อยากทราบครับว่า เจ้าหญิงประเทศไหนบ้างที่ไม่ต้องลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรส
ตอนนี้ทราบแค่ที่ต้องลาออกจากฐานันดรศักดิ์ คือไทยกับญี่ปุ่น โดยพระธิดาของสมเด็จพระจักรพรรดิองค์ปัจจุบันก็ลาออกจากฐานันดรศักดิ์เหมือนกัน
ของไทยเริ่มแนวคิดนี้หลังปี 2475 ในพรบ.การสมรสของเจ้านาย โดยกำหนดว่าเจ้านายหญิง(หม่อมเจ้าขึ้นไป) องค์ไหนต้องการสมรสกับหม่อมราชวงศ์ หม่อมหลวงหรือสามัญชน ต้องลาออกจากฐานันดรศักดิ์ก่อน ส่วนใหญ่เป็นหม่อมเจ้าหญิง พระองค์เจ้าหญิงมีองค์เดียวคือพระองค์หญิงอินทุรัตนา (บริพัตร) เจ้าฟ้าหญิงมีสามองค์คือ สมเด็จพระพี่นาง ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ และฟ้าหญิงพระองค์เล็ก
(สมเด็จพระพี่นางลาออกในปี 2487 ได้รับการสถาปนาฐานันดรศักดิ์กลับคืนในปี 2493 ฟ้าหญิงองค์เล็กได้รับสถาปนากลับคืนในวันเดียวกับที่ทรงลาออก ในปี 2524)
และที่ไม่ต้องลาคือ อังกฤษ (เท่าที่ทราบ) เจ้าหญิงแอน พระธิดาองค์เดียวของสมเด็จพระราชินี สมรสก็ไม่ต้องลาออกจากฐานันดรศักดิ์
พระโอรส ธิดาก็ยังอยู่ในสายลำดับการสืบราชสมบัติด้วย
เจ้าหญิงของราชวงศ์ประเทศไหนบ้างที่ไม่ต้องลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรส
ตอนนี้ทราบแค่ที่ต้องลาออกจากฐานันดรศักดิ์ คือไทยกับญี่ปุ่น โดยพระธิดาของสมเด็จพระจักรพรรดิองค์ปัจจุบันก็ลาออกจากฐานันดรศักดิ์เหมือนกัน
ของไทยเริ่มแนวคิดนี้หลังปี 2475 ในพรบ.การสมรสของเจ้านาย โดยกำหนดว่าเจ้านายหญิง(หม่อมเจ้าขึ้นไป) องค์ไหนต้องการสมรสกับหม่อมราชวงศ์ หม่อมหลวงหรือสามัญชน ต้องลาออกจากฐานันดรศักดิ์ก่อน ส่วนใหญ่เป็นหม่อมเจ้าหญิง พระองค์เจ้าหญิงมีองค์เดียวคือพระองค์หญิงอินทุรัตนา (บริพัตร) เจ้าฟ้าหญิงมีสามองค์คือ สมเด็จพระพี่นาง ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ และฟ้าหญิงพระองค์เล็ก
(สมเด็จพระพี่นางลาออกในปี 2487 ได้รับการสถาปนาฐานันดรศักดิ์กลับคืนในปี 2493 ฟ้าหญิงองค์เล็กได้รับสถาปนากลับคืนในวันเดียวกับที่ทรงลาออก ในปี 2524)
และที่ไม่ต้องลาคือ อังกฤษ (เท่าที่ทราบ) เจ้าหญิงแอน พระธิดาองค์เดียวของสมเด็จพระราชินี สมรสก็ไม่ต้องลาออกจากฐานันดรศักดิ์
พระโอรส ธิดาก็ยังอยู่ในสายลำดับการสืบราชสมบัติด้วย