"จิตอาสา"...คืออะไร...สมัยก่อน ได้ยินแต่คำว่า "อาสาสมัคร" พอมาสมัยนี้...มีคำว่า "จิตอาสา"...
เมื่อกล่าวถึง "อาสาสมัคร" จะมีอีกคำหนึ่งที่มักจะถูกกล่าวถึงควบคู่กันเสมอ นั่นคือ คำว่า "จิตอาสา" ที่นี้มาดูกันว่าคำสองคำนี้ มีความสำคัญและความหมายแตกต่างกันอย่างไร
อาสาสมัคร (Volunteer)
หมายถึง ผู้ที่สมัครใจและอาสาเข้ามาเพื่อช่วยเหลือ เยียวยา และทำงานที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนและสังคม โดยสมัครใจ เพื่อการดูแล ป้องกัน แก้ปัญหาเพื่อพัฒนาสังคม โดยไม่หวังผลตอบแทนเป็นเงิน หรือสิ่งอื่นใด ผลตอบแทนที่อาสาสมัครได้รับคือ ความสุข ความภาคภูมิใจที่ได้ปฏิบัติงานที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน สังคม และประเทศชาติ
คุณลักษณะของอาสาสมัครคือ มีความคิดเป็นอิสระในการเลือกที่จะทำหรือไม่ทำ (ตามพรสวรรค์/ความสนใจ) มีความรับผิดชอบต่อสังคม รวมทั้งการกระทำที่เป็นประโยชน์ต่อบุคคล กลุ่มบุคคล และส่วนรวม ไม่หวังรางวัล หรือผลตอบแทนเป็นเงินทอง และไม่ใช่ภาระงานที่ต้องทำตามหน้าที่ ในด้านสภาวะจิตใจของบุคคลที่จะเป็นอาสาสมัครนั้น ต้องมีความรักความปรารถนาที่จะให้ และมีจิตใจที่จะทำความดี เข้าใจและเห็นอกเห็นใจผู้อื่น รวมถึงยอมเสียสละเวลา โดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใดๆ
จิตอาสา (Volunteer Spirit)
หมายถึง จิตแห่งการให้ความดีงามทั้งปวงแก่เพื่อนมนุษย์ โดยเต็มใจ สมัครใจ อิ่มใจ ซาบซึ้งใจ ปีติสุข ที่พร้อมจะเสียสละเวลา แรงกาย และสติปัญญา เพื่อสาธารณประโยชน์ ในการทำกิจกรรม หรือสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน และมีความสุขที่ได้ช่วยเหลือผู้อื่น เป็นจิตที่ไม่นิ่งดูดาย เมื่อพบเห็นปัญหา หรือความทุกข์ยากที่เกิดขึ้นกับผู้คน เป็นจิตที่มีความสุขเมื่อได้ทำความดี และเห็นน้ำตาเปลี่ยนเป็นรอยยิ้ม เป็นจิตที่เปี่ยมด้วย "บุญ" คือความสงบเย็น และพลังแห่งความดี อีกทั้งยังช่วยลด "อัตตา" หรือความเป็นตัวเป็นตนของตนเองลงได้บ้าง
สำหรับ กระบวนการสร้างจิตอาสา ต้องประกอบด้วยการปลูกฝังให้ตระหนักถึงความสำคัญของจิตอาสา การเตรียมความพร้อมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ ความรู้ และการติดต่อสื่อสาร การสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง และการเข้าร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง คุณลักษณะของผู้มีจิตอาสาคือ มุ่งประโยชน์ต่อส่วนรวม การทำงานทุกอย่างเป็นไปด้วยความสมัครใจ ไม่มุ่งหวังผลตอบแทนในรูปของอามิส สินจ้าง หรือรางวัล ตลอดจนการอุทิศกาย กำลังใจ และเวลาให้แก่ส่วนรวม
สิ่งที่อาสาสมัคร..พึงมี และถือปฏิบัติคือ
มีความรักมนุษยชาติ ตามหลักพรหมวิหาร 4 และสังควัตถุ 4
หลักพรหมวิหาร 4 ประกอบด้วย
เมตตา : ความรัก ความปรารถนาดีให้ผู้อื่นมีความสุข,
กรุณา : ความสงสาร เห็นใจ ปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์,
มุทิตา : ยินดีเมื่อผู้อื่นมีสุข,
อุเบกขา : วางเฉยไม่ลำเอียง
สังควัตถุ 4 ประกอบด้วย
ทาน : การให้ เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่,
ปิยวาจา : กล่าวด้วยวาจาที่ซาบซึ้ง สุภาพอ่อนหวาน,
อัตถจริยา : ทำดี ประพฤติดี เป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น,
สมานัตตตา : ทำตัวเสมอต้น เสมอปลาย
นอกจากนี้ อาสาสมัคร
ควรจะต้องมีการสื่อสารที่ดี
มีมโนกรรม
คิดดี คิดทางบวก : Positive thinking
มีวจีกรรม (ปิยวาจา)
ฝึกขอบคุณ ฝึกแสดงความยินดี ฝึกให้กำลังใจ
ฝึกชื่นชมผู้ที่มีจิตอาสา หรือจิตสาธารณะ
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิง จากบทความ
สร้างจิตสำนึกให้ "อาสาสมัคร กศน."
โดย จารุณี แก้วประภา กศน.เมืองพะเยา
........................................................................................
ติดต่อกับผู้เขียนเอนทรี่
Teetat Farm
http://teetatfarm.wordpress.com/my-garden/
ที่มา :
http://www.oknation.net/blog/teetatfarm/2011/11/24/entry-1
จิตอาสา..ต้องมีความรักมนุษยชาติ ตามหลักพรหมวิหาร 4 และสังควัตถุ 4
"จิตอาสา"...คืออะไร...สมัยก่อน ได้ยินแต่คำว่า "อาสาสมัคร" พอมาสมัยนี้...มีคำว่า "จิตอาสา"...
เมื่อกล่าวถึง "อาสาสมัคร" จะมีอีกคำหนึ่งที่มักจะถูกกล่าวถึงควบคู่กันเสมอ นั่นคือ คำว่า "จิตอาสา" ที่นี้มาดูกันว่าคำสองคำนี้ มีความสำคัญและความหมายแตกต่างกันอย่างไร
อาสาสมัคร (Volunteer)
หมายถึง ผู้ที่สมัครใจและอาสาเข้ามาเพื่อช่วยเหลือ เยียวยา และทำงานที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนและสังคม โดยสมัครใจ เพื่อการดูแล ป้องกัน แก้ปัญหาเพื่อพัฒนาสังคม โดยไม่หวังผลตอบแทนเป็นเงิน หรือสิ่งอื่นใด ผลตอบแทนที่อาสาสมัครได้รับคือ ความสุข ความภาคภูมิใจที่ได้ปฏิบัติงานที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน สังคม และประเทศชาติ
คุณลักษณะของอาสาสมัครคือ มีความคิดเป็นอิสระในการเลือกที่จะทำหรือไม่ทำ (ตามพรสวรรค์/ความสนใจ) มีความรับผิดชอบต่อสังคม รวมทั้งการกระทำที่เป็นประโยชน์ต่อบุคคล กลุ่มบุคคล และส่วนรวม ไม่หวังรางวัล หรือผลตอบแทนเป็นเงินทอง และไม่ใช่ภาระงานที่ต้องทำตามหน้าที่ ในด้านสภาวะจิตใจของบุคคลที่จะเป็นอาสาสมัครนั้น ต้องมีความรักความปรารถนาที่จะให้ และมีจิตใจที่จะทำความดี เข้าใจและเห็นอกเห็นใจผู้อื่น รวมถึงยอมเสียสละเวลา โดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใดๆ
จิตอาสา (Volunteer Spirit)
หมายถึง จิตแห่งการให้ความดีงามทั้งปวงแก่เพื่อนมนุษย์ โดยเต็มใจ สมัครใจ อิ่มใจ ซาบซึ้งใจ ปีติสุข ที่พร้อมจะเสียสละเวลา แรงกาย และสติปัญญา เพื่อสาธารณประโยชน์ ในการทำกิจกรรม หรือสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน และมีความสุขที่ได้ช่วยเหลือผู้อื่น เป็นจิตที่ไม่นิ่งดูดาย เมื่อพบเห็นปัญหา หรือความทุกข์ยากที่เกิดขึ้นกับผู้คน เป็นจิตที่มีความสุขเมื่อได้ทำความดี และเห็นน้ำตาเปลี่ยนเป็นรอยยิ้ม เป็นจิตที่เปี่ยมด้วย "บุญ" คือความสงบเย็น และพลังแห่งความดี อีกทั้งยังช่วยลด "อัตตา" หรือความเป็นตัวเป็นตนของตนเองลงได้บ้าง
สำหรับ กระบวนการสร้างจิตอาสา ต้องประกอบด้วยการปลูกฝังให้ตระหนักถึงความสำคัญของจิตอาสา การเตรียมความพร้อมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ ความรู้ และการติดต่อสื่อสาร การสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง และการเข้าร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง คุณลักษณะของผู้มีจิตอาสาคือ มุ่งประโยชน์ต่อส่วนรวม การทำงานทุกอย่างเป็นไปด้วยความสมัครใจ ไม่มุ่งหวังผลตอบแทนในรูปของอามิส สินจ้าง หรือรางวัล ตลอดจนการอุทิศกาย กำลังใจ และเวลาให้แก่ส่วนรวม
มีความรักมนุษยชาติ ตามหลักพรหมวิหาร 4 และสังควัตถุ 4
หลักพรหมวิหาร 4 ประกอบด้วย
เมตตา : ความรัก ความปรารถนาดีให้ผู้อื่นมีความสุข,
กรุณา : ความสงสาร เห็นใจ ปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์,
มุทิตา : ยินดีเมื่อผู้อื่นมีสุข,
อุเบกขา : วางเฉยไม่ลำเอียง
สังควัตถุ 4 ประกอบด้วย
ทาน : การให้ เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่,
ปิยวาจา : กล่าวด้วยวาจาที่ซาบซึ้ง สุภาพอ่อนหวาน,
อัตถจริยา : ทำดี ประพฤติดี เป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น,
สมานัตตตา : ทำตัวเสมอต้น เสมอปลาย
นอกจากนี้ อาสาสมัคร
ควรจะต้องมีการสื่อสารที่ดี
มีมโนกรรม
คิดดี คิดทางบวก : Positive thinking
มีวจีกรรม (ปิยวาจา)
ฝึกขอบคุณ ฝึกแสดงความยินดี ฝึกให้กำลังใจ
ฝึกชื่นชมผู้ที่มีจิตอาสา หรือจิตสาธารณะ
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิง จากบทความ
สร้างจิตสำนึกให้ "อาสาสมัคร กศน."
โดย จารุณี แก้วประภา กศน.เมืองพะเยา
........................................................................................
ติดต่อกับผู้เขียนเอนทรี่
Teetat Farm
http://teetatfarm.wordpress.com/my-garden/
ที่มา : http://www.oknation.net/blog/teetatfarm/2011/11/24/entry-1