มนุษย์ต้องการการสัมผัสทางร่างกายอย่างมาก และเมื่อเติบโตขึ้นจึงเปลี่ยนมาเป็นความ ต้องการการสัมผัสทางใจ ซึ่งเรียกว่า
“ความเอาใจใส่” (Stroke)
• คุณเคยสงสัยไหมว่า เพราะอะไรคนเราจึงต้องมีการจัดพิธีการหรือกิจกรรมต่างๆขึ้นมาเยอะแยะ ยกตัวอย่าง เช่น ในสังคมมหาวิทยาลัยก็มีการจับฉลากเข้าโต๊ะ, เข้าชุมนุม, เข้ากลุ่มสังสรรค์, การจัดรับน้อง/บายเนียร์, กิจกรรมการเมือง, เล่นโซเชี่ยลเช็คอินโพสสถานะ, ไปวัด, เล่นเกม, ทำค่าย, หรือแม้กระทั่งการมีแฟน ก็เพราะว่าทุก Activity ทำให้เราได้มาซึ่ง Stroke ทั้งสิ้น
• Eric Berne กล่าวว่า มนุษย์ใช้เวลาในแต่ละวันเพื่อให้ตัวเองได้รับการเอาใจใส่ (stroke)
• เนื่องด้วยมนุษย์ทุกคนต้องการ "Stroke" (การเอาใจใส่) มนุษย์จึงสร้างชุดกฎเกณฑ์ พิธีการ วันสำคัญ หรือกลุ่มย่อยทางสังคม มาให้เราไปเข้าร่วมกลุ่ม ก็เพื่อให้ได้ Stroke แล้วนั่นจึงเป็นคำอธิบายได้ว่า ทำไมจึงมีคำกล่าวว่า มนุษย์เป็นสัตว์สังคม นั่นเอง
• การจัดพิธีไหว้ครู ก็ทำเพื่อให้ได้ Stroke มา โดยคนที่ได้ Stroke ในพิธีกรรมนี้คืออาจารย์นั่นเอง หรือถ้าเป็นวันเด็กก็จัดเพื่อให้เด็กได้รับ Stroke
• ลองสังเกตชีวิตประจำวันของมนุษย์ คนเราจะทำทุกอย่างเพื่อให้ได้มาซึ่ง Stroke (การเอาใจใส่) เช่น ทำไมต้องลดความอ้วน ทำไมต้องแต่งตัว ทำไมหน้าต้องใสไร้สิว ทำไมต้องเป็นคนเก่ง ...
• Stroke มี 4 แบบ คือ:
1— Verbal
ได้แก่ คำชม ทักทาย
2— Non-Verbal
ได้แก่ ภาษาท่าทาง ยักคิ้ว โอบกอด
3— Conditional
คือ การให้ความใส่ใจแบบมีเงื่อนไข เช่น เธอต้องทำดีต่อฉันก่อนนะ ฉันจึงจะใส่ใจเธอ (หรือเธอต้องทำอะไรบางอย่างให้ฉันฉันจึงจะสนใจเธอ),
4— Free Condition
คือ การใส่ใจโดยไร้เงื่อนไข เช่น การใส่ใจของพ่อแม่ต่อลูก
• Stroke นั้นถูกแสดงออกได้ทั้งในแง่บวก และลบ อาทิ การกล่าวชมเพื่อนว่าแต่งตัวดูดี เป็นการให้ Stroke ชนิด Positive Verbal แต่ถ้าติ หรือด่า จะเป็นการให้ความใส่ใจแบบ Negative Verbal (ถึงจะเป็นทางลบแต่ก็ยังถือว่าเป็นการใส่ใจชนิดหนึ่งอยู่นะ) เป็นคนละอย่างกับ "No Stroke" ซึ่งมีความหมายว่าถูกเพิกเฉย (ignored) ไม่เป็นที่สนใจจากผู้ใดเลย
• ลองสังเกตตัวเอง สมมติเราทำผิด แล้วพ่อแม่มาด่าเรา (Stroke ทางลบ) เราจะยังรู้สึกดีกว่าทำผิดแล้วพ่อแม่เฉยเมย ไม่มอง ไม่แยแสด้วยเลย (No Stroke)
• สิ่งที่มนุษย์กลัวที่สุด คือ กลัวการไม่ได้รับการใส่ใจ (No Stroke)
• อีริค เบิร์น เชื่อว่าการเอาใจใส่ (Stroke) ที่สมบูรณ์สูงสุดในชีวิต มี 2 อย่าง:
1— ครอบครัว พ่อแม่ลูกมีความเข้าใจกัน ส่งเสริมกันและกัน
2— เปลือยกายมี Sex กับคนรักได้อย่างบริสุทธิ์ใจ
สองอย่างข้างบนก็คือ #Intimacy ซึ่งเป็นศัพท์จิตวิทยาสังคมนั่นเอง
• Intimacy ตามคำกล่าวของ Berne คือ การให้ความรักแบบไม่มีเงื่อนไข (Free Condition) ได้สัมผัสกันทั้งกาย-ใจ ต้องไม่มีความเคลือบแคลงสงสัยในความสัมพันธ์
• ตัวอย่างของ Intimacy นั่นก็คือ ครอบครัว พ่อแม่ลูก กอดกัน หอมแก้มกัน เข้าใจกัน; ไว้เนื้อเชื่อใจคนรักได้เต็มร้อย สามารถเปลือยกายให้กันดูได้ รวมถึงมี sex
• ไม่ผิด หากวันนึงเรากล้าที่จะบอกว่า "อยากมีแฟน/อยากมีครอบครัว" นี่ก็เป็นเพราะมันคือสิ่งที่มนุษย์ต้องการลึกๆอยู่ในใจตลอดทุกๆวัน และมันคือ Stroke สูงสุดของชีวิตคนเรา! ตามทฤษฎีของ Eric Berne นั่นเอง
• มนุษย์ต้องการ "Intimacy" (ความใกล้ชิด) ซึ่งเป็นภาวะหนึ่งที่นำมาสู่ศักยภาพของการดำเนินชีวิต การได้รับ Intimacy เป็นการได้รับ Stroke สูงสุดในชีวิต
• ในสังคมจะมีผู้ที่ชื่นชอบใช้ชีวิตอยู่ลำพัง (เช่น ไปไหนมาไหนคนเดียว) อยู่มากมาย โดยสาเหตุของพฤติกรรมดังกล่าวแบ่งตามทฤษฎีได้ดังนี้:
1— ชอบใช้ชีวิตอยู่คนเดียว เพราะเขาได้รับความเอาใจใส่จากสังคมมากเกินพอแล้ว จนล้น เกินความจำเป็น เลยมีความปรารถนาจะอยู่คนเดียวไปซะเลย ตัวอย่างที่พบบ่อยๆคือ บุคคลสำคัญดังในสังคม และดารา ที่มักชอบพูดว่าขอเวลาส่วนตัวหน่อย หรือชอบหลีกเลี่ยงสังคม นั่นก็เพราะสังคมคนมากมายสนใจเขามากไป...
2— อีกเหตุหนึ่งที่ทำให้คนชอบใช้ชีวิตอยู่ตัวคนเดียว โดยบุคคลประเภทนี้ตั้งใจแยกออกมาอยู่คนเดียวเพื่อ Self-Stroke ตนเอง ก็เพราะไม่ได้รับ Stroke จากเพื่อนฝูงหรือสังคมเลย ตัวอย่างเช่น พูดอะไร/เสนอความคิดเห็นอะไรไป ใครก็ไม่ฟัง (ระวัง! 'ไม่เห็นด้วย' กับ 'ไม่ฟัง' ต่างกันมากนะ กล่าวคือ การไม่ฟังเลยเรียกว่า No Stroke แต่ถ้าไม่เห็นด้วยถือว่าเขายังได้รับ Stroke อยู่ แค่เป็นเชิง negative)
• ลองสังเกต เวลาคุยอะไรกับเพื่อนกลุ่มใหญ่ แล้วจะมีเพื่อนคนหนึ่งที่พูดอะไรแล้วไม่มีใครฟัง หรือไม่สนใจ หรือพูดง่ายๆก็คือถูกแบนจากคนในกลุ่ม เพื่อนคนดังกล่าวถือว่าถูก No Stroke (ซึ่งเป็นอะไรที่ทำร้ายจิตใจมาก)
• การ "No Stroke" ตามหลักจิตวิทยา ถือเป็นการลงโทษมนุษย์ (ทางใจ) ที่รุนแรงที่สุด เพราะการทำแบบนี้แปลว่า ไม่มีใครให้ความสำคัญหรือคุณค่ากับบุคคลนั้นเลย
• เมื่อเราถูก No Stroke กลไกทางความคิดของเราจะสร้าง Self-Stroke ขึ้นมาเพื่อป้องกันไม่ให้ตัวเองรู้สึกแย่ นั่นก็คือ การปลอบใจตัวเอง ให้กำลังใจตนเอง ชมตัวเอง เช่น "เรานี่ก็เก่งเหมือนกันนะ" (เพราะว่าไม่มีใครที่ไหนมาชม) เราต้องเลยใส่ใจตัวเอง
ที่มา : https://www.facebook.com/PsychologistCafe
นักจิตวิทยา เผย คนเราต้องการ Stroke (การถูกเอาใจใส่)
• คุณเคยสงสัยไหมว่า เพราะอะไรคนเราจึงต้องมีการจัดพิธีการหรือกิจกรรมต่างๆขึ้นมาเยอะแยะ ยกตัวอย่าง เช่น ในสังคมมหาวิทยาลัยก็มีการจับฉลากเข้าโต๊ะ, เข้าชุมนุม, เข้ากลุ่มสังสรรค์, การจัดรับน้อง/บายเนียร์, กิจกรรมการเมือง, เล่นโซเชี่ยลเช็คอินโพสสถานะ, ไปวัด, เล่นเกม, ทำค่าย, หรือแม้กระทั่งการมีแฟน ก็เพราะว่าทุก Activity ทำให้เราได้มาซึ่ง Stroke ทั้งสิ้น
• Eric Berne กล่าวว่า มนุษย์ใช้เวลาในแต่ละวันเพื่อให้ตัวเองได้รับการเอาใจใส่ (stroke)
• เนื่องด้วยมนุษย์ทุกคนต้องการ "Stroke" (การเอาใจใส่) มนุษย์จึงสร้างชุดกฎเกณฑ์ พิธีการ วันสำคัญ หรือกลุ่มย่อยทางสังคม มาให้เราไปเข้าร่วมกลุ่ม ก็เพื่อให้ได้ Stroke แล้วนั่นจึงเป็นคำอธิบายได้ว่า ทำไมจึงมีคำกล่าวว่า มนุษย์เป็นสัตว์สังคม นั่นเอง
• การจัดพิธีไหว้ครู ก็ทำเพื่อให้ได้ Stroke มา โดยคนที่ได้ Stroke ในพิธีกรรมนี้คืออาจารย์นั่นเอง หรือถ้าเป็นวันเด็กก็จัดเพื่อให้เด็กได้รับ Stroke
• ลองสังเกตชีวิตประจำวันของมนุษย์ คนเราจะทำทุกอย่างเพื่อให้ได้มาซึ่ง Stroke (การเอาใจใส่) เช่น ทำไมต้องลดความอ้วน ทำไมต้องแต่งตัว ทำไมหน้าต้องใสไร้สิว ทำไมต้องเป็นคนเก่ง ...
• Stroke มี 4 แบบ คือ:
1— Verbal
ได้แก่ คำชม ทักทาย
2— Non-Verbal
ได้แก่ ภาษาท่าทาง ยักคิ้ว โอบกอด
3— Conditional
คือ การให้ความใส่ใจแบบมีเงื่อนไข เช่น เธอต้องทำดีต่อฉันก่อนนะ ฉันจึงจะใส่ใจเธอ (หรือเธอต้องทำอะไรบางอย่างให้ฉันฉันจึงจะสนใจเธอ),
4— Free Condition
คือ การใส่ใจโดยไร้เงื่อนไข เช่น การใส่ใจของพ่อแม่ต่อลูก
• Stroke นั้นถูกแสดงออกได้ทั้งในแง่บวก และลบ อาทิ การกล่าวชมเพื่อนว่าแต่งตัวดูดี เป็นการให้ Stroke ชนิด Positive Verbal แต่ถ้าติ หรือด่า จะเป็นการให้ความใส่ใจแบบ Negative Verbal (ถึงจะเป็นทางลบแต่ก็ยังถือว่าเป็นการใส่ใจชนิดหนึ่งอยู่นะ) เป็นคนละอย่างกับ "No Stroke" ซึ่งมีความหมายว่าถูกเพิกเฉย (ignored) ไม่เป็นที่สนใจจากผู้ใดเลย
• ลองสังเกตตัวเอง สมมติเราทำผิด แล้วพ่อแม่มาด่าเรา (Stroke ทางลบ) เราจะยังรู้สึกดีกว่าทำผิดแล้วพ่อแม่เฉยเมย ไม่มอง ไม่แยแสด้วยเลย (No Stroke)
• สิ่งที่มนุษย์กลัวที่สุด คือ กลัวการไม่ได้รับการใส่ใจ (No Stroke)
• อีริค เบิร์น เชื่อว่าการเอาใจใส่ (Stroke) ที่สมบูรณ์สูงสุดในชีวิต มี 2 อย่าง:
1— ครอบครัว พ่อแม่ลูกมีความเข้าใจกัน ส่งเสริมกันและกัน
2— เปลือยกายมี Sex กับคนรักได้อย่างบริสุทธิ์ใจ
สองอย่างข้างบนก็คือ #Intimacy ซึ่งเป็นศัพท์จิตวิทยาสังคมนั่นเอง
• Intimacy ตามคำกล่าวของ Berne คือ การให้ความรักแบบไม่มีเงื่อนไข (Free Condition) ได้สัมผัสกันทั้งกาย-ใจ ต้องไม่มีความเคลือบแคลงสงสัยในความสัมพันธ์
• ตัวอย่างของ Intimacy นั่นก็คือ ครอบครัว พ่อแม่ลูก กอดกัน หอมแก้มกัน เข้าใจกัน; ไว้เนื้อเชื่อใจคนรักได้เต็มร้อย สามารถเปลือยกายให้กันดูได้ รวมถึงมี sex
• ไม่ผิด หากวันนึงเรากล้าที่จะบอกว่า "อยากมีแฟน/อยากมีครอบครัว" นี่ก็เป็นเพราะมันคือสิ่งที่มนุษย์ต้องการลึกๆอยู่ในใจตลอดทุกๆวัน และมันคือ Stroke สูงสุดของชีวิตคนเรา! ตามทฤษฎีของ Eric Berne นั่นเอง
• มนุษย์ต้องการ "Intimacy" (ความใกล้ชิด) ซึ่งเป็นภาวะหนึ่งที่นำมาสู่ศักยภาพของการดำเนินชีวิต การได้รับ Intimacy เป็นการได้รับ Stroke สูงสุดในชีวิต
• ในสังคมจะมีผู้ที่ชื่นชอบใช้ชีวิตอยู่ลำพัง (เช่น ไปไหนมาไหนคนเดียว) อยู่มากมาย โดยสาเหตุของพฤติกรรมดังกล่าวแบ่งตามทฤษฎีได้ดังนี้:
1— ชอบใช้ชีวิตอยู่คนเดียว เพราะเขาได้รับความเอาใจใส่จากสังคมมากเกินพอแล้ว จนล้น เกินความจำเป็น เลยมีความปรารถนาจะอยู่คนเดียวไปซะเลย ตัวอย่างที่พบบ่อยๆคือ บุคคลสำคัญดังในสังคม และดารา ที่มักชอบพูดว่าขอเวลาส่วนตัวหน่อย หรือชอบหลีกเลี่ยงสังคม นั่นก็เพราะสังคมคนมากมายสนใจเขามากไป...
2— อีกเหตุหนึ่งที่ทำให้คนชอบใช้ชีวิตอยู่ตัวคนเดียว โดยบุคคลประเภทนี้ตั้งใจแยกออกมาอยู่คนเดียวเพื่อ Self-Stroke ตนเอง ก็เพราะไม่ได้รับ Stroke จากเพื่อนฝูงหรือสังคมเลย ตัวอย่างเช่น พูดอะไร/เสนอความคิดเห็นอะไรไป ใครก็ไม่ฟัง (ระวัง! 'ไม่เห็นด้วย' กับ 'ไม่ฟัง' ต่างกันมากนะ กล่าวคือ การไม่ฟังเลยเรียกว่า No Stroke แต่ถ้าไม่เห็นด้วยถือว่าเขายังได้รับ Stroke อยู่ แค่เป็นเชิง negative)
• ลองสังเกต เวลาคุยอะไรกับเพื่อนกลุ่มใหญ่ แล้วจะมีเพื่อนคนหนึ่งที่พูดอะไรแล้วไม่มีใครฟัง หรือไม่สนใจ หรือพูดง่ายๆก็คือถูกแบนจากคนในกลุ่ม เพื่อนคนดังกล่าวถือว่าถูก No Stroke (ซึ่งเป็นอะไรที่ทำร้ายจิตใจมาก)
• การ "No Stroke" ตามหลักจิตวิทยา ถือเป็นการลงโทษมนุษย์ (ทางใจ) ที่รุนแรงที่สุด เพราะการทำแบบนี้แปลว่า ไม่มีใครให้ความสำคัญหรือคุณค่ากับบุคคลนั้นเลย
• เมื่อเราถูก No Stroke กลไกทางความคิดของเราจะสร้าง Self-Stroke ขึ้นมาเพื่อป้องกันไม่ให้ตัวเองรู้สึกแย่ นั่นก็คือ การปลอบใจตัวเอง ให้กำลังใจตนเอง ชมตัวเอง เช่น "เรานี่ก็เก่งเหมือนกันนะ" (เพราะว่าไม่มีใครที่ไหนมาชม) เราต้องเลยใส่ใจตัวเอง
ที่มา : https://www.facebook.com/PsychologistCafe