นายสมหมาย ภาษี รมว.คลัง เปิดเผยว่า ภาระการใช้หนี้ในโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลที่ผ่านมา คาดว่าจะมีผลขาดทุนสูงถึง 6-7 แสนล้านบาท โดยอาจจะต้องใช้เวลามากถึง 30 ปี หรือมากกว่านั้น ซึ่งทางกระทรวงการคลังต้องบริหารหนื้ที่มีอยู่ในขณะนี้ ไม่ว่าจะเป็นหนี้ระยะสั้นและระยะยาว ต้องบริหารให้สอดคล้องกับภาวะตลาด เพื่อให้มีภาระต้นทุนจากดอกเบี้ยต่ำที่สุด และจะจัดสรรเงินงบประมาณเข้ามาบริหารจัดการหนี้ให้ครอบคลุมทั้งดอกเบี้ยและเงินต้นบางส่วน
"หนี้โครงการรับจำนำข้าวที่มีผลขาดทุนสูง 6-7 แสนล้านบาท สุดท้ายแล้วก็ต้องตกเป็นเงินภาษีของทุกคนในประเทศ การใช้หนี้ขาดทุนจำนำข้าว มีทางแก้ทางเดียวคือต้องใช้หนี้ และคาดว่าอาจจะใช้เวลามากกว่า 30 ปี หรือต้องใช้หนี้จำนำข้าวกันถึงรุ่นหลาน" นายสมหมาย กล่าว
นายสมหมาย กล่าวว่า การออกพันธบัตรรัฐบาลอายุ 30 ปี เพื่อมาใช้หนี้จากการขาดทุนจำนำข้าว ไม่สามารถทำได้ทั้งหมด ซึ่งทำได้เพียง 10% ของความเสียหายที่เกิดขึ้น โดยต้องดำเนินการในอัตราดอกเบี้ยต่ำ บางส่วนก็ต้องโรลโอเวอร์ (Roll over) โดยการแก้หนี้จะต้องดูทั้งในส่วนของหนี้ที่กระทรวงการคลังกู้ และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กู้ไปพร้อมๆ กัน ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
“การใช้หนี้อาจจะใช้วิธีกู้เทอมโลน กู้ด่วนจากสถาบันการเงิน แต่เป็นการทำในประเทศ แต่ต้องปรับแผนไปพร้อมกับกระทรวงการคลัง ให้รับกับภาระหนี้ของตลาดด้วย” นายสมหมาย กล่าว
ทั้งนี้ การออกพันธบัตรเพื่อชำระผลขาดทุนจำนำข้าวไม่จำเป็นต้องรอคณะอนุกรรมการปิดบัญชีจำนำข้าว ที่มีนายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธาน เนื่องจากหนี้ที่เกิดจากโครงการรับจำนำข้าวในขณะนี้มีจำนวนมากอยู่แล้ว ทำให้สามารถดำเนินการบางส่วนได้เลย และบางส่วนก็รอเงินจากการระบายข้าวจากกระทรวงพาณิชย์มาชำระคืน
สำหรับการปิดบัญชีจำนำข้าวอยู่ระหว่างการดำเนินการ หากปิดได้เร็วก็เป็นผลดี จะได้ดำเนินการนำข้าวที่มีอยู่ในสต๊อกไปขาย ซึ่งต้องยอมรับว่าการตรวจข้าวในสต๊อกมีความซับซ้อน มีข้าวหลายประเภท มีคุณภาพที่แตกต่างกันมาก ทำให้ฝ่ายปฏิบัติต้องมีความระมัดระวังมาก เพราะมีเรื่องของการทุจริตเข้ามาเกี่ยวข้อง และจะเป็นหลักฐานในการดำเนินการคดีต่อไป
http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9570000124554
คลังแจงจำนำข้าวเจ๊ง7แสนล้าน ชี้คนไทยต้องใช้หนี้ยันรุ่นหลาน
"หนี้โครงการรับจำนำข้าวที่มีผลขาดทุนสูง 6-7 แสนล้านบาท สุดท้ายแล้วก็ต้องตกเป็นเงินภาษีของทุกคนในประเทศ การใช้หนี้ขาดทุนจำนำข้าว มีทางแก้ทางเดียวคือต้องใช้หนี้ และคาดว่าอาจจะใช้เวลามากกว่า 30 ปี หรือต้องใช้หนี้จำนำข้าวกันถึงรุ่นหลาน" นายสมหมาย กล่าว
นายสมหมาย กล่าวว่า การออกพันธบัตรรัฐบาลอายุ 30 ปี เพื่อมาใช้หนี้จากการขาดทุนจำนำข้าว ไม่สามารถทำได้ทั้งหมด ซึ่งทำได้เพียง 10% ของความเสียหายที่เกิดขึ้น โดยต้องดำเนินการในอัตราดอกเบี้ยต่ำ บางส่วนก็ต้องโรลโอเวอร์ (Roll over) โดยการแก้หนี้จะต้องดูทั้งในส่วนของหนี้ที่กระทรวงการคลังกู้ และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กู้ไปพร้อมๆ กัน ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
“การใช้หนี้อาจจะใช้วิธีกู้เทอมโลน กู้ด่วนจากสถาบันการเงิน แต่เป็นการทำในประเทศ แต่ต้องปรับแผนไปพร้อมกับกระทรวงการคลัง ให้รับกับภาระหนี้ของตลาดด้วย” นายสมหมาย กล่าว
ทั้งนี้ การออกพันธบัตรเพื่อชำระผลขาดทุนจำนำข้าวไม่จำเป็นต้องรอคณะอนุกรรมการปิดบัญชีจำนำข้าว ที่มีนายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธาน เนื่องจากหนี้ที่เกิดจากโครงการรับจำนำข้าวในขณะนี้มีจำนวนมากอยู่แล้ว ทำให้สามารถดำเนินการบางส่วนได้เลย และบางส่วนก็รอเงินจากการระบายข้าวจากกระทรวงพาณิชย์มาชำระคืน
สำหรับการปิดบัญชีจำนำข้าวอยู่ระหว่างการดำเนินการ หากปิดได้เร็วก็เป็นผลดี จะได้ดำเนินการนำข้าวที่มีอยู่ในสต๊อกไปขาย ซึ่งต้องยอมรับว่าการตรวจข้าวในสต๊อกมีความซับซ้อน มีข้าวหลายประเภท มีคุณภาพที่แตกต่างกันมาก ทำให้ฝ่ายปฏิบัติต้องมีความระมัดระวังมาก เพราะมีเรื่องของการทุจริตเข้ามาเกี่ยวข้อง และจะเป็นหลักฐานในการดำเนินการคดีต่อไป
http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9570000124554