ตอนที่แล้ว (เผื่อใครจะอ่านต่อหรืออ่านย้อนหลัง)
ตอนที่ 1 - รถไฟชั้นหนึ่ง ถึงบัตเตอร์เวอร์ธ
http://ppantip.com/topic/32797132
------------------------------
ตอนที่แล้วพานั่งรถไฟจากบางซื่อไปถึงบัตเตอร์เวอร์ธแล้ว ตอนนี้จะข้ามไปที่เกาะปีนังแล้ว แต่ก่อนจะข้ามเกาะปีนัง ต้องขออนุญาตแนะนำข้อมูลพื้นฐานของประเทศมาเลเซียให้ทุก ๆ คนได้รู้จักกันก่อน เพื่อที่ว่าจะได้เข้าใจเรื่องราวในตอนต่อ ๆ ไปได้ดียิ่งขึ้นครับ
ประเทศมาเลเซีย เป็นประเทศเพื่อนบ้านของไทยเราทางตอนใต้ ประกอบด้วยรัฐ ๑๓ รัฐ (Negeri) และเขตการปกครองพิเศษที่เรียกว่า ดินแดนสหพันธรัฐ (Wilayah Persekutuan) อีก ๓ เขต โดยแบ่งดินแดนเป็น ๒ ส่วน คือ
๑. ส่วนคาบสมุทร เป็นส่วนที่ติดกับประเทศไทยทางตอนเหนือ และติดกับประเทศสิงคโปร์ทางตอนใต้
ประกอบด้วยรัฐปะลิส เคดะห์ ปีนัง เปรัก สลังงอร์ เนกรีเซมบิลัน มะละกา ยะโฮร์ กลันตัน ตรังกานู ปาหัง และดินแดนสหพันธรัฐ คือ กัวลาลัมเปอร์ และปุตราจายา (ล้อมรอบด้วยรัฐสลังงอร์)
๒. ส่วนเกาะบอร์เนียว เป็นส่วนที่อยู่ในเกาะบอร์เนียวตอนเหนือ ซึ่งอยู่ติดกับประเทศอินโดนีเซีย และโอบล้อมประเทศบรูไนดารุสซาลาม
ประกอบด้วยรัฐซาบาห์ ซาราวัก และดินแดนสหพันธรัฐ คือ ลาบวน (เป็นเกาะแยกต่างหาก ใกล้กับบรูไน)
มาเลเซียได้รับเอกราชจากอังกฤษ เมื่อวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๐๐ โดยรวมดินแดนส่วนคาบสมุทรทั้งหมด และเกาะสิงคโปร์ กลายเป็นสหพันธรัฐมลายา (นับเป็นวันประกาศเอกราชของประเทศ หรือ Hari Merdeka/Hari Kemerdekaan) ต่อมา เมื่อวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๐๖ ได้รวมดินแดนบอร์เนียวเหนือ คือ ซาบาห์ และซาราวัก เข้าเป็นประเทศมาเลเซีย (นับเป็นวันมาเลเซีย หรือ Malaysia Day) ส่วนสิงคโปร์ได้แยกตัวออกจากมาเลเซีย เมื่อวันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๐๙ (นับเป็นวันชาติสิงคโปร์)
มาเลเซียมีพื้นที่ประมาณ ๓๒๙,๘๔๗ ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ ๓๐ ล้านคน ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีสมเด็จพระราชาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ ซึ่งมาจากการเลือกตั้งกันเองของสุลต่านประจำรัฐทั้ง ๙ รัฐ (คือ รัฐที่อยู่ส่วนคาบสมุทรทั้งหมด ยกเว้นปีนัง และมะละกา ที่มีเฉพาะผู้ว่าการรัฐ) ซึ่งปัจจุบัน มีสมเด็จพระราชาธิบดี อัลมูตัสสิมู บิลลาฮี มูฮิบบุดดิน ตวนกู อัลฮัจญ์ อับดุล ฮาลิม มูฮัซซัม ชาห์ อิบนี อัลมาฮูม สุลต่าน บาดลิชาห์ (สุลต่านตวนกู อับดุล ฮาลิม) จากรัฐเคดะห์ เป็นสมเด็จพระราชาธิบดีมาตั้งแต่ปลายปี พ.ศ.๒๕๕๔ และมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล ซึ่งปัจจุบันมีนายนาจิบ ราซัค เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ ๖ ของประเทศ
ประชาชนในมาเลเซียส่วนใหญ่เป็นชาวมลายู รองลงมาเป็นชาวจีน ชาวอินเดีย ใช้ภาษามลายูเป็นภาษาราชการ และเป็นภาษาหลักของประเทศ นอกจากนี้ยังมีการใช้ภาษาอังกฤษ จีน ทมิฬในมาเลเซียอีกด้วย สังเกตได้จากหนังสือพิมพ์และรายการโทรทัศน์ที่มีการเผยแพร่เป็นภาษาต่าง ๆ ดังกล่าว อีกทั้งประชาชนมาเลเซียส่วนใหญ่จะนับถือศาสนาอิสลาม พุทธ ฮินดู ซึ่งขึ้นอยู่กับเชื้อชาติด้วย ซึ่งส่วนผสมทางวัฒนธรรมเหล่านี้ ทำให้มาเลเซียเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมสูง (อย่างที่การท่องเที่ยวมาเลเซียใช้แคมเปญในการประชาสัมพันธ์ว่า Malaysia...Truly Asia มานานเป็นสิบ ๆ ปี จนถึงปัจจุบัน ซึ่งผมมั่นใจว่าคนทั่วโลกจำคำขวัญนี้ได้ เมื่อพูดถึงประเทศมาเลเซียครับ)
เวลาในมาเลเซียจะเร็วกว่าเวลามาตรฐานเมืองกรีนิช (GMT) ๘ ชั่วโมง เท่ากับว่าเร็วกว่าประเทศไทย ๑ ชั่วโมง ซึ่งทำให้เวลาค่ำ โดยเฉพาะดินแดนฝั่งคาบสมุทรที่อยู่แนวเดียวกับประเทศไทยนั้น รู้สึกได้ว่าที่นี่มืดช้ากว่าบ้านเรา (ซึ่งจะค่ำมืดจริง ๆ ก็หลัง ๑๙:๐๐ น. แล้วครับ) ส่วนไฟฟ้าใช้เหมือนบ้านเรา แต่ก็ควรจะมี Traveller Plug ติดไปด้วยครับ
(จริง ๆ รูปนี้ถ่ายที่กัวลาลัมเปอร์ แต่ต้องขอเอามาลงก่อน เพื่อที่จะได้เข้าใจได้ง่ายขึ้นครับ)
ทริป "มาเลเซียสุดติ่ง สิงคโปร์สุดตา" (28 ส.ค. - 7 ก.ย. 57) : ตอนที่ 2 - แนะนำประเทศมาเลเซีย + ปีนังที่หวังเหวิด
ตอนที่ 1 - รถไฟชั้นหนึ่ง ถึงบัตเตอร์เวอร์ธ
http://ppantip.com/topic/32797132
------------------------------
ตอนที่แล้วพานั่งรถไฟจากบางซื่อไปถึงบัตเตอร์เวอร์ธแล้ว ตอนนี้จะข้ามไปที่เกาะปีนังแล้ว แต่ก่อนจะข้ามเกาะปีนัง ต้องขออนุญาตแนะนำข้อมูลพื้นฐานของประเทศมาเลเซียให้ทุก ๆ คนได้รู้จักกันก่อน เพื่อที่ว่าจะได้เข้าใจเรื่องราวในตอนต่อ ๆ ไปได้ดียิ่งขึ้นครับ
ประเทศมาเลเซีย เป็นประเทศเพื่อนบ้านของไทยเราทางตอนใต้ ประกอบด้วยรัฐ ๑๓ รัฐ (Negeri) และเขตการปกครองพิเศษที่เรียกว่า ดินแดนสหพันธรัฐ (Wilayah Persekutuan) อีก ๓ เขต โดยแบ่งดินแดนเป็น ๒ ส่วน คือ
๑. ส่วนคาบสมุทร เป็นส่วนที่ติดกับประเทศไทยทางตอนเหนือ และติดกับประเทศสิงคโปร์ทางตอนใต้
ประกอบด้วยรัฐปะลิส เคดะห์ ปีนัง เปรัก สลังงอร์ เนกรีเซมบิลัน มะละกา ยะโฮร์ กลันตัน ตรังกานู ปาหัง และดินแดนสหพันธรัฐ คือ กัวลาลัมเปอร์ และปุตราจายา (ล้อมรอบด้วยรัฐสลังงอร์)
๒. ส่วนเกาะบอร์เนียว เป็นส่วนที่อยู่ในเกาะบอร์เนียวตอนเหนือ ซึ่งอยู่ติดกับประเทศอินโดนีเซีย และโอบล้อมประเทศบรูไนดารุสซาลาม
ประกอบด้วยรัฐซาบาห์ ซาราวัก และดินแดนสหพันธรัฐ คือ ลาบวน (เป็นเกาะแยกต่างหาก ใกล้กับบรูไน)
มาเลเซียได้รับเอกราชจากอังกฤษ เมื่อวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๐๐ โดยรวมดินแดนส่วนคาบสมุทรทั้งหมด และเกาะสิงคโปร์ กลายเป็นสหพันธรัฐมลายา (นับเป็นวันประกาศเอกราชของประเทศ หรือ Hari Merdeka/Hari Kemerdekaan) ต่อมา เมื่อวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๐๖ ได้รวมดินแดนบอร์เนียวเหนือ คือ ซาบาห์ และซาราวัก เข้าเป็นประเทศมาเลเซีย (นับเป็นวันมาเลเซีย หรือ Malaysia Day) ส่วนสิงคโปร์ได้แยกตัวออกจากมาเลเซีย เมื่อวันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๐๙ (นับเป็นวันชาติสิงคโปร์)
มาเลเซียมีพื้นที่ประมาณ ๓๒๙,๘๔๗ ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ ๓๐ ล้านคน ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีสมเด็จพระราชาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ ซึ่งมาจากการเลือกตั้งกันเองของสุลต่านประจำรัฐทั้ง ๙ รัฐ (คือ รัฐที่อยู่ส่วนคาบสมุทรทั้งหมด ยกเว้นปีนัง และมะละกา ที่มีเฉพาะผู้ว่าการรัฐ) ซึ่งปัจจุบัน มีสมเด็จพระราชาธิบดี อัลมูตัสสิมู บิลลาฮี มูฮิบบุดดิน ตวนกู อัลฮัจญ์ อับดุล ฮาลิม มูฮัซซัม ชาห์ อิบนี อัลมาฮูม สุลต่าน บาดลิชาห์ (สุลต่านตวนกู อับดุล ฮาลิม) จากรัฐเคดะห์ เป็นสมเด็จพระราชาธิบดีมาตั้งแต่ปลายปี พ.ศ.๒๕๕๔ และมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล ซึ่งปัจจุบันมีนายนาจิบ ราซัค เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ ๖ ของประเทศ
ประชาชนในมาเลเซียส่วนใหญ่เป็นชาวมลายู รองลงมาเป็นชาวจีน ชาวอินเดีย ใช้ภาษามลายูเป็นภาษาราชการ และเป็นภาษาหลักของประเทศ นอกจากนี้ยังมีการใช้ภาษาอังกฤษ จีน ทมิฬในมาเลเซียอีกด้วย สังเกตได้จากหนังสือพิมพ์และรายการโทรทัศน์ที่มีการเผยแพร่เป็นภาษาต่าง ๆ ดังกล่าว อีกทั้งประชาชนมาเลเซียส่วนใหญ่จะนับถือศาสนาอิสลาม พุทธ ฮินดู ซึ่งขึ้นอยู่กับเชื้อชาติด้วย ซึ่งส่วนผสมทางวัฒนธรรมเหล่านี้ ทำให้มาเลเซียเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมสูง (อย่างที่การท่องเที่ยวมาเลเซียใช้แคมเปญในการประชาสัมพันธ์ว่า Malaysia...Truly Asia มานานเป็นสิบ ๆ ปี จนถึงปัจจุบัน ซึ่งผมมั่นใจว่าคนทั่วโลกจำคำขวัญนี้ได้ เมื่อพูดถึงประเทศมาเลเซียครับ)
เวลาในมาเลเซียจะเร็วกว่าเวลามาตรฐานเมืองกรีนิช (GMT) ๘ ชั่วโมง เท่ากับว่าเร็วกว่าประเทศไทย ๑ ชั่วโมง ซึ่งทำให้เวลาค่ำ โดยเฉพาะดินแดนฝั่งคาบสมุทรที่อยู่แนวเดียวกับประเทศไทยนั้น รู้สึกได้ว่าที่นี่มืดช้ากว่าบ้านเรา (ซึ่งจะค่ำมืดจริง ๆ ก็หลัง ๑๙:๐๐ น. แล้วครับ) ส่วนไฟฟ้าใช้เหมือนบ้านเรา แต่ก็ควรจะมี Traveller Plug ติดไปด้วยครับ
(จริง ๆ รูปนี้ถ่ายที่กัวลาลัมเปอร์ แต่ต้องขอเอามาลงก่อน เพื่อที่จะได้เข้าใจได้ง่ายขึ้นครับ)