1.ตุ๊กตา ทุกครั้งที่ได้ยินเสียงเพลงประกอบละคร มันทำให้ขนลุกทุกที ไม่กล้าที่จะฟังท่อนที่ร้องว่า "หนูอยากกลับบ้าน" ชัดๆ มันเป็นความกลัวในวัยเด็กที่ยังคงหลอนอยู่เสมอ ละคร ตุ๊กตาเป็นละครไทยและนวนิยายไทยประเภทสยองขวัญ จากบทประพันธ์ของ วาณิช จรุงกิจอนันต์ ซึ่งมีเนื้อหาเด่นตรงที่นักเขียนได้หยิบเอาปัญหาการใช้แรงงานเด็กจากภาคชนบท กับปัญหาเด็กที่ขาดความรักความอบอุ่นในครอบครัวคนชั้นกลางตามเมืองใหญ่ๆที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น นำมาพูดถึงไปพร้อมๆกัน และพูดด้วยวิธีการของการเขียนนวนิยาย ที่นักเขียนออกมาในแนวกึ่งลึกลับ สยองขวัญ และสืบสวน จากนั้น ได้มีการนำไปออกอากาศเป็นละครโทรทัศน์ครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2531 ใทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ซึ่งในยุคนั้นมีคดีการนำลักพาตัวเด็กอยู่บ่อยครั้ง และเด็กส่วนมากก็ถูกฆ่าคล้ายๆกับในละคร ทำให้ละครเรื่องนี้ติดอันดับความหลอนในยุคนั้น
2.ศีรษะมาร ละครผีแนวที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ที่สุดแต่กลับทำให้ตัวละครนามว่า ปี๋ ผีหัวขาดยังหลอนอยู่เสมอ ละครเรื่อง ศีรษะมาร ที่นำแสดงโดย บิลลี่ โอแกน และชฎาพร รัตนากร ออกอากาศทางช่อง 7 ปี 2536 นางเอกชื่อปี๋ หรือ ปิลันธา เป็นผู้หญิงที่มีพลังจิตสูงมากแต่ด้วยความที่ถูกเลี้ยงมาแบบตาม เลยมีนิสัยก้าวร้าว รุนแรง เอาแต่ใจตัวเองด้วย และมีคุณลุงที่เป็นนักวิทยาศาสตร์ ซึ่งกำลังทำการทดลองเกี่ยวกับน้ำยาซึ่งสามารถปลุกให้เซลล์ที่ตายแล้วให้ กลับฟื้นคืนชีพได้ จนวันหนึ่งปิลันธาเธอประสบอุบัติเหตุชนกับรถสิบล้อ กระจกรถตัดศีรษะขาด
แต่ด้วยพลังจิตอันแรงกล้าที่ยังไม่ยอมตาย เธอจึงหิ้วศีรษะของตัวเองกลับมาบ้าน เพื่อมาขอร้องให้คุณลุงซึ่งเป็นนักวิทยาศาตร์ของเธอใช้น้ำยาชุบชีวิตให้ ปี๋ก็สะกดจิตคุณลุงจนยอมทำตาม ให้เธอมีชีวิตอยู่ในร่างที่เหมือนผีดิบต่อไป เมื่อร่างของเธอเริ่มมีการเน่าเปื่อย เพราะน้ำยาไม่สามารถทำให้คงทนได้มากไปกว่านี้ ปี๋ก็เริ่มต้องกลบเกลื่อนด้วยน้ำหอมและใช้ผ้าพันคอเพื่อปกปิดรอยต่อของศรีษะ ที่ขาดตลอดเวลา และความหลอนมันอยู่ตรงที่ เธอออกล่าเหยื่อเพื่อดูดเลือด สดๆ เป็นอาหาร
3.ปอบผีฟ้า เอกลักษณ์เด่นของละคร เรื่องนี้นอกจากเสียงระนาดสุดหลอนแล้ว คำว่า "ข้าอยากกินเลือด" ก็เป็นเสียงโหยหวนของผีปอบในเรื่องที่ชวนขนลุก โดยละครเรื่องนี้เป็นละคร โทรทัศน์ บทประพันธ์ของ ประดิษฐ์ กัลย์จาฤก ถูกนำมาสร้างเป็นละครครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2518 นำแสดงโดย เสกศักดิ์ สันติพงษ์ วีรวรรณ โทณะวณิก ต่อมาในปี พ.ศ. 2540 นำกลับมาทำใหม่ นำแสดงโดย นุติ เขมะโยธิน วรนุช วงษ์สวรรค์ และในปี พ.ศ. 2552 ได้นำกลับมาสร้างใหม่ ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 เมื่อ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
เนื้อเรื่องกล่าวถึงเรื่องราวลึกลับข้ามภพข้ามชาติที่ก่อเนื่องมาจากความรัก และความแค้นของเจ้านางสองคนแห่งนครภูคำ ซึ่งแม้เมื่อหลายร้อยปีผ่านไป ความรักและความแค้นไม่เคยจางหาย ก่อเกิดเป็นเรื่องราวลึกลับซับซ้อนและน่าสยองขวัญเกี่ยวพันกับอีกหลายชีวิตที่เกาะเกี่ยวกันมาทั้งในชาตินี้และในอดีตชาติ ปอบผีฟ้า จึงเป็นละครโทรทัศน์แนวลึกลับที่สะท้อนภาพของความดี ความเลว ความรัก ความซื่อสัตย์ของทั้งวิญญาณและมนุษยชาติ
4.ห้องหุ่น เรื่องราวของวิญญาณที่ถูกตราตรึงไว้ในห้องหุ่น ซึ่งความหลอนมันอยู่ตรงที่ หุ่นทุกตัวนั้น มีวิญญาณและเรื่องราวซ่อนอยู่ ละครเรื่องนี้เคยถูกสร้างเป็นละครมาแล้วถึง 3 ครั้ง โดยในครั้งแรกในปี พ.ศ. 2519 นำแสดงโดย เสกศักดิ์ สันติพงษ์, ชัย ราชพงษ์, ศิรดา ศิริวัฒน์, มนฤดี ยมาภัย, สุชีรา สุภาเสพย์ ครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2532 นำแสดงโดย บดินทร์ ดุ๊ก ปิยะดา เพ็ญจินดา กำกับโดย จรูญ ธรรมศิลป์ และครั้งที่ 3 ในปี พ.ศ. 2546 นำแสดงโดย อัษฏาวุธ เหลืองสุนทร จีรนันท์ มะโนแจ่ม กำกับโดย ธีรศักดิ์ พรหมเงิน และล่าสุดถูกนำกลับมาสร้างอีกครั้งทางช่อง 3
5.กระสือ เป็นละครโทรทัศน์ไทย เป็นบทประพันธ์ของ บุราณ ที่เค้าโครงสร้างจาก "ผีกระสือ" ผีพื้นบ้านไทย ควานหลอนของละครเรื่องนี้ มาจาก ยายสาย ต้นกำเนิดของผีกระสือ มีผู้หญิงคนหนึ่งเป็นกระสือก่อนตายได้เรียกคุณยายสายไปหาและมอบสมบัติให้ แต่ขณะที่ยายสายเผลอผู้หญิงคนนั้นได้บ้วนน้ำลายใส่ในขันกินน้ำให้ยายสายกิน ยายสายก็เลยกลายเป็นกระสือแทนผู้หญิงคนนั้น ยายสายผู้นี้มีบุตรคนหนึ่งแต่งงานและมีลูกสาวหนึ่งคน แต่ทั้งลูกชายและลูกสะใภ้ก็หายหน้าหนี้ไปทิ้งลูกสาวไว้ให้ยายสายเป็นผู้ดูแล ยายสายก็เลยต้องเลี้ยงหลานสาวกำพร้าโดยลำพัง การสืบทอดดวงวิญญาน ของกระสือต่อจากยายสายจึงเริ่มขึ้น
ละครเรื่องนี้ ถูกนำมาสร้างครั้งแรกในปี พ.ศ. 2520 - พ.ศ. 2522 ในรูปแบบภาพยนตร์โทรทัศน์ สร้างโดยดาราฟิล์ม ออกฉายทาง ช่อง 7 ในปี พ.ศ. 2537 - พ.ศ. 2538 ผลิตโดย บริษัท ดาราวิดีโอ จำกัด นำแสดงโดย ศตวรรษ ดุลยวิจิตร, รชนีกร พันธุ์มณี และในปี พ.ศ. 2555 ได้นำกลับมาสร้างใหม่ ใช้ชื่อเรื่อง กระสือจำศีล ออกอากาศทางช่อง ทีวี จ๊ะทิงจา ออกอากาศเมื่อปี 2555
::::ตำนาน 5ละครผี สุดหลอน::::
1.ตุ๊กตา ทุกครั้งที่ได้ยินเสียงเพลงประกอบละคร มันทำให้ขนลุกทุกที ไม่กล้าที่จะฟังท่อนที่ร้องว่า "หนูอยากกลับบ้าน" ชัดๆ มันเป็นความกลัวในวัยเด็กที่ยังคงหลอนอยู่เสมอ ละคร ตุ๊กตาเป็นละครไทยและนวนิยายไทยประเภทสยองขวัญ จากบทประพันธ์ของ วาณิช จรุงกิจอนันต์ ซึ่งมีเนื้อหาเด่นตรงที่นักเขียนได้หยิบเอาปัญหาการใช้แรงงานเด็กจากภาคชนบท กับปัญหาเด็กที่ขาดความรักความอบอุ่นในครอบครัวคนชั้นกลางตามเมืองใหญ่ๆที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น นำมาพูดถึงไปพร้อมๆกัน และพูดด้วยวิธีการของการเขียนนวนิยาย ที่นักเขียนออกมาในแนวกึ่งลึกลับ สยองขวัญ และสืบสวน จากนั้น ได้มีการนำไปออกอากาศเป็นละครโทรทัศน์ครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2531 ใทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ซึ่งในยุคนั้นมีคดีการนำลักพาตัวเด็กอยู่บ่อยครั้ง และเด็กส่วนมากก็ถูกฆ่าคล้ายๆกับในละคร ทำให้ละครเรื่องนี้ติดอันดับความหลอนในยุคนั้น
2.ศีรษะมาร ละครผีแนวที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ที่สุดแต่กลับทำให้ตัวละครนามว่า ปี๋ ผีหัวขาดยังหลอนอยู่เสมอ ละครเรื่อง ศีรษะมาร ที่นำแสดงโดย บิลลี่ โอแกน และชฎาพร รัตนากร ออกอากาศทางช่อง 7 ปี 2536 นางเอกชื่อปี๋ หรือ ปิลันธา เป็นผู้หญิงที่มีพลังจิตสูงมากแต่ด้วยความที่ถูกเลี้ยงมาแบบตาม เลยมีนิสัยก้าวร้าว รุนแรง เอาแต่ใจตัวเองด้วย และมีคุณลุงที่เป็นนักวิทยาศาสตร์ ซึ่งกำลังทำการทดลองเกี่ยวกับน้ำยาซึ่งสามารถปลุกให้เซลล์ที่ตายแล้วให้ กลับฟื้นคืนชีพได้ จนวันหนึ่งปิลันธาเธอประสบอุบัติเหตุชนกับรถสิบล้อ กระจกรถตัดศีรษะขาด
แต่ด้วยพลังจิตอันแรงกล้าที่ยังไม่ยอมตาย เธอจึงหิ้วศีรษะของตัวเองกลับมาบ้าน เพื่อมาขอร้องให้คุณลุงซึ่งเป็นนักวิทยาศาตร์ของเธอใช้น้ำยาชุบชีวิตให้ ปี๋ก็สะกดจิตคุณลุงจนยอมทำตาม ให้เธอมีชีวิตอยู่ในร่างที่เหมือนผีดิบต่อไป เมื่อร่างของเธอเริ่มมีการเน่าเปื่อย เพราะน้ำยาไม่สามารถทำให้คงทนได้มากไปกว่านี้ ปี๋ก็เริ่มต้องกลบเกลื่อนด้วยน้ำหอมและใช้ผ้าพันคอเพื่อปกปิดรอยต่อของศรีษะ ที่ขาดตลอดเวลา และความหลอนมันอยู่ตรงที่ เธอออกล่าเหยื่อเพื่อดูดเลือด สดๆ เป็นอาหาร
3.ปอบผีฟ้า เอกลักษณ์เด่นของละคร เรื่องนี้นอกจากเสียงระนาดสุดหลอนแล้ว คำว่า "ข้าอยากกินเลือด" ก็เป็นเสียงโหยหวนของผีปอบในเรื่องที่ชวนขนลุก โดยละครเรื่องนี้เป็นละคร โทรทัศน์ บทประพันธ์ของ ประดิษฐ์ กัลย์จาฤก ถูกนำมาสร้างเป็นละครครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2518 นำแสดงโดย เสกศักดิ์ สันติพงษ์ วีรวรรณ โทณะวณิก ต่อมาในปี พ.ศ. 2540 นำกลับมาทำใหม่ นำแสดงโดย นุติ เขมะโยธิน วรนุช วงษ์สวรรค์ และในปี พ.ศ. 2552 ได้นำกลับมาสร้างใหม่ ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 เมื่อ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
เนื้อเรื่องกล่าวถึงเรื่องราวลึกลับข้ามภพข้ามชาติที่ก่อเนื่องมาจากความรัก และความแค้นของเจ้านางสองคนแห่งนครภูคำ ซึ่งแม้เมื่อหลายร้อยปีผ่านไป ความรักและความแค้นไม่เคยจางหาย ก่อเกิดเป็นเรื่องราวลึกลับซับซ้อนและน่าสยองขวัญเกี่ยวพันกับอีกหลายชีวิตที่เกาะเกี่ยวกันมาทั้งในชาตินี้และในอดีตชาติ ปอบผีฟ้า จึงเป็นละครโทรทัศน์แนวลึกลับที่สะท้อนภาพของความดี ความเลว ความรัก ความซื่อสัตย์ของทั้งวิญญาณและมนุษยชาติ
4.ห้องหุ่น เรื่องราวของวิญญาณที่ถูกตราตรึงไว้ในห้องหุ่น ซึ่งความหลอนมันอยู่ตรงที่ หุ่นทุกตัวนั้น มีวิญญาณและเรื่องราวซ่อนอยู่ ละครเรื่องนี้เคยถูกสร้างเป็นละครมาแล้วถึง 3 ครั้ง โดยในครั้งแรกในปี พ.ศ. 2519 นำแสดงโดย เสกศักดิ์ สันติพงษ์, ชัย ราชพงษ์, ศิรดา ศิริวัฒน์, มนฤดี ยมาภัย, สุชีรา สุภาเสพย์ ครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2532 นำแสดงโดย บดินทร์ ดุ๊ก ปิยะดา เพ็ญจินดา กำกับโดย จรูญ ธรรมศิลป์ และครั้งที่ 3 ในปี พ.ศ. 2546 นำแสดงโดย อัษฏาวุธ เหลืองสุนทร จีรนันท์ มะโนแจ่ม กำกับโดย ธีรศักดิ์ พรหมเงิน และล่าสุดถูกนำกลับมาสร้างอีกครั้งทางช่อง 3
5.กระสือ เป็นละครโทรทัศน์ไทย เป็นบทประพันธ์ของ บุราณ ที่เค้าโครงสร้างจาก "ผีกระสือ" ผีพื้นบ้านไทย ควานหลอนของละครเรื่องนี้ มาจาก ยายสาย ต้นกำเนิดของผีกระสือ มีผู้หญิงคนหนึ่งเป็นกระสือก่อนตายได้เรียกคุณยายสายไปหาและมอบสมบัติให้ แต่ขณะที่ยายสายเผลอผู้หญิงคนนั้นได้บ้วนน้ำลายใส่ในขันกินน้ำให้ยายสายกิน ยายสายก็เลยกลายเป็นกระสือแทนผู้หญิงคนนั้น ยายสายผู้นี้มีบุตรคนหนึ่งแต่งงานและมีลูกสาวหนึ่งคน แต่ทั้งลูกชายและลูกสะใภ้ก็หายหน้าหนี้ไปทิ้งลูกสาวไว้ให้ยายสายเป็นผู้ดูแล ยายสายก็เลยต้องเลี้ยงหลานสาวกำพร้าโดยลำพัง การสืบทอดดวงวิญญาน ของกระสือต่อจากยายสายจึงเริ่มขึ้น
ละครเรื่องนี้ ถูกนำมาสร้างครั้งแรกในปี พ.ศ. 2520 - พ.ศ. 2522 ในรูปแบบภาพยนตร์โทรทัศน์ สร้างโดยดาราฟิล์ม ออกฉายทาง ช่อง 7 ในปี พ.ศ. 2537 - พ.ศ. 2538 ผลิตโดย บริษัท ดาราวิดีโอ จำกัด นำแสดงโดย ศตวรรษ ดุลยวิจิตร, รชนีกร พันธุ์มณี และในปี พ.ศ. 2555 ได้นำกลับมาสร้างใหม่ ใช้ชื่อเรื่อง กระสือจำศีล ออกอากาศทางช่อง ทีวี จ๊ะทิงจา ออกอากาศเมื่อปี 2555
เครดิต : http://tv.truelife.com/detail/3256789/hilight/%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%95%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%99-5-%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%9C%E0%B8%B5-%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%99-