ธีระชัย โพสต์เฟซบุ๊กแขวะ กิตติรัตน์ ชี้ไม่คัดค้านการกู้ ตามที่โดนว่าแล้ว อัดกู้โดยใช้พันธบัตรชนิดออมทรัพย์ จ่ายจำนำข้าว เป็นวิธีแหวกแนว หลังคลังต้องจ่ายดอกเบี้ยสูงกว่าจำเป็น สงสัย ผอ.สบน. สมคบกับรมต.คลัง ย้ำ ฝ่าฝืน ม.181 (4) ชี้ช่องป้องกัน ผอ.สบน.ทำบันทึก เสนอกิตติรัตน์ใช้อำนาจตัวเอง...
เมื่อวันที่ 21 ก.พ. นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Thirachai Phuvanatnaranubala ระบุว่า การกู้โดยใช้พันธบัตรชนิดออมทรัพย์ มาจ่ายชาวนาในโครงการจำนำข้าว จะต้องจ่ายดอกเบี้ยสูงเกินจำเป็น ซึ่งไม่มีประเทศไหนใช้เป็นเครื่องมือหลัก สำหรับรัฐบาลกู้เงิน เนื่องจากไม่ผ่านขั้นตอนการประมูล จึงไม่มีกลไกใดที่จะรับรองได้ว่ารัฐบาลจ่ายดอกเบี้ยในอัตราต่ำที่สุด โดยสภาวะตลาดพันธบัตรในระหว่างนั้น อาจจะเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา ดังนั้น การกู้โดยใช้พันธบัตรชนิดออมทรัพย์ จึงไม่สามารถสะท้อนการเปลี่ยนแปลงดอกเบี้ย และฝ่าฝืนมาตรา 181 (4) พร้อมกับแนะนำให้ น.ส.จุฬารัตน์ สุธีธร ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ป้องกันตนเองได้ โดยทำบันทึกเสนอให้รัฐมนตรีคลังใช้อำนาจของตนเองสั่งให้ดำเนินการ ซึ่งวิธีนี้จะทำให้รัฐมนตรีคลังรับผิดชอบเต็มตัว
โดยข้อความที่นายธีระชัยโพสต์ ระบุว่า ครั้งสุดท้ายที่ผมเขียนโพสต์เกี่ยวกับกู้จำนำข้าว คือวันเสาร์ 15 ก.พ. เดิมผมคิดว่าจะเว้นว่างเรื่องนี้ไปสักพัก เพื่อให้สังคมฟังความเห็นผู้อื่นดูบ้าง แต่วันนี้ นายกิตติรัตน์แถลงข่าว ต่อว่าผมและ ดร.ทนง พิทยะ คัดค้านการกู้อยู่เรื่อย ผมเลยต้องออกมาเขียนเพิ่มอีกแล้ว เรียกว่า เมื่องานเข้า ผมก็ต้องเข้างานล่ะครับ
สองวันนี้ มีข่าวว่านายกิตติรัตน์ จะใช้วิธีออกพันธบัตรออมทรัพย์ การออกพันธบัตรชนิดปกตินั้น กระทรวงคลังต้องใช้วิธีเปิดประมูลเท่านั้น วิธีนี้มีปัญหาว่า ไม่มีสถาบันการเงินเอกชนรายใด ยอมเข้ามาร่วมประมูล เพราะเห็นว่ารัฐบาลไม่มีอำนาจกู้เงิน
รัฐมนตรีคลังจึงได้เปลี่ยนทาง จะออกเป็นพันธบัตรชนิดออมทรัพย์แทน เพราะระเบียบกระทรวงไม่กำหนดให้ต้องขายโดยวิธีประมูล แต่สามารถจะเปิดขายแก่ประชาชนในวงกว้างได้เลย วิธีนี้เมื่อกำหนดวงเงินแล้ว หากประชาชนสนใจซื้อแค่เท่าใด ก็จะขายได้แค่นั้น
ข้อเสียของการกู้โดยใช้พันธบัตรชนิดออมทรัพย์ คือดอกเบี้ยจะสูงกว่าพันธบัตรชนิดปกติมากอยู่ เนื่องจากดอกเบี้ยสูงกว่านี้เอง การออกพันธบัตรชนิดออมทรัพย์นั้น ทุกๆ ประเทศ เขาจึงไม่ให้ใช้เป็นเครื่องมือหลัก สำหรับรัฐบาลกู้เงิน เนื่องจากไม่ผ่านขั้นตอนการประมูล จึงไม่มีกลไกใดที่จะรับรองได้ ว่ารัฐบาลจ่ายดอกเบี้ยในอัตราต่ำที่สุด
เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรออมทรัพย์ จะต้องกำหนดล่วงหน้านานเป็นเดือนๆ แต่สภาวะตลาดพันธบัตรในระหว่างนั้น อาจจะเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา ดังนั้น การกู้โดยใช้พันธบัตรชนิดออมทรัพย์ จึงไม่สามารถสะท้อนการเปลี่ยนแปลงดอกเบี้ย ในสภาวะตลาดพันธบัตร ไม่เหมือนกับพันธบัตรชนิดปกติ ที่ผ่านกระบวนการประมูล
ด้วยเหตุนี้ ที่ผ่านมาในอดีต กระทรวงการคลังจึงจะออกพันธบัตรชนิดออมทรัพย์ แต่ละปี เป็นจำนวนเงินเพียงเล็กน้อย ทุกประเทศเขาก็ทำกันเช่นนี้ วัตถุประสงค์ในการออกพันธบัตรชนิดออมทรัพย์ จึงเน้นต้องการสร้างให้ประชาชนคุ้นเคยออมทรัพย์กับพันธบัตรรัฐบาล
กระทรวงการคลังตระหนักดี ว่าต้นทุนดอกเบี้ยจะสูงกว่าในทุกประเทศ กระทรวงการคลังจึงไม่ใช้พันธบัตรชนิดออมทรัพย์ เป็นช่องทางหลักในการกู้เงิน ถ้ามาวันนี้ สบน. เกิดจะเสนอให้กระทรวง ใช้พันธบัตรชนิดออมทรัพย์ เป็นเครื่องมือหลักในการกู้เงินจำนำข้าว ซึ่งเป็นเงินมหาศาล จะเป็นการดำเนินการที่แปลกแหวกแนวไปจากเดิมอย่างมาก จะทำให้กระทรวงการคลังต้องจ่ายดอกเบี้ยสูงกว่าที่จำเป็น น่าสงสัยว่า ผอ.สบน. สมคบกับรัฐมนตรีคลัง เพื่อทำให้เกิดผลดีต่อพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่าฝืน ม. 181 (4)
แต่ทั้งนี้ ผมไม่คัดค้าน ที่รัฐมนตรีคลังจะเสี่ยงดำเนินการตามนี้นะครับ นายกิตติรัตน์แถลงข่าวว่า ผมไม่ควรจะคัดค้าน ผมก็สนองให้นะครับ ไม่คัดค้าน ขอให้นายกิตติรัตน์ลุยเดินหน้าเต็มที่ไปเลยครับ แต่ผมรู้จัก ผอ.สบน. และเห็นว่าท่านเป็นคนดี จึงอยากจะช่วยท่านสักหน่อย
หากท่านเห็นว่า การดำเนินการที่ผิดปกติ จะเข้าลักษณะผิดกฎหมายได้ ท่านสามารถป้องกันตนเองได้ครับ โดยทำบันทึก เสนอให้รัฐมนตรีคลัง ใช้อำนาจของตนสั่งให้ดำเนินการ วิธีนี้จะทำให้รัฐมนตรีคลัง รับผิดชอบตามที่ท่านต้องการได้เต็มตัวครับ บันทึกเดิม ครอบคลุมเฉพาะ ม. 181 (3) ครับ ท่านต้องทำอีกฉบับหนึ่ง เพื่อครอบคลุม ม. 181 (4)
เครดิต
http://www.thairath.co.th/content/eco/405206
เฮ้ย ลงข่าวแล้วข้อความหาย
"ธีระชัย" แขวะ "กิตติรัตน์" ออกพันธบัตรออมทรัพย์ คลังจ่ายดอกเบี้ยบาน
เมื่อวันที่ 21 ก.พ. นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Thirachai Phuvanatnaranubala ระบุว่า การกู้โดยใช้พันธบัตรชนิดออมทรัพย์ มาจ่ายชาวนาในโครงการจำนำข้าว จะต้องจ่ายดอกเบี้ยสูงเกินจำเป็น ซึ่งไม่มีประเทศไหนใช้เป็นเครื่องมือหลัก สำหรับรัฐบาลกู้เงิน เนื่องจากไม่ผ่านขั้นตอนการประมูล จึงไม่มีกลไกใดที่จะรับรองได้ว่ารัฐบาลจ่ายดอกเบี้ยในอัตราต่ำที่สุด โดยสภาวะตลาดพันธบัตรในระหว่างนั้น อาจจะเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา ดังนั้น การกู้โดยใช้พันธบัตรชนิดออมทรัพย์ จึงไม่สามารถสะท้อนการเปลี่ยนแปลงดอกเบี้ย และฝ่าฝืนมาตรา 181 (4) พร้อมกับแนะนำให้ น.ส.จุฬารัตน์ สุธีธร ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ป้องกันตนเองได้ โดยทำบันทึกเสนอให้รัฐมนตรีคลังใช้อำนาจของตนเองสั่งให้ดำเนินการ ซึ่งวิธีนี้จะทำให้รัฐมนตรีคลังรับผิดชอบเต็มตัว
โดยข้อความที่นายธีระชัยโพสต์ ระบุว่า ครั้งสุดท้ายที่ผมเขียนโพสต์เกี่ยวกับกู้จำนำข้าว คือวันเสาร์ 15 ก.พ. เดิมผมคิดว่าจะเว้นว่างเรื่องนี้ไปสักพัก เพื่อให้สังคมฟังความเห็นผู้อื่นดูบ้าง แต่วันนี้ นายกิตติรัตน์แถลงข่าว ต่อว่าผมและ ดร.ทนง พิทยะ คัดค้านการกู้อยู่เรื่อย ผมเลยต้องออกมาเขียนเพิ่มอีกแล้ว เรียกว่า เมื่องานเข้า ผมก็ต้องเข้างานล่ะครับ
สองวันนี้ มีข่าวว่านายกิตติรัตน์ จะใช้วิธีออกพันธบัตรออมทรัพย์ การออกพันธบัตรชนิดปกตินั้น กระทรวงคลังต้องใช้วิธีเปิดประมูลเท่านั้น วิธีนี้มีปัญหาว่า ไม่มีสถาบันการเงินเอกชนรายใด ยอมเข้ามาร่วมประมูล เพราะเห็นว่ารัฐบาลไม่มีอำนาจกู้เงิน
รัฐมนตรีคลังจึงได้เปลี่ยนทาง จะออกเป็นพันธบัตรชนิดออมทรัพย์แทน เพราะระเบียบกระทรวงไม่กำหนดให้ต้องขายโดยวิธีประมูล แต่สามารถจะเปิดขายแก่ประชาชนในวงกว้างได้เลย วิธีนี้เมื่อกำหนดวงเงินแล้ว หากประชาชนสนใจซื้อแค่เท่าใด ก็จะขายได้แค่นั้น
ข้อเสียของการกู้โดยใช้พันธบัตรชนิดออมทรัพย์ คือดอกเบี้ยจะสูงกว่าพันธบัตรชนิดปกติมากอยู่ เนื่องจากดอกเบี้ยสูงกว่านี้เอง การออกพันธบัตรชนิดออมทรัพย์นั้น ทุกๆ ประเทศ เขาจึงไม่ให้ใช้เป็นเครื่องมือหลัก สำหรับรัฐบาลกู้เงิน เนื่องจากไม่ผ่านขั้นตอนการประมูล จึงไม่มีกลไกใดที่จะรับรองได้ ว่ารัฐบาลจ่ายดอกเบี้ยในอัตราต่ำที่สุด
เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรออมทรัพย์ จะต้องกำหนดล่วงหน้านานเป็นเดือนๆ แต่สภาวะตลาดพันธบัตรในระหว่างนั้น อาจจะเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา ดังนั้น การกู้โดยใช้พันธบัตรชนิดออมทรัพย์ จึงไม่สามารถสะท้อนการเปลี่ยนแปลงดอกเบี้ย ในสภาวะตลาดพันธบัตร ไม่เหมือนกับพันธบัตรชนิดปกติ ที่ผ่านกระบวนการประมูล
ด้วยเหตุนี้ ที่ผ่านมาในอดีต กระทรวงการคลังจึงจะออกพันธบัตรชนิดออมทรัพย์ แต่ละปี เป็นจำนวนเงินเพียงเล็กน้อย ทุกประเทศเขาก็ทำกันเช่นนี้ วัตถุประสงค์ในการออกพันธบัตรชนิดออมทรัพย์ จึงเน้นต้องการสร้างให้ประชาชนคุ้นเคยออมทรัพย์กับพันธบัตรรัฐบาล
กระทรวงการคลังตระหนักดี ว่าต้นทุนดอกเบี้ยจะสูงกว่าในทุกประเทศ กระทรวงการคลังจึงไม่ใช้พันธบัตรชนิดออมทรัพย์ เป็นช่องทางหลักในการกู้เงิน ถ้ามาวันนี้ สบน. เกิดจะเสนอให้กระทรวง ใช้พันธบัตรชนิดออมทรัพย์ เป็นเครื่องมือหลักในการกู้เงินจำนำข้าว ซึ่งเป็นเงินมหาศาล จะเป็นการดำเนินการที่แปลกแหวกแนวไปจากเดิมอย่างมาก จะทำให้กระทรวงการคลังต้องจ่ายดอกเบี้ยสูงกว่าที่จำเป็น น่าสงสัยว่า ผอ.สบน. สมคบกับรัฐมนตรีคลัง เพื่อทำให้เกิดผลดีต่อพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่าฝืน ม. 181 (4)
แต่ทั้งนี้ ผมไม่คัดค้าน ที่รัฐมนตรีคลังจะเสี่ยงดำเนินการตามนี้นะครับ นายกิตติรัตน์แถลงข่าวว่า ผมไม่ควรจะคัดค้าน ผมก็สนองให้นะครับ ไม่คัดค้าน ขอให้นายกิตติรัตน์ลุยเดินหน้าเต็มที่ไปเลยครับ แต่ผมรู้จัก ผอ.สบน. และเห็นว่าท่านเป็นคนดี จึงอยากจะช่วยท่านสักหน่อย
หากท่านเห็นว่า การดำเนินการที่ผิดปกติ จะเข้าลักษณะผิดกฎหมายได้ ท่านสามารถป้องกันตนเองได้ครับ โดยทำบันทึก เสนอให้รัฐมนตรีคลัง ใช้อำนาจของตนสั่งให้ดำเนินการ วิธีนี้จะทำให้รัฐมนตรีคลัง รับผิดชอบตามที่ท่านต้องการได้เต็มตัวครับ บันทึกเดิม ครอบคลุมเฉพาะ ม. 181 (3) ครับ ท่านต้องทำอีกฉบับหนึ่ง เพื่อครอบคลุม ม. 181 (4)
เครดิต http://www.thairath.co.th/content/eco/405206
เฮ้ย ลงข่าวแล้วข้อความหาย