ว่าด้วยเรื่องอุจเฉททิฏฐิ 7...

กระทู้สนทนา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีทิฏฐิว่าขาดสูญ ย่อมบัญญัติความ
ขาดสูญ ความพินาศ ความเลิกเกิดของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ ด้วยเหตุ ๗ ประการ เป็นไฉน
1...อัตตานี้มีรูป สำเร็จด้วยธรรมภูตรูป ๔ มีมารดาบิดาเป็นแดนเกิด เพราะกายแตก
ย่อมบัญญัติความขาดสูญ ย่อมพินาศ เบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมเลิกเกิดฉะนั้น..

2...อัตตาอย่างอื่นที่เป็นทิพย์ มีรูป เป็นกามาพจร บริโภคกวฬิงการาหาร  ...
เพราะกายแตก ย่อมบัญญัติอัตตานั้นแลย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ เบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมเลิกเกิด

3...อัตตาอย่างอื่นอีกที่เป็นทิพย์ มีรูป สำเร็จด้วยใจ มีอวัยวะใหญ่น้อยครบครัน
มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง ...ย่อมบัญญัติอัตตานั้นแลย่อมขาดสูญ ความพินาศ ความเลิกเกิด...

4...อัตตาอย่างอื่นที่เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนะ มีอารมณ์ว่า อากาศหาที่สุดมิได้
เพราะล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจในนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง...
ย่อมบัญญัติอัตตานั้นแลย่อมขาดสูญ ความพินาศ ความเลิกเกิด...

5...อัตตาอย่างอื่นที่เข้าถึงชั้นวิญญาณัญจายตนะ มีอารมณ์ว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้
เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวง ย่อมบัญญัติอัตตานั้นแลย่อมขาดสูญ
ความพินาศ ความเลิกเกิด...

6...อัตตาอย่างอื่นที่เข้าถึงชั้นอากิญจัญญายตนะ มีอารมณ์ ว่าไม่มีอะไร
เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวง ย่อมบัญญัติอัตตานั้นแลย่อมขาดสูญ
ความพินาศ ความเลิกเกิด...

7...อัตตาอย่างอื่นที่เข้าถึงชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนะ (สัตว์มีสัญญา-ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่)
เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวง.. ย่อมบัญญัติอัตตานั้นแลย่อมขาดสูญ
ความพินาศ ความเลิกเกิด ของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่อย่างนี้.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่งมีทิฏฐิว่าขาดสูญ ย่อมบัญญัติความขาดสูญ
ความพินาศ ความเลิกเกิด ของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมบัญญัติ
ด้วยเหตุ 7 ประการนี้เท่านั้น หรือแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง นอกจากนี้ไม่มี? .

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า ฐานะที่ตั้งแห่งทิฏฐิเหล่านี้ บุคคลถืออย่างนั้นแล้ว
ยึดอย่างนั้นแล้ว ย่อมมีคติอย่างนั้น มีภพเบื้องหน้าอย่างนั้น และตถาคตย่อมรู้เหตุนั้นชัด
ทั้งรู้ชัดยิ่งกว่านั้น ทั้งไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย เมื่อไม่ยึดมั่นก็ทราบความเกิดขึ้น ความดับไป
คุณและโทษของเวทนาทั้งหลาย คือ ผัสสะกับทั้งอุบายเป็นเครื่องออกไปจากเวทนาเหล่านั้น
(เธอนั้นกำหนดเบญจขันธ์โดยลักษณะ ๑๑ อาการ มีอนิจจลักษณะเป็นต้น..) ตามความเป็นจริง
จึงทราบความดับได้เฉพาะตน เพราะไม่ยึดมั่น ตถาคตจึงหลุดพ้น.

              ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้แลที่ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต
จะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ซึ่งตถาคตทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง ที่เป็นเหตุให้กล่าวชมตถาคตตามความเป็นจริงโดยชอบ.
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่