รวมทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับหนังเรื่อง Interstellar (สปอย)

กระทู้นี้ผมเขียนทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับหนังเรื่องนี้เท่าที่นึกออกนะครับ  เรื่องนี้เป็นหนังที่ผมชอบมาก และมั่นใจว่าหลายๆคนยังดูแล้ว งงๆ เพราะทฤษฏีทางวิทยาศาสตร์ในหนังเยอะมาก ผมเลยนำมาเขียนรวมไว้ เผื่อจะได้เข้าใจวิทยาศาสตร์กันมากขึ้นครับ ใครกลัวจะสปอยแนะนำให้อ่านหลังดูหนังจบดีกว่าครับ เริ่มเลยนะครับ
           ปล. เขียนเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับหนังนะครับ ถ้าเขียนหมดทั้งองค์ประกอบทฤษฏีจริงๆคาดว่าอาทิตน์นึงก็เขียนไม่หมด

        ค่า binary หรือเลขฐานสอง
เป็นค่าที่ใช้สัญลักษณ์ คือ 0 กับ 1 เท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ในทางคอมพิวเตอร์ ใครเรียนคอมมาเคยผ่านมาทุกคน
ซึ่งเลขที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบันคือเลขฐาน 10 (เลข0-เลข9)  ซึ่งเราสามารถแปลงกลับไปกลับมา ระหว่างเลข ฐานต่างๆได้ เช่น
เลข 7 = 1 1 1(อ่านว่า หนึ่ง หนึ่ง หนึ่ง ไม่ใช่ หนึ่งร้อยเอ็ด)  
เลข 8 = 1 0 0 0 (อ่านว่า หนึ่ง ศูนย์ ศูนย์ ศูนย์ ไม่ใช่ หนึ่งพัน )  
จากในหนัง เป็นค่าที่พระเอกได้มาตอนพายุฝุ่นเข้าที่บ้าน  แล้วตกลงมาที่ห้องนางเอกเป็นค่า binary พระเอกจึงแปลงกลับไปเป็นเลขฐานสิบ จะได้ค่าพิกัดในแผนที่มาครับ




         รหัสมอร์ส (Morse code)  
คือวิธีการส่งข้อมูลด้วยการใช้รูปแบบสัญลักษณ์สั้นและยาวที่กำหนดขึ้นเป็นมาตรฐานครับ  ซึ่งจะกำหนดเป็น (.) และ (-)  มาผสมกันเป็นตัวอักษรและตัวเลข  การฝึกรหัสมอสต้องใช้ความจำครับ  
  




        การสร้างแรงดึงดูดเทียมบนยาน
เราจะเห็นยานทรงโดนัท ที่ให้ยานเล็กไปเกาะติดตรงกลาง ยานลำนี้มีในหนังหน้าที่เป็นแหล่งพลังงานขับเคลื่อนและสร้างแรงดึงดูดจำลอง ครับ   โดยการที่ให้ยานหมุนรอบตัวเองเป็นวงกลมเหมือนล้อรถหมุน จะเกิดแรงเหวี่ยง
และทำให้เกิดแรงดึงดูดจำลองขึ้นมา (ให้นึกถึงเวลาเอาของที่มีน้ำหนักใส่ถุงไว้ แล้วเราเหวี่ยงแขนเป็นวงกลมแรงๆ ของที่อยู่ในถุงจะไม่ตกลงมานั้นแหละครับ)  ซึ่งนาซ่ากำลังศึกษาเรื่องนี้อยู่ซักพักแล้ว  





         รูหนอน  หรือ worm hole
          รูหนอนหรือที่เราเห็นในหนังไซไฟหลายๆเรื่อง ที่ใช้เดินทางข้ามดวงดาว  หรือข้ามเวลานั้นเอง  หนังเก่าๆหลายๆเรื่องส่วนใหญ่สื่อ wormhole ออกมาเป็นแบบ2มิติ คือมีลักษณะคล้ายอุโมงค์มิติ เข้าไป แล้วไปออกที่ทางออกอีกอุโมงค์นึง (เหมือนประตูโดเรม่อน)   แต่หนังเรื่องนี้สื่อออกมาให้รูปแบบมิติที่3 ที่ใช้การบิดงอ Space time จนทางเข้าชนกับทางออก จึงมีรูปร่างเป็นทรงกลม    ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ตั้งทฤษฏีของรู้หนอนไว้เยอะมาก
         แต่สรุปให้เข้าใจง่ายๆว่า   เหมือนมีมดตัวนึงเดินอยู่ตรงมุมล่างของกระดาษ  มันอยากเดินไปตรงมุมบนของกระดาษ สำหรับมันไกลมาก   แต่ถ้าเราช่วยมัน โดนพับกระดาษให้มุมบนมาชนมุมล่าง มันก็จะเดินข้ามไปมุมบนกระดาษได้เลย   ตัวอย่างนี้ถ้ามองในภาพใหญ่  เราที่พับกระดาษให้มด ก็เหมือนคนที่สร้างรูหนอนขึ้นมาในหนัง แล้วตั้งไว้ให้ยานเข้าไป  ซึ่งเราไม่รู้หรอกว่าใครตั้งไว้  ก็เหมือนมดก็ไม่รู้เช่นกันว่าใครพับกระดาษให้มัน  สำหรับมด เราก็เหมือนอยู่มิติที่สูงกว่ามัน   แล้วกระดาษก็แทน Space time  เมื่อเราพับกระดาษ ก็เปรียบเสมียนเวลาได้บิดเบี้ยว เช่นเดียวกับกระดาษ





            ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
ทฤษฏีสัมพัทธภาพ ค้นพบโดยไอน์สไตน์ โดยมีสมการคือ E=MC2  ทฤษฏีนี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในวงการวิทยาศาสตร์ และทำให้เราเข้าใจจักรวาลมากขึ้น  ซึ่งทฤษฏีนี้ ถ้าผมหยิบความเก็บข้องกันทุกสิ่งมาพูด คงจะต้องพูดกันหลายหน้า  ผมจึงหยิบยกแค่เหตุการณ์ในหนังมาแล้วกันนะครับ

   ความเร็วแสง และแรงดึงดูด มีผลต่อเวลา
ตามทฤษฏีอธิบายไว้ว่า เมื่อไหร่เราเดินทางเร็วเข้าใกล้ความเร็วแสงแค่ไหน  เวลาจะยิ่งเดินช้าลง และเมื่อเดินทางเท่าความเร็วแสงได้ เวลาอาจหยุดนิ่ง  แต่การเดินทางให้เท่าความเร็วแสง นักวิทยาศาสตร์มองว่าเป็นไปได้ยาก  เพราะยิ่งเราเดินทางเร็วมากเท่าไหร่ วัตถุจะยิ่งเล็กลง แต่มวลจะมากขึ้นมหาศาล  และการที่จะทำให้มวลขนาดมหาศาลเดินทางได้เร็วนั้น ต้องใช่พลังงานขนาดมหาศาลมากจนจินตนาการไม่ได้  และ ไอน์สไตน์    
   ส่วนแรงดึงดูด จะมีผลคือ ยิ่งแรงดึงดูดมีมากเท่าไหร่ เวลาจะเดินช้าลงตามไปด้วย ดังนั้น สมมุติว่าถ้าเราไปจอดยานไว้ใกล้หลุมดำ ซึ่งมีแรงดึงดูดมหาศาล ซัก 1 ชม  เวลาบนโลกอาจจะผ่านไปหลาย100ปีแล้วก็ได้  
        ถึงตรงนี้บางคนบอกว่ามันจะเป็นไปได้ยังไง  ถ้านักบินอวกาศ ใส่นาฬิกา ที่ตั้งให้เท่ากันกับคนบนโลก  ไปเดินทางอยู่บนอวกาศด้วยความเร็วมากๆ ยังไงนักบินอวกาศมองนาฬิกาก็จะไม่เดินช้าลง     ถูกครับ นาฬิกาที่อยู่กับคุณในมุมมองของคุณจะเดินเท่าเดิม เพราะตามทฤษฏีบอกว่า ไม่ว่าเราจะเดินทางเร็วขนาดไหน ก็จะมองเหตุการณ์ของตัวเองเหมือนปกติ   แต่คุณจะเห็นความเร็วของเหตุการณ์ภายนอกเปลี่ยนไป นั้นเอง   (ลองดูในคลิปนาทีที่13.40 จะเข้าใจมากขึ้นครับ)

             ถ้าใครสนใจมากกว่านี้ลองดูคลิปเพิ่มเติมนะครับ

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ



              หลุมดำ black hole
         หลุมดำโดยทฤษฏีเกิดขึ้นมาจาก "ดาวฤกษ์"  หรือดาวที่มีแสงสว่างในตัวเอง เช่น ดวงอาทิตย์ ซึ่ง เป็นก้อนก็าซร้อนๆที่ลอยเคว้งคว้างอยู่ในอวกาศ โดยมีไฮโดรเจนและฮีเลียมเป็นองค์ประกอบหลัก  พลังงานที่เราได้รับจากดวงอาทิตย์นั้น เกิดจากปฏิกริยานิวเคลียร์ที่ในแกนกลางของดาวและปฏิกริยานิวเคลียร์ที่ว่านี้นอกจากจะให้แสงสว่างแล้ว ยังทำให้เกิดแรงดันมหาศาลจากภายในดาวซึ่งจะทำหน้าที่พยุงไม่ให้ดาวทั้งดวงเกิดการยุบตัวลง  สาเหตุที่ดาวต้องยุบตัวเพราะว่าตามธรรมชาติแล้ววัตถุทุกชนิดจะมีแรงดึงดูดระหว่างกัน แรงดึงดูดนี้ขึ้นกับมวลของวัตถุนั้นๆ ยิ่งมีมวลมากแรงก็จะยิ่งมาก ดวงดาวต่างๆที่เราเห็นบนท้องฟ้านั้น มีมวลมากมายมหาศาล แต่ละอนูแต่ละโมเลกุลของมันก็จะดึงดูดกันและกัน ตามกฏแรงดึงดูดระหว่างมวลของนิวตัน แรงดึงดูดที่ว่านี้มีความแรงมหาศาล หากว่าไม่มีแรงต้านจากปฎิกริยานิวเคลียร์แล้วดาวทั้งดวง ย่อมยุบตัวลงเหลือขนาดนิดเดียว แต่กลับมีแรงดึงดูดมหาศาล เรียกว่าหลุมดำ

หลุมดำตามทฤษฏีแล้วมีหลายทฤษฏีมาก ถ้าผมเอามาพูดทั้งหมดก็คงเยอะเกินไป แต่จะข้อยกแค่ทฤษฏีที่คิดว่าใกล้เคียงกับในหนังมากที่สุด นั้นก็คือ ทฤษฏีของ ลีโอนาร์ด ซัสคินด์  

ลีโอนาร์ด ซัสคินด์ บอกว่า เมื่อหลุมดำดูดวัตถุอะไรเข้าไปแล้ว จะไม่ได้โดนทำลาย แต่จะติดอยู่ในกาลเวลาตรงเส้นขอบฟ้าเหตการณ์ และ กระจายข้อมูลของสิ่งที่ตกลงไปในหลุมดำออกมา เป็นแสงที่เรียกว่า แสงฮอว์คิง (ตั้งชื่อจาก สตีเฟน ฮอว์คิง ผู้ค้นพบแสงฮอว์คิง )    
    
        ปล.ที่หยิบของ ลีโอนาร์ด ซัสคินด์มา เพราะจากหนัง พระเอกได้ติดอยู่ในกาละเวลาของมิติอื่น โดนการบิดเบี้ยวของ space time

ภาพวีดีโอหลุมดำดูดกลืนดวงดาว
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
ลำแสงรอบๆหลุมดำที่เห็นในหนังคือลำแสง ฮอว์คิง


ตำแหน่งเส้นขอบฟ้าเหตุการณ์ และ singularity




           มิติ1 – 6  (เลือกมาอธิบายแค่ 1-6 เพราะที่เหลือไม่เกี่ยวกับในหนัง)

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอคลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

-มิติที่ 0: คือ จุด (ไม่มีระยะ)

-มิติที่ 1:  นำจุด+จุด หมายถึง เส้น  (จากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง)

-มิติที่ 2:  มิติที่1+มิติที่1   หมายถึง เส้นสองเส้น (ลองดูตัว Yจากคลิปประกอบ) (จากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง แต่มีตัวเลือก 2 ทาง) หรือ หรือวาดบนกระดาษที่ไม่มีความหนา

-มิติที่ 3:    หมายถึง นำมิติที่2+มิติที่2  ซึ่งจะมีตวามสูงขึ้นมา   (ดูจากในคลิปรูปตัว Y) ตัว Y นี้อยู่บนกระดาษ และเราสามารถพับกระดาษให้หัวตัว Y มาชนกัน ทำให้ระยะที่เคยวัดจากตัว Y ปกติเปลี่ยนไป นึกถึงมดที่เดินอยู่บนขาตัว Y ด้านซ้าย แล้วพอพับกระดาษมาชน ก็สามารถไปยังขาตัว Y ด้านขวาได้ทันที หรือนึกถึง ตัวเรา ที่อาศัยอยู่ในโลกที่มีความกว้าง ยาว สูง

-มิติที่ 4:  หมายถึง มิติที่3+เวลา (ไอน์สไตน์ เป็นคนที่นำเสนอแนวคิดนี้ว่า สถานที่และเวลา มีลักษณะเหมือนกัน คือ เป็น กาลอวกาศ หรือ Space-time สถานที่ ไม่อาจแยกจากเวลาได้ และเวลาก็เป็นสิ่งสัมพัทธ์ โดยวัตถุใดๆยิ่งเคลื่อนที่เร็วเท่าไหร่ เวลายิ่งเดินช้าลงเท่านั้น และเมื่อเราเข้าใจว่า เวลาเป็นเหมือนระยะอย่างหนึ่งแล้ว เราจะมองได้ว่า การที่เรานั้น เดินทางจากจุดที่เราเป็นเด็ก จนถึงจุดที่เราแก่ได้นั้น เป็นเหมือนเส้นตรงเส้นหนึ่ง เพราะฉะนั้น ระยะของมิติที่ 4 คือ การเดินทางของเวลา จากอดีต มาปัจจุบันนั่นเอง

-มิติที่ 5: (มิติที่4+มิติที่2)  หมายถึง “โอกาส” โดย ถ้าเราเข้าใจมิติที่ 4 ว่า เวลา มีลักษณะเป็น เส้น ที่ลากจากอดีต มาสู่ อนาคต และเราเข้าใจว่า มิติที่ 2 คือ ตัว Y นั้น
      มิติที่ 5 ก็หมายความว่า เราในปัจจุบันนี้ อาจจะเดินทางไปยัง ขา Y ด้านซ้าย หรือ ขา Y ด้านขวา ก็ได้ หมายความว่า ตัวเราในปัจจุบัน จะเป็นอะไรในอนาคตก็ได้ เช่น ในตอนที่เราเป็นเด็ก เราอาจจะฝัน ว่า อยากจะเป็น นักบินอวกาศ หรือ หมอ หรือ พ่อค้า หรือ ชาวนา ก็ได้  โดยอยู่ที่ว่าจะโดนกระตุ้นไปทางไหน  (เป็นมิติที่พระเอกไปติด มิตินี้สามารถแตกทฤษฏีออกไปได้อีกเยอะ ผมขอไม่แตกย่อยนะครับ)
    
        ทางทฤษฏี มิติที่5 กับมิติที่4 จะไม่สามารถมองเห็นกันได้ ไม่สามารถสัมผัสกันได้ หรือที่เมิร์ฟเรียกว่าผีนั้นเอง  แต่ในหนังที่คูปเปอร์สามารถสื่อสารกับเมิร์ฟในห้องนอนได้ เพราะมีคนจากมิติที่สูงกว่ามาสร้างห่วงเวลาตรงนี้โดนเฉพาะ ให้คูปเปอร์มาติด เพื่อติดต่อกับเมิร์ฟ (สังเกตุดูว่าไม่ว่าหันไปทางไหนจะมีแต่ห้องนอนกับชั้นหนังสือ ไม่มีส่วนอื่นเลย)  


-มิติที่ 6: หมายถึง มิติที่4+มิติที่4  (โลกคู่ขนานนั้นเอง)   เราสามารถพับ ให้ขา Y ด้านบน (หรือตัวเราตอนแก่) มาเจอกับ ขา Y ด้านล่าง คือ เราตอนเด็กได้ ซึ่งก็หมายความว่า ถ้าเราพบมิติที่ 6 ในทางปฏิบัติ จริงๆ ได้เมื่อไหร่ เราจะย้อนเวลาไปยังอดีต หรือ เดินทางไปยังอนาคตได้อย่างรวดเร็วทันทีทันใด (คือ เมื่อเราพับ space-time ได้ก็จะสร้างรูหนอน หรือไทม์แมชชีนได้นั้นเอง)  ถ้าเรามาถึงมิตินี้ได้ เราสามารถท่องเวลาได้นั้นเอง เจ๋งไหมหละ




               สถานีคูปเปอร์
         เป็นสถานีที่จำลองแรงโน้มถ่วงไว้ หลักเดียวกับหัวข้อที่ 3(การสร้างแรงดึงดูดเทียม)
ดูจากสถานีในหนังจะเป็นทรงกระบอก (นึกถึงขวดน้ำแล้วปล่อยให้ขวดน้ำหมุนรอบตัวเองเพื่อสร้างแรงดึงดูด คนจึงอาศัยข้างในขวดน้ำได้)

รูปแบบทรงกระบอก


รูปแบบ star  (เหมือนในหนังเรื่อง Elysium)

        
            และคุณรู้หรือไม่ว่าสถานีคูปเปอร์ ไปสร้างตรงดาวเสาร์เพื่อรอคูปเปอร์กลับมาโดยเฉพาะ และคำพูดของเมิร์ฟตอนแก่เป็นการบอกใบ้ว่าให้คูปเปอร์ ไปสร้างอานานิคมใหม่ของตัวเองกับแบรน บนดาวเอ็ดมัน

      
ไว้แค่นี้ก่อนละกันนะครับ ใครสงสัยอะไรถามไว้ข้างล่างได้เลยครับ

ปล. ผมใส่ Time line เป็น Infographic เพิ่มไว้ที่  คห.32 นะครับ  แลว้เดี๋ยวว่างๆจะมาอธิบายTime line เพิ่มให้
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่