ทำไมเรียกประเทศเพื่อนบ้านที่มาทำงานว่าต่างด้าว แล้วประเทศที่อื่นว่าต่างชาติ

ทำไมเรียกประเทศเพื่อนบ้านที่มาทำงานว่าต่างด้าว แล้วประเทศที่อื่นว่าต่างชาติ

อย่างข่าว จับคนต่างด้าวลักลอบเข้าประเทศ ทำไมไม่ใช้จับคนต่างชาติลักลอบเข้าประเทศ

ชาวต่างชาติสอนภาษา ทำไมไม่เรียก ชาวต่างด้าวสอนภาษา

ชาวต่างชาติเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศ ทำไมไม่เรียก ชาวต่างด้าวเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศ

ต่างชาติ กับ ต่างด้าว แตกต่างกันอย่างไร?


คนต่างด้าว (aliens) หมายถึง บุคคล ซึ่งพำนักอยู่ในรัฐ ที่ตนมิได้เป็นคนสัญชาตินั้น หรือเป็นพลเมืองของรัฐนั้น พระราชบัญญัติ สัญชาติ พ.ศ.2508 มาตรา 4 บัญญัติว่า "คนต่างด้าว หมายถึง ผู้ซึ่งมิได้มีสัญชาติไทย" โดยทั่วไปแล้วประชาชน ที่อาศัยอยู่ในแผ่นดินของรัฐหนึ่งรัฐใด ย่อมประกอบไปด้วยบุคคลสองจำพวก คือ พลเมืองของรัฐนั้นจำพวกหนึ่ง กับอีกพวกหนึ่ง คือพลเมืองของรัฐอื่น ซึ่งเรียกว่า คนต่างด้าว คนต่างด้าว ที่เข้ามาอาศัยในดินแดนของรัฐใด ย่อมอยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายของรัฐเช่นเดียวกับพลเมืองของรัฐนั้น แต่โดยทั่วไปแล้วคนต่างด้าวจะถูกจำกัดสิทธิ และหน้าที่บางประการ ซึ่งเรื่องนี้ แยกออกพิจารณาได้ 2 ประการ คือ สิทธิตามกฎหมายเอกชน และสิทธิตามกฎหมายมหาชน

            สิทธิตามกฎหมายเอกชนนั้น ถือว่าคนต่างด้าวมีสิทธิเช่นเดียวกับพลเมืองของรัฐ เช่น คนต่างด้าว มีสิทธิสมรส รับมรดก และมีสิทธิมีกรรมสิทธิในอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น สิทธิตามกฎหมายเอกชน ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด จะมีปัญหาก็เฉพาะ การถือกรรมสิทธิ ในที่ดินของคนต่างด้าวเท่านั้น อย่างไรก็ดีเรื่องการถือกรรมสิทธิในที่ดินของคนต่างด้าวนี้ มิได้ถือเป็นหลักอย่างเคร่งครัดว่าคนต่างด้าวจะมีกรรมสิทธิในที่ดินมิได้เลย วิธีปฏิบัติในเรื่องนี้ ประเทศต่างๆ มักจะมีสนธิสัญญาต่อกันว่าคนต่างด้าว มีสิทธิที่จะมีกรรมสิทธิในที่ดินได้ เช่น สนธิสัญญาที่ไทยทำกับปอร์ตุเกส ฝรั่งเศส อิตาลี อังกฤษ สเปน สวิตเซอร์แลนด์ เดนมาร์ค สวีเดน และญี่ปุ่น เป็นต้น พลเมืองของประเทศดังกล่าวนี้ อาจถือกรรมสิทธิในที่ดินในประเทศไทยได้ และพลเมืองของไทย ก็อาจถือกรรมสิทธิในที่ดินของประเทศเหล่านั้น ได้เช่นกัน

            ตามหลัก กฎหมายระหว่างประเทศ ที่เกี่ยวกับการปฏิบัติต่อคนต่างด้าวนั้น ถือหลักว่าคนต่างด้าวไม่ว่าจะเป็นในฐานะ นักท่องเที่ยว หรือในฐานะผู้อยู่ประจำก็ตาม ย่อมไม่มีสิทธิเหนือพลเมืองของรัฐ และไม่มีสิทธิทางการเมือง คนต่างด้าว ย่อมอยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายของรัฐทุกประการ หากเขาถูกละเมิดจะต้องใช้กฎหมายของรัฐนั้นใช้บังคับ และเขาก็มีสิทธิ ที่จะขอรับความยุติธรรมจากรัฐเช่นเดียวกับพลเมืองของรัฐนั้น

ที่มา http://guru.sanook.com/21278/%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4-%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A-%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7-%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3/
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่