เมื่อวันที่ ๙ กันยายนที่ผ่านมา ผมได้ดูคุณสรยุทธ สุทัศนจินดา ผู้ประกาศข่าวช่อง ๓ ว่าถึงเรื่องครบรอบ ๒๕ ปีอสังหาริมทรัพย์แห่งหนึ่งที่ชื่อว่า
“แฟลตปลาทอง” ผมเลยนึกออกมาว่าก่อนหน้านั้นผมเคยตามรุ่นพี่ที่ผมรู้จักไปสัมภาษณ์ครูเพลงท่านหนึ่งชื่อ
“เสกสรร สอนอิ่มสาตร์” ที่บ้านพักแถวย่านถนนสุขุมวิท เมื่อปลายเดือนกรกฏาคมที่ผ่านมา รุ่นพี่ผมชื่อ
“ธนภัทร ภัทรถาวงศ์ (บัวเบา)” ปัจจุบันเป็นนักศึกษาอยู่มหาวิทยาลัยรามคำแหง อายุ ๑๙ ปี ส่วนผมเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ที่โรงเรียนโพธิสารพิทยากร กรุงเทพฯ ปัจจุบันอายุ ๑๗ ปี ส่วนตัวผมชอบตามรุ่นพี่คนนี้เพราะผมสนใจวิธีการทำงานของพี่เขา ซึ่งแตกต่างไปกับรุ่นราวคราวเดียวกัน พี่เขาเป็นนักค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องประวัติศาสตร์เพลงไทยเก่าๆ หนังไทยๆ ผมเลยตามเพราะความสนใจ ครั้งหนึ่งผมเคยถามพี่เขาว่า
“พี่ครับ คนชื่อเสกสรรคือใคร เขาทำอะไรที่ไหนครับ ผมไม่เคยได้ยินชื่อ” พี่ธนภัทรตอบว่า
“อาจารย์ท่านเป็นนักเรียบเรียงเสียงประสาน และเป็นนักแต่งเพลงสมัยก่อน อยากรู้ก็ตามมา ว่างไหมละ” ผมรู้ตัวว่าว่างก็เลยรีบรับปากไป หลังจากนั้นผมก็ซักไซ้ไล่ถามเรื่องคนชื่อ เสกสรร ต่อไปเรื่อยๆ จนโอกาสวันที่นัดกับพี่เขาก็มาถึง
วันพุธที่ ๓๐ กรกฏาคม ๒๕๕๗ เป็นวันที่พี่ธนภัทร นัดผมให้มาเจอที่หน้าบ้านพร้อมที่จะเดินทางเตรียมตัวไปสัมภาษณ์นักแต่งเพลงชื่อ
“เสกสรร สอนอิ่มสาตร์” ที่ถนนสุขุมวิท ผมกับพี่ธนภัทร อยู่ฝั่งธนฯละแวกใกล้เคียงกัน เลยมาขึ้นรถไฟฟ้าบีทีเอสสถานีบางหว้า เพื่อไปลงที่สถานีปุณณวิถีปลายทางตามที่ตั้งเป้าไว้ พี่ธนภัทรบอกวัตถุประสงค์ในการไปสัมภาษณ์ครั้งนี้ว่า
“ที่พี่ไปสัมภาษณ์อาจารย์ท่านนี้ก็เพราะ พี่กำลังทำหนังสือเกี่ยวกับการรวมเพลงประกอบภาพยนตร์ ให้กับหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) กระทรวงวัฒนธรรม และยังมีอีกหลายท่านที่พี่ต้องค้นหาตามตัวครูเพลง เพื่อที่จะสัมภาษณ์ลงเป็นหน้าบันทึกประวัติศาสตร์ในประเทศไทยเรา” ตอนนี้บทความบางส่วนที่ได้สัมภาษณ์ได้ตีพิมพ์ลงในวารสารจดหมายข่าวหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) ฉบับเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม ๒๕๕๗ ผมเลยขออนุญาตพี่ธนภัทร นำบทความบางส่วนมาลงเสนอในกระทู้นี้ เพื่อเป็นวิทยาทานสำหรับบุคคลทั่วไปที่สนใจในเรื่องอัตชีวประวัติครูเพลงครับ
ถ้าพูดถึงชื่อ
“เสกสรร สอนอิ่มสาตร์” สมัยนี้น้อยคนนักที่จะรู้จัก แต่ถ้าเป็นชื่อ
“ดุ่ย ณ บางน้อย” หรือ
“อำนาจ สอนอิ่มสาตร์” บางคนก็จะนึกออกทันที เพราะส่วนมากมีคนเข้าใจผิดว่าอาจารย์เสกสรร กับดุ่ย ณ บางน้อย คือคนๆ เดียวกัน แต่ที่จริง ดุ่ย ณ บางน้อย เป็นพี่ชายของอาจารย์เสกสรร ที่ร่วมผลิตรายการคุยโขมงหกโมงเช้า เป็นรายการข่าววิทยุที่ฮิตกันทั่วบ้านทั่วเมือง ตั้งแต่ปี ๒๕๐๘ จนถึงเมื่อวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๖ ก็ได้ปิดตัวลงนับเป็นเวลาร่วม ๔๙ ปี สำหรับรายการวิทยุข่าวในตำนานอย่าง
“คุยโขมงหกโมงเช้า” ส่วนอาจารย์เสกสรร สอนอิ่มสาตร์ เป็นนักเรียบเรียงเสียงประสานรางวัลพระราชทานแผ่นเสียงทองคำ ๓ รางวัลซ้อน เจ้าของผลงานเพลง “เจงกิสข่าน” ที่วงรอยัลสไปร์ซร้อง ก็เป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์ด้วย
.....ที่มาของเพลงแฟลตปลาทอง....
อาจารย์เสกสรรเล่าว่า ประมาณกลางเดือนสิงหาคม คุณชูชาติ โตประทีป (ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ไทย) ชื่อดังในขณะนั้นได้ติดต่ออาจารย์มาว่า มีนักร้องอยู่ ๖ คนที่จะต้องมาร้องเพลงในโฆษณาๆ หนึ่ง ซึ่งเป็นงานเร่งด่วนที่จะต้องส่งก่อนวันที่ ๙ เดือน ๙ ก่อนที่เขาจะขายแฟลต ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ยากที่จะเสร็จแบบเร่งด่วน อาจารย์จึงสั่งเพื่อนสนิทอย่างคุณชูชาติ โตประทีป ให้ไปจดเนื้อหามาว่าแฟลตปลาทองมีอะไรบ้าง ซึ่งคุณชูชาติก็ได้วานครีเอทีฟของแฟลตปลาทองช่วยเหลือเรื่องนี้ สุดท้ายก็ได้เป็นใบปิดโฆษณาแฟลตปลาทองมาในวันนั้น อาจารย์เสกสรรก็ได้ดูศักยภาพในคำโฆษณาโดยรวม คุณชูชาติบอกว่าอยากได้เพลงที่มันแบบคล้ายๆรวมระดับศิลปินโลกมารวมตัวกัน เหมือนเพลงวีอาเดอะเวิร์ด หลังจากนั้นอาจารย์เสกสรรใช้เวลาไม่เกิน ๒ ชั่วโมงก็เขียนเพลงโฆษณาแฟลตปลาทองเสร็จจนเป็นที่พึ่งพอใจ (สัมภาษณ์เพิ่มเติมเมื่อวันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๗)
.....ผลงานเพลงต่างๆ.....
อาจารย์เสกสรรเล่าว่า ในขณะปี ๒๕๑๒ – ๒๕๒๖ เป็นช่วงขาขึ้นที่อาจารย์มีผลงานเพลงประกอบโฆษณาสินค้าไม่ว่าจะเป็นทางวิทยุ หรือโทรทัศน์ ตกปีนึงไม่ต่ำกว่า ๗๐ แทร็ค ซึ่งถือว่าเป็นอะไรที่เยอะมาก ผลงานของอาจารย์ที่ติดหูคนก็มี อาทิ โตชิบา
“โตชิบา นำสิ่งที่ดีสู่ชีวิต”, โฆษณาปูนกองทัพงูเห่า, น้ำพริกเผา และน้ำจิ้มตราแม่ประนอม – สุเทพ ประยูรพิทักษ์ ร้อง, กะปิตราทะเลทิพย์ – วัชราภรณ์ สุขสวัสดิ์ ร้อง, เพลงโฆษณาดูดวงกับหมอดูชื่อดัง อาจารย์วิสาระ ประนมกร, สายการบิน DELTA – ไก่ แกรนด์เอ็กซ์ ร้อง และอีกหลายร้อยโฆษณาเป็นต้น
.....ประวัติสังเขป.....
อาจารย์เสกสรร สอนอิ่มสาตร์ เกิดเมื่อวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๑ ที่บ้านวงเวียนเล็ก เชิงสะพานพุทธ คุณพ่อชื่อนายชื้น คุณแม่ชื่อนางแจ่มจันทร์ สอนอิ่มสาตร์ มีพี่น้องทั้งหมด ๓ คน คนโตชื่อนายอำนาจ สอนอิ่มสาตร์ (นักพากย์หนังที่มีนามว่า
“ขุนแผน” และเป็นนักเล่าข่าวชื่อดัง นามว่า
“ดุ่ย ณ บางน้อย”) คนรองชื่อนายชูศักดิ์ สอนอิ่มสาตร์ และคนสุดท้ายก็คืออาจารย์เสกสรร สอนอิ่มสาตร์ คุณพ่อของอาจารย์เสกสรร เป็นผู้จัดการบริษัทอะไหล่รถยนต์ และที่บ้านเปิดเป็นร้านโชห่วย ชื่อร้านทศพร อาจารย์เสกสรรจบการศึกษาชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนบำรุงวิชา และโรงเรียนอำนวยศิลป์ จากนั้นศึกษาต่อชั้นมัธยม ๖ (หรือ ม.๓ ปัจจุบัน) จากโรงเรียนวัดราชบพิธ แล้วต่อ ม.๗ – ม.๘ ที่โรงเรียนทวีธาภิเศก แต่ไม่จบ เพราะเอาชั่วโมงเรียนตรีโกณมิติและฟิสิกส์ ไปซ้อมดนตรี อาจารย์เสกสรรเล่าต่อไปว่าตอนอายุได้ ๘ ขวบ ที่บ้านวงเวียนเล็ก ตรงหน้าบ้านจะเป็นลานบาทวิถีเป็นที่โล่งและกว้าง ซึ่งในตอนเย็นมักจะมีแผงหนังสือแบกะดินมาวางขาย และมีอยู่วันหนึ่งที่ร้านได้วางขายหนังสือตำราดนตรีของพระเจนดุริยางค์ที่สภาพหน้าปกกำลังจะชำรุด ด้วยความที่อาจารย์มีความชื่นชอบในเรื่องของดนตรีเป็นเดิมทุนอยู่แล้วจึงตัดสินใจซื้อมาอ่าน ถึงแม้รู้ว่าซื้อมาอ่านยังไงก็อ่านไม่รู้เรื่องแต่ก็ยังซื้อ อาจารย์ใช้เวลากับหนังสือเล่มนี้ได้สองถึงสามปีก็ยังไม่รู้เรื่อง แต่นั่นก็คือความทรงจำครั้งแรกในเรื่องดนตรีของอาจารย์เสกสรร ต่อจากนั้นจึงเริ่มหัดเขียนโน้ตเพลงด้วยตนเอง ซึ่งมีต้นแบบมาจากโน้ตหนังสือเพลงสุนทราภรณ์ ซึ่งเขียนโดยครู ส.จิตรมั่นคง และครูอีกหลายๆ ท่าน ตอนอายุ ๑๖ ปี ทำฟาร์มเลี้ยงไก่และทำท่ากำลังจะไปดีแต่ดันเกิดโรคนิวคาสเซิลระบาด เล่นเอาไก่หมดฟาร์ม ชีวิตช่วงนี้ ลุ่มๆ ดอนๆ จนอายุ ๑๙ ปี ได้มีโอกาสพากย์หนังเป็นครั้งแรก เพราะพี่ชายคือคุณอำนาจ หนังพากย์ชื่อดังในนาม
“ขุนแผน” ให้มาช่วยพากย์ภาพยนตร์เรื่อง
“เหนือเมฆ” ฉายที่โรงหนังเฉลิมเกียรติ วงเวียนใหญ่ เมื่อปี ๒๕๐๑ จากนั้นก็ไม่ได้ทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอันอีก วันๆก็เอาแต่ขอยืมไวโอลินของรุ่นพี่มาสีเล่นจนมีเหตุทำให้ชีวิตต้องพลิกผันเมื่อวันหนึ่งพี่สะใภ้ของอาจารย์เสกสรร ที่เป็นนักพากย์นามว่า
“ดารณี ณ วังอินทร์” มีเหตุไม่สามารถไปพากย์หนังได้เนื่องจากคุณดารณีได้ประสบอุบัติเหตุ พี่ชายของอาจารย์จึงนำตัวส่งโรงพยาบาล อาจารย์เสกสรรจึงได้มีโอกาสพากย์หนังแทน เป็นหนังอินเดียเรื่อง
“เผาหัวใจ” ที่โรงหนังคาเธ่ย์ หลังจากเหตุการณ์นั้น อาจารย์เสกสรรได้รับโอกาสพากย์หนังแทนพี่ชายตามโรงหนังชั้นหนึ่งและชั้นสอง ตลอดจนได้เดินสายตะเวนพากย์หนังทั่วประเทศไทย อาจารย์เสกสรรได้สะสมประสบการณ์ กลเม็ดเคล็ดลับและไหวพริบในการพากย์หนัง จนได้มาพากย์หนังประจำในเครือนิวโอเดียน พากย์หนังทั้งหนังจีน หนังญี่ปุ่น หนังฝรั่ง จนสามารถได้พากย์หนังอินเดียประจำโรงหนังชั้นหนึ่งสมัยนั้นคือ บางกอกรามา และเฉลิมบุรี อาจารย์เสกสรรมักจะพากย์หนังคู่กับภรรยาของท่าน โดยภรรยาของอาจารย์ใช้นามแฝงว่า
“ดวงดาว” อาจารย์เล่าต่อว่า
“โรงภาพยนตร์ทุกโรงผมไปพากย์เกือบหมด ไม่ว่าจะเฉลิมธานี หรือเฉลิมไทย ทุกๆ เฉลิมผมก็ไปพากย์มาหมดแล้ว” ในยุคที่ฟิล์มภาพยนตร์เปลี่ยนผ่านจาก หนัง ๑๖ ม.ม. พากย์สด มาสู่หนังระบบ ๓๕ ม.ม. บันทึกเสียงลงบนแผ่นฟิล์มภาพยนตร์ อาจารย์เสกสรรได้พากย์เสียง
“ไพรวัลย์ ลูกเพชร” ในหนังดังเรื่อง มนต์รักลูกทุ่ง (๒๕๑๓) และอีกหลายเรื่องเช่น มนต์รักจากใจ (๒๕๑๔) ,ลูกหลง (๒๕๑๙) ฯลฯ ตลอดระยะเวลาของการพากย์หนัง อาจารย์เสกสรรได้ทำผลงานเพลงควบคู่กันไปด้วย เริ่มที่ปี ๒๕๐๑ ได้รับการชักชวนจากคุณทักษิณ แจ่มผล ดาราหนังชื่อดังในยุคนั้น ให้มาช่วยแต่งเพลงโฆษณาในหนังเรื่อง
“เมืองเถื่อน” ทำให้อาจารย์เสกสรรได้รับโอกาสจากผู้สร้างหนังไทยหลายท่านให้แต่งเพลงโฆษณาอยู่เรื่อยๆ เช่น เพลิงทระนง (๒๕๐๖), เจ็ดประจัญบาน (๒๕๐๖), มังกรคะนอง(๒๕๐๗), แผ่นดินสวรรค์ (๒๕๐๘) ฯลฯ ในปี ๒๕๑๓ อาจารย์ได้มีโอกาสร่วมร้องบันทึกเสียงกับวงดนตรีสุนทราภรณ์ในเพลง
“พ่อค้าเรือเร่” ซึ่งมี
“รอง เค้ามูลคดี” และ
“นิทัศน์ ละอองศรี” ร่วมร้องด้วย เพลงพ่อค้าเรือเร่ ถือว่าเป็นเวอร์ชั่นแรกก่อน
“เลิศ ประสมทรัพย์” นำมาร้อง โดยเป็นเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง
“แม่ย่านาง” ปี ๒๕๑๕ อาจารย์เสกสรรได้ร่วมกับเพื่อนๆ คือ
“ประสิทธิ์ ชำนาญไพร” และ
“ศักดิ์ พลวิวัฒน์” ก่อตั้งวงดนตรีเสกศักดิ์สิทธิ์ ทำเพลงไทยแนวชาโดว์หรือสตริงคอมโบ ประมาณปี ๒๕๑๗ จึงได้ไปเรียนวิชาเรียบเรียงเสียงประสานที่สยามกลการจนจบหลักสูตร ๒ ปี และได้เป็นคณะกรรมการสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ตั้งแต่ปี ๒๕๑๘ – ๒๕๒๓ ช่วงนี้อาจารย์เสกสรรยังรับแต่งเพลงโฆษณาสินค้า และทำอัลบั้มเพลงให้กับศิลปินนักร้องต่างๆ จนทำให้อาจารย์เสกสรรต้องชะลอการพากย์หนังและได้มารู้จัก
“เพิ่มพล เชยอรุณ” ผู้กำกับคลื่นลูกใหม่ในยุค ๗๐ และได้แต่งเพลงประกอบภาพยนตร์เกือบทุกเรื่องของคุณเพิ่มพล เช่น ชีวิตบัดซบ (๒๕๒๐), เมืองในหมอก (๒๕๒๑), หลวงตา (ได้รับตุ๊กตาทอง ปี ๒๕๒๓ สาขาดนตรีประกอบภาพยนตร์) และได้แต่งดนตรีประกอบหนังไทยอีกหลายร้อยเรื่องที่เด่นๆ เช่น จินตะหรา (๒๕๑๖), สันติ – วีณา (๒๕๑๙), เพลงรักบ้านนา (๒๕๒๐), น้ำค้างหยดเดียว (๒๕๒๑), แค้นไอ้เพลิน (๒๕๒๒), เทพเจ้าบ้านบางปูน (๒๕๒๓), ข้างหลังภาพ (๒๕๒๘) ฯลฯ ช่วงปี ๒๕๑๕ – ๒๕๒๓ ถือว่าเป็นยุคทองของอาจารย์เสกสรร ที่มีผลงานทางดนตรีแนวสตริงคอมโบ้ครองวงการภาพยนตร์ไทยมากที่สุด อาจารย์เสกสรรได้ตรากตรำกับการทำงานตลอดระยะเวลามากกว่า ๓๐ ปี มีผลงานเพลงประกอบภาพยนตร์ไม่ต่ำกว่า ๑๗๕ เรื่อง อาจารย์จึงได้ขอหยุดพัก เรื่องสุดท้ายที่ทำเพลงและดนตรีประกอบคือภาพยนตร์เรื่อง
“ผู้ชายชื่อต้น ผู้หญิงชื่อนุช” (๒๕๓๕) แต่พอปี ๒๕๔๓ มีบริษัทการ์ตูนมีเดียมาขอร้องให้แต่งเพลงอีก จึงต้องกลับเข้าห้องบันทึกเสียงอีกครั้งเพื่อแต่งเพลงการ์ตูนโมเดิร์นไนน์ ทางช่อง ๙ ภาคภาษาไทย เช่น การ์ตูนคลับ (เพลงประจำรายการการ์ตูนโมเดิร์นไนน์), โดเรมอน ,ดิจิมอน ,โปเกมอน, อาราเล่, ดราก้อนบอล และโคนัน ฯลฯ จนปี ๒๕๔๗ ก็ต้องบอกลาเพราะสุขภาพไม่แข็งแรง ปัจจุบันได้วางมือจากงานทุกอย่างแล้ว
“ถึงแม้สังขารจะเป็นส่วนๆหนึ่งในการทำให้ร่างกายของอาจารย์ร่วงโรยไปตามกาลเวลา แต่คำว่า “ศิลปิน” ของอาจารย์เสกสรรนั้นไม่เคยถดถอยไปตามสังขารเลยแม้แต่น้อย”
คัดลอกมาจาก วารสารจดหมายข่าวหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) กระทรวงวัฒนธรรม หน้าที่ ๑๘ – ๑๙ คอลัมน์หน่วยกู้หนัง โดย มานัสศักดิ์ ดอกไม้ รวบรวมข้อมูลประวัติและผลงานโดย ธนภัทร ภัทรถาวงศ์ (บัวเบา)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://www.fapot.org/files/images/news24.pdf สามารถติดต่อได้ที่
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้๐๘๗-๕๖๘-๓๓๕๗ และ www.facebook.com/muangthai.pattarathawong
เปิดใจ “เสกสรร สอนอิ่มสาตร์” ผู้สร้างสรรค์เพลงโฆษณา “แฟลตปลาทอง” เมื่อ ๒๕ ปีที่แล้ว
เมื่อวันที่ ๙ กันยายนที่ผ่านมา ผมได้ดูคุณสรยุทธ สุทัศนจินดา ผู้ประกาศข่าวช่อง ๓ ว่าถึงเรื่องครบรอบ ๒๕ ปีอสังหาริมทรัพย์แห่งหนึ่งที่ชื่อว่า “แฟลตปลาทอง” ผมเลยนึกออกมาว่าก่อนหน้านั้นผมเคยตามรุ่นพี่ที่ผมรู้จักไปสัมภาษณ์ครูเพลงท่านหนึ่งชื่อ “เสกสรร สอนอิ่มสาตร์” ที่บ้านพักแถวย่านถนนสุขุมวิท เมื่อปลายเดือนกรกฏาคมที่ผ่านมา รุ่นพี่ผมชื่อ “ธนภัทร ภัทรถาวงศ์ (บัวเบา)” ปัจจุบันเป็นนักศึกษาอยู่มหาวิทยาลัยรามคำแหง อายุ ๑๙ ปี ส่วนผมเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ที่โรงเรียนโพธิสารพิทยากร กรุงเทพฯ ปัจจุบันอายุ ๑๗ ปี ส่วนตัวผมชอบตามรุ่นพี่คนนี้เพราะผมสนใจวิธีการทำงานของพี่เขา ซึ่งแตกต่างไปกับรุ่นราวคราวเดียวกัน พี่เขาเป็นนักค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องประวัติศาสตร์เพลงไทยเก่าๆ หนังไทยๆ ผมเลยตามเพราะความสนใจ ครั้งหนึ่งผมเคยถามพี่เขาว่า “พี่ครับ คนชื่อเสกสรรคือใคร เขาทำอะไรที่ไหนครับ ผมไม่เคยได้ยินชื่อ” พี่ธนภัทรตอบว่า “อาจารย์ท่านเป็นนักเรียบเรียงเสียงประสาน และเป็นนักแต่งเพลงสมัยก่อน อยากรู้ก็ตามมา ว่างไหมละ” ผมรู้ตัวว่าว่างก็เลยรีบรับปากไป หลังจากนั้นผมก็ซักไซ้ไล่ถามเรื่องคนชื่อ เสกสรร ต่อไปเรื่อยๆ จนโอกาสวันที่นัดกับพี่เขาก็มาถึง
วันพุธที่ ๓๐ กรกฏาคม ๒๕๕๗ เป็นวันที่พี่ธนภัทร นัดผมให้มาเจอที่หน้าบ้านพร้อมที่จะเดินทางเตรียมตัวไปสัมภาษณ์นักแต่งเพลงชื่อ “เสกสรร สอนอิ่มสาตร์” ที่ถนนสุขุมวิท ผมกับพี่ธนภัทร อยู่ฝั่งธนฯละแวกใกล้เคียงกัน เลยมาขึ้นรถไฟฟ้าบีทีเอสสถานีบางหว้า เพื่อไปลงที่สถานีปุณณวิถีปลายทางตามที่ตั้งเป้าไว้ พี่ธนภัทรบอกวัตถุประสงค์ในการไปสัมภาษณ์ครั้งนี้ว่า “ที่พี่ไปสัมภาษณ์อาจารย์ท่านนี้ก็เพราะ พี่กำลังทำหนังสือเกี่ยวกับการรวมเพลงประกอบภาพยนตร์ ให้กับหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) กระทรวงวัฒนธรรม และยังมีอีกหลายท่านที่พี่ต้องค้นหาตามตัวครูเพลง เพื่อที่จะสัมภาษณ์ลงเป็นหน้าบันทึกประวัติศาสตร์ในประเทศไทยเรา” ตอนนี้บทความบางส่วนที่ได้สัมภาษณ์ได้ตีพิมพ์ลงในวารสารจดหมายข่าวหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) ฉบับเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม ๒๕๕๗ ผมเลยขออนุญาตพี่ธนภัทร นำบทความบางส่วนมาลงเสนอในกระทู้นี้ เพื่อเป็นวิทยาทานสำหรับบุคคลทั่วไปที่สนใจในเรื่องอัตชีวประวัติครูเพลงครับ
ถ้าพูดถึงชื่อ “เสกสรร สอนอิ่มสาตร์” สมัยนี้น้อยคนนักที่จะรู้จัก แต่ถ้าเป็นชื่อ “ดุ่ย ณ บางน้อย” หรือ “อำนาจ สอนอิ่มสาตร์” บางคนก็จะนึกออกทันที เพราะส่วนมากมีคนเข้าใจผิดว่าอาจารย์เสกสรร กับดุ่ย ณ บางน้อย คือคนๆ เดียวกัน แต่ที่จริง ดุ่ย ณ บางน้อย เป็นพี่ชายของอาจารย์เสกสรร ที่ร่วมผลิตรายการคุยโขมงหกโมงเช้า เป็นรายการข่าววิทยุที่ฮิตกันทั่วบ้านทั่วเมือง ตั้งแต่ปี ๒๕๐๘ จนถึงเมื่อวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๖ ก็ได้ปิดตัวลงนับเป็นเวลาร่วม ๔๙ ปี สำหรับรายการวิทยุข่าวในตำนานอย่าง “คุยโขมงหกโมงเช้า” ส่วนอาจารย์เสกสรร สอนอิ่มสาตร์ เป็นนักเรียบเรียงเสียงประสานรางวัลพระราชทานแผ่นเสียงทองคำ ๓ รางวัลซ้อน เจ้าของผลงานเพลง “เจงกิสข่าน” ที่วงรอยัลสไปร์ซร้อง ก็เป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์ด้วย
.....ที่มาของเพลงแฟลตปลาทอง....
อาจารย์เสกสรรเล่าว่า ประมาณกลางเดือนสิงหาคม คุณชูชาติ โตประทีป (ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ไทย) ชื่อดังในขณะนั้นได้ติดต่ออาจารย์มาว่า มีนักร้องอยู่ ๖ คนที่จะต้องมาร้องเพลงในโฆษณาๆ หนึ่ง ซึ่งเป็นงานเร่งด่วนที่จะต้องส่งก่อนวันที่ ๙ เดือน ๙ ก่อนที่เขาจะขายแฟลต ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ยากที่จะเสร็จแบบเร่งด่วน อาจารย์จึงสั่งเพื่อนสนิทอย่างคุณชูชาติ โตประทีป ให้ไปจดเนื้อหามาว่าแฟลตปลาทองมีอะไรบ้าง ซึ่งคุณชูชาติก็ได้วานครีเอทีฟของแฟลตปลาทองช่วยเหลือเรื่องนี้ สุดท้ายก็ได้เป็นใบปิดโฆษณาแฟลตปลาทองมาในวันนั้น อาจารย์เสกสรรก็ได้ดูศักยภาพในคำโฆษณาโดยรวม คุณชูชาติบอกว่าอยากได้เพลงที่มันแบบคล้ายๆรวมระดับศิลปินโลกมารวมตัวกัน เหมือนเพลงวีอาเดอะเวิร์ด หลังจากนั้นอาจารย์เสกสรรใช้เวลาไม่เกิน ๒ ชั่วโมงก็เขียนเพลงโฆษณาแฟลตปลาทองเสร็จจนเป็นที่พึ่งพอใจ (สัมภาษณ์เพิ่มเติมเมื่อวันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๗)
.....ผลงานเพลงต่างๆ.....
อาจารย์เสกสรรเล่าว่า ในขณะปี ๒๕๑๒ – ๒๕๒๖ เป็นช่วงขาขึ้นที่อาจารย์มีผลงานเพลงประกอบโฆษณาสินค้าไม่ว่าจะเป็นทางวิทยุ หรือโทรทัศน์ ตกปีนึงไม่ต่ำกว่า ๗๐ แทร็ค ซึ่งถือว่าเป็นอะไรที่เยอะมาก ผลงานของอาจารย์ที่ติดหูคนก็มี อาทิ โตชิบา “โตชิบา นำสิ่งที่ดีสู่ชีวิต”, โฆษณาปูนกองทัพงูเห่า, น้ำพริกเผา และน้ำจิ้มตราแม่ประนอม – สุเทพ ประยูรพิทักษ์ ร้อง, กะปิตราทะเลทิพย์ – วัชราภรณ์ สุขสวัสดิ์ ร้อง, เพลงโฆษณาดูดวงกับหมอดูชื่อดัง อาจารย์วิสาระ ประนมกร, สายการบิน DELTA – ไก่ แกรนด์เอ็กซ์ ร้อง และอีกหลายร้อยโฆษณาเป็นต้น
.....ประวัติสังเขป.....
อาจารย์เสกสรร สอนอิ่มสาตร์ เกิดเมื่อวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๑ ที่บ้านวงเวียนเล็ก เชิงสะพานพุทธ คุณพ่อชื่อนายชื้น คุณแม่ชื่อนางแจ่มจันทร์ สอนอิ่มสาตร์ มีพี่น้องทั้งหมด ๓ คน คนโตชื่อนายอำนาจ สอนอิ่มสาตร์ (นักพากย์หนังที่มีนามว่า “ขุนแผน” และเป็นนักเล่าข่าวชื่อดัง นามว่า “ดุ่ย ณ บางน้อย”) คนรองชื่อนายชูศักดิ์ สอนอิ่มสาตร์ และคนสุดท้ายก็คืออาจารย์เสกสรร สอนอิ่มสาตร์ คุณพ่อของอาจารย์เสกสรร เป็นผู้จัดการบริษัทอะไหล่รถยนต์ และที่บ้านเปิดเป็นร้านโชห่วย ชื่อร้านทศพร อาจารย์เสกสรรจบการศึกษาชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนบำรุงวิชา และโรงเรียนอำนวยศิลป์ จากนั้นศึกษาต่อชั้นมัธยม ๖ (หรือ ม.๓ ปัจจุบัน) จากโรงเรียนวัดราชบพิธ แล้วต่อ ม.๗ – ม.๘ ที่โรงเรียนทวีธาภิเศก แต่ไม่จบ เพราะเอาชั่วโมงเรียนตรีโกณมิติและฟิสิกส์ ไปซ้อมดนตรี อาจารย์เสกสรรเล่าต่อไปว่าตอนอายุได้ ๘ ขวบ ที่บ้านวงเวียนเล็ก ตรงหน้าบ้านจะเป็นลานบาทวิถีเป็นที่โล่งและกว้าง ซึ่งในตอนเย็นมักจะมีแผงหนังสือแบกะดินมาวางขาย และมีอยู่วันหนึ่งที่ร้านได้วางขายหนังสือตำราดนตรีของพระเจนดุริยางค์ที่สภาพหน้าปกกำลังจะชำรุด ด้วยความที่อาจารย์มีความชื่นชอบในเรื่องของดนตรีเป็นเดิมทุนอยู่แล้วจึงตัดสินใจซื้อมาอ่าน ถึงแม้รู้ว่าซื้อมาอ่านยังไงก็อ่านไม่รู้เรื่องแต่ก็ยังซื้อ อาจารย์ใช้เวลากับหนังสือเล่มนี้ได้สองถึงสามปีก็ยังไม่รู้เรื่อง แต่นั่นก็คือความทรงจำครั้งแรกในเรื่องดนตรีของอาจารย์เสกสรร ต่อจากนั้นจึงเริ่มหัดเขียนโน้ตเพลงด้วยตนเอง ซึ่งมีต้นแบบมาจากโน้ตหนังสือเพลงสุนทราภรณ์ ซึ่งเขียนโดยครู ส.จิตรมั่นคง และครูอีกหลายๆ ท่าน ตอนอายุ ๑๖ ปี ทำฟาร์มเลี้ยงไก่และทำท่ากำลังจะไปดีแต่ดันเกิดโรคนิวคาสเซิลระบาด เล่นเอาไก่หมดฟาร์ม ชีวิตช่วงนี้ ลุ่มๆ ดอนๆ จนอายุ ๑๙ ปี ได้มีโอกาสพากย์หนังเป็นครั้งแรก เพราะพี่ชายคือคุณอำนาจ หนังพากย์ชื่อดังในนาม “ขุนแผน” ให้มาช่วยพากย์ภาพยนตร์เรื่อง “เหนือเมฆ” ฉายที่โรงหนังเฉลิมเกียรติ วงเวียนใหญ่ เมื่อปี ๒๕๐๑ จากนั้นก็ไม่ได้ทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอันอีก วันๆก็เอาแต่ขอยืมไวโอลินของรุ่นพี่มาสีเล่นจนมีเหตุทำให้ชีวิตต้องพลิกผันเมื่อวันหนึ่งพี่สะใภ้ของอาจารย์เสกสรร ที่เป็นนักพากย์นามว่า “ดารณี ณ วังอินทร์” มีเหตุไม่สามารถไปพากย์หนังได้เนื่องจากคุณดารณีได้ประสบอุบัติเหตุ พี่ชายของอาจารย์จึงนำตัวส่งโรงพยาบาล อาจารย์เสกสรรจึงได้มีโอกาสพากย์หนังแทน เป็นหนังอินเดียเรื่อง “เผาหัวใจ” ที่โรงหนังคาเธ่ย์ หลังจากเหตุการณ์นั้น อาจารย์เสกสรรได้รับโอกาสพากย์หนังแทนพี่ชายตามโรงหนังชั้นหนึ่งและชั้นสอง ตลอดจนได้เดินสายตะเวนพากย์หนังทั่วประเทศไทย อาจารย์เสกสรรได้สะสมประสบการณ์ กลเม็ดเคล็ดลับและไหวพริบในการพากย์หนัง จนได้มาพากย์หนังประจำในเครือนิวโอเดียน พากย์หนังทั้งหนังจีน หนังญี่ปุ่น หนังฝรั่ง จนสามารถได้พากย์หนังอินเดียประจำโรงหนังชั้นหนึ่งสมัยนั้นคือ บางกอกรามา และเฉลิมบุรี อาจารย์เสกสรรมักจะพากย์หนังคู่กับภรรยาของท่าน โดยภรรยาของอาจารย์ใช้นามแฝงว่า “ดวงดาว” อาจารย์เล่าต่อว่า “โรงภาพยนตร์ทุกโรงผมไปพากย์เกือบหมด ไม่ว่าจะเฉลิมธานี หรือเฉลิมไทย ทุกๆ เฉลิมผมก็ไปพากย์มาหมดแล้ว” ในยุคที่ฟิล์มภาพยนตร์เปลี่ยนผ่านจาก หนัง ๑๖ ม.ม. พากย์สด มาสู่หนังระบบ ๓๕ ม.ม. บันทึกเสียงลงบนแผ่นฟิล์มภาพยนตร์ อาจารย์เสกสรรได้พากย์เสียง “ไพรวัลย์ ลูกเพชร” ในหนังดังเรื่อง มนต์รักลูกทุ่ง (๒๕๑๓) และอีกหลายเรื่องเช่น มนต์รักจากใจ (๒๕๑๔) ,ลูกหลง (๒๕๑๙) ฯลฯ ตลอดระยะเวลาของการพากย์หนัง อาจารย์เสกสรรได้ทำผลงานเพลงควบคู่กันไปด้วย เริ่มที่ปี ๒๕๐๑ ได้รับการชักชวนจากคุณทักษิณ แจ่มผล ดาราหนังชื่อดังในยุคนั้น ให้มาช่วยแต่งเพลงโฆษณาในหนังเรื่อง “เมืองเถื่อน” ทำให้อาจารย์เสกสรรได้รับโอกาสจากผู้สร้างหนังไทยหลายท่านให้แต่งเพลงโฆษณาอยู่เรื่อยๆ เช่น เพลิงทระนง (๒๕๐๖), เจ็ดประจัญบาน (๒๕๐๖), มังกรคะนอง(๒๕๐๗), แผ่นดินสวรรค์ (๒๕๐๘) ฯลฯ ในปี ๒๕๑๓ อาจารย์ได้มีโอกาสร่วมร้องบันทึกเสียงกับวงดนตรีสุนทราภรณ์ในเพลง “พ่อค้าเรือเร่” ซึ่งมี “รอง เค้ามูลคดี” และ “นิทัศน์ ละอองศรี” ร่วมร้องด้วย เพลงพ่อค้าเรือเร่ ถือว่าเป็นเวอร์ชั่นแรกก่อน “เลิศ ประสมทรัพย์” นำมาร้อง โดยเป็นเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง “แม่ย่านาง” ปี ๒๕๑๕ อาจารย์เสกสรรได้ร่วมกับเพื่อนๆ คือ “ประสิทธิ์ ชำนาญไพร” และ “ศักดิ์ พลวิวัฒน์” ก่อตั้งวงดนตรีเสกศักดิ์สิทธิ์ ทำเพลงไทยแนวชาโดว์หรือสตริงคอมโบ ประมาณปี ๒๕๑๗ จึงได้ไปเรียนวิชาเรียบเรียงเสียงประสานที่สยามกลการจนจบหลักสูตร ๒ ปี และได้เป็นคณะกรรมการสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ตั้งแต่ปี ๒๕๑๘ – ๒๕๒๓ ช่วงนี้อาจารย์เสกสรรยังรับแต่งเพลงโฆษณาสินค้า และทำอัลบั้มเพลงให้กับศิลปินนักร้องต่างๆ จนทำให้อาจารย์เสกสรรต้องชะลอการพากย์หนังและได้มารู้จัก “เพิ่มพล เชยอรุณ” ผู้กำกับคลื่นลูกใหม่ในยุค ๗๐ และได้แต่งเพลงประกอบภาพยนตร์เกือบทุกเรื่องของคุณเพิ่มพล เช่น ชีวิตบัดซบ (๒๕๒๐), เมืองในหมอก (๒๕๒๑), หลวงตา (ได้รับตุ๊กตาทอง ปี ๒๕๒๓ สาขาดนตรีประกอบภาพยนตร์) และได้แต่งดนตรีประกอบหนังไทยอีกหลายร้อยเรื่องที่เด่นๆ เช่น จินตะหรา (๒๕๑๖), สันติ – วีณา (๒๕๑๙), เพลงรักบ้านนา (๒๕๒๐), น้ำค้างหยดเดียว (๒๕๒๑), แค้นไอ้เพลิน (๒๕๒๒), เทพเจ้าบ้านบางปูน (๒๕๒๓), ข้างหลังภาพ (๒๕๒๘) ฯลฯ ช่วงปี ๒๕๑๕ – ๒๕๒๓ ถือว่าเป็นยุคทองของอาจารย์เสกสรร ที่มีผลงานทางดนตรีแนวสตริงคอมโบ้ครองวงการภาพยนตร์ไทยมากที่สุด อาจารย์เสกสรรได้ตรากตรำกับการทำงานตลอดระยะเวลามากกว่า ๓๐ ปี มีผลงานเพลงประกอบภาพยนตร์ไม่ต่ำกว่า ๑๗๕ เรื่อง อาจารย์จึงได้ขอหยุดพัก เรื่องสุดท้ายที่ทำเพลงและดนตรีประกอบคือภาพยนตร์เรื่อง “ผู้ชายชื่อต้น ผู้หญิงชื่อนุช” (๒๕๓๕) แต่พอปี ๒๕๔๓ มีบริษัทการ์ตูนมีเดียมาขอร้องให้แต่งเพลงอีก จึงต้องกลับเข้าห้องบันทึกเสียงอีกครั้งเพื่อแต่งเพลงการ์ตูนโมเดิร์นไนน์ ทางช่อง ๙ ภาคภาษาไทย เช่น การ์ตูนคลับ (เพลงประจำรายการการ์ตูนโมเดิร์นไนน์), โดเรมอน ,ดิจิมอน ,โปเกมอน, อาราเล่, ดราก้อนบอล และโคนัน ฯลฯ จนปี ๒๕๔๗ ก็ต้องบอกลาเพราะสุขภาพไม่แข็งแรง ปัจจุบันได้วางมือจากงานทุกอย่างแล้ว
“ถึงแม้สังขารจะเป็นส่วนๆหนึ่งในการทำให้ร่างกายของอาจารย์ร่วงโรยไปตามกาลเวลา แต่คำว่า “ศิลปิน” ของอาจารย์เสกสรรนั้นไม่เคยถดถอยไปตามสังขารเลยแม้แต่น้อย”
คัดลอกมาจาก วารสารจดหมายข่าวหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) กระทรวงวัฒนธรรม หน้าที่ ๑๘ – ๑๙ คอลัมน์หน่วยกู้หนัง โดย มานัสศักดิ์ ดอกไม้ รวบรวมข้อมูลประวัติและผลงานโดย ธนภัทร ภัทรถาวงศ์ (บัวเบา) [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ สามารถติดต่อได้ที่ [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้