37-พระรัฐบาลเถระ
เอตทัคคะในทางผู้บวชด้วยศรัทธา
พระรัฐบาล เป็นบุตรของเศรษฐีผู้ชื่อว่ารัฐบาลเหมือนกัน และรัฐบาลเศรษฐีผู้เป็นบิดา
ของท่านเป็นหัวหน้าหมู่บ้านถุลลโกฏฐิตนิคม ในแคว้นกุรุ
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปสู่แคว้นกุรุ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ สาวกเป็น
บริวาร ประทับอยู่ที่ถุลลโฏฐิตนิคมนั้น ขณะนั้น ชาวบ้านซึ่งประกอบด้วยพราหมณ์และคฤหบดี
จำนวนมาก ได้ทราบข่าวการเสด็จมาก็พากันไปเฝ้าพระบรมศาสดา และมีชายหนุ่มชื่อรัฐบาลไป
ด้วย ได้ถวายบังคมแล้วนั่งในที่อันสมควรแก่ตน ส่วนบรรดาชนอื่น ๆ เหล่านั้น บางพวกถวาย
บังคม บางพวกได้แต่พูดจาปราศรัย บางพวกเพียงแต่ประนมมือไหว้ และบางพวกก็ประกาศชื่อ
โคตรของตน พระพุทธองค์ทรงแสดงพระธรรมเทศนาโปรดชาวบ้านทั้งหลายเหล่านั้น ให้เกิด
ความเลื่อมใสทั่วกัน ครั้นจบพระธรรมเทศนา ประชาชนทั้งหลายพากันกราบทูลลากลับสู่บ้าน
ของตน ๆ ส่วนนายรัฐบาลนั้นเกิดศรัทธาเลื่อมใสอย่างแรงกล้า เมื่อประชาชนกลับกันหมดแล้ว
จึงได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคกราบทูลขออุปสมบท แต่พระพุทธองค์รับสั่งให้กลับไปขออนุญาต
จากบิดามารดาก่อน
บวชด้วยศรัทธาแรงกล้า
นายรัฐบาล เมื่อได้ฟังพุทธดำรัสแล้ว รีบกลับไปบ้านแล้วเข้าไปหาบิดามารดา กล่าวขอ
อนุญาตบวช แต่ไม่ได้รับอนุญาตจึงเกิดความผิดหวังเสียไม่ยอมรับประทานอาหาร บอกกับบิดา
มารดาว่า “ถ้าไม่ได้บวชก็จะขอยอมตาย” บิดามารดาเห็นลูกชายทำจริงก็เกรงว่าลูกชายจะตาย
จึงได้ไปขอร้องเพื่อนสนิทของลูกชายให้มาช่วยพูดอ้อนวอน เพื่อให้เลิกล้มความตั้งใจแต่ก็ไม่เป็น
ผล ในที่สุดก็ได้รับคำแนะนำจากเพื่อนของลูกชายว่า “ถ้าไม่ยอมให้ลูกชายบวช ลูกอาจจะตาย
จริง ๆ แต่ถ้าลูกได้บวชเราก็ยังจะได้เห็นลูกบ้างในบางโอกาสหรือเมื่อลูกบวชแล้วได้รับความ
ลำบากเบื่อหน่ายก็จะสึกออกมาภายหลังก็ได้”
เมื่อได้รับคำแนะนำดังนี้แล้ว ก็เห็นดีด้วย จึงบอกแก่ลูกชายว่า “พ่อแม่อนุญาตแล้ว ขอ
ให้เจ้าบวชได้ตามความปรารถนาเถิด”
นายรัฐบาล ดีใจมากรีบลุกขึ้นอาบน้ำและรับประทานอาหารมีเรี่ยวแรงดีแล้ว ไปเข้าเฝ้า
พระผู้มีพระภาค กราบทูลให้ทราบว่าได้รับอนุญาตจากบิดามารดาแล้ว พระพุทธองค์ประทาน
การอุปสมบทให้เป็นพระภิกษุ ในพระพุทธศาสนาตามประสงค์
ครั้นบวชแล้วท่านเศรษฐีผู้เป็นบิดารู้สึกเศร้าโศกเสียดายลูกชาย และรู้สึกโกรธเคืองพระ
ภิกษุสงฆ์ต้นเหตุให้เสียลูกชาย ยามใดได้พบพระภิกษุสงฆ์ จะต้องตัดพ้อต่อว่าด้วยคำว่า “เราไม่
ต้องการที่จะพบเห็นพวกท่านเลย เพราะเรามีลูกชายอยู่คนเดียวเท่านั้น พวกท่านก็มาพาเอาไป
บวชเสียอีก ทำให้ตระกูลของเราต้องขาดทายาทสืบตระกูล”
บิดามารดาอ้อนวอนให้สึก
พระรัฐบาล เมื่อบวชแล้ว ได้ติดตามเสด็จพระบรมศาสดา ไปที่เมืองสาวัตถี ทำความ
เพียรเจริญวิปัสสนากรรมฐานด้วยความไม่ประมาท ชั่วระยะเวลาไม่นานก็ได้สำเร็จพระ
อรหัตผล เป็นพระอริยบุคคล สิ้นกิเลสาสวะทั้งปวง จากนั้นท่านได้กราบทูลลาพระบรมศาสดา
ไปสู่ถุลลโกฏฐิตนิคม อันเป็นตำบลบ้านเกิดของท่าน ได้เข้าไปพักที่สวนมิคจิรวัน อันเป็นพระ
ราชอุทยานของพระเจ้าโกรัพยะ พอรุ่งเช้าได้เข้าไปบิณฑบาตในหมู่บ้าง แต่ไม่มีผู้ใดใส่บาตรแก่
ท่านเลย ท่านเดินไปเรื่อย ๆ ตามลำดับจนมาถึงบ้านบิดามารดาของท่านเอง ท่านเห็นนางทาสีเดิน
ถือถาดขนมบูดออกมา จึงถามว่า “จะนำไปไหน ?” นางทาสีตอบว่า “จะนำขนมบูดไปทิ้ง”
ท่านจึงบอก “ให้ทิ้งลงในบาตรของท่าน”
นางทาสีจำท่านได้ จึงรีบกลับไปบอกเศรษฐี บิดามารดาของท่านพอได้ทราบก็ดีใจสุด
ประมาณ รีบออกจากบ้าน ติดตามไปพบท่านนั่งพิงฝาเรือนคนอื่นกำลังฉันภัตตาหารคือขนมบูด
อยู่ จึงนิมนต์ให้ท่านไปฉันในบ้าน ท่านตอบว่า “วันนี้ฉันแล้ว” จึงนิมนต์ให้ท่านไปฉันในวัน
รุ่งขึ้น และท่านรับนิมนต์
ครั้นวันรุ่งขึ้น ท่านเข้าไปฉันภัตตาหารในบ้านของเศรษฐี บิดามารดาได้ถวายอาหารอัน
ประณีตแก่ท่านแล้ว นำทรัพย์สมบัติของมีค่าออกมาแสดงให้ท่านเห็นแล้ว ช่วยกันพูดอ้อนวอน
ให้ท่านสึกออกมาครอบครองทรัพย์สมบัติเหล่านี้ แต่ท่านก็ปฏิเสธอย่างไม่มีอาลัย เมื่อฉันเสร็จ
แล้วก็กล่าวอนุโมทนาและกลับสู่สวนมิคจิรวันที่พักตามเดิม
แสดงธรรมเทศแด่พระเจ้าโกรัพยะ
วันหนึ่งพระเจ้าโกรัพยะ เสด็จประพาสราชอุทยาน ทอดพระเนตรเห็นพระรัฐบาลแล้ว
ทรงจำได้เพราะเคยรู้จักท่านและตระกูลของท่านเป็นอย่างดีมาก่อน จึงเสด็จเข้าไปหาทักทาย
สนทนาด้วยแล้วประทับนั่ง ณ ที่อันสมควร พลางตรัสถามว่า:-
“ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้จริญ ความเสื่อม ๔ ประการที่บุคคลบางพวกประสบเข้าแล้ว จึงออก
บวช ได้แก่:-
๑. ความแก่ชรา
๒. ความเจ็บป่วย
๓. ความสิ้นโภคทรัพย์
๔. ความสิ้นญาติพี่น้อง
ก็ความเสื่อมทั้ง ๔ ประการเหล่านี้ ไม่มีแก่ท่านเลย ท่านได้ฟัง ได้รู้ ได้เห็น หรือมีความ
จำเป็นอย่างไรจึงออกบวช ?”
พระรัฐบาลเถระ ได้ถวายพระพรว่า:-
มหาบพิตร อาตมาได้ฟังธรรมมุทเทศ ๔ ประการ จากพระบรมศาสดาจึงออกบวช
ธรรมุทเทศ ๔ ประการนั้น คือ :-
๑. โลกคือหมู่สัตว์ อันชราเป็นผู้นำ นำเข้าไปใกล้ไม่ยั่งยืน
๒. โลกคือหมู่สัตว์ ไม่มีผู้ป้องกัน ไม่เป็นใหญ่เฉพาะตน
๓. โลกคือหมู่สัตว์ ไม่มีอะไรเป็นของตน จำต้องละสิ่งทั้งปวงไป
๔. โลกคือหมู่สัตว์ พร่องอยู่เป็นนิตย์ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหา
พระเจ้าโกรัพยะ ได้สดับพระธรรมเทศนาชื่อธรรมุทเทศของพระบรมศาสนาที่
พระรัฐบาลแสดงให้พระองค์สดับแล้ว เกิดศรัทธาเลื่อมใส จึงตรัสสรรเสริญว่า “พระธรรม
เทศนานี่น่าอัศจรรย์” และตรัสอนุโมทนาแล้วเสด็จกลับสู่พระราชนิเวศน์
ได้รับยกย่องในตำแหน่งเอตทัคคะ
พระรัฐบาล นั้น นับว่าท่านเป็นพุทธสาวกที่บวชด้วยศรัทธาอย่างจริงใจ ถึงกับบอกแก่
บิดามารดาว่า “ขอยอมตายถ้าไม่ได้บวช” จนกระทั่งบิดามารดาต้องยินยอม เพราะเหตุนี้
พระบรมศาสดา จึงทรงยกย่องท่านในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ในทาง
ผู้บวชศรัทธา
ท่านดำรงอายุสังขาร ช่วยเหลือกิจการพระศาสนาควรแก่กาลเวลาแล้วก็
ดับขันธปรินิพพาน
พระรัฐบาลเถระ เอตทัคคะในทางผู้บวชด้วยศรัทธา
เอตทัคคะในทางผู้บวชด้วยศรัทธา
พระรัฐบาล เป็นบุตรของเศรษฐีผู้ชื่อว่ารัฐบาลเหมือนกัน และรัฐบาลเศรษฐีผู้เป็นบิดา
ของท่านเป็นหัวหน้าหมู่บ้านถุลลโกฏฐิตนิคม ในแคว้นกุรุ
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปสู่แคว้นกุรุ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ สาวกเป็น
บริวาร ประทับอยู่ที่ถุลลโฏฐิตนิคมนั้น ขณะนั้น ชาวบ้านซึ่งประกอบด้วยพราหมณ์และคฤหบดี
จำนวนมาก ได้ทราบข่าวการเสด็จมาก็พากันไปเฝ้าพระบรมศาสดา และมีชายหนุ่มชื่อรัฐบาลไป
ด้วย ได้ถวายบังคมแล้วนั่งในที่อันสมควรแก่ตน ส่วนบรรดาชนอื่น ๆ เหล่านั้น บางพวกถวาย
บังคม บางพวกได้แต่พูดจาปราศรัย บางพวกเพียงแต่ประนมมือไหว้ และบางพวกก็ประกาศชื่อ
โคตรของตน พระพุทธองค์ทรงแสดงพระธรรมเทศนาโปรดชาวบ้านทั้งหลายเหล่านั้น ให้เกิด
ความเลื่อมใสทั่วกัน ครั้นจบพระธรรมเทศนา ประชาชนทั้งหลายพากันกราบทูลลากลับสู่บ้าน
ของตน ๆ ส่วนนายรัฐบาลนั้นเกิดศรัทธาเลื่อมใสอย่างแรงกล้า เมื่อประชาชนกลับกันหมดแล้ว
จึงได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคกราบทูลขออุปสมบท แต่พระพุทธองค์รับสั่งให้กลับไปขออนุญาต
จากบิดามารดาก่อน
บวชด้วยศรัทธาแรงกล้า
นายรัฐบาล เมื่อได้ฟังพุทธดำรัสแล้ว รีบกลับไปบ้านแล้วเข้าไปหาบิดามารดา กล่าวขอ
อนุญาตบวช แต่ไม่ได้รับอนุญาตจึงเกิดความผิดหวังเสียไม่ยอมรับประทานอาหาร บอกกับบิดา
มารดาว่า “ถ้าไม่ได้บวชก็จะขอยอมตาย” บิดามารดาเห็นลูกชายทำจริงก็เกรงว่าลูกชายจะตาย
จึงได้ไปขอร้องเพื่อนสนิทของลูกชายให้มาช่วยพูดอ้อนวอน เพื่อให้เลิกล้มความตั้งใจแต่ก็ไม่เป็น
ผล ในที่สุดก็ได้รับคำแนะนำจากเพื่อนของลูกชายว่า “ถ้าไม่ยอมให้ลูกชายบวช ลูกอาจจะตาย
จริง ๆ แต่ถ้าลูกได้บวชเราก็ยังจะได้เห็นลูกบ้างในบางโอกาสหรือเมื่อลูกบวชแล้วได้รับความ
ลำบากเบื่อหน่ายก็จะสึกออกมาภายหลังก็ได้”
เมื่อได้รับคำแนะนำดังนี้แล้ว ก็เห็นดีด้วย จึงบอกแก่ลูกชายว่า “พ่อแม่อนุญาตแล้ว ขอ
ให้เจ้าบวชได้ตามความปรารถนาเถิด”
นายรัฐบาล ดีใจมากรีบลุกขึ้นอาบน้ำและรับประทานอาหารมีเรี่ยวแรงดีแล้ว ไปเข้าเฝ้า
พระผู้มีพระภาค กราบทูลให้ทราบว่าได้รับอนุญาตจากบิดามารดาแล้ว พระพุทธองค์ประทาน
การอุปสมบทให้เป็นพระภิกษุ ในพระพุทธศาสนาตามประสงค์
ครั้นบวชแล้วท่านเศรษฐีผู้เป็นบิดารู้สึกเศร้าโศกเสียดายลูกชาย และรู้สึกโกรธเคืองพระ
ภิกษุสงฆ์ต้นเหตุให้เสียลูกชาย ยามใดได้พบพระภิกษุสงฆ์ จะต้องตัดพ้อต่อว่าด้วยคำว่า “เราไม่
ต้องการที่จะพบเห็นพวกท่านเลย เพราะเรามีลูกชายอยู่คนเดียวเท่านั้น พวกท่านก็มาพาเอาไป
บวชเสียอีก ทำให้ตระกูลของเราต้องขาดทายาทสืบตระกูล”
บิดามารดาอ้อนวอนให้สึก
พระรัฐบาล เมื่อบวชแล้ว ได้ติดตามเสด็จพระบรมศาสดา ไปที่เมืองสาวัตถี ทำความ
เพียรเจริญวิปัสสนากรรมฐานด้วยความไม่ประมาท ชั่วระยะเวลาไม่นานก็ได้สำเร็จพระ
อรหัตผล เป็นพระอริยบุคคล สิ้นกิเลสาสวะทั้งปวง จากนั้นท่านได้กราบทูลลาพระบรมศาสดา
ไปสู่ถุลลโกฏฐิตนิคม อันเป็นตำบลบ้านเกิดของท่าน ได้เข้าไปพักที่สวนมิคจิรวัน อันเป็นพระ
ราชอุทยานของพระเจ้าโกรัพยะ พอรุ่งเช้าได้เข้าไปบิณฑบาตในหมู่บ้าง แต่ไม่มีผู้ใดใส่บาตรแก่
ท่านเลย ท่านเดินไปเรื่อย ๆ ตามลำดับจนมาถึงบ้านบิดามารดาของท่านเอง ท่านเห็นนางทาสีเดิน
ถือถาดขนมบูดออกมา จึงถามว่า “จะนำไปไหน ?” นางทาสีตอบว่า “จะนำขนมบูดไปทิ้ง”
ท่านจึงบอก “ให้ทิ้งลงในบาตรของท่าน”
นางทาสีจำท่านได้ จึงรีบกลับไปบอกเศรษฐี บิดามารดาของท่านพอได้ทราบก็ดีใจสุด
ประมาณ รีบออกจากบ้าน ติดตามไปพบท่านนั่งพิงฝาเรือนคนอื่นกำลังฉันภัตตาหารคือขนมบูด
อยู่ จึงนิมนต์ให้ท่านไปฉันในบ้าน ท่านตอบว่า “วันนี้ฉันแล้ว” จึงนิมนต์ให้ท่านไปฉันในวัน
รุ่งขึ้น และท่านรับนิมนต์
ครั้นวันรุ่งขึ้น ท่านเข้าไปฉันภัตตาหารในบ้านของเศรษฐี บิดามารดาได้ถวายอาหารอัน
ประณีตแก่ท่านแล้ว นำทรัพย์สมบัติของมีค่าออกมาแสดงให้ท่านเห็นแล้ว ช่วยกันพูดอ้อนวอน
ให้ท่านสึกออกมาครอบครองทรัพย์สมบัติเหล่านี้ แต่ท่านก็ปฏิเสธอย่างไม่มีอาลัย เมื่อฉันเสร็จ
แล้วก็กล่าวอนุโมทนาและกลับสู่สวนมิคจิรวันที่พักตามเดิม
แสดงธรรมเทศแด่พระเจ้าโกรัพยะ
วันหนึ่งพระเจ้าโกรัพยะ เสด็จประพาสราชอุทยาน ทอดพระเนตรเห็นพระรัฐบาลแล้ว
ทรงจำได้เพราะเคยรู้จักท่านและตระกูลของท่านเป็นอย่างดีมาก่อน จึงเสด็จเข้าไปหาทักทาย
สนทนาด้วยแล้วประทับนั่ง ณ ที่อันสมควร พลางตรัสถามว่า:-
“ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้จริญ ความเสื่อม ๔ ประการที่บุคคลบางพวกประสบเข้าแล้ว จึงออก
บวช ได้แก่:-
๑. ความแก่ชรา
๒. ความเจ็บป่วย
๓. ความสิ้นโภคทรัพย์
๔. ความสิ้นญาติพี่น้อง
ก็ความเสื่อมทั้ง ๔ ประการเหล่านี้ ไม่มีแก่ท่านเลย ท่านได้ฟัง ได้รู้ ได้เห็น หรือมีความ
จำเป็นอย่างไรจึงออกบวช ?”
พระรัฐบาลเถระ ได้ถวายพระพรว่า:-
มหาบพิตร อาตมาได้ฟังธรรมมุทเทศ ๔ ประการ จากพระบรมศาสดาจึงออกบวช
ธรรมุทเทศ ๔ ประการนั้น คือ :-
๑. โลกคือหมู่สัตว์ อันชราเป็นผู้นำ นำเข้าไปใกล้ไม่ยั่งยืน
๒. โลกคือหมู่สัตว์ ไม่มีผู้ป้องกัน ไม่เป็นใหญ่เฉพาะตน
๓. โลกคือหมู่สัตว์ ไม่มีอะไรเป็นของตน จำต้องละสิ่งทั้งปวงไป
๔. โลกคือหมู่สัตว์ พร่องอยู่เป็นนิตย์ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหา
พระเจ้าโกรัพยะ ได้สดับพระธรรมเทศนาชื่อธรรมุทเทศของพระบรมศาสนาที่
พระรัฐบาลแสดงให้พระองค์สดับแล้ว เกิดศรัทธาเลื่อมใส จึงตรัสสรรเสริญว่า “พระธรรม
เทศนานี่น่าอัศจรรย์” และตรัสอนุโมทนาแล้วเสด็จกลับสู่พระราชนิเวศน์
ได้รับยกย่องในตำแหน่งเอตทัคคะ
พระรัฐบาล นั้น นับว่าท่านเป็นพุทธสาวกที่บวชด้วยศรัทธาอย่างจริงใจ ถึงกับบอกแก่
บิดามารดาว่า “ขอยอมตายถ้าไม่ได้บวช” จนกระทั่งบิดามารดาต้องยินยอม เพราะเหตุนี้
พระบรมศาสดา จึงทรงยกย่องท่านในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ในทาง
ผู้บวชศรัทธา
ท่านดำรงอายุสังขาร ช่วยเหลือกิจการพระศาสนาควรแก่กาลเวลาแล้วก็
ดับขันธปรินิพพาน