หรือจริงๆแล้ว ความมั่นคงทางพลังงานไฟฟ้า มันเกิดขึ้นจากการข่าวที่ล้มเหลว

ผมนั่งดูข่าวเนี่ย บ้านเรา จะกลายเป็นเมืองปลอดโรงไฟฟ้ากันแล้ว วันนึงถ้าก๊าซธรรมชาติหมดไป แต่รอบๆประเทศของเรา เกิดโรงไฟฟ้าขึ้นเพื่อ เอามาขายให้บ้านเรา คือถ้ามันดีๆกันอยู่ก็โอเค แต่ถ้ามันนึง มันกระทบถึงความสัมพันธ์ของชาติ หรือเช็คดูว่ายังสนใจกันอยู่มั้ย ก็อ้างปรับปรุงโรงไฟฟ้า แล้วเราอยู่ไงอ่ะ
ทีนี้ก็มานั่งคิด หลายคนก็บอก ก็ พวก NGO น่ะสิค้านทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็น ถ่านหิน นิวเคลียร์ ชีวมวล เอาตัวอย่างง่ายๆ ภาคใต้ ที่สายไฟขาด ผมก็เพิ่งรู้น่ะ ว่าโรงไฟฟ้าที่กระบี่ ผลิตได้ไม่มากแล้ว ตอนนั้นเดือดร้อนทุกหย่อมหญ้า  เข้าทำนองไม่ให้สร้าง แต่ถ้าไฟดับก็ไม่ยอม

นั่นมันเรื่องของ NGO เค้ามีหน้าที่ค้าน ตามที่เขารับตังมา ตอนนี้เป็นค้านไฟฟ้าที่กระบี่ กลัวปะการังฟอกขาว ชาวบ้านที่ได้รับข้อมูลมาด้านเดียวก็ว่ากัน

มาดูหน้าที่คนที่จะสร้าง ผมไม่แน่ใจว่าเคยเข้าไปถึงชุมชนและทำความเข้าใจมั้ย ว่าสิ่งที่จะทำขึ้นเนี่ย มันมีระบบจัดการมลพิษได้ขนาดไหน มาตรฐานการสร้างใครรับรอง และที่สำคัญ เข้าไปพื้นที่ก่อนที่ NGO จะเข้าไปมั้ย คือผมไม่รู้น่ะว่าขนาดไหน แต่ผมไม่เห็น CSR จากคนที่ผลิตไฟฟ้ามากเท่าไหน ยิ่ง กฟผ.  เงียบเลย เอาเงินไปสนับสนุนด้านกีฬาซะมากกว่า

ผลมันก็เลยออกมา ถ้าคิดจะทำตรงไหน แพ้ตั้งแต่ในมุ้งเลย
สุดท้ายถ้า ลำบากมากก็ไปสร้างในค่ายทหารก็โอเคน่ะ ได้เรื่องความปลอดภัยด้วย
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่