ช่วงนี้มีข่าวเรื่องโขนพระราชทานออกมาทางสื่อต่างๆบ่อยครั้ง ทำให้เป็นจุดเชื่อมโยงคิดสงสัยไปถึงวรรณคดีสมัยก่อนที่มีกวีหลายท่านรังสรรค์ออกมา อย่างเรื่องรามเกียรติ์ยังพอเข้าใจได้ว่า ผู้แต่งได้นำโครงเรื่องมาจากวรรณคดีรามายณะของอินเดียมาแปลเป็นไทยใส่กลอนใส่ฉันทลักษณ์เข้าไปให้กลายเป็นบทวรรณคดีที่ไพเราะเพราะพริ้ง แต่อย่างวรรณคดีไทยที่มีการแต่งขึ้นมาใหม่โดยใช้กวีหลายท่านร่วมกันแต่งนั้นมีการจัดการเรื่องเนื้อเรื่องอย่างไร เป็นลักษณะที่กวีแต่ละครเข้ามาประชุมกันและได้ทราบเรื่องราวทั้งหมดตั้งแต่ต้นจนจบแล้วจึงนำแบ่งตอนให้กวีแต่ละคนนำไปประพันธ์เป็นกลอนใส่ฉันทลักษณ์อย่างไรสุดแล้วแต่ที่กวีท่านนั้นจะรังสรรค์ หรือเป็นลักษณะที่ว่า กวีทุกท่านประชุมทราบเรื่องราวแบบย่อแค่ตอนเริ่มเรื่อง หลังจากนั้นก็แบ่งกันไปว่าใครจะเขียนก่อนหลัง แล้วจินตนาการเนื้อเรื่องตอนต่อไปเอาเองตามแต่ใจผู้ประพันธ์
ลองคิดดูว่าถ้าเป็นอย่างหลังนี่คงจะเป็นเรื่องสนุกมากเลย กวีแต่ละท่านแต่งเรื่องไป ประพันธ์เป็นกลอนไป โดยที่ไม่อาจจะรู้เลยว่าตัวละครที่ตัวเองกำลังเขียนถึงอยู่จะมีชีวิตต่อไปเช่นไรเมื่อไปอยู่ในมือกวีท่านต่อไป
ป.ล. กวีสมัยโบราณท่านเก่งกันมากจริงๆ ขนาดตัวเราเองนี้แต่งกลอนใช้ศัพท์ภาษาไม่วิจิตรเท่าพวกท่านเพียงไม่กี่บทนี่ก็แย่แล้ว นี่ท่านแต่งกันเป็นร้อยเป็นพันแถมเรียบเรียงเป็นเรื่องราวสนุกสนานน่าติดตามได้ขนาดนี้
วรรณคดีเรื่องที่แต่งกันหลายคนนี่คิดว่าเค้าแต่งกันยังไงคะ
ลองคิดดูว่าถ้าเป็นอย่างหลังนี่คงจะเป็นเรื่องสนุกมากเลย กวีแต่ละท่านแต่งเรื่องไป ประพันธ์เป็นกลอนไป โดยที่ไม่อาจจะรู้เลยว่าตัวละครที่ตัวเองกำลังเขียนถึงอยู่จะมีชีวิตต่อไปเช่นไรเมื่อไปอยู่ในมือกวีท่านต่อไป
ป.ล. กวีสมัยโบราณท่านเก่งกันมากจริงๆ ขนาดตัวเราเองนี้แต่งกลอนใช้ศัพท์ภาษาไม่วิจิตรเท่าพวกท่านเพียงไม่กี่บทนี่ก็แย่แล้ว นี่ท่านแต่งกันเป็นร้อยเป็นพันแถมเรียบเรียงเป็นเรื่องราวสนุกสนานน่าติดตามได้ขนาดนี้