ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) คือการรวมตัวของชาติใน Asean เพื่อที่จะให้มีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน จะมีรูปแบบคล้ายๆ กลุ่ม Euro Zone จะทำให้มีผลประโยชน์ อำนาจต่อรองต่างๆ กับคู่ค้าได้มากขึ้น และการนำเข้า ส่งออกของชาติในอาเซียนก็จะเสรี ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจึงเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย ในการขยายการส่งออกและโอกาสทางการค้า และการบริการในสาขาที่ประเทศไทย มีความสามารถในการแข่งขัน เช่น การท่องเที่ยว โรงแรมและภัตตาคาร ฯลฯ ทีนี้ลองย้อนกลับมาดูว่า ในบรรดา 10 ประเทศในอาเซียน ประเทศไทยอยู่ตรงไหนในอาเซียน? กำลังได้เปรียบหรือเสียเปรียบในด้านใดบ้าง
World Economic Forum (WEF) ได้การจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพของประเทศต่าง ๆ ในเชิงเปรียบเทียบกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ การค้า และสังคม ความก้าวหน้าหรือความล้าหลัง ความสำเร็จหรือความล้มเหลว ของการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ การค้า สังคมและการเมือง ของแต่ละประเทศในเชิงเปรียบเทียบ ซึ่งคะแนนที่ WEF ให้ทั้งหมดนั้นมีคะแนนเต็ม 7 คะแนน โดยมีปัจจัยการคิดจาก 3 กลุ่มเป็นหลัก (Basic Requirements, Efficiency Enhancers, Innovation and Sophistication factors) พบว่าในบรรดา 10 ประเทศในอาเซียนนั้นสิงคโปร์มีคะแนนนำเป็นที่ 1 ในอาเซียนและถูกจัดเป็นลำดับที่ 2 จาก 148 ประเทศทั่วโลก โดยมีคะแนนอยู่ที่ 5.61 สำหรับประเทศไทยถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ 4 ในอาเซียนและอันดับที่ 37 จาก 148 ประเทศทั่วโลก มีคะแนนอยู่ที่ 4.54
เมื่อนำคะแนนของแต่ละกลุ่มปัจจัยทั้ง 10 ประเทศมาเทียบกัน สิงคโปร์ก็ยังคงเป็นผู้นำในทุกๆด้าน และสำหรับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยยังสูงกว่าค่าเฉลี่ยของอาเซียนอยู่เล็กน้อย และมีคะแนนสูงกว่าเวียดนาม ลาว กัมพูชา และพม่าในทุกด้าน แต่หากเทียบกับอินโดนีเซียที่มีอันดับและคะแนนตามกันมาติดๆ โดยอินโดนีเซียแซงหน้าไทย ในเรื่องของนวัตกรรมและความเชี่ยวชาญในด้านธุรกิจ ซึ่งอินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีความพร้อมด้านเทคโนโลยี และมีนโยบายพัฒนาการผลิตด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงอย่างจริงจัง
เมื่อเจาะลึกพิจารณาทุกปัจจัยในประเทศไทย พบว่าไทยยังมีจุดอ่อนในเรื่องของนวัตกรรมและสถาบัน ซึ่งสิ่งที่ WEF กล่าวถึงอุปสรรคในการพัฒนาเศรษฐกิจของไทยคือ ความไม่แน่นอนทางการเมือง ปัญหาการคอรัปชันและปัญหาด้านความมั่นคงของประเทศ ตลอดจนระบบการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ยังไม่มีประสิทธิภาพ และความพร้อมทางด้านเทคโนโลยียังคงต่ำ เห็นได้จากมีประชากรสามารถเข้าถึงอินเตอร์เนตเพียง 1 ใน 4 เท่านั้น
และสำหรับปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจ WEF ระบุว่าไทยมีจุดแข็งในด้านเศรษฐกิจมหภาค ที่มีสถานการณ์การคลังที่ดี มีอัตราการออมและอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่ดี และอัตราหนี้ดีต่อ GDP อยู่ในระดับร้อยละ 44 ในปี 2555 ซึ่งค่อนข้างดีเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น นอกจากนี้ ไทยยังมีการพัฒนาของตลาดการเงิน และประสิทธิภาพของตลาดในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยจึงมีโอกาสพัฒนาได้อีกมาก อันเป็นผลสำคัญมาจากการส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันภายในประเทศ
TerraBKK Research มีความเห็นเพิ่มเติมว่า จุดแข็งหนึ่งของประเทศไทยในการเปิด AEC ครั้งนี้คือการเป็น Medical Hub ด้วยจุดเด่นในด้านมาตรฐานการแพทย์ที่เทียบเท่าระดับสากลและราคาที่ต่ำกว่า (world-class medicine at developing-world prices) ประเทศไทยยังมีข้อได้เปรียบในเรื่องของการให้บริการ ซึ่งเป็นจุดเด่นที่ทั่วโลกต่างยอมรับ ทั้งยังมีความได้เปรียบจากธุรกิจสนับสนุน อาทิ สปา เสริมสวย นวดแผนไทย สมุนไพรไทย และมีแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมของต่างชาติ ซึ่งทุกองค์ประกอบล้วนนำมาใช้เสริมการรักษาคนไข้ โดยสามารถจัดทำเป็นแพ็คเกจรวมเพื่อให้รัฐบาลนำแคมเปญนี้ไปโปรโมตหรือส่งเสริมการแพทย์ไทยในตลาดต่างประเทศได้อีกด้วย
_______________________________________________________________
World Economic Forum (WEF) ได้แบ่งการเปรียบเทียบออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่และแบ่งออกเป็น 12 เสาหลักย่อย ดังนี้
1. กลุ่มความต้องการพื้นฐาน (Basic Requirements) ประกอบไปด้วย 4 เสาหลัก
1.1 ด้านสถาบันทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมทั้งของรัฐและเอกชน ธรรมาภิบาล และความมั่นคงของสถาบัน (Institutions)
1.2 ด้านโครงสร้างสิ่งจำเป็นพื้นฐาน ( Infrastructure)
1.3 ด้านสภาพแวดล้อมเศรษฐกิจมหภาค (Macroeconomic environment)
1.4 ด้านสุขภาพและการศึกษาขี้นปฐมภูมิ (Health and Primary Education)
2. กลุ่มการเพิ่มประสิทธิภาพของการแข่งขัน (Efficiency Enhancers) ประกอบไปด้วย 6 เสาหลัก
2.1 ด้านการศึกษาขั้นสูงและการฝึกอบรม (Higher Education and Trainning)
2.2 ด้านประสิทธิภาพของตลาดสินค้าต่าง ๆทั้งในประเทศและต่างประเทศ (Goods market Efficiency)
2.3 ด้านประสิทธิภาพของตลาดแรงาน (Labour market Efficiency)
2.4 ด้านการพัฒนาตลาดเงิน (Financial market Development)
2.5 ด้านความพร้อมของเทคโนโลยี (Technology Readiness)
2.6 ด้านขนาดตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ (Market Size)
3. กลุ่มนวัตกรรมและปัจจัยของความเชี่ยวชาญ (Innovation and sophistication factors) ประกอบไปด้วย 2 เสาหลัก
3.1 ด้านความเชี่ยวชาญในการดำเนินธุรกิจ (Business sophistication)
3.2 ด้านนวัตกรรม (Innovation)
ที่มา :
TerraBKK
ประเทศไทยอยู่ตรงไหนในอาเซียน?
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) คือการรวมตัวของชาติใน Asean เพื่อที่จะให้มีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน จะมีรูปแบบคล้ายๆ กลุ่ม Euro Zone จะทำให้มีผลประโยชน์ อำนาจต่อรองต่างๆ กับคู่ค้าได้มากขึ้น และการนำเข้า ส่งออกของชาติในอาเซียนก็จะเสรี ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจึงเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย ในการขยายการส่งออกและโอกาสทางการค้า และการบริการในสาขาที่ประเทศไทย มีความสามารถในการแข่งขัน เช่น การท่องเที่ยว โรงแรมและภัตตาคาร ฯลฯ ทีนี้ลองย้อนกลับมาดูว่า ในบรรดา 10 ประเทศในอาเซียน ประเทศไทยอยู่ตรงไหนในอาเซียน? กำลังได้เปรียบหรือเสียเปรียบในด้านใดบ้าง
World Economic Forum (WEF) ได้การจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพของประเทศต่าง ๆ ในเชิงเปรียบเทียบกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ การค้า และสังคม ความก้าวหน้าหรือความล้าหลัง ความสำเร็จหรือความล้มเหลว ของการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ การค้า สังคมและการเมือง ของแต่ละประเทศในเชิงเปรียบเทียบ ซึ่งคะแนนที่ WEF ให้ทั้งหมดนั้นมีคะแนนเต็ม 7 คะแนน โดยมีปัจจัยการคิดจาก 3 กลุ่มเป็นหลัก (Basic Requirements, Efficiency Enhancers, Innovation and Sophistication factors) พบว่าในบรรดา 10 ประเทศในอาเซียนนั้นสิงคโปร์มีคะแนนนำเป็นที่ 1 ในอาเซียนและถูกจัดเป็นลำดับที่ 2 จาก 148 ประเทศทั่วโลก โดยมีคะแนนอยู่ที่ 5.61 สำหรับประเทศไทยถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ 4 ในอาเซียนและอันดับที่ 37 จาก 148 ประเทศทั่วโลก มีคะแนนอยู่ที่ 4.54
เมื่อนำคะแนนของแต่ละกลุ่มปัจจัยทั้ง 10 ประเทศมาเทียบกัน สิงคโปร์ก็ยังคงเป็นผู้นำในทุกๆด้าน และสำหรับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยยังสูงกว่าค่าเฉลี่ยของอาเซียนอยู่เล็กน้อย และมีคะแนนสูงกว่าเวียดนาม ลาว กัมพูชา และพม่าในทุกด้าน แต่หากเทียบกับอินโดนีเซียที่มีอันดับและคะแนนตามกันมาติดๆ โดยอินโดนีเซียแซงหน้าไทย ในเรื่องของนวัตกรรมและความเชี่ยวชาญในด้านธุรกิจ ซึ่งอินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีความพร้อมด้านเทคโนโลยี และมีนโยบายพัฒนาการผลิตด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงอย่างจริงจัง
เมื่อเจาะลึกพิจารณาทุกปัจจัยในประเทศไทย พบว่าไทยยังมีจุดอ่อนในเรื่องของนวัตกรรมและสถาบัน ซึ่งสิ่งที่ WEF กล่าวถึงอุปสรรคในการพัฒนาเศรษฐกิจของไทยคือ ความไม่แน่นอนทางการเมือง ปัญหาการคอรัปชันและปัญหาด้านความมั่นคงของประเทศ ตลอดจนระบบการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ยังไม่มีประสิทธิภาพ และความพร้อมทางด้านเทคโนโลยียังคงต่ำ เห็นได้จากมีประชากรสามารถเข้าถึงอินเตอร์เนตเพียง 1 ใน 4 เท่านั้น
และสำหรับปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจ WEF ระบุว่าไทยมีจุดแข็งในด้านเศรษฐกิจมหภาค ที่มีสถานการณ์การคลังที่ดี มีอัตราการออมและอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่ดี และอัตราหนี้ดีต่อ GDP อยู่ในระดับร้อยละ 44 ในปี 2555 ซึ่งค่อนข้างดีเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น นอกจากนี้ ไทยยังมีการพัฒนาของตลาดการเงิน และประสิทธิภาพของตลาดในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยจึงมีโอกาสพัฒนาได้อีกมาก อันเป็นผลสำคัญมาจากการส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันภายในประเทศ
TerraBKK Research มีความเห็นเพิ่มเติมว่า จุดแข็งหนึ่งของประเทศไทยในการเปิด AEC ครั้งนี้คือการเป็น Medical Hub ด้วยจุดเด่นในด้านมาตรฐานการแพทย์ที่เทียบเท่าระดับสากลและราคาที่ต่ำกว่า (world-class medicine at developing-world prices) ประเทศไทยยังมีข้อได้เปรียบในเรื่องของการให้บริการ ซึ่งเป็นจุดเด่นที่ทั่วโลกต่างยอมรับ ทั้งยังมีความได้เปรียบจากธุรกิจสนับสนุน อาทิ สปา เสริมสวย นวดแผนไทย สมุนไพรไทย และมีแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมของต่างชาติ ซึ่งทุกองค์ประกอบล้วนนำมาใช้เสริมการรักษาคนไข้ โดยสามารถจัดทำเป็นแพ็คเกจรวมเพื่อให้รัฐบาลนำแคมเปญนี้ไปโปรโมตหรือส่งเสริมการแพทย์ไทยในตลาดต่างประเทศได้อีกด้วย
_______________________________________________________________
World Economic Forum (WEF) ได้แบ่งการเปรียบเทียบออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่และแบ่งออกเป็น 12 เสาหลักย่อย ดังนี้
1. กลุ่มความต้องการพื้นฐาน (Basic Requirements) ประกอบไปด้วย 4 เสาหลัก
1.1 ด้านสถาบันทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมทั้งของรัฐและเอกชน ธรรมาภิบาล และความมั่นคงของสถาบัน (Institutions)
1.2 ด้านโครงสร้างสิ่งจำเป็นพื้นฐาน ( Infrastructure)
1.3 ด้านสภาพแวดล้อมเศรษฐกิจมหภาค (Macroeconomic environment)
1.4 ด้านสุขภาพและการศึกษาขี้นปฐมภูมิ (Health and Primary Education)
2. กลุ่มการเพิ่มประสิทธิภาพของการแข่งขัน (Efficiency Enhancers) ประกอบไปด้วย 6 เสาหลัก
2.1 ด้านการศึกษาขั้นสูงและการฝึกอบรม (Higher Education and Trainning)
2.2 ด้านประสิทธิภาพของตลาดสินค้าต่าง ๆทั้งในประเทศและต่างประเทศ (Goods market Efficiency)
2.3 ด้านประสิทธิภาพของตลาดแรงาน (Labour market Efficiency)
2.4 ด้านการพัฒนาตลาดเงิน (Financial market Development)
2.5 ด้านความพร้อมของเทคโนโลยี (Technology Readiness)
2.6 ด้านขนาดตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ (Market Size)
3. กลุ่มนวัตกรรมและปัจจัยของความเชี่ยวชาญ (Innovation and sophistication factors) ประกอบไปด้วย 2 เสาหลัก
3.1 ด้านความเชี่ยวชาญในการดำเนินธุรกิจ (Business sophistication)
3.2 ด้านนวัตกรรม (Innovation)
ที่มา : TerraBKK