12 ก.พ.ปีหน้า กฎหมาย ปลดล็อก"คนค้ำประกัน-ผู้จำนอง" บังคับใช้ แบงก์ ผวาเสี่ยงให้กู้
มติชนออนไลน์ รายงานว่า วันนี้ (๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๗) ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่
“พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ๒๐) พ.ศ. ๒๕๕๗”
พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หรือ มีผลบังคับใช้ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่บทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ใช้บังคับอยู่
ในปัจจุบันยังไม่เพียงพอที่จะคุ้มครองสิทธิและให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ค้ำประกัน และผู้จำนองซึ่งมิใช่ลูกหนี้ชั้นต้น แต่เป็น
เพียงบุคคลภายนอกที่ยอมผูกพันตนต่อเจ้าหนี้ในการที่จะชำระหนี้แทนลูกหนี้เท่านั้น โดยข้อเท็จจริงในทางปฏิบัติปรากฏ
ว่าเจ้าหนี้ส่วนใหญ่ซึ่งเป็นสถาบันการเงินหรือผู้ประกอบอาชีพให้กู้ยืม มักจะอาศัยอำนาจต่อรองที่สูงกว่าหรือความได้เปรียบ
ในทางการเงินกำหนดข้อตกลงอันเป็นการยกเว้นสิทธิ ของผู้ค้ำประกันหรือผู้จำนองตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ หรือให้ค้ำประกัน
หรือผู้จำนองต้องรับผิดเสมือนเป็นลูกหนี้ชั้นต้น กรณีจึงส่งผลให้ผู้ค้ำประกันหรือผู้จำนองซึ่งเป็นประชาชนทั่วไปไม่ได้รับความ
คุ้มครองตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย รวมทั้งต้องกลายเป็นผู้ถูกฟ้องล้มละลายอีกเป็นจำนวนมาก ดังนั้น เพื่อสร้างความเป็น
ธรรมให้แก่ผู้ค้ำประกันและผู้จำนอง จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ๒๐) พ.ศ. ๒๕๕๗ มีทั้งสิ้น ๒๔ มาตรา ดังนี้
เปิดดูที่นี่
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/A/077/14.PDF
ที่มา มติชนออนไลน์
"ผู้ค้ำประกันหนี้มีเฮ !! " กฎหมายใหม่คุ้มครอง ปลดล็อก "ผู้ค้ำประกัน" ไม่ต้องต้องรับผิดเสมือนเป็นลูกหนี้ชั้นต้นแล้ว!!!
12 ก.พ.ปีหน้า กฎหมาย ปลดล็อก"คนค้ำประกัน-ผู้จำนอง" บังคับใช้ แบงก์ ผวาเสี่ยงให้กู้
มติชนออนไลน์ รายงานว่า วันนี้ (๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๗) ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่
“พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ๒๐) พ.ศ. ๒๕๕๗”
พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หรือ มีผลบังคับใช้ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่บทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ใช้บังคับอยู่
ในปัจจุบันยังไม่เพียงพอที่จะคุ้มครองสิทธิและให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ค้ำประกัน และผู้จำนองซึ่งมิใช่ลูกหนี้ชั้นต้น แต่เป็น
เพียงบุคคลภายนอกที่ยอมผูกพันตนต่อเจ้าหนี้ในการที่จะชำระหนี้แทนลูกหนี้เท่านั้น โดยข้อเท็จจริงในทางปฏิบัติปรากฏ
ว่าเจ้าหนี้ส่วนใหญ่ซึ่งเป็นสถาบันการเงินหรือผู้ประกอบอาชีพให้กู้ยืม มักจะอาศัยอำนาจต่อรองที่สูงกว่าหรือความได้เปรียบ
ในทางการเงินกำหนดข้อตกลงอันเป็นการยกเว้นสิทธิ ของผู้ค้ำประกันหรือผู้จำนองตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ หรือให้ค้ำประกัน
หรือผู้จำนองต้องรับผิดเสมือนเป็นลูกหนี้ชั้นต้น กรณีจึงส่งผลให้ผู้ค้ำประกันหรือผู้จำนองซึ่งเป็นประชาชนทั่วไปไม่ได้รับความ
คุ้มครองตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย รวมทั้งต้องกลายเป็นผู้ถูกฟ้องล้มละลายอีกเป็นจำนวนมาก ดังนั้น เพื่อสร้างความเป็น
ธรรมให้แก่ผู้ค้ำประกันและผู้จำนอง จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ๒๐) พ.ศ. ๒๕๕๗ มีทั้งสิ้น ๒๔ มาตรา ดังนี้
เปิดดูที่นี่ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/A/077/14.PDF
ที่มา มติชนออนไลน์