พฤศจิกาสังหาร : เกาะติดปมถอดถอน"ยิ่งลักษณ์ สมศักดิ์ นิคม" เรื่องข้อกฎหมาย

ใกล้เข้ามาทุกทีแล้วสำหรับการพิจารณาถอดถอนบุคคลดังต่อไปนี้
1.นางสาวยิ่งลักษณ์  ชินวัตร
2.นายสมศักดิ์  เกียรติสุรนนท์
3.นายนิคม  ไวยรัชพานิช

จากหลากหลายกระทู้  ต่างทัศนะความเห็น ล้วนแล้วชี้ไปในประเด็นเดียวกันคือ"ข้อกฎหมาย" ต่างก็กังวลว่าการถอดถอนครั้งนี้ ไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะเนื่องจาก รัฐธรรมนูญปี 2557 ไม่ได้บัญญัติไว้ อีกทั้งสำนวนการถอดถอนนี้เกิดขึ้นในขณะประกาศใช้รัฐธรรมนูญปี 2550 ซึ่งได้ยกเลิกไปแล้วตามประกาศ คสช. ฉบับที่ 11/2557 ลงวันที่ 22 พฤษภาคม 2557

วันนี้จึงอยากมาอธิบายเรื่องข้อกฎหมายในการถอดถอนบุคคลผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งบัญญัติไว้ในข้อบังคับการประชุม สนช. พ.ศ. 2557 มาตรา 148


พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 63


หลายคนมักจะเขาใจที่ว่า รัฐธรรมนูญไม่ได้บัญญัติไว้ จะทำได้อย่างไร  อยากให้ลองนึกถึงตอนเลือกตั้ง รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้เพียง ระยะเวลาที่จะต้อวจัดการเลือกตั้ง คุณสมบัติผู้สมัครลงเลือกตั้ง แต่ไม่ได้บัญญัติถึงเรื่องหลักปฏิบัติในการเลือกตั้ง การแบ่งเขตเลือกตั้ง กรรมการประจำเขตหรือหน่วยเลือกตั้ง รวมถึงโทษแก่ผู้กระทำความผิดกฎการเลือกตั้ง จึงต้องมีการบัญญัติกฎหมายขึ้นมาเพื่อให้การบังคับใช้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญมีประสิทธิภาพในการบังคับใช้ เช่นเดียวกันรัฐธรรมนูญปี 2557 มาตรา 5 บัญญัติให้งานใดๆที่เป็นงานของ สนช. ให้ สนช. เป็นผู้วินิจฉัยเอง ไม่ต้องส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ แต่ในการที่ สนช. จะวินิจฉัยว่างานใดเป็นของ สนช. นั้น ก็ต้องอาศัยข้อบังคับการประชุม สนช. ซึ่งได้บัญญัติถึงอำนาจ หน้าที่ ของ สนช. ไว้ชัดเจน ซึ่งถ้าจะให้รัฐธรรมนูญลงลึกไปถึงส่วนนี้คงจะเป็นเรื่องลำยาก เพราะบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ เป็นเพียงการบัญญัติไว้เพื่อเป็นการปูพื้นฐานในการปกครอง และออกกฎหมายฉบับอื่นๆ เท่านั้น

ผมไม่ใช่โฆษกของ สนช. หรอกนะ แต่ผมคิดว่าถ้าคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องไม่ออกมาอธิบาย มันก็จะกลายเป็นความเข้าใจผิด และจะทำให้เป็นอุปสรรคต่อการปฏิรูป เพราะ"ความยุติธรรมไม่มี ความสามัคคีไม่เกิด"

#ความจริงเป็นสิ่งไม่ตาย
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่