กว่าครึ่งคืน ..เข้ามาถึงห้องกลอนได้สักที..555
๏ ทุกคนต่างมีฝันเหมือนกันไหม ?
แอบเก็บฝันไว้ในใจบ้างหรือเปล่า ?
ได้สร้างฝันสำเร็จเสร็จแล้วเรา
หรือไม่เอาแล้วฝันทิ้งมันไป
๏ เพราะจิตใจของมนุษย์นั้นสุดหยั่ง
เลือกที่รักมักที่ชังช่างเหลวไหล
ยามอยากยั้งยากหยุดสะดุดใจ
หมดความใคร่ให้หาเลิกมามอง
๏ ถ้าความฝันทุกสิ่งเป็นจริงง่าย
ไม่ต้องตะเกียกตะกายเป็นเจ้าของ
แล้วฝันที่ทุกคนต่างหมายปอง
จะเหลือค่าน่าครอบครองสักเท่าไหร่
๏ ฝันให้ไกลไปให้ถึงแม้ลำบาก
สูงเทียมฟ้าว่ายากอย่าหวั่นไหว
ความอดทนพยายามจะนำไป
สู่ฝันที่ยิ่งใหญ่ อย่าอ่อนแอ
๏ และรักษาความฝันอันนั้นไว้
ติดตัวตลอดไปอย่ายอมแพ้
มิว่าเกิดอะไรขึ้นต้องดูแล
ถึงเป็นแค่สิ่งสมมติความสุขเงา
๏ สัจธรรมในชีวิตของมนุษย์
ถึงที่สุดทุกอย่างคือว่างเปล่า
เกิดหรือตายก็แค่ตัวของเรา
มิอาจเอาสิ่งใดติดไปเอย..๚ะ๛ 25/7/60
กวี หมายถึง ผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญในศิลปะการประพันธ์บทร้อยกรองในรูปฉันทลักษณ์อันหมายถึงแบบข้อบังคับสัมผัส วรรคตอน และถ้อยคำให้เรียงร้อยรับกันอย่างเหมาะเจาะไพเราะด้วยจังหวะและน้ำหนักของคำที่กำหนดไว้ โดยทั่วไป อาจจำแนกแบบฉันทลักษณ์ออกเป็น 7 ชนิดด้วยกันคือ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ร่าย ลิลิต และกลบท มักใช้คำนี้ในภาษาแบบแผนหรือภาษาการประพันธ์ในวรรณคดีโบราณ และอาจรวมถึงปัจจุบัน โดยปริยาย..หมายถึง ผู้ชำนาญในการประพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นบทร้อยกรอง หรือวรรณกรรมในรูปแบบอื่นๆ โดยมีความหมายในเชิงยกย่อง
ในปัจจุบัน คำว่า "กวี" มีความหมายที่กว้างมากขึ้น ไม่เพียงแต่หมายถึงผู้แต่งร้อยกรองเพียงอย่างเดียว หากยังหมายถึง ผู้มีฝีมือในการแต่งวรรณกรรมในรูปแบบอื่นๆ เช่น นวนิยาย เรื่องสั้น วรรณกรรมมุขปาฐะ (แต่งปากเปล่า ด้วยการขับ ร้อง หรือเล่า โดยไม่บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร) เช่น กวีซีไรต์ มีทั้งผู้แต่งร้อยแก้ว และร้อยกรอง ขณะที่เรียกผู้ชำนาญในการแต่งเพลง ว่า คีตกวี ..( คัดลอกวิกิพีเดีย )
เป็นคำจำกัดความของนักกวี ในแง่ของความเป็นสากล..
เขียนออกมามันก็เป็นกวีนิพนธ์ ไม่ว่าจะเป็น โคลง ,ฉันท์ ,กาพย์ ,กลอน หรือ อื่นๆ..(เขียนเสร็จแล้วเป็นลิขสิทธิ์ส่วนตัวอัตโนมัติ)
ทุกคนมีสิทธ์เป็นนักกวีด้วยกันทั้งนั้น ถ้าอยาก.. เพราะทุกคนก็คิดเป็น เขียนเป็น..
สิ่งที่เขียนออกมานั่นแหละ จะตัดสินให้เองจากคนอ่าน..เนื้องานของกวี..
การเขียน โคลง ,ฉันท์ ,กาพย์ ,กลอน หรืออื่นๆ เป็นหลายๆ ประเภท ไม่ได้หมายความว่า..เราเป็นนักกวีที่เก่งกาจ..
ได้แค่ขยันเท่านั้น..ถ้าทำให้คน *เข้าใจ* สิ่งที่เราเขียนไม่ได้ หรือ เข้าใจได้ไม่ทั้งหมด แล้วอย่าคิดว่าเป็นเพราะคนอ่านไม่เข้าใจงานของเราเอง รู้น้อยอ่านไม่รู้เรื่อง ..
เพราะโลกเรามันหมุนทุกวันมีการเปลี่ยนแปลงทุกวัน คนเราต่างภาวะความเป็นอยู่ ภาษาพูด ภาษาเขียนแตกต่างกัน เหง้าความคิดในเรื่องเดียวกัน อาจสื่อออกมาหรือแปล..ต่างกันได้..เป็นเรื่องปรกติ
เป็นหน้าที่คนนำเสนอ ต้องสร้างความเข้าใจ เราจึงต้องสร้างความเข้าใจ ในสิ่งที่เราเขียนให้คนอ่านรับรู้ได้...
นอกจากเขียนให้ *เข้าใจ* ควรเขียนให้ *จับใจ* ด้วย..
ไม่ได้อยู่ที่ลักษณะของบทกวี จะเป็นโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ฯ ได้หมด..แต่มันอยู่ที่ เราเขียนให้คนอ่าน *เข้าใจ* ได้ และ เขียนได้ *จับใจ* คนอ่าน..หรือไม่..
บทกวีที่ไม่มีชีวิต..ไม่ต่างจากฉลากข้างกล่องยา หรือ โฆษณาตามเสาไฟ เท่านั้น
หลายปีที่ผ่านมา..ผมทำได้แค่ *เข้าใจ* จากการเขียนกลอนแปด ซึ่งก็ยังไม่ดีที่สุด..และไม่สามารถจะก้าวเข้าไปถึงคำว่า *จับใจ* ได้สักเท่าไหร่..ซึ่งมันอาจจะหมดเวลาแล้ว หมดความสามารถ..
ทำไมคนอ่านนวนิยาย..ของทมยันตี หรือ กฤษณา อโศกสิน อ่านแล้ววางไม่ได้ อ่านแล้วร้องไห้ อ่านแล้วใจไปซาบซึ้งกับสิ่งที่เขาเขียน..แต่บทกวีในยุคหลังๆ แค่จะเขียนให้อ่านแล้ว*เข้าใจ*ได้..ยังทั้งยาก..
ฝากไปถึงน้องๆ ที่ชอบเขียนและนิยมคำว่า*กวี*รุ่นหลังๆ..อย่ามัวไปหลงในรูปแบบการเขียนอยู่เลย..จะเป็น โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน อะไรก็ได้...เอาให้มันชำนาญสักอย่าง..
เขียนให้คนอ่าน*เข้าใจ* เขียนให้คนอ่าน *จับใจ* ทำให้บทกวีมีลมหายใจ..
คำว่ากวี..เราก็มีศักดิ์ศรี พอที่จะใช้คำนั้นแล้ว...
รู้อะไรไม่สู้..รู้วิชา
รู้รักษาตัวรอด เป็นยอดดี… (โบราณ)
ปัจจุบันถ้าคิดดูอีกที
รู้ตัว..นั่นแหละดี ที่สุดเอย..
.
ฝัน..ฝัน
๏ ทุกคนต่างมีฝันเหมือนกันไหม ?
แอบเก็บฝันไว้ในใจบ้างหรือเปล่า ?
ได้สร้างฝันสำเร็จเสร็จแล้วเรา
หรือไม่เอาแล้วฝันทิ้งมันไป
๏ เพราะจิตใจของมนุษย์นั้นสุดหยั่ง
เลือกที่รักมักที่ชังช่างเหลวไหล
ยามอยากยั้งยากหยุดสะดุดใจ
หมดความใคร่ให้หาเลิกมามอง
๏ ถ้าความฝันทุกสิ่งเป็นจริงง่าย
ไม่ต้องตะเกียกตะกายเป็นเจ้าของ
แล้วฝันที่ทุกคนต่างหมายปอง
จะเหลือค่าน่าครอบครองสักเท่าไหร่
๏ ฝันให้ไกลไปให้ถึงแม้ลำบาก
สูงเทียมฟ้าว่ายากอย่าหวั่นไหว
ความอดทนพยายามจะนำไป
สู่ฝันที่ยิ่งใหญ่ อย่าอ่อนแอ
๏ และรักษาความฝันอันนั้นไว้
ติดตัวตลอดไปอย่ายอมแพ้
มิว่าเกิดอะไรขึ้นต้องดูแล
ถึงเป็นแค่สิ่งสมมติความสุขเงา
๏ สัจธรรมในชีวิตของมนุษย์
ถึงที่สุดทุกอย่างคือว่างเปล่า
เกิดหรือตายก็แค่ตัวของเรา
มิอาจเอาสิ่งใดติดไปเอย..๚ะ๛ 25/7/60
กวี หมายถึง ผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญในศิลปะการประพันธ์บทร้อยกรองในรูปฉันทลักษณ์อันหมายถึงแบบข้อบังคับสัมผัส วรรคตอน และถ้อยคำให้เรียงร้อยรับกันอย่างเหมาะเจาะไพเราะด้วยจังหวะและน้ำหนักของคำที่กำหนดไว้ โดยทั่วไป อาจจำแนกแบบฉันทลักษณ์ออกเป็น 7 ชนิดด้วยกันคือ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ร่าย ลิลิต และกลบท มักใช้คำนี้ในภาษาแบบแผนหรือภาษาการประพันธ์ในวรรณคดีโบราณ และอาจรวมถึงปัจจุบัน โดยปริยาย..หมายถึง ผู้ชำนาญในการประพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นบทร้อยกรอง หรือวรรณกรรมในรูปแบบอื่นๆ โดยมีความหมายในเชิงยกย่อง
ในปัจจุบัน คำว่า "กวี" มีความหมายที่กว้างมากขึ้น ไม่เพียงแต่หมายถึงผู้แต่งร้อยกรองเพียงอย่างเดียว หากยังหมายถึง ผู้มีฝีมือในการแต่งวรรณกรรมในรูปแบบอื่นๆ เช่น นวนิยาย เรื่องสั้น วรรณกรรมมุขปาฐะ (แต่งปากเปล่า ด้วยการขับ ร้อง หรือเล่า โดยไม่บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร) เช่น กวีซีไรต์ มีทั้งผู้แต่งร้อยแก้ว และร้อยกรอง ขณะที่เรียกผู้ชำนาญในการแต่งเพลง ว่า คีตกวี ..( คัดลอกวิกิพีเดีย )
เป็นคำจำกัดความของนักกวี ในแง่ของความเป็นสากล..
เขียนออกมามันก็เป็นกวีนิพนธ์ ไม่ว่าจะเป็น โคลง ,ฉันท์ ,กาพย์ ,กลอน หรือ อื่นๆ..(เขียนเสร็จแล้วเป็นลิขสิทธิ์ส่วนตัวอัตโนมัติ)
ทุกคนมีสิทธ์เป็นนักกวีด้วยกันทั้งนั้น ถ้าอยาก.. เพราะทุกคนก็คิดเป็น เขียนเป็น..
สิ่งที่เขียนออกมานั่นแหละ จะตัดสินให้เองจากคนอ่าน..เนื้องานของกวี..
การเขียน โคลง ,ฉันท์ ,กาพย์ ,กลอน หรืออื่นๆ เป็นหลายๆ ประเภท ไม่ได้หมายความว่า..เราเป็นนักกวีที่เก่งกาจ..
ได้แค่ขยันเท่านั้น..ถ้าทำให้คน *เข้าใจ* สิ่งที่เราเขียนไม่ได้ หรือ เข้าใจได้ไม่ทั้งหมด แล้วอย่าคิดว่าเป็นเพราะคนอ่านไม่เข้าใจงานของเราเอง รู้น้อยอ่านไม่รู้เรื่อง ..
เพราะโลกเรามันหมุนทุกวันมีการเปลี่ยนแปลงทุกวัน คนเราต่างภาวะความเป็นอยู่ ภาษาพูด ภาษาเขียนแตกต่างกัน เหง้าความคิดในเรื่องเดียวกัน อาจสื่อออกมาหรือแปล..ต่างกันได้..เป็นเรื่องปรกติ
เป็นหน้าที่คนนำเสนอ ต้องสร้างความเข้าใจ เราจึงต้องสร้างความเข้าใจ ในสิ่งที่เราเขียนให้คนอ่านรับรู้ได้...
นอกจากเขียนให้ *เข้าใจ* ควรเขียนให้ *จับใจ* ด้วย..
ไม่ได้อยู่ที่ลักษณะของบทกวี จะเป็นโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ฯ ได้หมด..แต่มันอยู่ที่ เราเขียนให้คนอ่าน *เข้าใจ* ได้ และ เขียนได้ *จับใจ* คนอ่าน..หรือไม่..
บทกวีที่ไม่มีชีวิต..ไม่ต่างจากฉลากข้างกล่องยา หรือ โฆษณาตามเสาไฟ เท่านั้น
หลายปีที่ผ่านมา..ผมทำได้แค่ *เข้าใจ* จากการเขียนกลอนแปด ซึ่งก็ยังไม่ดีที่สุด..และไม่สามารถจะก้าวเข้าไปถึงคำว่า *จับใจ* ได้สักเท่าไหร่..ซึ่งมันอาจจะหมดเวลาแล้ว หมดความสามารถ..
ทำไมคนอ่านนวนิยาย..ของทมยันตี หรือ กฤษณา อโศกสิน อ่านแล้ววางไม่ได้ อ่านแล้วร้องไห้ อ่านแล้วใจไปซาบซึ้งกับสิ่งที่เขาเขียน..แต่บทกวีในยุคหลังๆ แค่จะเขียนให้อ่านแล้ว*เข้าใจ*ได้..ยังทั้งยาก..
ฝากไปถึงน้องๆ ที่ชอบเขียนและนิยมคำว่า*กวี*รุ่นหลังๆ..อย่ามัวไปหลงในรูปแบบการเขียนอยู่เลย..จะเป็น โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน อะไรก็ได้...เอาให้มันชำนาญสักอย่าง..
เขียนให้คนอ่าน*เข้าใจ* เขียนให้คนอ่าน *จับใจ* ทำให้บทกวีมีลมหายใจ..
คำว่ากวี..เราก็มีศักดิ์ศรี พอที่จะใช้คำนั้นแล้ว...
รู้อะไรไม่สู้..รู้วิชา
รู้รักษาตัวรอด เป็นยอดดี… (โบราณ)
ปัจจุบันถ้าคิดดูอีกที
รู้ตัว..นั่นแหละดี ที่สุดเอย..
.