(ข้อเขียนนี้ เป็นความเห็นส่วนตัว พูดถึงเนื้อเรื่องคร่าวๆ บางส่วน แต่ไม่ได้เปิดเผยความลับสำคัญของหนัง)
ในแง่ของรายละเอียดหนังเรื่องนี้ของ คริสโตเฟอร์ โนแลน คืองานที่อยู่ในข่าย Hard Sci-fi ที่จัดหนักเรื่องทฤษฏีทางวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะเรื่องกฏฟิสิกส์เกี่ยวกับ การเดินทางข้ามดวงดาว, หลุมดำ, รูหนอน, สนามแรงโน้มถ่วง, ความบิดเบี้ยวของห้วงอวกาศและกาลเวลา ชนิดที่ว่าถ้าเป็นคนดูที่ไม่ค่อยถูกโฉลกกับเรื่องพวกนี้เป็นทุนอยู่แล้ว อาจจะถูกเหวี่ยงหลุดออกจากวงโคจรของหนัง จนต่อไม่ติด ไม่อินเรื่องราว เต็มไปด้วยคำถาม อะไร? ทำไม? อย่างไร? ก่อนจะกลายเป็นการนั่งภาวนาให้มันสรุปเรื่องจบลงเร็วๆ เสียทีก็เป็นได้
แต่หากลดระดับความกระหายใคร่รู้ ละวางในรายละเอียดของทฤษฏีต่างๆ ที่ถูกหยิบมาพูดถึงในหนังลงให้หมด แล้วถอยมามองโครงเรื่องแบบกว้างๆ รวมๆ ต้องบอกว่านี่เป็นหนังที่มีความซับซ้อนน้อยที่สุดของโนแลน จนเรียกได้ว่า 'ง่าย' แบบไม่น่าเชื่อ และดูเหมือนว่าจะมาตามสูตรสำเร็จหนัง Sci-fi ดาดๆ แบบ Armageddon หรือ Deep Impact เสียด้วยซ้ำไป คือเป็นเรื่องของคนกลุ่มหนึ่งที่ยอมเสียสละออกไปกลางอวกาศเพื่อไขว่คว้าหาความอยู่รอดของมวลมนุษยชาติ
เพียงแต่โนแลนเลือกที่จะพลิกมุมการเล่าเรื่องเสียใหม่ จากขนบเดิมๆ ที่มักจะให้ตัวละครมนุษย์ลุกขึ้นมาปกป้องโลกจากเภทภัยที่มาคุกคาม ให้กลายมาเป็นการตัดสินใจทิ้ง 'โลก' ดาวใบเดิม ซึ่งกำลังเดินทางมาถึงจุดที่เรียกว่า 'เน่า' เกินเยียวยา แล้วออกไปสำรวจดวงดาวใหม่ๆ เพื่อหาแหล่งที่อยู่ใหม่ๆ
และถ้าเรามองในแง่ของเนื้อหา โดยตัดเรื่องของทฤษฏีต่างๆ ออกไปก่อนอย่างที่บอกไว้ในเบื้องต้น Interstellar แทบจะกลายเป็นหนังที่เบาหวิว จนแทบจะกลวงโบ๋ ประเด็นเกี่ยวกับ ความรัก หรือ ความศรัทธา ที่เป็นเหมือนขุมพลังที่พามนุษย์ก้าวข้ามขีดจำกัดเดิมๆ ไปสู่สิ่งใหม่ หรือก้าวข้ามอะไรก็ตามแต่ ที่เหมือนจะเป็นประเด็นหลักของหนัง ก็ดูจะเป็นมุกเดิมๆ เก่าๆ ที่ถูกเล่าซ้ำมาหลายต่อหลายครั้ง ทั้งในหนังของโนแลนเอง หรือหนังคนอื่น จนน่าเบื่อ แถมยังถูกให้น้ำหนักในหนังระดับที่เบาบางเกินไป จนมิพักต้องถามหาความคมคาย หรือ point อะไรสักอย่างให้คนดูได้ตกผลึก
หรืออาจพูดได้ว่า ด้อยกว่าหมัดฮุคตรงๆ ที่พูดถึงคุณค่าของการมีชีวิตในหนังพล็อตเรียบๆ อย่าง Gravity เสียอีก เพราะอย่างน้อยในเรื่องนั้น ผู้กำกับ อัลฟองโซ่ คัวรอน ยังสามารถทำให้เรารู้สึกดีได้ กับทุกย่างก้าว ยามที่ย่างออกไปแล้วมีผืนดินที่เรียกว่าโลกคอยรองรับฝ่าเท้า ในขณะที่ Interstellar ดูจบแล้ว กลับรู้สึกไม่ต่างจากการจบของหนังอเมริกันฮีโร่เพื่อมวลมนุษย์ชาติเรื่องอื่นๆ สักเท่าไหร่
ยิ่งกว่านั้นในเชิงโครงสร้างของสถานการณ์ การสร้างวิกฤติให้กับตัวละคร Interstellar ดูเหมือนซ้ำทางกับหนังอย่าง Inception อยู่ไม่น้อยเหมือนกัน โนแลนเคยโยนให้ คอบบ์ เข้าไปติดอยู่ในฝัน 3 ชั้น ก่อนที่จะให้ตะกายกลับมา โดยการเล่นกับเงื่อนของเวลา ในเรื่องนี้ก็อยู่ในเงื่อนไขที่คล้ายคลึงกัน เพียงแต่เปลี่ยนจากความฝันมาเป็นห้วงอวกาศ และเล่นกับเงื่อนเวลาที่สุดโต่ง บิดเบี้ยวยิ่งกว่า
จุดดีเพียงจุดเดียวของ Interstellar และอาจจะเป็นส่วนที่แข็งแรงแบบสุดขอบจริงๆ จึงวกกลับไปตกอยู่ที่ทฤษฏีทางวิทยาศาสตร์ที่นำมาเชื่อมเข้ากับจินตนาการในหนังอย่างเป็นจริงเป็นจัง ซึ่งในที่นี้ส่วนใหญ่มาจากทฤษฏีของคิป ธอร์น (นักฟิสิกส์เชิงทฤษฎีด้านแรงโน้มถ่วง และความสัมพันธ์ของดวงดาว) ที่ถูกถ่ายทอดออกมาเป็นภาพในมุมที่เข้าใกล้ความจริง และดูล้ำ เหนือจินตนาการ กว่าหนังเรื่องอื่น แต่ไม่กลายเป็นแฟนตาซี ด้วยงานภาพที่แปลกใหม่ในระดับที่สามารถ 'สร้างประสบการณ์ใหม่ๆ เกี่ยวกับจักรวาล และอวกาศ' ให้กับคนดู ซึ่งพลังของหนังทั้งเรื่อง มาจากส่วนนี้แทบทั้งสิ้น
แต่ก็อย่างที่บอกไว้ในตอนต้นนั่นแหละว่า สุดท้ายแล้วมันเป็นงานไซไฟที่ 'หนัก' ไปสำหรับคนในวงกว้าง ซึ่งผู้เขียนคิดว่าสิ่งที่ทำให้ คริสโตเฟอร์ โนแลน สามารถมายืนอยู่แถวหน้าของผู้กำกับหนังฮอลลีวู้ด และได้ใจคอหนังแทบทุกกลุ่มอย่างทุกวันนี้ ก็คือ การผนึกไอเดียยากๆ เนื้อหาซับซ้อน เข้ากับ ความเก่งกาจทางทักษะการเล่าเรื่อง ออกมาในอัตราที่กลมกล่อมพอดิบพอดี จนสามารถพาให้เรื่องยากๆ นั้นเข้าถึงคนในวงกว้างได้ แต่ครั้งนี้อัตรากลมกล่อมที่ว่า กลับออกมาไม่สมดุลย์อย่างเคย
ผลลัพธ์ที่ได้ Interstellar เลยกลายเป็นหนังที่หนัก มีดี และสุดทาง เฉพาะในเรื่องข้อมูล และมุมมองของสิ่งที่พูดถึง ขณะที่จังหวะจะโคนในการเล่าเรื่อง เนื้อหา ประเด็นที่หนังพยายามสื่อสารกับคนดู แค่อยู่ในระดับสอบผ่านไปแบบฉิวเฉียด โดยเฉพาะมวลของความบันเทิงแบบรวมๆ ที่หย่อนยาน จนเข้าขั้นเยิ่นเย้อ
สรุป ถ้าไม่เป็นติ่ง โนแลน จนหน้ามืดตามัว คงรู้สึกได้ไม่ยากว่า...นี่ไม่ใช่ผลงานระดับ 'เยี่ยมที่สุดของโนแลน' อย่างที่เค้าว่าๆ กันแต่อย่างใด
เพราะโนแลนแกเคยเยี่ยมกว่านี้มากนัก!!
คะแนน ★★★
อ่านรีวิว และข่าวอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่
https://www.facebook.com/pages/เกรียนหนัง/112834835539518
Interstellar (2014) : ไม่ได้บอกว่าแย่ แต่โนแลนเคย 'เยี่ยม' กว่านี้!
(ข้อเขียนนี้ เป็นความเห็นส่วนตัว พูดถึงเนื้อเรื่องคร่าวๆ บางส่วน แต่ไม่ได้เปิดเผยความลับสำคัญของหนัง)
ในแง่ของรายละเอียดหนังเรื่องนี้ของ คริสโตเฟอร์ โนแลน คืองานที่อยู่ในข่าย Hard Sci-fi ที่จัดหนักเรื่องทฤษฏีทางวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะเรื่องกฏฟิสิกส์เกี่ยวกับ การเดินทางข้ามดวงดาว, หลุมดำ, รูหนอน, สนามแรงโน้มถ่วง, ความบิดเบี้ยวของห้วงอวกาศและกาลเวลา ชนิดที่ว่าถ้าเป็นคนดูที่ไม่ค่อยถูกโฉลกกับเรื่องพวกนี้เป็นทุนอยู่แล้ว อาจจะถูกเหวี่ยงหลุดออกจากวงโคจรของหนัง จนต่อไม่ติด ไม่อินเรื่องราว เต็มไปด้วยคำถาม อะไร? ทำไม? อย่างไร? ก่อนจะกลายเป็นการนั่งภาวนาให้มันสรุปเรื่องจบลงเร็วๆ เสียทีก็เป็นได้
แต่หากลดระดับความกระหายใคร่รู้ ละวางในรายละเอียดของทฤษฏีต่างๆ ที่ถูกหยิบมาพูดถึงในหนังลงให้หมด แล้วถอยมามองโครงเรื่องแบบกว้างๆ รวมๆ ต้องบอกว่านี่เป็นหนังที่มีความซับซ้อนน้อยที่สุดของโนแลน จนเรียกได้ว่า 'ง่าย' แบบไม่น่าเชื่อ และดูเหมือนว่าจะมาตามสูตรสำเร็จหนัง Sci-fi ดาดๆ แบบ Armageddon หรือ Deep Impact เสียด้วยซ้ำไป คือเป็นเรื่องของคนกลุ่มหนึ่งที่ยอมเสียสละออกไปกลางอวกาศเพื่อไขว่คว้าหาความอยู่รอดของมวลมนุษยชาติ
เพียงแต่โนแลนเลือกที่จะพลิกมุมการเล่าเรื่องเสียใหม่ จากขนบเดิมๆ ที่มักจะให้ตัวละครมนุษย์ลุกขึ้นมาปกป้องโลกจากเภทภัยที่มาคุกคาม ให้กลายมาเป็นการตัดสินใจทิ้ง 'โลก' ดาวใบเดิม ซึ่งกำลังเดินทางมาถึงจุดที่เรียกว่า 'เน่า' เกินเยียวยา แล้วออกไปสำรวจดวงดาวใหม่ๆ เพื่อหาแหล่งที่อยู่ใหม่ๆ
และถ้าเรามองในแง่ของเนื้อหา โดยตัดเรื่องของทฤษฏีต่างๆ ออกไปก่อนอย่างที่บอกไว้ในเบื้องต้น Interstellar แทบจะกลายเป็นหนังที่เบาหวิว จนแทบจะกลวงโบ๋ ประเด็นเกี่ยวกับ ความรัก หรือ ความศรัทธา ที่เป็นเหมือนขุมพลังที่พามนุษย์ก้าวข้ามขีดจำกัดเดิมๆ ไปสู่สิ่งใหม่ หรือก้าวข้ามอะไรก็ตามแต่ ที่เหมือนจะเป็นประเด็นหลักของหนัง ก็ดูจะเป็นมุกเดิมๆ เก่าๆ ที่ถูกเล่าซ้ำมาหลายต่อหลายครั้ง ทั้งในหนังของโนแลนเอง หรือหนังคนอื่น จนน่าเบื่อ แถมยังถูกให้น้ำหนักในหนังระดับที่เบาบางเกินไป จนมิพักต้องถามหาความคมคาย หรือ point อะไรสักอย่างให้คนดูได้ตกผลึก
หรืออาจพูดได้ว่า ด้อยกว่าหมัดฮุคตรงๆ ที่พูดถึงคุณค่าของการมีชีวิตในหนังพล็อตเรียบๆ อย่าง Gravity เสียอีก เพราะอย่างน้อยในเรื่องนั้น ผู้กำกับ อัลฟองโซ่ คัวรอน ยังสามารถทำให้เรารู้สึกดีได้ กับทุกย่างก้าว ยามที่ย่างออกไปแล้วมีผืนดินที่เรียกว่าโลกคอยรองรับฝ่าเท้า ในขณะที่ Interstellar ดูจบแล้ว กลับรู้สึกไม่ต่างจากการจบของหนังอเมริกันฮีโร่เพื่อมวลมนุษย์ชาติเรื่องอื่นๆ สักเท่าไหร่
ยิ่งกว่านั้นในเชิงโครงสร้างของสถานการณ์ การสร้างวิกฤติให้กับตัวละคร Interstellar ดูเหมือนซ้ำทางกับหนังอย่าง Inception อยู่ไม่น้อยเหมือนกัน โนแลนเคยโยนให้ คอบบ์ เข้าไปติดอยู่ในฝัน 3 ชั้น ก่อนที่จะให้ตะกายกลับมา โดยการเล่นกับเงื่อนของเวลา ในเรื่องนี้ก็อยู่ในเงื่อนไขที่คล้ายคลึงกัน เพียงแต่เปลี่ยนจากความฝันมาเป็นห้วงอวกาศ และเล่นกับเงื่อนเวลาที่สุดโต่ง บิดเบี้ยวยิ่งกว่า
จุดดีเพียงจุดเดียวของ Interstellar และอาจจะเป็นส่วนที่แข็งแรงแบบสุดขอบจริงๆ จึงวกกลับไปตกอยู่ที่ทฤษฏีทางวิทยาศาสตร์ที่นำมาเชื่อมเข้ากับจินตนาการในหนังอย่างเป็นจริงเป็นจัง ซึ่งในที่นี้ส่วนใหญ่มาจากทฤษฏีของคิป ธอร์น (นักฟิสิกส์เชิงทฤษฎีด้านแรงโน้มถ่วง และความสัมพันธ์ของดวงดาว) ที่ถูกถ่ายทอดออกมาเป็นภาพในมุมที่เข้าใกล้ความจริง และดูล้ำ เหนือจินตนาการ กว่าหนังเรื่องอื่น แต่ไม่กลายเป็นแฟนตาซี ด้วยงานภาพที่แปลกใหม่ในระดับที่สามารถ 'สร้างประสบการณ์ใหม่ๆ เกี่ยวกับจักรวาล และอวกาศ' ให้กับคนดู ซึ่งพลังของหนังทั้งเรื่อง มาจากส่วนนี้แทบทั้งสิ้น
แต่ก็อย่างที่บอกไว้ในตอนต้นนั่นแหละว่า สุดท้ายแล้วมันเป็นงานไซไฟที่ 'หนัก' ไปสำหรับคนในวงกว้าง ซึ่งผู้เขียนคิดว่าสิ่งที่ทำให้ คริสโตเฟอร์ โนแลน สามารถมายืนอยู่แถวหน้าของผู้กำกับหนังฮอลลีวู้ด และได้ใจคอหนังแทบทุกกลุ่มอย่างทุกวันนี้ ก็คือ การผนึกไอเดียยากๆ เนื้อหาซับซ้อน เข้ากับ ความเก่งกาจทางทักษะการเล่าเรื่อง ออกมาในอัตราที่กลมกล่อมพอดิบพอดี จนสามารถพาให้เรื่องยากๆ นั้นเข้าถึงคนในวงกว้างได้ แต่ครั้งนี้อัตรากลมกล่อมที่ว่า กลับออกมาไม่สมดุลย์อย่างเคย
ผลลัพธ์ที่ได้ Interstellar เลยกลายเป็นหนังที่หนัก มีดี และสุดทาง เฉพาะในเรื่องข้อมูล และมุมมองของสิ่งที่พูดถึง ขณะที่จังหวะจะโคนในการเล่าเรื่อง เนื้อหา ประเด็นที่หนังพยายามสื่อสารกับคนดู แค่อยู่ในระดับสอบผ่านไปแบบฉิวเฉียด โดยเฉพาะมวลของความบันเทิงแบบรวมๆ ที่หย่อนยาน จนเข้าขั้นเยิ่นเย้อ
สรุป ถ้าไม่เป็นติ่ง โนแลน จนหน้ามืดตามัว คงรู้สึกได้ไม่ยากว่า...นี่ไม่ใช่ผลงานระดับ 'เยี่ยมที่สุดของโนแลน' อย่างที่เค้าว่าๆ กันแต่อย่างใด
เพราะโนแลนแกเคยเยี่ยมกว่านี้มากนัก!!
คะแนน ★★★
อ่านรีวิว และข่าวอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/pages/เกรียนหนัง/112834835539518