมดทุกบรรทัดจากนี้
มันจะทำให้คุณเข้าใจถึงข้อเท็จจริง ที่เป็นเรื่องจริงๆ มากกว่าการได้รับข้อมูลซึ่งผู้เขียนไม่มีความเข้าใจ
หลังจากที่เกิดเหตุรถไฟชนรถยนต์ หรือ รถยนต์ชนรถไฟตามจุดต่างๆ
การเขียนข่าวของสื่อต่างๆ มักจะไปในทางเดียวกันคือ
“ไม่มีที่กั้น” / “รถไฟไม่ทำที่กั้น”
จนกระแสสังคมเกิดคำถามขึ้นว่า
“ต้องให้ตายอีกกี่ศพ รถไฟถึงจะเอาใจใส่”
หรือ
“ทำไมรถไฟไม่ทำที่กั้นให้ทุกที่”
เอาล่ะครับ นี่คือคำถามที่ออกมาจากสังคมเมื่อเกิดเหตุ
แต่แท้จริงแล้วนั้น “ขอบข่ายการรับผิดชอบทำไม้กั้นนั้น” ไม่ได้อยู่ที่การรถไฟทั้งหมด
เอาล่ะครับ..... อยากทราบกันแล้วใช่ไหมว่า
แล้วเรื่องที่แท้จริงนั้น เป็นอย่างไร
ผมจะนำเสนอก่อนเป็น 3 part นะครับ
Part 1 : ชนิดของทางตัด และจำนวนที่มี
Part 2 : กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และขอบเขตความรับผิดชอบในการทำทางตัดผ่าน
Part 3 : การแก้ไข และ สกู๊ปข่าวที่เป็นภาพเคลื่อนไหว
ไปพบกับ Part 1 ก่อนเลยครับ
Part 1 : ชนิดของทางตัด และจำนวนที่มี
ความหมายของทางตัด
ทางรถไฟผ่านถนนเสมอระดับ หรือ
ทางผ่านเสมอระดับ เป็นส่วนของทางรถไฟที่
ตัดผ่านถนนในแนวเสมอระดับ ไม่ยกระดับเป็นสะพานหรือลดระดับเป็นทางลอด ทางผ่านเสมอระดับที่สมบูรณ์ ด้านถนนจะต้องมีสัญญาณเตือนหยุดการจราจรทางถนน และอาจมีคาน (หรือสายลวด) กั้นเครื่องกั้น ส่วนทางรถไฟ ต้องมีสัญญาณผ่านถนนเสมอระดับหรือสัญญาณประจำที่ทำหน้าที่แจ้งพนักงานขับรถให้ทำขบวนผ่านทางผ่านนั้นได้ อย่างไรก็ตามมีทางผ่านเสมอระดับจำนวนหนึ่งที่ไม่สมบูรณ์แบบ
เครื่องกั้นถนนที่ใช้ในประเทศไทยมีทั้งแบบคานปิดเต็มถนน คานปิดครึ่งถนน สายลวดคนหมุน หรือแผงเข็น ทั้งนี้ อาจจัดให้มีสัญญาณผ่านถนนเสมอระดับทาง หรือพนักงานคอยให้สัญญาณอนุญาตด้วยก็ได้
ปัจจุบันทางตัดมีอยู่ 2,518 แห่ง แบ่งเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้
ทางตัดที่มีคานกั้นถนน 834 แห่ง
ทางตัดที่มีไฟเตือน 40 แห่ง
ทางตัดที่มีป้ายจราจรเตือน 788 แห่ง
ทางลักผ่าน 590 แห่ง
ทางตัดผ่านของเอกชน 5 แห่ง
ทางตัดที่เป็นสะพานข้าม (Overpass) 144 แห่ง
ทางตัดที่มีลอดใต้ทางรถไฟ (Underpass) 117 แห่ง
ที่มา: สำนักงานนโยบายและแผน การรถไฟแห่งประเทศไทย
(1)
จุดตัดทางรถไฟแบบต่างระดับ คือ ทางตัดผ่านทางรถไฟที่แยกการสัญจรของรถยนต์และขบวนรถไฟออกจากกันมีทั้งแบบก่อสร้างสะพานข้ามและทางลอดใต้ทางรถไฟ ซึ่งเป็นแนวทางการป้องกันอุบัติเหตุได้โดยสมบูรณ์ แต่จุดตัดทางรถไฟรูปแบบนี้ มีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง เนื่องจากการก่อสร้างทางตัดผ่านต่างระดับต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง ทำให้ต้องพิจารณาคัดเลือกจุดตัดทางรถไฟเฉพาะที่มีความจำเป็นและมีความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจและวิศวกรรมเท่านั้น
ประเภท : Overpass และ Underpass
สัญญาณเตือน : ไม่มี (เพราะไม่ตัดผ่านทางรถไฟในระดับเดียวกัน)
คานกั้น : ไม่มี (เพราะไม่ตัดผ่านทางรถไฟในระดับเดียวกัน)
จำนวน : Overpass 144 แห่ง / Underpass 117 แห่ง
สถานะ : ถูกกฎหมาย / มีการขออนุญาตตัดผ่าน
(ทางผ่านแบบ Overpass : ถนนข้ามทางรถไฟเป็นสะพาน)
(ทางผ่านแบบ Underpass : ถนนลอดใต้ทางรถไฟ)
(2)
จุดตัดทางรถไฟแบบมีเครื่องกั้น คือ ทางตัดผ่านทางรถไฟที่ติดตั้งเครื่องกั้นเพิ่มเติมจากการควบคุมด้วยเครื่องหมายจราจร รวมทั้งอาจมีสัญญาณไฟวาบเตือนเมื่อรถไฟจะวิ่งผ่าน โดยที่สัญญาณไฟวาบนี้จะมีเสียงเตือนประกอบด้วย ทางตัดผ่านประเภทนี้ส่วนใหญ่จะใช้ในบริเวณที่มีทางตัดผ่านทางรถไฟกับถนนในตัวเมืองหรือบริเวณที่มีการจราจรหนาแน่นและบนทางหลวงแผ่นดิน
เครื่องกั้นถนนอัตโนมัติมีหลักการอย่างง่าย ๆ คือ เมื่อรถไฟใกล้จะถึงทางผ่านเสมอระดับ ซึ่งใช้หลักทำงานจากการนับล้อ โดยใช้ไฟฟ้าที่ไหลอยู่ในราง เป็นตัวทำให้เครื่องกั้นส่งเสียงดังขึ้น พร้อมกับค่อย ๆ ลดคานกั้นลง เมื่อคานกั้นลงเต็มที่แล้ว เครื่องกั้นบางแห่งจะหยุดส่งเสียง แต่บางแห่งไม่หยุด พนักงานขับรถหรือช่างเครื่องบนขบวนรถ มีหน้าที่เปิดหวีด เมื่อขบวนรถผ่านพ้นทางรถไฟดีแล้ว เครื่องกั้นจึงจะหยุดสัญญาณเตือนและคานกั้นจะยกขึ้น
ส่วนกรณีเครื่องกั้นถนนแบบมีพนักงานควบคุม คือ พนักงานจะได้รับแจ้งผ่านวิทยุสื่อสาร เมื่อรถไฟใกล้ถึงจุดดังกล่าว ก็จะควบคุมคานกั้นให้ทำงาน
ประเภท : ทางตัดผ่านเสมอระดับแบบมีเครื่องกั้น
สัญญาณเตือน : ป้ายจราจร / สัญญาณไฟวาบ / เสียงสัญญาณ
คานกั้น : มี (ทั้งแบบเต็มถนน และ ครึ่งถนนกั้นเฉพาะเลนนั้นๆ)
จำนวน : 834 แห่ง (รวมทั้งแบบมีพนักงานควบคุม และ อัตโนมัติ)
สถานะ : ถูกกฎหมาย / มีการขออนุญาตตัดผ่าน
(ทางตัดแบบมีคานกั้น : พนักงานควบคุม)
(ทางตัดแบบมีคานกั้น : อัตโนมัติ)
(3)
จุดตัดทางรถไฟแบบมีไฟเตือน คือ ทางตัดผ่านรถไฟที่ได้ติดตั้งสัญญาณเตือน ไม่ว่าจะเป็นป้ายจราจร สัญญาณไฟวาบ และสัญญาณเสียง เพื่อใช้ในการเตือนผู้ขับขี่ยวดยาน แต่ไม่มีคานกั้นปิดถนน ซึ่งเป็นทางตัดที่ถูกใช้มากในต่างประเทศ (ด้วยข้อระเบียบบังคับทางจราจรสูง จึงทำให้ไม่มีปัญหาการตัดหน้ารถไฟ แม้สัญญาณเตือนทำงาน)
หลักการทำงาน คือ เมื่อรถไฟผ่านจุดที่ติดตั้ง sensor ไฟฟ้าที่ไหลอยู่ในรางจะเป็นตัวทำงานร่วมและทำให้สัญญาณไฟวาบทำงาน (หลักการเหมือนเครื่องกั้นอัตโนมัติ แต่ไม่มีคานกั้นเท่านั้น)
ประเภท : ทางตัดผ่านเสมอระดับแบบมีไฟเตือน
สัญญาณเตือน : ป้ายจราจร / สัญญาณไฟวาบ / สัญญาณเสียง
คานกั้น : ไม่มี
จำนวน : 40 แห่ง
สถานะ : ถูกกฎหมาย / มีการขออนุญาตตัดผ่าน
(ทางตัดแบบมีไฟเตือน / ไม่มีคานกั้น แต่มีสัญญาณเตือนเป็นไฟ)
(4)
จุดตัดทางรถไฟแบบควบคุมด้วยเครื่องหมายจราจร คือ ทางตัดผ่านทางรถไฟที่มีการควบคุมด้วยป้ายจราจรและเครื่องหมายจราจรบนพื้นทาง เช่น
ป้ายหยุด ป้ายเตือนรถไฟล่วงหน้า ป้ายจำกัดความเร็ว เครื่องหมายจราจรบนพื้นทาง จุดตัดทางรถไฟประเภทนี้ ส่วนใหญ่จะเหมาะกับทางตัดผ่านบนทางหลวงหรือถนนนอกเมืองที่ห่างจากชุมชน ซึ่งจำนวนยานพาหนะสัญจรไปมามีไม่มากนัก และส่วนมากเป็นยานพาหนะของผู้อาศัยอยู่ในท้องถิ่นนั้นๆ
ทางผ่านเสมอระดับมักจะมีเครื่องหมายจราจรสำหรับเตือนผู้ใช้รถใช้ถนนให้ระมัดระวังถึงรถไฟที่อาจผ่านทางผ่านนั้นได้ เครื่องหมายที่ใช้เตือนเพื่อความปลอดภัยด้านถนนจะใช้ป้ายเตือน ทรงสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนสีอำพัน มีรถจักรไอน้ำหรือรั้วกั้นบนป้ายนั้น นอกจากนี้ ยังมีสัญญาณเตือนเป็นรูปกากบาทเขียนข้อความ “ระวังรถไฟ” เพิ่มอีกด้วย ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างสัญญาณที่พบเห็นได้บ่อยบริเวณทางรถไฟผ่านถนนเสมอระดับ
(ป้ายเตือนที่ถูกติดตั้งบริเวณทางรถไฟ)
ประเภท : ทางตัดผ่านเสมอระดับแบบมีป้ายจราจร
สัญญาณเตือน : ป้ายจราจร / ป้ายลดความเร็ว / ป้ายระวังรถไฟ
คานกั้น : ไม่มี
จำนวน : 788 แห่ง
สถานะ : ถูกกฎหมาย / มีการขออนุญาตตัดผ่าน
ทางตัดประเภทนี้ จะไม่มีคานกั้น แต่มีป้ายจราจร ซึ่ง
เป็นป้ายบังคับ กำกับเอาไว้อย่างชัดเจน
ทางตัดผ่านแบบนี้จะมีค่อนข้างเยอะมากในประเทศไทย ด้วยข้อกำหนดในการตัดผ่านทางรถไฟนั้นได้ถูกระบุไว้ว่า
กรณีที่เป็นการขออนุญาตสร้างทางตัดผ่านเสมอระดับผู้ขออนุญาตต้องยอมรับเงื่อนไขตลอดจนค่าใช้จ่ายดังนี้
(๑) ผู้ขออนุญาตต้องทำสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิเหนือพื้นดินไว้กับการรถไฟแห่งประเทศไทยและต้องชำระค่าธรรมเนียมตามระเบียบของการรถไฟแห่งประเทศไทย
(๒) การสร้างทางตัดผ่านเสมอระดับในเขตที่ดินรถไฟนอกเหนือจากการสร้างทางตัดผ่านเสมอระดับส่วนที่การรถไฟแห่งประเทศไทยต้องดำเนินการเอง ผู้ขออนุญาตต้องดำเนินการสร้างด้วยทุนทรัพย์ของตนเอง ผู้ขออนุญาตต้องออกค่าใช้จ่ายในการสร้าง ปรับปรุงและบำรุงรักษาต่าง ๆ เช่น ค่าติดตั้งเครื่องกั้นถนน ค่าจ้างพนักงานกั้นถนน
ซึ่งกล่าวคือ เจ้าของผู้ตัดถนนผ่าน ไม่ว่าจะเป็น อบต. อบจ. ทางหลวง หรือ เอกชน จะต้องรับผิดชอบในการติดตั้งเครื่องกั้น หรือป้ายจราจร ป้ายเตือน ในจุดตัดดังกล่าว ในกรณีที่ขอตัดผ่านภายหลังจากที่ทางรถไฟสร้างแล้ว
(5)
ทางลักผ่าน คือ ทางตัดผ่านทางรถไฟ ที่เป็นทางเข้า-ออกประจำของเอกชนหรือผู้อยู่อาศัยบริเวณนั้นๆ ผู้ทำทางตัดผ่านอาจจะเป็นประชาชนหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล
แต่ไม่ได้มีการขออนุญาตทำทางตัดผ่านจากการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือไม่ได้รับอนุญาตจากการรถไฟแห่งประเทศไทย
จึงเป็นทางตัดผ่านที่ไม่มีการควบคุมด้านความปลอดภัย ซึ่งในปัจจุบันนี้พบว่ามีจำนวนมากและยากต่อการควบคุมให้อยู่ในมาตรฐานความปลอดภัย
ประเภท : ทางลักผ่าน
สัญญาณเตือน : ไม่มี
คานกั้น : ไม่มี
จำนวน : 590 แห่ง
สถานะ : ผิดกฎหมาย / ไม่มีการขออนุญาตตัดผ่านทางรถไฟ
วิธีสังเกตว่าอันไหนคือทางลักผ่าน อันไหนคือทางตัดแบบป้ายจราจร
ให้ดูป้ายเตือนของทางหลวง แบบนี้
ถ้าไม่มี... หรือ มีแต่เขียนด้วยมือเอง คือทางลักผ่าน
จำนวนทางตัดผ่าน (2557)
ด้วยทางสายใต้เป็นเส้นทางที่ยาวที่สุด และ มีทางแยกมากที่สุด ก็ทำให้มีจำนวนทางตัดมากที่สุดเช่นกัน โดยเฉพาะทางลักผ่าน จะเห็นได้ว่ามีมากกว่าสายอื่นแบบหลายเท่า (แค่สายกาญจนบุรี ก็แบบว่า 50 เมตร 100 เมตร มีที่นึงแล้ว) ซึ่งทางลักผ่านนั้นมีปัญหากับการเดินรถมาก เนื่องจาก ป้ายเตือนไม่มี (ทั้งของรถไฟและรถยนต์) การหยุดรถไฟนั้นยากยิ่งกว่าการหยุดรถยนต์ ยิ่งการขับรถที่วินัยดีมากกกกกก (กัดฟัน) ของคนไทย
[กระทู้สาระ] ทางตัดรถไฟกับถนน : เรื่องจริงที่หลายคน (อาจจะ) ไม่รู้
เพราะช่วงที่ผ่านมานั้น เท่าที่สังเกตว่าจะมีข่าวรถยนต์กับรถไฟฉะกันอยู่บ่อยๆ ซึ่งก็มีทั้งรอด และ ตาย
จริงๆเรื่องแบบนี้มันเกิดขึ้นบ่อย แต่มันไม่เป็นข่าวเพราะมันไม่ค่อยมีเรื่องสยองสยด แต่พอเหตุการณ์เกิดขึ้นถี่ๆ ก็จะเป็นประเด็นเป็นข่าวขึ้นมา
และตัวทำให้ไฟติด ก็คือ “การพาดหัวข่าวของสื่อ” และ “การนำเสนอข่าวที่ไม่เข้าใจข้อเท็จจริงอย่างชัดเจน”
มันจะทำให้คุณเข้าใจถึงข้อเท็จจริง ที่เป็นเรื่องจริงๆ มากกว่าการได้รับข้อมูลซึ่งผู้เขียนไม่มีความเข้าใจ
หลังจากที่เกิดเหตุรถไฟชนรถยนต์ หรือ รถยนต์ชนรถไฟตามจุดต่างๆ
การเขียนข่าวของสื่อต่างๆ มักจะไปในทางเดียวกันคือ
“ไม่มีที่กั้น” / “รถไฟไม่ทำที่กั้น”
จนกระแสสังคมเกิดคำถามขึ้นว่า
“ต้องให้ตายอีกกี่ศพ รถไฟถึงจะเอาใจใส่”
หรือ
“ทำไมรถไฟไม่ทำที่กั้นให้ทุกที่”
เอาล่ะครับ นี่คือคำถามที่ออกมาจากสังคมเมื่อเกิดเหตุ
เอาล่ะครับ..... อยากทราบกันแล้วใช่ไหมว่า
แล้วเรื่องที่แท้จริงนั้น เป็นอย่างไร
ผมจะนำเสนอก่อนเป็น 3 part นะครับ
Part 1 : ชนิดของทางตัด และจำนวนที่มี
Part 2 : กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และขอบเขตความรับผิดชอบในการทำทางตัดผ่าน
Part 3 : การแก้ไข และ สกู๊ปข่าวที่เป็นภาพเคลื่อนไหว
ไปพบกับ Part 1 ก่อนเลยครับ
ความหมายของทางตัด
ทางรถไฟผ่านถนนเสมอระดับ หรือทางผ่านเสมอระดับ เป็นส่วนของทางรถไฟที่ตัดผ่านถนนในแนวเสมอระดับ ไม่ยกระดับเป็นสะพานหรือลดระดับเป็นทางลอด ทางผ่านเสมอระดับที่สมบูรณ์ ด้านถนนจะต้องมีสัญญาณเตือนหยุดการจราจรทางถนน และอาจมีคาน (หรือสายลวด) กั้นเครื่องกั้น ส่วนทางรถไฟ ต้องมีสัญญาณผ่านถนนเสมอระดับหรือสัญญาณประจำที่ทำหน้าที่แจ้งพนักงานขับรถให้ทำขบวนผ่านทางผ่านนั้นได้ อย่างไรก็ตามมีทางผ่านเสมอระดับจำนวนหนึ่งที่ไม่สมบูรณ์แบบ
เครื่องกั้นถนนที่ใช้ในประเทศไทยมีทั้งแบบคานปิดเต็มถนน คานปิดครึ่งถนน สายลวดคนหมุน หรือแผงเข็น ทั้งนี้ อาจจัดให้มีสัญญาณผ่านถนนเสมอระดับทาง หรือพนักงานคอยให้สัญญาณอนุญาตด้วยก็ได้
ปัจจุบันทางตัดมีอยู่ 2,518 แห่ง แบ่งเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้
ทางตัดที่มีคานกั้นถนน 834 แห่ง
ทางตัดที่มีไฟเตือน 40 แห่ง
ทางตัดที่มีป้ายจราจรเตือน 788 แห่ง
ทางลักผ่าน 590 แห่ง
ทางตัดผ่านของเอกชน 5 แห่ง
ทางตัดที่เป็นสะพานข้าม (Overpass) 144 แห่ง
ทางตัดที่มีลอดใต้ทางรถไฟ (Underpass) 117 แห่ง
ที่มา: สำนักงานนโยบายและแผน การรถไฟแห่งประเทศไทย
(1) จุดตัดทางรถไฟแบบต่างระดับ คือ ทางตัดผ่านทางรถไฟที่แยกการสัญจรของรถยนต์และขบวนรถไฟออกจากกันมีทั้งแบบก่อสร้างสะพานข้ามและทางลอดใต้ทางรถไฟ ซึ่งเป็นแนวทางการป้องกันอุบัติเหตุได้โดยสมบูรณ์ แต่จุดตัดทางรถไฟรูปแบบนี้ มีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง เนื่องจากการก่อสร้างทางตัดผ่านต่างระดับต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง ทำให้ต้องพิจารณาคัดเลือกจุดตัดทางรถไฟเฉพาะที่มีความจำเป็นและมีความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจและวิศวกรรมเท่านั้น
ประเภท : Overpass และ Underpass
สัญญาณเตือน : ไม่มี (เพราะไม่ตัดผ่านทางรถไฟในระดับเดียวกัน)
คานกั้น : ไม่มี (เพราะไม่ตัดผ่านทางรถไฟในระดับเดียวกัน)
จำนวน : Overpass 144 แห่ง / Underpass 117 แห่ง
สถานะ : ถูกกฎหมาย / มีการขออนุญาตตัดผ่าน
(ทางผ่านแบบ Overpass : ถนนข้ามทางรถไฟเป็นสะพาน)
(ทางผ่านแบบ Underpass : ถนนลอดใต้ทางรถไฟ)
(2) จุดตัดทางรถไฟแบบมีเครื่องกั้น คือ ทางตัดผ่านทางรถไฟที่ติดตั้งเครื่องกั้นเพิ่มเติมจากการควบคุมด้วยเครื่องหมายจราจร รวมทั้งอาจมีสัญญาณไฟวาบเตือนเมื่อรถไฟจะวิ่งผ่าน โดยที่สัญญาณไฟวาบนี้จะมีเสียงเตือนประกอบด้วย ทางตัดผ่านประเภทนี้ส่วนใหญ่จะใช้ในบริเวณที่มีทางตัดผ่านทางรถไฟกับถนนในตัวเมืองหรือบริเวณที่มีการจราจรหนาแน่นและบนทางหลวงแผ่นดิน
เครื่องกั้นถนนอัตโนมัติมีหลักการอย่างง่าย ๆ คือ เมื่อรถไฟใกล้จะถึงทางผ่านเสมอระดับ ซึ่งใช้หลักทำงานจากการนับล้อ โดยใช้ไฟฟ้าที่ไหลอยู่ในราง เป็นตัวทำให้เครื่องกั้นส่งเสียงดังขึ้น พร้อมกับค่อย ๆ ลดคานกั้นลง เมื่อคานกั้นลงเต็มที่แล้ว เครื่องกั้นบางแห่งจะหยุดส่งเสียง แต่บางแห่งไม่หยุด พนักงานขับรถหรือช่างเครื่องบนขบวนรถ มีหน้าที่เปิดหวีด เมื่อขบวนรถผ่านพ้นทางรถไฟดีแล้ว เครื่องกั้นจึงจะหยุดสัญญาณเตือนและคานกั้นจะยกขึ้น
ส่วนกรณีเครื่องกั้นถนนแบบมีพนักงานควบคุม คือ พนักงานจะได้รับแจ้งผ่านวิทยุสื่อสาร เมื่อรถไฟใกล้ถึงจุดดังกล่าว ก็จะควบคุมคานกั้นให้ทำงาน
ประเภท : ทางตัดผ่านเสมอระดับแบบมีเครื่องกั้น
สัญญาณเตือน : ป้ายจราจร / สัญญาณไฟวาบ / เสียงสัญญาณ
คานกั้น : มี (ทั้งแบบเต็มถนน และ ครึ่งถนนกั้นเฉพาะเลนนั้นๆ)
จำนวน : 834 แห่ง (รวมทั้งแบบมีพนักงานควบคุม และ อัตโนมัติ)
สถานะ : ถูกกฎหมาย / มีการขออนุญาตตัดผ่าน
(ทางตัดแบบมีคานกั้น : พนักงานควบคุม)
(ทางตัดแบบมีคานกั้น : อัตโนมัติ)
(3) จุดตัดทางรถไฟแบบมีไฟเตือน คือ ทางตัดผ่านรถไฟที่ได้ติดตั้งสัญญาณเตือน ไม่ว่าจะเป็นป้ายจราจร สัญญาณไฟวาบ และสัญญาณเสียง เพื่อใช้ในการเตือนผู้ขับขี่ยวดยาน แต่ไม่มีคานกั้นปิดถนน ซึ่งเป็นทางตัดที่ถูกใช้มากในต่างประเทศ (ด้วยข้อระเบียบบังคับทางจราจรสูง จึงทำให้ไม่มีปัญหาการตัดหน้ารถไฟ แม้สัญญาณเตือนทำงาน)
หลักการทำงาน คือ เมื่อรถไฟผ่านจุดที่ติดตั้ง sensor ไฟฟ้าที่ไหลอยู่ในรางจะเป็นตัวทำงานร่วมและทำให้สัญญาณไฟวาบทำงาน (หลักการเหมือนเครื่องกั้นอัตโนมัติ แต่ไม่มีคานกั้นเท่านั้น)
ประเภท : ทางตัดผ่านเสมอระดับแบบมีไฟเตือน
สัญญาณเตือน : ป้ายจราจร / สัญญาณไฟวาบ / สัญญาณเสียง
คานกั้น : ไม่มี
จำนวน : 40 แห่ง
สถานะ : ถูกกฎหมาย / มีการขออนุญาตตัดผ่าน
(ทางตัดแบบมีไฟเตือน / ไม่มีคานกั้น แต่มีสัญญาณเตือนเป็นไฟ)
(4) จุดตัดทางรถไฟแบบควบคุมด้วยเครื่องหมายจราจร คือ ทางตัดผ่านทางรถไฟที่มีการควบคุมด้วยป้ายจราจรและเครื่องหมายจราจรบนพื้นทาง เช่น ป้ายหยุด ป้ายเตือนรถไฟล่วงหน้า ป้ายจำกัดความเร็ว เครื่องหมายจราจรบนพื้นทาง จุดตัดทางรถไฟประเภทนี้ ส่วนใหญ่จะเหมาะกับทางตัดผ่านบนทางหลวงหรือถนนนอกเมืองที่ห่างจากชุมชน ซึ่งจำนวนยานพาหนะสัญจรไปมามีไม่มากนัก และส่วนมากเป็นยานพาหนะของผู้อาศัยอยู่ในท้องถิ่นนั้นๆ
ทางผ่านเสมอระดับมักจะมีเครื่องหมายจราจรสำหรับเตือนผู้ใช้รถใช้ถนนให้ระมัดระวังถึงรถไฟที่อาจผ่านทางผ่านนั้นได้ เครื่องหมายที่ใช้เตือนเพื่อความปลอดภัยด้านถนนจะใช้ป้ายเตือน ทรงสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนสีอำพัน มีรถจักรไอน้ำหรือรั้วกั้นบนป้ายนั้น นอกจากนี้ ยังมีสัญญาณเตือนเป็นรูปกากบาทเขียนข้อความ “ระวังรถไฟ” เพิ่มอีกด้วย ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างสัญญาณที่พบเห็นได้บ่อยบริเวณทางรถไฟผ่านถนนเสมอระดับ
(ป้ายเตือนที่ถูกติดตั้งบริเวณทางรถไฟ)
ประเภท : ทางตัดผ่านเสมอระดับแบบมีป้ายจราจร
สัญญาณเตือน : ป้ายจราจร / ป้ายลดความเร็ว / ป้ายระวังรถไฟ
คานกั้น : ไม่มี
จำนวน : 788 แห่ง
สถานะ : ถูกกฎหมาย / มีการขออนุญาตตัดผ่าน
ทางตัดประเภทนี้ จะไม่มีคานกั้น แต่มีป้ายจราจร ซึ่งเป็นป้ายบังคับ กำกับเอาไว้อย่างชัดเจน
ทางตัดผ่านแบบนี้จะมีค่อนข้างเยอะมากในประเทศไทย ด้วยข้อกำหนดในการตัดผ่านทางรถไฟนั้นได้ถูกระบุไว้ว่า
กรณีที่เป็นการขออนุญาตสร้างทางตัดผ่านเสมอระดับผู้ขออนุญาตต้องยอมรับเงื่อนไขตลอดจนค่าใช้จ่ายดังนี้
(๑) ผู้ขออนุญาตต้องทำสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิเหนือพื้นดินไว้กับการรถไฟแห่งประเทศไทยและต้องชำระค่าธรรมเนียมตามระเบียบของการรถไฟแห่งประเทศไทย
(๒) การสร้างทางตัดผ่านเสมอระดับในเขตที่ดินรถไฟนอกเหนือจากการสร้างทางตัดผ่านเสมอระดับส่วนที่การรถไฟแห่งประเทศไทยต้องดำเนินการเอง ผู้ขออนุญาตต้องดำเนินการสร้างด้วยทุนทรัพย์ของตนเอง ผู้ขออนุญาตต้องออกค่าใช้จ่ายในการสร้าง ปรับปรุงและบำรุงรักษาต่าง ๆ เช่น ค่าติดตั้งเครื่องกั้นถนน ค่าจ้างพนักงานกั้นถนน
(5) ทางลักผ่าน คือ ทางตัดผ่านทางรถไฟ ที่เป็นทางเข้า-ออกประจำของเอกชนหรือผู้อยู่อาศัยบริเวณนั้นๆ ผู้ทำทางตัดผ่านอาจจะเป็นประชาชนหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล แต่ไม่ได้มีการขออนุญาตทำทางตัดผ่านจากการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือไม่ได้รับอนุญาตจากการรถไฟแห่งประเทศไทย จึงเป็นทางตัดผ่านที่ไม่มีการควบคุมด้านความปลอดภัย ซึ่งในปัจจุบันนี้พบว่ามีจำนวนมากและยากต่อการควบคุมให้อยู่ในมาตรฐานความปลอดภัย
ประเภท : ทางลักผ่าน
สัญญาณเตือน : ไม่มี
คานกั้น : ไม่มี
จำนวน : 590 แห่ง
สถานะ : ผิดกฎหมาย / ไม่มีการขออนุญาตตัดผ่านทางรถไฟ
วิธีสังเกตว่าอันไหนคือทางลักผ่าน อันไหนคือทางตัดแบบป้ายจราจร
ให้ดูป้ายเตือนของทางหลวง แบบนี้
ถ้าไม่มี... หรือ มีแต่เขียนด้วยมือเอง คือทางลักผ่าน
จำนวนทางตัดผ่าน (2557)
ด้วยทางสายใต้เป็นเส้นทางที่ยาวที่สุด และ มีทางแยกมากที่สุด ก็ทำให้มีจำนวนทางตัดมากที่สุดเช่นกัน โดยเฉพาะทางลักผ่าน จะเห็นได้ว่ามีมากกว่าสายอื่นแบบหลายเท่า (แค่สายกาญจนบุรี ก็แบบว่า 50 เมตร 100 เมตร มีที่นึงแล้ว) ซึ่งทางลักผ่านนั้นมีปัญหากับการเดินรถมาก เนื่องจาก ป้ายเตือนไม่มี (ทั้งของรถไฟและรถยนต์) การหยุดรถไฟนั้นยากยิ่งกว่าการหยุดรถยนต์ ยิ่งการขับรถที่วินัยดีมากกกกกก (กัดฟัน) ของคนไทย