[บทความพิเศษ] ควันหลงกรณีวิวาทะบน BTS : จะยอมให้ “ความมั่นคงทางศีลธรรม” ถูกสั่นคลอนงั้นหรือ?
.
.
.
By : TonyMao_NK51
E-Mail : tonymao_nk51@hotmail.com
Facebook : TonyMao Nk
.
สัปดาห์ที่ผ่านมา คงไม่มีประเด็นใดที่ร้อนแรงไปกว่ากรณี
“ทอม-ดี้ VS หญิง-กระเทย บนรถไฟฟ้า BTS” อีกแล้ว เห็นได้จากกระทู้แนะนำบนเว็บไซต์ ppantip.com ก็ดี หรือตามเพจต่างๆ ก็ดี มีการแชร์กันอย่างไม่ขาดสาย มีทั้งเสียงสนับสนุนการกระทำของผู้หญิงและกระเทยในคลิป ที่แสดงจุดยืนต่อต้านพฤติกรรมการแสดงออกราวกับพลอดรักในพื้นที่สาธารณะ ซึ่งไม่เหมาะสมในบริบทสังคมไทย แล้วก็เช่นกัน ก็มีผู้ที่ตั้งคำถามกับบรรทัดฐานสังคมไทย ว่าถือเรื่องจารีตจนไม่สนใจสิทธิส่วนบุคคลหรือไม่? รวมถึงมองว่าสังคมไทยล้าหลังบ้าง ทำไมต้องแช่แข็งประเทศไว้บ้าง
.
กรณีข้อเท็จจริงเรื่องนี้ว่าฝ่ายทอม-ดี้ แสดงกิริยาอาการทำนองพลอดรักกันจริงหรือไม่? หรือกลายเป็นฝ่ายหญิง-กระเทย ที่เข้าใจไปเองแล้วใส่สีตีไข่ โพสต์คลิปบิดเบือนเสียเองหรือเปล่า? ประเด็นนี้ผู้เขียนไม่ขอวิพากษ์วิจารณ์ ( แม้ค่อนข้างมีธงในใจพอสมควร เพียงแต่ความเชื่อของผู้เขียนฟังจากการโต้เถียงในคลิป และการวิเคราะห์ของคนในโลกออนไลน์ ยังไม่ใช่หลักฐานเชิงประจักษ์ เพราะคลิปที่ปรากฏไม่ได้เห็นภาพที่ส่อไปในทางพลอดรัก มีแต่การโต้เถียงเท่านั้น ) อีกทั้งฝ่ายคนที่ไปถ่ายคลิปและด่าทอ ก็บอกแล้วว่าอยากให้จบแค่นี้
.
อย่างไรก็ตาม..สิ่งที่ทำให้ผู้เขียนอึดอัดใจ จนต้องหยิบเรื่องนี้มาเขียน คือ “ดรามา” หรือวิวาทะทางความคิด ซึ่งไม่ใช่เรื่องเล็กที่น่าจะปล่อยผ่านไป!!!
.
แต่เป็นเรื่องใหญ่..ที่เกี่ยวข้องกับ “ความมั่นคงของชาติ” กันเลยทีเดียว!!!
.
จะมองว่ากล่าวเกินจริงไปหรือเปล่า? ผู้เขียนคิดว่านี่ไม่ใช่เรื่องที่เกินจริง หากมองประเด็นความมั่นคงของชาติ ในความคิดของคนทั่วไปคงคิดแต่เพียงแสนยานุภาพของกองทัพ กับสถานะทางเศรษฐกิจเท่านั้น ซึ่งนั่นก็ถูกต้อง การมียุทโธปกรณ์ที่ทันสมัย มีทหารที่รบเก่ง และมีเศรษฐกิจเข้มแข็ง รายได้ต่อหัวประชากรอยู่ในระดับสูง เป็นตัวชี้วัดสถานะความมั่นคงของชาติที่จับต้องได้ง่าย และมองเห็นได้ชัดเจนที่สุด
.
แต่นั่นถูกเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น..ในโลกยุคใหม่ที่กองกำลังทหารมีบทบาทน้อยลง เพราะมีองค์กรระหว่างประเทศมากมายคอยเป็นตัวกลางดูแลสถานการณ์ ขณะที่สงครามทางเศรษฐกิจ จำพวกการเล่นแร่แปรธาตุเพื่อโจมตีค่าเงิน หรือการใช้มาตรการกีดกันทางการค้า สิ่งเหล่านี้กลายเป็นเรื่องที่ใครๆ ก็รู้กัน การใช้วิธีพวกนี้อย่างโฉ่งฉ่างก็จะถูกประเทศอื่นๆ ต่อว่า หรือใช้มาตรการบางอย่างตอบโต้ได้
.
ปัญหาใหม่ที่กำลังเป็นภัยคุกคามในยุคนี้ แถมไม่ค่อยถูกพูดถึงด้วย คือเรื่องของ “สงครามทางวัฒนธรรม”!!!
.
เชื่อว่าทุกท่านคงได้เรียนกันมาในวิชาสังคมศึกษา ม.ปลาย ว่าด้วยบรรทัดฐาน 3 ระดับของสังคมต่างๆ ที่ประกอบด้วยวิถีประชา จารีตประเพณี และกฎหมาย 3 ระดับนี้ กฎหมายเป็นบรรทัดฐานที่ชัดเจนที่สุด มีบทลงโทษอย่างตรงไปตรงมา (ปรับ จำคุก ประหารชีวิต ฯลฯ) หากแต่จุดอ่อนของกฎหมาย คือแก้ไขให้ทันต่อสถานการณ์ได้ยากที่สุด แม้ในประเทศที่ผู้ปกครองเป็นเผด็จการ หากประสงค์จะรักษาอำนาจให้ยืนยาว การแก้ไขกฏหมายย่อมไม่อาจทำได้ตามอำเภอใจ นึกอยากจะทำก็ทำได้ทันทีโดยไม่หารือกับทีมที่ปรึกษา ( รวมถึงการใช้
“โพลลับ” หรือปฏิบัติการข่าวกรอง ลอบสำรวจกระแสสังคม หรือเสียงจากประชาชนอย่างไม่เป็นทางการเสียก่อน ) เพราะหากทำแบบนั้นแล้วทำให้ประชาชนส่วนใหญ่เดือดร้อนมากๆ ก็จะกลายเป็นการเรียกแรงต่อต้านจนถูกโค่นล้มในที่สุด ยิ่งในประเทศที่ใช้ระบอบประชาธิปไตยด้วยแล้ว การแก้ไขกฎหมายนั้นยิ่งยากแสนยากกว่า เพราะต้องผ่านการถกเถียง ต้องทำให้เสียงส่วนใหญ่ในสภายกมือ นอกจากนี้หากเป็นประเทศกำลังพัฒนาบางประเทศ การที่นักการเมืองจะโหวตสนับสนุนให้นโยบายที่เห็นว่าดี แต่เป็นของพรรคฝ่ายตรงข้าม หรือจะโหวตคัดค้านนโยบายที่ดูแล้วไม่ดี แต่เป็นของพรรคเดียวกัน เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลย ( การโหวตสวนมติพรรคถือเป็นสิ่งต้องห้าม และบางกรณี แม้กระทั่งการงดออกเสียงซึ่งเป็นการแสดงออกว่าไม่เห็นด้วยแบบรักษามารยาท ก็ยังถูกตำหนิได้ ) อีกทั้งหากจะบัญญัติความผิด-ความถูกทุกเรื่องลงในประมวลกฎหมาย หรือ พ.ร.บ. ต่างๆ รับรองว่าประเทศไหนที่ทำแบบนั้น คงได้เป็นเจ้าของสถิติว่ามีตำราประมวลกฏหมายมากที่สุดในโลกแน่ๆ ( สงสารคนเรียนนิติศาสตร์บ้างเถอะครับ ทุกวันนี้เห็นร้องโอยโอย บ่นว่าท่องกันบ้าเลือดทั้งนั้น บางคนฝันหรือละเมอเป็นมาตราต่างๆ ก็มีมาแล้ว )
.
ก็เพราะเราไม่สามารถใส่ทุกอย่างลงไปเป็นกฎหมายได้ทั้งหมด จึงต้องมี
“วิถีประชา” และ
“จารีตประเพณี” เข้ามากำกับดูแลอีกกรอบหนึ่ง ซึ่งการลงโทษผู้ฝ่าฝืนกรอบทั้ง 2 นี้ การลงโทษจะเป็นไปในลักษณะ “การคว่ำบาตรทางสังคม”
( Social Sanction ) ไล่ตั้งแต่การที่ผู้คนในสังคมแสดงพฤติกรรมไม่ยอมรับการกระทำที่ขัดต่อกรอบข้างต้น วิธีการแสดงออกก็เช่นการซุบซิบนินทา ตำหนิ ประณาม ( การถ่ายคลิปมาประจาน ก็เป็นการนินทาและประณามอย่างหนึ่ง จากในอดีตที่มีแต่นินทากันด้วยคำเล่าลือ แต่วันนี้เรามีเทคโนโลยีที่ทำให้เห็นทั้งภาพและเสียงชัดเจน ) อนึ่ง..ข้อเด่นของวิถีประชาและจารีตประเพณี คือมีการให้รางวัลได้ด้วย เช่น ผู้ที่รักษากรอบดังกล่าวได้อย่างโดดเด่นเป็นที่ประจักษ์ ก็จะถูกยกย่องชมเชย ไปจนถึงอาจมีหน่วยงาน องค์กรต่างๆ มาแจกโล่ แจกประกาศนียบัตร เป็นต้น ( ซึ่งในกรอบของกฎหมายไม่มีจุดนี้ ผู้ปฏิบัติตามกฎหมายเป็นนิจศีล ไม่ได้รับความชมเชย แต่ถ้าทำผิดกฎหมายก็ถูกลงโทษ ดังนั้นกฏหมายจึงเป็นการควบคุมเชิงลบเพียงด้านเดียว ไม่มีมาตรการเชิงบวกมาร่วมด้วย )
.
เป็นการอุดช่องว่าง-ช่องโหว่ ที่กฏหมายอาจจะไปไม่ถึงได้อีกทางหนึ่ง!!!
.
สำหรับในประเทศไทย..วิถีประชาก็ดี จารีตประเพณีก็ดี จัดเรื่องของการแสดงออกที่มีนัยยะเรื่องกามารมณ์ ( ไม่ใช่แค่เพศสัมพันธ์ แต่หมายถึงการพฤติกรรมที่ส่อไปทางนั้นทั้งหมด ไล่ตั้งแต่การกอด จูบ ลูบคลำ ล้วง ควัก ฯลฯ ) ให้อยู่ใน
“แถบสีเทา” ตามทฤษฎีโลก 3 สี กล่าวคือ
สีดำ คือสิ่งที่ห้ามหรือไม่ควรทำเด็ดขาด ,
สีเทา คือสิ่งที่สามารถทำได้ แต่ต้องดูบริบทอื่นประกอบ เช่นเวลา สถานที่ หรือเป็นเฉพาะเทศกาล ( คนโบราณเรียก
“กาลเทศะ” ) ,
สีขาว คือสิ่งที่ทำได้ และควรส่งเสริมให้ทำ
.
ดังนั้นการแสดงออกที่
“สามัญสำนึก” ( Common Sense ) ของคนในสังคมไทย มองเห็น รับรู้ และเข้าใจว่านั่นคือการแสดงออกที่ส่อนัยยะทางกามารมณ์ จึงเป็นสิ่งที่บริบทสังคมไทย
“รับไม่ได้” ซึ่งต่างจากเพื่อนจับมือกัน กอดกัน หรือพ่อแม่กอดลูก ลูกหอมแก้มพ่อแม่ ที่สังคมไทยไม่ว่าอะไรทั้งที่พฤติกรรมแบบเดียวกัน เพราะ
“สถานะ” ดังกล่าว ทั้งเพื่อนหรือครอบครัว ไม่มีนัยยะทางกามารมณ์ หรือ
“ความใคร่” ( ซึ่งเป็นคนละคำกับ
“ความรัก” แต่ในบางสถานะก็มักจะมาด้วยกัน เช่นคนเป็นแฟนกัน เป็นสามีภรรยากัน ) เจือปนมาด้วย
.
จึงไม่ต้องแปลกใจที่จะเกิดการประณาม ตำหนิติเตียนผู้ที่ทำพฤติกรรมดังกล่าวในที่สาธารณะ และที่ผ่านมาก็มีผู้ถูกตำหนิมาแล้วทุกเพศ ไม่ได้มีอคติ 2 มาตรฐาน ที่เพศหญิง-ชาย ทำอย่างหนึ่ง เพศที่ 3 ทำอีกอย่างหนึ่ง อย่างที่นักวิชาการบางคนตั้งข้อสังเกตแต่อย่างใด!!!
.
ทว่าวันนี้..ค่านิยม บรรทัดฐานสังคมอันดีงามแบบไทยๆ เรานี้กำลังถูกท้าทาย และไม่ใช่ครั้งแรก ที่ผ่านมาผู้เขียนเชื่อว่านักท่องโลกออนไลน์คงเห็นข้อความก็ดี ภาพก็ดี ที่มีนัยยะต่อต้านแนวคิด
“ศีลธรรม-คุณธรรม-จริยธรรม” อันเป็นเสาหลักหนึ่งของสังคมไทยมาช้านาน ถูกแชร์อย่างต่อเนื่อง และได้รับเสียงสนับสนุนไม่น้อย ตัวอย่างหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม คือการต่อต้าน
“ค่านิยม 12 ประการ” ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โดยพวกนอกรีตบางกลุ่ม ทั้งที่ค่านิยม 12 ประการ มันก็เป็นเรื่องที่ดีงาม ที่ควรส่งเสริมให้เป็นอัตลักษณ์ของชาติ แต่ก็ยังมีผู้ตั้งแง่ บอกว่าเป็นการครอบงำทางความคิดบ้าง ละเมิดเสรีภาพส่วนบุคคลบ้าง
.
นี่คือสิ่งที่สังคมไทยและรัฐไทย ไม่เคยเจอมาก่อน กล่าวคือ ในอดีตเราอาจจะตั้งข้อสงสัยแค่ในแง่ของบุคคลว่าคนๆ นั้น คนๆ นี้ ( รวมถึงตัวผู้ปกครองรัฐ หรือคนในรัฐบาลด้วย ) เป็นคนดีไหม? มีศีลมีธรรมไหม? ถ้าไม่มี ก็อาจจะต้องได้รับการตำหนิติเตียน โดยรัฐจะมีชุดความคิดหนึ่ง อันเป็นรากแห่งประวัติศาสตร์ของแต่ละรัฐออกมาใช้ ถ้าไม่ใช้ในรูปของกฎหมายโดยตรง ก็จะเป็นรูปของการรณรงค์ปลูกฝังความเชื่อ เช่นสังคมไทย ก็เรื่องของกฎแห่งกรรม ทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว ความมีน้ำใจ เกรงใจ รู้กาลเทศะ ฯลฯ แต่ระยะหลังๆ ไม่ถึง 10 ปีมานี้ บรรทัดฐานดังกล่าวกำลังถูกทำให้สั่นคลอนด้วยชุดความคิดแนวปัจเจกนิยม–สุขนิยม สะท้อนโดยคำพูดประมาณว่า
“ไม่แคร์สื่อ” ,
“ฉันไปทำอะไรบนหัวใครมิทราบ?” และอื่นๆ ในทำนองนี้มากขึ้น
.
“ลดความเป็นไทยให้น้อยลง แล้วเพิ่มความเป็นคนให้มากขึ้น” วลีนี้ชัดเจนมาก และฝ่ายความมั่นคงไม่ควรมองข้าม เพราะมีนัยยะของการลดความสำคัญของ
“ชาตินิยม” อันเป็นหลักคิดที่ทำให้ความเป็นรัฐชาติยังดำรงอยู่ได้ หากประชาชนคนในชาติ ไม่มีคำว่า
“ชาตินิยม” ( ซึ่งคนละความหมายกับคำว่า
“คลั่งชาติ” แต่พวก
“คลั่งเสรีภาพ” มักพยายามจะบอกว่าเป็นเรื่องเดียวกัน ) ไม่รู้สึกภูมิใจในอัตลักษณ์ของชาติ ที่สั่งสมมานานเสียแล้ว ถึงมีดินแดน ถึงมีอำนาจอธิปไตยสมบูรณ์ ถึงเบื้องหน้าจะไม่ถูกรัฐอื่นเข้าปกครอง แต่ก็เปล่าประโยชน์ เพราะหากเปรียบเทียบกับชีวิตมนุษย์ ในส่วนของดินแดน อำนาจอธิปไตย รัฐบาล ประชากร พวกนี้เปรียบเหมือน
“ร่างกาย” ส่วนอัตลักษณ์ที่ประกอบด้วยวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี เปรียบเหมือน
“จิตใจ-จิตวิญญาณ” ซึ่งต้องไปด้วยกัน จะแยกขาดจากกันไม่ได้
.
ก็เห็นกันอยู่ว่า..คนที่อยู่โดยไม่มีจิตวิญญาณ ไม่รู้สึกว่ามีอัตลักษณ์ไว้ให้ภูมิใจ คนพวกนี้ใช้ชีวิตอยู่อย่างไร? นั่นคือชีวิตล้วน
“ลอยล่องไปตามกระแส” อะไรที่ทำแล้วอิ่มกาย อร่อยกาย ก็ยินดีที่จะเข้าไปไขว่คว้า โดยไม่สนว่าเหมาะสมหรือไม่? ขอเพียง
“ไม่ผิดกฏหมาย” ( ซึ่งก็มีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้กฎหมายมีข้อจำกัดตามที่กล่าวไปข้างต้น ) ก็จะทำทั้งหมด จึงไม่ต้องแปลกใจที่จะไปสมาทานเอาแนวคิดที่สามารถ
“สนองความอยาก” ได้เต็มที่ เข้ามาเผยแพร่
.
ทั้งนี้แนวคิดที่ถูกมองว่าเป็น
“แนวคิดเก่า” อันมีรากฐานมาจากศาสนาและจริยศาสตร์ ( ไม่ใช่เฉพาะพุทธ แต่ศาสนาหลักที่คนในโลกนับถือมากๆ อย่างคริสต์และอิสลาม ก็มีหลักปฏิบัติที่มุ่งลดความอยากทางกายลงทั้งสิ้น ) ล้วนสอนให้
“ลดความอยากส่วนเกิน” ซึ่งผลทางอ้อมที่ภาครัฐจะได้ คือการบริหารจัดการต่างๆ จะทำได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น ตรงกันข้ามกับสังคมที่
“เชิดชูความอยากส่วนเกิน” อยากนั่น อยากนี่ สิทธิ์ฉัน ตัวฉัน เรียกร้องกันมากๆ การบริหารจัดการของภาครัฐก็จะทำได้ยาก และเสี่ยงต่อการยุยงของรัฐอื่น ชาติอื่น หรือกลุ่มผู้ไม่หวังดี ให้เกิดคามแตกแยก อ่อนแอในชาติขึ้นด้วย
( มีต่อ )
[บทความพิเศษ] ควันหลงกรณีวิวาทะบน BTS : จะยอมให้ “ความมั่นคงทางศีลธรรม” ถูกสั่นคลอนงั้นหรือ?
.
.
.
By : TonyMao_NK51
E-Mail : tonymao_nk51@hotmail.com
Facebook : TonyMao Nk
.
สัปดาห์ที่ผ่านมา คงไม่มีประเด็นใดที่ร้อนแรงไปกว่ากรณี “ทอม-ดี้ VS หญิง-กระเทย บนรถไฟฟ้า BTS” อีกแล้ว เห็นได้จากกระทู้แนะนำบนเว็บไซต์ ppantip.com ก็ดี หรือตามเพจต่างๆ ก็ดี มีการแชร์กันอย่างไม่ขาดสาย มีทั้งเสียงสนับสนุนการกระทำของผู้หญิงและกระเทยในคลิป ที่แสดงจุดยืนต่อต้านพฤติกรรมการแสดงออกราวกับพลอดรักในพื้นที่สาธารณะ ซึ่งไม่เหมาะสมในบริบทสังคมไทย แล้วก็เช่นกัน ก็มีผู้ที่ตั้งคำถามกับบรรทัดฐานสังคมไทย ว่าถือเรื่องจารีตจนไม่สนใจสิทธิส่วนบุคคลหรือไม่? รวมถึงมองว่าสังคมไทยล้าหลังบ้าง ทำไมต้องแช่แข็งประเทศไว้บ้าง
.
กรณีข้อเท็จจริงเรื่องนี้ว่าฝ่ายทอม-ดี้ แสดงกิริยาอาการทำนองพลอดรักกันจริงหรือไม่? หรือกลายเป็นฝ่ายหญิง-กระเทย ที่เข้าใจไปเองแล้วใส่สีตีไข่ โพสต์คลิปบิดเบือนเสียเองหรือเปล่า? ประเด็นนี้ผู้เขียนไม่ขอวิพากษ์วิจารณ์ ( แม้ค่อนข้างมีธงในใจพอสมควร เพียงแต่ความเชื่อของผู้เขียนฟังจากการโต้เถียงในคลิป และการวิเคราะห์ของคนในโลกออนไลน์ ยังไม่ใช่หลักฐานเชิงประจักษ์ เพราะคลิปที่ปรากฏไม่ได้เห็นภาพที่ส่อไปในทางพลอดรัก มีแต่การโต้เถียงเท่านั้น ) อีกทั้งฝ่ายคนที่ไปถ่ายคลิปและด่าทอ ก็บอกแล้วว่าอยากให้จบแค่นี้
.
อย่างไรก็ตาม..สิ่งที่ทำให้ผู้เขียนอึดอัดใจ จนต้องหยิบเรื่องนี้มาเขียน คือ “ดรามา” หรือวิวาทะทางความคิด ซึ่งไม่ใช่เรื่องเล็กที่น่าจะปล่อยผ่านไป!!!
.
แต่เป็นเรื่องใหญ่..ที่เกี่ยวข้องกับ “ความมั่นคงของชาติ” กันเลยทีเดียว!!!
.
จะมองว่ากล่าวเกินจริงไปหรือเปล่า? ผู้เขียนคิดว่านี่ไม่ใช่เรื่องที่เกินจริง หากมองประเด็นความมั่นคงของชาติ ในความคิดของคนทั่วไปคงคิดแต่เพียงแสนยานุภาพของกองทัพ กับสถานะทางเศรษฐกิจเท่านั้น ซึ่งนั่นก็ถูกต้อง การมียุทโธปกรณ์ที่ทันสมัย มีทหารที่รบเก่ง และมีเศรษฐกิจเข้มแข็ง รายได้ต่อหัวประชากรอยู่ในระดับสูง เป็นตัวชี้วัดสถานะความมั่นคงของชาติที่จับต้องได้ง่าย และมองเห็นได้ชัดเจนที่สุด
.
แต่นั่นถูกเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น..ในโลกยุคใหม่ที่กองกำลังทหารมีบทบาทน้อยลง เพราะมีองค์กรระหว่างประเทศมากมายคอยเป็นตัวกลางดูแลสถานการณ์ ขณะที่สงครามทางเศรษฐกิจ จำพวกการเล่นแร่แปรธาตุเพื่อโจมตีค่าเงิน หรือการใช้มาตรการกีดกันทางการค้า สิ่งเหล่านี้กลายเป็นเรื่องที่ใครๆ ก็รู้กัน การใช้วิธีพวกนี้อย่างโฉ่งฉ่างก็จะถูกประเทศอื่นๆ ต่อว่า หรือใช้มาตรการบางอย่างตอบโต้ได้
.
ปัญหาใหม่ที่กำลังเป็นภัยคุกคามในยุคนี้ แถมไม่ค่อยถูกพูดถึงด้วย คือเรื่องของ “สงครามทางวัฒนธรรม”!!!
.
เชื่อว่าทุกท่านคงได้เรียนกันมาในวิชาสังคมศึกษา ม.ปลาย ว่าด้วยบรรทัดฐาน 3 ระดับของสังคมต่างๆ ที่ประกอบด้วยวิถีประชา จารีตประเพณี และกฎหมาย 3 ระดับนี้ กฎหมายเป็นบรรทัดฐานที่ชัดเจนที่สุด มีบทลงโทษอย่างตรงไปตรงมา (ปรับ จำคุก ประหารชีวิต ฯลฯ) หากแต่จุดอ่อนของกฎหมาย คือแก้ไขให้ทันต่อสถานการณ์ได้ยากที่สุด แม้ในประเทศที่ผู้ปกครองเป็นเผด็จการ หากประสงค์จะรักษาอำนาจให้ยืนยาว การแก้ไขกฏหมายย่อมไม่อาจทำได้ตามอำเภอใจ นึกอยากจะทำก็ทำได้ทันทีโดยไม่หารือกับทีมที่ปรึกษา ( รวมถึงการใช้ “โพลลับ” หรือปฏิบัติการข่าวกรอง ลอบสำรวจกระแสสังคม หรือเสียงจากประชาชนอย่างไม่เป็นทางการเสียก่อน ) เพราะหากทำแบบนั้นแล้วทำให้ประชาชนส่วนใหญ่เดือดร้อนมากๆ ก็จะกลายเป็นการเรียกแรงต่อต้านจนถูกโค่นล้มในที่สุด ยิ่งในประเทศที่ใช้ระบอบประชาธิปไตยด้วยแล้ว การแก้ไขกฎหมายนั้นยิ่งยากแสนยากกว่า เพราะต้องผ่านการถกเถียง ต้องทำให้เสียงส่วนใหญ่ในสภายกมือ นอกจากนี้หากเป็นประเทศกำลังพัฒนาบางประเทศ การที่นักการเมืองจะโหวตสนับสนุนให้นโยบายที่เห็นว่าดี แต่เป็นของพรรคฝ่ายตรงข้าม หรือจะโหวตคัดค้านนโยบายที่ดูแล้วไม่ดี แต่เป็นของพรรคเดียวกัน เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลย ( การโหวตสวนมติพรรคถือเป็นสิ่งต้องห้าม และบางกรณี แม้กระทั่งการงดออกเสียงซึ่งเป็นการแสดงออกว่าไม่เห็นด้วยแบบรักษามารยาท ก็ยังถูกตำหนิได้ ) อีกทั้งหากจะบัญญัติความผิด-ความถูกทุกเรื่องลงในประมวลกฎหมาย หรือ พ.ร.บ. ต่างๆ รับรองว่าประเทศไหนที่ทำแบบนั้น คงได้เป็นเจ้าของสถิติว่ามีตำราประมวลกฏหมายมากที่สุดในโลกแน่ๆ ( สงสารคนเรียนนิติศาสตร์บ้างเถอะครับ ทุกวันนี้เห็นร้องโอยโอย บ่นว่าท่องกันบ้าเลือดทั้งนั้น บางคนฝันหรือละเมอเป็นมาตราต่างๆ ก็มีมาแล้ว )
.
ก็เพราะเราไม่สามารถใส่ทุกอย่างลงไปเป็นกฎหมายได้ทั้งหมด จึงต้องมี “วิถีประชา” และ “จารีตประเพณี” เข้ามากำกับดูแลอีกกรอบหนึ่ง ซึ่งการลงโทษผู้ฝ่าฝืนกรอบทั้ง 2 นี้ การลงโทษจะเป็นไปในลักษณะ “การคว่ำบาตรทางสังคม” ( Social Sanction ) ไล่ตั้งแต่การที่ผู้คนในสังคมแสดงพฤติกรรมไม่ยอมรับการกระทำที่ขัดต่อกรอบข้างต้น วิธีการแสดงออกก็เช่นการซุบซิบนินทา ตำหนิ ประณาม ( การถ่ายคลิปมาประจาน ก็เป็นการนินทาและประณามอย่างหนึ่ง จากในอดีตที่มีแต่นินทากันด้วยคำเล่าลือ แต่วันนี้เรามีเทคโนโลยีที่ทำให้เห็นทั้งภาพและเสียงชัดเจน ) อนึ่ง..ข้อเด่นของวิถีประชาและจารีตประเพณี คือมีการให้รางวัลได้ด้วย เช่น ผู้ที่รักษากรอบดังกล่าวได้อย่างโดดเด่นเป็นที่ประจักษ์ ก็จะถูกยกย่องชมเชย ไปจนถึงอาจมีหน่วยงาน องค์กรต่างๆ มาแจกโล่ แจกประกาศนียบัตร เป็นต้น ( ซึ่งในกรอบของกฎหมายไม่มีจุดนี้ ผู้ปฏิบัติตามกฎหมายเป็นนิจศีล ไม่ได้รับความชมเชย แต่ถ้าทำผิดกฎหมายก็ถูกลงโทษ ดังนั้นกฏหมายจึงเป็นการควบคุมเชิงลบเพียงด้านเดียว ไม่มีมาตรการเชิงบวกมาร่วมด้วย )
.
เป็นการอุดช่องว่าง-ช่องโหว่ ที่กฏหมายอาจจะไปไม่ถึงได้อีกทางหนึ่ง!!!
.
สำหรับในประเทศไทย..วิถีประชาก็ดี จารีตประเพณีก็ดี จัดเรื่องของการแสดงออกที่มีนัยยะเรื่องกามารมณ์ ( ไม่ใช่แค่เพศสัมพันธ์ แต่หมายถึงการพฤติกรรมที่ส่อไปทางนั้นทั้งหมด ไล่ตั้งแต่การกอด จูบ ลูบคลำ ล้วง ควัก ฯลฯ ) ให้อยู่ใน “แถบสีเทา” ตามทฤษฎีโลก 3 สี กล่าวคือ สีดำ คือสิ่งที่ห้ามหรือไม่ควรทำเด็ดขาด , สีเทา คือสิ่งที่สามารถทำได้ แต่ต้องดูบริบทอื่นประกอบ เช่นเวลา สถานที่ หรือเป็นเฉพาะเทศกาล ( คนโบราณเรียก “กาลเทศะ” ) , สีขาว คือสิ่งที่ทำได้ และควรส่งเสริมให้ทำ
.
ดังนั้นการแสดงออกที่ “สามัญสำนึก” ( Common Sense ) ของคนในสังคมไทย มองเห็น รับรู้ และเข้าใจว่านั่นคือการแสดงออกที่ส่อนัยยะทางกามารมณ์ จึงเป็นสิ่งที่บริบทสังคมไทย “รับไม่ได้” ซึ่งต่างจากเพื่อนจับมือกัน กอดกัน หรือพ่อแม่กอดลูก ลูกหอมแก้มพ่อแม่ ที่สังคมไทยไม่ว่าอะไรทั้งที่พฤติกรรมแบบเดียวกัน เพราะ “สถานะ” ดังกล่าว ทั้งเพื่อนหรือครอบครัว ไม่มีนัยยะทางกามารมณ์ หรือ “ความใคร่” ( ซึ่งเป็นคนละคำกับ “ความรัก” แต่ในบางสถานะก็มักจะมาด้วยกัน เช่นคนเป็นแฟนกัน เป็นสามีภรรยากัน ) เจือปนมาด้วย
.
จึงไม่ต้องแปลกใจที่จะเกิดการประณาม ตำหนิติเตียนผู้ที่ทำพฤติกรรมดังกล่าวในที่สาธารณะ และที่ผ่านมาก็มีผู้ถูกตำหนิมาแล้วทุกเพศ ไม่ได้มีอคติ 2 มาตรฐาน ที่เพศหญิง-ชาย ทำอย่างหนึ่ง เพศที่ 3 ทำอีกอย่างหนึ่ง อย่างที่นักวิชาการบางคนตั้งข้อสังเกตแต่อย่างใด!!!
.
ทว่าวันนี้..ค่านิยม บรรทัดฐานสังคมอันดีงามแบบไทยๆ เรานี้กำลังถูกท้าทาย และไม่ใช่ครั้งแรก ที่ผ่านมาผู้เขียนเชื่อว่านักท่องโลกออนไลน์คงเห็นข้อความก็ดี ภาพก็ดี ที่มีนัยยะต่อต้านแนวคิด “ศีลธรรม-คุณธรรม-จริยธรรม” อันเป็นเสาหลักหนึ่งของสังคมไทยมาช้านาน ถูกแชร์อย่างต่อเนื่อง และได้รับเสียงสนับสนุนไม่น้อย ตัวอย่างหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม คือการต่อต้าน “ค่านิยม 12 ประการ” ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โดยพวกนอกรีตบางกลุ่ม ทั้งที่ค่านิยม 12 ประการ มันก็เป็นเรื่องที่ดีงาม ที่ควรส่งเสริมให้เป็นอัตลักษณ์ของชาติ แต่ก็ยังมีผู้ตั้งแง่ บอกว่าเป็นการครอบงำทางความคิดบ้าง ละเมิดเสรีภาพส่วนบุคคลบ้าง
.
นี่คือสิ่งที่สังคมไทยและรัฐไทย ไม่เคยเจอมาก่อน กล่าวคือ ในอดีตเราอาจจะตั้งข้อสงสัยแค่ในแง่ของบุคคลว่าคนๆ นั้น คนๆ นี้ ( รวมถึงตัวผู้ปกครองรัฐ หรือคนในรัฐบาลด้วย ) เป็นคนดีไหม? มีศีลมีธรรมไหม? ถ้าไม่มี ก็อาจจะต้องได้รับการตำหนิติเตียน โดยรัฐจะมีชุดความคิดหนึ่ง อันเป็นรากแห่งประวัติศาสตร์ของแต่ละรัฐออกมาใช้ ถ้าไม่ใช้ในรูปของกฎหมายโดยตรง ก็จะเป็นรูปของการรณรงค์ปลูกฝังความเชื่อ เช่นสังคมไทย ก็เรื่องของกฎแห่งกรรม ทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว ความมีน้ำใจ เกรงใจ รู้กาลเทศะ ฯลฯ แต่ระยะหลังๆ ไม่ถึง 10 ปีมานี้ บรรทัดฐานดังกล่าวกำลังถูกทำให้สั่นคลอนด้วยชุดความคิดแนวปัจเจกนิยม–สุขนิยม สะท้อนโดยคำพูดประมาณว่า “ไม่แคร์สื่อ” , “ฉันไปทำอะไรบนหัวใครมิทราบ?” และอื่นๆ ในทำนองนี้มากขึ้น
.
“ลดความเป็นไทยให้น้อยลง แล้วเพิ่มความเป็นคนให้มากขึ้น” วลีนี้ชัดเจนมาก และฝ่ายความมั่นคงไม่ควรมองข้าม เพราะมีนัยยะของการลดความสำคัญของ “ชาตินิยม” อันเป็นหลักคิดที่ทำให้ความเป็นรัฐชาติยังดำรงอยู่ได้ หากประชาชนคนในชาติ ไม่มีคำว่า “ชาตินิยม” ( ซึ่งคนละความหมายกับคำว่า “คลั่งชาติ” แต่พวก “คลั่งเสรีภาพ” มักพยายามจะบอกว่าเป็นเรื่องเดียวกัน ) ไม่รู้สึกภูมิใจในอัตลักษณ์ของชาติ ที่สั่งสมมานานเสียแล้ว ถึงมีดินแดน ถึงมีอำนาจอธิปไตยสมบูรณ์ ถึงเบื้องหน้าจะไม่ถูกรัฐอื่นเข้าปกครอง แต่ก็เปล่าประโยชน์ เพราะหากเปรียบเทียบกับชีวิตมนุษย์ ในส่วนของดินแดน อำนาจอธิปไตย รัฐบาล ประชากร พวกนี้เปรียบเหมือน “ร่างกาย” ส่วนอัตลักษณ์ที่ประกอบด้วยวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี เปรียบเหมือน “จิตใจ-จิตวิญญาณ” ซึ่งต้องไปด้วยกัน จะแยกขาดจากกันไม่ได้
.
ก็เห็นกันอยู่ว่า..คนที่อยู่โดยไม่มีจิตวิญญาณ ไม่รู้สึกว่ามีอัตลักษณ์ไว้ให้ภูมิใจ คนพวกนี้ใช้ชีวิตอยู่อย่างไร? นั่นคือชีวิตล้วน “ลอยล่องไปตามกระแส” อะไรที่ทำแล้วอิ่มกาย อร่อยกาย ก็ยินดีที่จะเข้าไปไขว่คว้า โดยไม่สนว่าเหมาะสมหรือไม่? ขอเพียง “ไม่ผิดกฏหมาย” ( ซึ่งก็มีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้กฎหมายมีข้อจำกัดตามที่กล่าวไปข้างต้น ) ก็จะทำทั้งหมด จึงไม่ต้องแปลกใจที่จะไปสมาทานเอาแนวคิดที่สามารถ “สนองความอยาก” ได้เต็มที่ เข้ามาเผยแพร่
.
ทั้งนี้แนวคิดที่ถูกมองว่าเป็น “แนวคิดเก่า” อันมีรากฐานมาจากศาสนาและจริยศาสตร์ ( ไม่ใช่เฉพาะพุทธ แต่ศาสนาหลักที่คนในโลกนับถือมากๆ อย่างคริสต์และอิสลาม ก็มีหลักปฏิบัติที่มุ่งลดความอยากทางกายลงทั้งสิ้น ) ล้วนสอนให้ “ลดความอยากส่วนเกิน” ซึ่งผลทางอ้อมที่ภาครัฐจะได้ คือการบริหารจัดการต่างๆ จะทำได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น ตรงกันข้ามกับสังคมที่ “เชิดชูความอยากส่วนเกิน” อยากนั่น อยากนี่ สิทธิ์ฉัน ตัวฉัน เรียกร้องกันมากๆ การบริหารจัดการของภาครัฐก็จะทำได้ยาก และเสี่ยงต่อการยุยงของรัฐอื่น ชาติอื่น หรือกลุ่มผู้ไม่หวังดี ให้เกิดคามแตกแยก อ่อนแอในชาติขึ้นด้วย
( มีต่อ )