เช้านี้ [19/11/57] ผมฝั่งข่าวสรยุทธ์แล้วได้รับคำชี้แจงจากรัฐบาลคสช.ว่า ภาษีมรดกมีไว้เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ผมคิดว่าน่าจะเป็นความเข้าใจคลาดเคลื่อนไปจากจุดประสงค์หลักค่อนข้างมาก เนื่องจาก
1) ในระบบภาษีเงินได้ เรามีระบบขั้นบันไดอยู่แล้ว สำหรับผู้ที่มีรายได้มาก เสียภาษีมาก ผู้มีรายได้น้อย เสียภาษีน้อย
2) ในกรณีที่เก็บภาษีจากผู้รับมรดก (ผู้มีเงินได้) เราสามารถใช้โครงสร้างของภาษีเงินได้ปกติในการจัดเก็บก็ได้
จากสองข้อที่กล่าวมา ถ้าจุดประสงค์หลักมีไว้เพื่อลดความเหลื่อมล้ำเท่านั้น ผมมองว่าเราไม่จำเป็นต้องร่างกฎหมายขึ้นมาใหม่เลย แค่ปรับโครงสร้างของภาษีเงินได้ขั้นบันไดใหม่เท่านั้น
ผมมีความเห็นว่า "จุดประสงค์ที่แท้จริง" ของภาษีมรดกมีไว้เพื่อให้ประชาชนของรัฐในแต่ละรุ่น ต้องขยันทำงานเลี้ยงดูตัวเอง (industrious) ไม่ใช่เป็นลูกเจ้าสัวที่ได้รับมรดกหลายหมื่นล้านแล้วนั่งกินนอนกินไปชั่วชีวิตโดยไม่ต้องทำอะไร
อย่างยกตัวอย่าง ญี่ปุ่นที่จัดเก็บภาษีมรดก ~50% ลองคิดเลขง่าย ๆ (แบบไม่ต้องซีเรียสเรื่อง อนุกรมเลขาคณิต take limit เพื่อหา n ที่ค่าลู่เข้าสู่ 0) สมมติมรดก 100 บาท ลูกหลานรุ่นแรกได้รับ 50 บาท รุ่นที่สองได้รับ 25 บาท รุ่นสาม 12.5 บาท ....
เห็นได้ว่าถ้าลูกหลานตระกูลนี้ไม่ทำอะไรเลย อยู่ได้ไม่เกิน 3 ชั่วอายุคนก็ไม่มีอะไรกินแล้ว
ต่างจากของเราที่จัดเก็บแค่ 10%, กี่ชั่วอายุคนที่ลูกหลานนั่งกินนอนกินได้สำหรับลูกเจ้าสัวมรดกหมื่นล้าน?
สังคมเรายังคงเป็นสังคมครอบครัวแบบพ่อแม่ประคบประหงมลูกไปชั่วชีวิต สร้างทุกอย่างทิ้งไว้ให้ลูก แต่ผมว่าถึงเวลาที่เราต้องชี้แจงถึงเหตุผลที่แท้จริงของภาษีมรดกให้ทุกคนได้รับทราบ และเห็นด้วยที่จะจัดเก็บภาษีมรดกในอัตราที่สูงขึ้น เพราะเราควรจะ "วัดค่าของคนที่ผลของงาน" ไม่ใช่วัดค่าของคนจาก "โชคชะตาที่เกิดมาเป็นลูกเจ้าสัว"
ลองดูตัวอย่าง วอลเลน บัฟเฟต์ ก็ได้ครับ หรือหาหนังสือ "งานที่ใช่ กับใจที่ชอบ" ดู ว่าลูกหลานของเขาได้รับการเลี้ยงดูสั่งสอนอย่างไร เพื่อให้เป็นประชาชนที่ก่อประโยชน์ต่อสังคมในโลกของทุนนิยม
จุดประสงค์ของ ภาษีมรดดก
1) ในระบบภาษีเงินได้ เรามีระบบขั้นบันไดอยู่แล้ว สำหรับผู้ที่มีรายได้มาก เสียภาษีมาก ผู้มีรายได้น้อย เสียภาษีน้อย
2) ในกรณีที่เก็บภาษีจากผู้รับมรดก (ผู้มีเงินได้) เราสามารถใช้โครงสร้างของภาษีเงินได้ปกติในการจัดเก็บก็ได้
จากสองข้อที่กล่าวมา ถ้าจุดประสงค์หลักมีไว้เพื่อลดความเหลื่อมล้ำเท่านั้น ผมมองว่าเราไม่จำเป็นต้องร่างกฎหมายขึ้นมาใหม่เลย แค่ปรับโครงสร้างของภาษีเงินได้ขั้นบันไดใหม่เท่านั้น
ผมมีความเห็นว่า "จุดประสงค์ที่แท้จริง" ของภาษีมรดกมีไว้เพื่อให้ประชาชนของรัฐในแต่ละรุ่น ต้องขยันทำงานเลี้ยงดูตัวเอง (industrious) ไม่ใช่เป็นลูกเจ้าสัวที่ได้รับมรดกหลายหมื่นล้านแล้วนั่งกินนอนกินไปชั่วชีวิตโดยไม่ต้องทำอะไร
อย่างยกตัวอย่าง ญี่ปุ่นที่จัดเก็บภาษีมรดก ~50% ลองคิดเลขง่าย ๆ (แบบไม่ต้องซีเรียสเรื่อง อนุกรมเลขาคณิต take limit เพื่อหา n ที่ค่าลู่เข้าสู่ 0) สมมติมรดก 100 บาท ลูกหลานรุ่นแรกได้รับ 50 บาท รุ่นที่สองได้รับ 25 บาท รุ่นสาม 12.5 บาท ....
เห็นได้ว่าถ้าลูกหลานตระกูลนี้ไม่ทำอะไรเลย อยู่ได้ไม่เกิน 3 ชั่วอายุคนก็ไม่มีอะไรกินแล้ว
ต่างจากของเราที่จัดเก็บแค่ 10%, กี่ชั่วอายุคนที่ลูกหลานนั่งกินนอนกินได้สำหรับลูกเจ้าสัวมรดกหมื่นล้าน?
สังคมเรายังคงเป็นสังคมครอบครัวแบบพ่อแม่ประคบประหงมลูกไปชั่วชีวิต สร้างทุกอย่างทิ้งไว้ให้ลูก แต่ผมว่าถึงเวลาที่เราต้องชี้แจงถึงเหตุผลที่แท้จริงของภาษีมรดกให้ทุกคนได้รับทราบ และเห็นด้วยที่จะจัดเก็บภาษีมรดกในอัตราที่สูงขึ้น เพราะเราควรจะ "วัดค่าของคนที่ผลของงาน" ไม่ใช่วัดค่าของคนจาก "โชคชะตาที่เกิดมาเป็นลูกเจ้าสัว"
ลองดูตัวอย่าง วอลเลน บัฟเฟต์ ก็ได้ครับ หรือหาหนังสือ "งานที่ใช่ กับใจที่ชอบ" ดู ว่าลูกหลานของเขาได้รับการเลี้ยงดูสั่งสอนอย่างไร เพื่อให้เป็นประชาชนที่ก่อประโยชน์ต่อสังคมในโลกของทุนนิยม