........................ยามเช้า
กลอนหก
...ยามเช้า เฝ้าดู สุรีย์รุ่ง............แสงพุ่ง พ่างฟ้า หล้าไสว
สิ่งสรรพ ขานขับ ประทับใจ........ตระหนักใน พระคุณ ธ หนุนนำ
โคลงสี่สุภาพ
....จึ่งข้าฯ ร่ำพร่ำร้อง..................ขับขาน
ถวายกาพย์โคลงกลอนกานท์.......แซ่ซ้อง
แทนคุณ ธ อภิบาล....................ทุกเมื่อ
พลาดผิดมิทรงจ้อง....................จับใช้โทษา
อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
...ข้าฯ ตรอง ตระหนักซึ้ง..........จิต(ะ)จึง มุรับใช้
ผองผู้ ระทมไห้.....................ภยพาล ลุรอดเทอญ
พ่าง น. พื้น, มักใช้เข้าคู่กันเป็น พ่างพื้น เช่น พ่างพื้นพสุธา.
ว. เพียง, เช่น เหมือน, แทบ, พาง หรือ ปาง ก็ว่า.
ภย [พะยะ–] (แบบ) น. ความกลัว, ของที่น่ากลัว. (ป., ส.).
ชี้แจง :
๑) เข้าลิลิต หมายถึง
- การส่งสัมผัสระหว่างบทประพันท์ ไม่ว่าจะเป็น ร่ายกับโคลง หรือ ระหว่างโคลงด้วยกันเอง
ย้ำ ต้องส่งสัมผัสทุกบท
- การส่งสัมผัส ทำโดย คำท้ายสุด ส่งสัมผัส(สระ)ไปให้ แล้ว บทใหม่ รับสัมผัส(สระ) ที่คำ ๑ หรือ ๒ หรือ ๓
*** ที่นี้ ไม่ได้ยึดขนบที่ว่า "เป็นร่ายกับโคลง"
๒) ฉันท์ เป็นกาพย์แบบกำหนด เสียงหนักเบา (ครุ ลหุ) ในตำแหน่งที่แน่นอน
ยามเช้า (ร้อยกรองเข้าลิลิต) toshare
กลอนหก
...ยามเช้า เฝ้าดู สุรีย์รุ่ง............แสงพุ่ง พ่างฟ้า หล้าไสว
สิ่งสรรพ ขานขับ ประทับใจ........ตระหนักใน พระคุณ ธ หนุนนำ
โคลงสี่สุภาพ
....จึ่งข้าฯ ร่ำพร่ำร้อง..................ขับขาน
ถวายกาพย์โคลงกลอนกานท์.......แซ่ซ้อง
แทนคุณ ธ อภิบาล....................ทุกเมื่อ
พลาดผิดมิทรงจ้อง....................จับใช้โทษา
อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
...ข้าฯ ตรอง ตระหนักซึ้ง..........จิต(ะ)จึง มุรับใช้
ผองผู้ ระทมไห้.....................ภยพาล ลุรอดเทอญ
พ่าง น. พื้น, มักใช้เข้าคู่กันเป็น พ่างพื้น เช่น พ่างพื้นพสุธา.
ว. เพียง, เช่น เหมือน, แทบ, พาง หรือ ปาง ก็ว่า.
ภย [พะยะ–] (แบบ) น. ความกลัว, ของที่น่ากลัว. (ป., ส.).
ชี้แจง :
๑) เข้าลิลิต หมายถึง
- การส่งสัมผัสระหว่างบทประพันท์ ไม่ว่าจะเป็น ร่ายกับโคลง หรือ ระหว่างโคลงด้วยกันเอง
ย้ำ ต้องส่งสัมผัสทุกบท
- การส่งสัมผัส ทำโดย คำท้ายสุด ส่งสัมผัส(สระ)ไปให้ แล้ว บทใหม่ รับสัมผัส(สระ) ที่คำ ๑ หรือ ๒ หรือ ๓
*** ที่นี้ ไม่ได้ยึดขนบที่ว่า "เป็นร่ายกับโคลง"
๒) ฉันท์ เป็นกาพย์แบบกำหนด เสียงหนักเบา (ครุ ลหุ) ในตำแหน่งที่แน่นอน