22 ตุลาคม 2557 คุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม ชี้ การยกเลิกสัญญาบริการอินเทอร์เน็ตก่อนกำหนดแล้วเสียเงินขัดกับมาตรา 51 วรรคสาม พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2549
ประเด็นหลัก
นางสาวสารี อ๋องสมหวัง ประธานคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม สำนักงานกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า มีประชาชนร้องเรียนเข้ามาผ่านสายด่วน 1200 กรณีที่ยกเลิกสัญญาบริการอินเทอร์เน็ตก่อนกำหนด ต้องเสียค่าใช้จ่ายหรือค่าปรับตามสัญญาที่ผู้ให้บริการระบุไว้ ซึ่งเมื่อตรวจสอบพบว่า ผู้ให้บริการไม่สามารถเรียกเก็บค่าใช้จ่ายกับผู้บริโภค เนื่องจากขัดต่อมาตรา 51 วรรคสาม พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2549 และยังขัดต่อข้อ 15 ของประกาศ กทช. ทั้งนี้ที่ประชุมคณะอนุกรรมการฯ ได้มีมติให้ส่งหนังสือไปยังสำนักงาน กสทช.เพื่อเสนอให้ กทค.ดำเนินการสั่งปรับทางปกครองตามกฎหมายกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตทุกรายที่กระทำผิด
ในการประชุมคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคมครั้งที่ผ่านมา คณะอนุกรรมการฯ ได้มีการหยิบยกประเด็นปัญหาการยกเลิกบริการอินเทอร์เน็ต หารือในที่ประชุม เนื่องจากได้รับการร้องเรียนจากผู้ใช้บริการในหลายพื้นที่ ที่ประชุมจึงขอให้สำนักงาน กสทช. รายงานสถิติเรื่องร้องเรียนของผู้ใช้บริการ จนพบว่านับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 จนถึงปัจจุบัน มีการร้องเรียนกรณีประสบปัญหาผู้ประกอบการโทรคมนาคมคิดค่าปรับ ค่าธรรมเนียม หรือค่าใช้จ่ายอื่นใด เมื่อผู้ใช้บริการต้องการยกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนดเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีจำนวนเรื่องร้องเรียนทั้งหมด 757 กรณี และมีข้อเท็จจริงปรากฏชัดว่าผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมหลายรายมีการใช้แบบสัญญาซึ่งมีข้อกำหนดที่ขัดต่อกฎหมายและเป็นข้อสัญญาที่มิได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ
ทั้งนี้สำนักกฎหมายโทรคมนาคม สำนักงาน กสทช. ได้ตรวจสอบข้อมูลการให้ความเห็นชอบสัญญาให้บริการโทรคมนาคมที่ผ่านมา ก็พบว่า ไม่ปรากฏว่า กทช. หรือ กสทช. เคยได้ให้ความเห็นชอบสัญญาให้บริการอินเทอร์เน็ตของผู้ให้บริการรายใด ดังนั้นเมื่อ กทช. หรือ กสทช. ยังไม่ได้ให้ความเห็นชอบ ผู้ให้บริการย่อมไม่มีสิทธินำสัญญาหรือเงื่อนไขนั้นไปใช้กับผู้ใช้บริการได้
นอกจากนี้ที่ผ่านมา กทค. ได้เคยพิจารณาเงื่อนไขในลักษณะเช่นเดียวกันนี้ โดยมีความเห็นให้ตัดเงื่อนไขดังกล่าวออก เนื่องจาก การกำหนดให้ผู้ใช้บริการจะต้องชำระเงินค่าใช้บริการที่เป็นส่วนลดพิเศษ พร้อมทั้งค่าติดตั้งและค่าลงทะเบียนที่ได้รับยกเว้นให้แก่ผู้ให้บริการ หากเลิกสัญญาก่อนระยะเวลาที่กำหนด ถือเป็นข้อสัญญาที่มีลักษณะเป็นการลงโทษ (penalty clause) แก่ผู้ใช้บริการ นอกจากนี้ การกำหนดข้อสัญญาในลักษณะดังกล่าวเป็นการบังคับให้ลูกค้าไม่สามารถยกเลิกสัญญาก่อนระยะเวลาที่กำหนดได้ มิฉะนั้นจะต้องเสียค่าใช้จ่ายหรือก่อให้เกิดภาระอย่างหนึ่งอย่างใดเข้าข่ายเป็น tie-in-contact ซึ่งขัดต่อหลักกฎหมายแข่งขันทางการค้า หลักกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค และหลักการส่งเสริมการแข่งขันอันเป็นการปิดกั้นสิทธิและทางเลือกของผู้บริโภคในการเลือกรับบริการ ยกเลิกบริการ หรือเปลี่ยนแปลง ผู้ให้บริการ
______________________________
เก็บค่าปรับ'เน็ตบ้าน'ผิด ดีแทคอัพ4Gในรถใต้ดิน
อนุฯ คุ้มครองผู้บริโภคเผย ปชช.สามารถยกเลิกสัญญาใช้อินเตอร์เน็ตบ้านได้ ไม่ต้องจ่ายค่าปรับ ดีแทคเร่งอัด 4G ทั่วสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT
นางสาวสารี อ๋องสมหวัง ประธานคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม สำนักงานกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า มีประชาชนร้องเรียนเข้ามาผ่านสายด่วน 1200 กรณีที่ยกเลิกสัญญาบริการอินเทอร์เน็ตก่อนกำหนด ต้องเสียค่าใช้จ่ายหรือค่าปรับตามสัญญาที่ผู้ให้บริการระบุไว้ ซึ่งเมื่อตรวจสอบพบว่า ผู้ให้บริการไม่สามารถเรียกเก็บค่าใช้จ่ายกับผู้บริโภค เนื่องจากขัดต่อมาตรา 51 วรรคสาม พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2549 และยังขัดต่อข้อ 15 ของประกาศ กทช. ทั้งนี้ที่ประชุมคณะอนุกรรมการฯ ได้มีมติให้ส่งหนังสือไปยังสำนักงาน กสทช.เพื่อเสนอให้ กทค.ดำเนินการสั่งปรับทางปกครองตามกฎหมายกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตทุกรายที่กระทำผิด
นายซิคเว่ เบรคเก้ รักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า เพื่อให้ดีแทคขึ้นเป็นผู้นำในการให้บริการอินเทอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถือ สิ่งที่ต้องทำเป็นอย่างแรกคือการอัฟโหลดผู้ใช้งานจาก 3G ให้ไปใช้งาน 4G ในพื้นที่ ที่มีการใช้งานหนาแน่น
ล่าสุด ดีแทค จึงมีการประกาศความพร้อมในการให้บริการเครือข่าย 4G ตลอดเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (รถไฟฟ้า MRT) ตลอดทั้งเส้นทางที่มีระยะทาง 21กิโลเมตร รวมสถานีทั้งหมด 18 สถานี
โดยจากรายงานดาต้าล่าสุดจากดีแทค พบว่ามีจำนวน 20-30% ของผู้โดยสาร MRT ที่ใช้งานอินเทอร์เน็ตบนมือถือจากเครือข่ายดีแทคต่อวัน ถ้าเทียบปริมาณใช้งานระหว่างช่วงไตรมาส 2 ถึงไตรมาส 3 ปริมาณการใช้งานดาต้าบนรถไฟใต้ดินเติบโตราว 24% ซึ่งถือว่าสูงขึ้นมากในช่วงเวลาสั้นๆ.
http://www.thaipost.net/news/211014/97857
______________________________
แนะผู้บริโภคมีสิทธิเลิกใช้บริการเน็ตกับผู้ให้บริการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
ในการประชุมคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคมครั้งที่ผ่านมา คณะอนุกรรมการฯ ได้มีการหยิบยกประเด็นปัญหาการยกเลิกบริการอินเทอร์เน็ต หารือในที่ประชุม เนื่องจากได้รับการร้องเรียนจากผู้ใช้บริการในหลายพื้นที่ ที่ประชุมจึงขอให้สำนักงาน กสทช. รายงานสถิติเรื่องร้องเรียนของผู้ใช้บริการ จนพบว่านับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 จนถึงปัจจุบัน มีการร้องเรียนกรณีประสบปัญหาผู้ประกอบการโทรคมนาคมคิดค่าปรับ ค่าธรรมเนียม หรือค่าใช้จ่ายอื่นใด เมื่อผู้ใช้บริการต้องการยกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนดเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีจำนวนเรื่องร้องเรียนทั้งหมด 757 กรณี และมีข้อเท็จจริงปรากฏชัดว่าผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมหลายรายมีการใช้แบบสัญญาซึ่งมีข้อกำหนดที่ขัดต่อกฎหมายและเป็นข้อสัญญาที่มิได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ
ทั้งนี้สำนักกฎหมายโทรคมนาคม สำนักงาน กสทช. ได้ตรวจสอบข้อมูลการให้ความเห็นชอบสัญญาให้บริการโทรคมนาคมที่ผ่านมา ก็พบว่า ไม่ปรากฏว่า กทช. หรือ กสทช. เคยได้ให้ความเห็นชอบสัญญาให้บริการอินเทอร์เน็ตของผู้ให้บริการรายใด ดังนั้นเมื่อ กทช. หรือ กสทช. ยังไม่ได้ให้ความเห็นชอบ ผู้ให้บริการย่อมไม่มีสิทธินำสัญญาหรือเงื่อนไขนั้นไปใช้กับผู้ใช้บริการได้
นอกจากนี้ที่ผ่านมา กทค. ได้เคยพิจารณาเงื่อนไขในลักษณะเช่นเดียวกันนี้ โดยมีความเห็นให้ตัดเงื่อนไขดังกล่าวออก เนื่องจาก การกำหนดให้ผู้ใช้บริการจะต้องชำระเงินค่าใช้บริการที่เป็นส่วนลดพิเศษ พร้อมทั้งค่าติดตั้งและค่าลงทะเบียนที่ได้รับยกเว้นให้แก่ผู้ให้บริการ หากเลิกสัญญาก่อนระยะเวลาที่กำหนด ถือเป็นข้อสัญญาที่มีลักษณะเป็นการลงโทษ (penalty clause) แก่ผู้ใช้บริการ นอกจากนี้ การกำหนดข้อสัญญาในลักษณะดังกล่าวเป็นการบังคับให้ลูกค้าไม่สามารถยกเลิกสัญญาก่อนระยะเวลาที่กำหนดได้ มิฉะนั้นจะต้องเสียค่าใช้จ่ายหรือก่อให้เกิดภาระอย่างหนึ่งอย่างใดเข้าข่ายเป็น tie-in-contact ซึ่งขัดต่อหลักกฎหมายแข่งขันทางการค้า หลักกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค และหลักการส่งเสริมการแข่งขันอันเป็นการปิดกั้นสิทธิและทางเลือกของผู้บริโภคในการเลือกรับบริการ ยกเลิกบริการ หรือเปลี่ยนแปลง ผู้ให้บริการ
ดังนั้นการที่ผู้ประกอบการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม หรือค่าติดตั้งแรกเข้ากับผู้บริโภคหากยกเลิกบริการก่อนกำหนด จึงเป็นการกระทำที่ขัดต่อมาตรา 51วรรคสามแห่ง พรบ. การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549ที่กำหนดว่า เมื่อผู้รับใบอนุญาตได้รับความเห็นชอบในสัญญาหรือเงื่อนไขใดๆ แล้ว ให้ผู้รับใบอนุญาตมีสิทธินำสัญญาหรือเงื่อนไขนั้นไปใช้กับผู้ใช้บริการได้ และข้อสัญญาลักษณะดังกล่าวยังขัดต่อข้อ 15 ของประกาศ กทช. เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 ซึ่งห้ามบริษัทผู้ให้บริการคิดค่าปรับ หรือค่าเสียหายจากการที่ผู้ใช้บริการยกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนด
จากข้อเท็จจริงดังกล่าว ผู้บริโภคทุกรายจึงมีสิทธิยกเลิกสัญญาใช้บริการอินเทอร์เน็ตกับผู้ให้บริการได้ โดยผู้ให้บริการไม่มีสิทธิคิดค่าติดตั้งแรกเข้าหรือค่าธรรมเนียมใดใด เพราะ คณะกรรมการ กสทช. ยังมิได้พิจารณาให้ความเห็นชอบเงื่อนไข สัญญา ของผู้ประกอบการ แบบหรือเงื่อนไขสัญญาดังกล่าว จึงไม่มีผลผูกพันผู้ใช้บริการ
เนื่องจากการดำเนินการดังกล่าวของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต เป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมายโทรคมนาคม ที่ประชุมคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคมจึงมีมติดังนี้
1) ขอให้กสทช. แจ้งให้ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมยุติ การกระทำที่ผิดกฎหมายในการคิดค่าปรับ ค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายอื่นใดกับผู้ให้บริการ หากผู้ใช้บริการยกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนด
2) ให้มีการดำเนินการเพื่อสั่งปรับทางปกครองตามกฎหมายกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตทุกราย ซึ่งกระทำความผิดตามมาตรา 51แห่งพรบ. การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549และข้อ 15ของประกาศ กทช. เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549
3) ขอให้ กสทช. สั่งให้ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมทุกรายคืนเงินให้แก่ผู้ใช้บริการ กรณีเรียกเก็บค่าธรรมเนียม หรือค่าใช้จ่ายอื่นใดที่ได้เก็บจากผู้ใช้บริการเพราะเหตุยกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนด
4) ขอให้สำนักงาน กสทช. ดำเนินการประชาสัมพันธ์ ให้ผู้บริโภครับทราบ ถึงสิทธิของผู้ใช้บริการ โดยผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตไม่สามารถเรียกเก็บค่าใช้จ่ายอื่นใดจากผู้ใช้บริการได้เพราะเหตุยกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนด
http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9570000121209&Keyword=%A1%CA%B7
คุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม ชี้ การยกเลิกสัญญาบริการอินเทอร์เน็ตก่อนกำหนดแล้วเสียเงิน ( ผิดกฏหมาย )
ประเด็นหลัก
นางสาวสารี อ๋องสมหวัง ประธานคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม สำนักงานกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า มีประชาชนร้องเรียนเข้ามาผ่านสายด่วน 1200 กรณีที่ยกเลิกสัญญาบริการอินเทอร์เน็ตก่อนกำหนด ต้องเสียค่าใช้จ่ายหรือค่าปรับตามสัญญาที่ผู้ให้บริการระบุไว้ ซึ่งเมื่อตรวจสอบพบว่า ผู้ให้บริการไม่สามารถเรียกเก็บค่าใช้จ่ายกับผู้บริโภค เนื่องจากขัดต่อมาตรา 51 วรรคสาม พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2549 และยังขัดต่อข้อ 15 ของประกาศ กทช. ทั้งนี้ที่ประชุมคณะอนุกรรมการฯ ได้มีมติให้ส่งหนังสือไปยังสำนักงาน กสทช.เพื่อเสนอให้ กทค.ดำเนินการสั่งปรับทางปกครองตามกฎหมายกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตทุกรายที่กระทำผิด
ในการประชุมคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคมครั้งที่ผ่านมา คณะอนุกรรมการฯ ได้มีการหยิบยกประเด็นปัญหาการยกเลิกบริการอินเทอร์เน็ต หารือในที่ประชุม เนื่องจากได้รับการร้องเรียนจากผู้ใช้บริการในหลายพื้นที่ ที่ประชุมจึงขอให้สำนักงาน กสทช. รายงานสถิติเรื่องร้องเรียนของผู้ใช้บริการ จนพบว่านับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 จนถึงปัจจุบัน มีการร้องเรียนกรณีประสบปัญหาผู้ประกอบการโทรคมนาคมคิดค่าปรับ ค่าธรรมเนียม หรือค่าใช้จ่ายอื่นใด เมื่อผู้ใช้บริการต้องการยกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนดเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีจำนวนเรื่องร้องเรียนทั้งหมด 757 กรณี และมีข้อเท็จจริงปรากฏชัดว่าผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมหลายรายมีการใช้แบบสัญญาซึ่งมีข้อกำหนดที่ขัดต่อกฎหมายและเป็นข้อสัญญาที่มิได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ
ทั้งนี้สำนักกฎหมายโทรคมนาคม สำนักงาน กสทช. ได้ตรวจสอบข้อมูลการให้ความเห็นชอบสัญญาให้บริการโทรคมนาคมที่ผ่านมา ก็พบว่า ไม่ปรากฏว่า กทช. หรือ กสทช. เคยได้ให้ความเห็นชอบสัญญาให้บริการอินเทอร์เน็ตของผู้ให้บริการรายใด ดังนั้นเมื่อ กทช. หรือ กสทช. ยังไม่ได้ให้ความเห็นชอบ ผู้ให้บริการย่อมไม่มีสิทธินำสัญญาหรือเงื่อนไขนั้นไปใช้กับผู้ใช้บริการได้
นอกจากนี้ที่ผ่านมา กทค. ได้เคยพิจารณาเงื่อนไขในลักษณะเช่นเดียวกันนี้ โดยมีความเห็นให้ตัดเงื่อนไขดังกล่าวออก เนื่องจาก การกำหนดให้ผู้ใช้บริการจะต้องชำระเงินค่าใช้บริการที่เป็นส่วนลดพิเศษ พร้อมทั้งค่าติดตั้งและค่าลงทะเบียนที่ได้รับยกเว้นให้แก่ผู้ให้บริการ หากเลิกสัญญาก่อนระยะเวลาที่กำหนด ถือเป็นข้อสัญญาที่มีลักษณะเป็นการลงโทษ (penalty clause) แก่ผู้ใช้บริการ นอกจากนี้ การกำหนดข้อสัญญาในลักษณะดังกล่าวเป็นการบังคับให้ลูกค้าไม่สามารถยกเลิกสัญญาก่อนระยะเวลาที่กำหนดได้ มิฉะนั้นจะต้องเสียค่าใช้จ่ายหรือก่อให้เกิดภาระอย่างหนึ่งอย่างใดเข้าข่ายเป็น tie-in-contact ซึ่งขัดต่อหลักกฎหมายแข่งขันทางการค้า หลักกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค และหลักการส่งเสริมการแข่งขันอันเป็นการปิดกั้นสิทธิและทางเลือกของผู้บริโภคในการเลือกรับบริการ ยกเลิกบริการ หรือเปลี่ยนแปลง ผู้ให้บริการ
______________________________
เก็บค่าปรับ'เน็ตบ้าน'ผิด ดีแทคอัพ4Gในรถใต้ดิน
อนุฯ คุ้มครองผู้บริโภคเผย ปชช.สามารถยกเลิกสัญญาใช้อินเตอร์เน็ตบ้านได้ ไม่ต้องจ่ายค่าปรับ ดีแทคเร่งอัด 4G ทั่วสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT
นางสาวสารี อ๋องสมหวัง ประธานคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม สำนักงานกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า มีประชาชนร้องเรียนเข้ามาผ่านสายด่วน 1200 กรณีที่ยกเลิกสัญญาบริการอินเทอร์เน็ตก่อนกำหนด ต้องเสียค่าใช้จ่ายหรือค่าปรับตามสัญญาที่ผู้ให้บริการระบุไว้ ซึ่งเมื่อตรวจสอบพบว่า ผู้ให้บริการไม่สามารถเรียกเก็บค่าใช้จ่ายกับผู้บริโภค เนื่องจากขัดต่อมาตรา 51 วรรคสาม พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2549 และยังขัดต่อข้อ 15 ของประกาศ กทช. ทั้งนี้ที่ประชุมคณะอนุกรรมการฯ ได้มีมติให้ส่งหนังสือไปยังสำนักงาน กสทช.เพื่อเสนอให้ กทค.ดำเนินการสั่งปรับทางปกครองตามกฎหมายกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตทุกรายที่กระทำผิด
นายซิคเว่ เบรคเก้ รักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า เพื่อให้ดีแทคขึ้นเป็นผู้นำในการให้บริการอินเทอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถือ สิ่งที่ต้องทำเป็นอย่างแรกคือการอัฟโหลดผู้ใช้งานจาก 3G ให้ไปใช้งาน 4G ในพื้นที่ ที่มีการใช้งานหนาแน่น
ล่าสุด ดีแทค จึงมีการประกาศความพร้อมในการให้บริการเครือข่าย 4G ตลอดเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (รถไฟฟ้า MRT) ตลอดทั้งเส้นทางที่มีระยะทาง 21กิโลเมตร รวมสถานีทั้งหมด 18 สถานี
โดยจากรายงานดาต้าล่าสุดจากดีแทค พบว่ามีจำนวน 20-30% ของผู้โดยสาร MRT ที่ใช้งานอินเทอร์เน็ตบนมือถือจากเครือข่ายดีแทคต่อวัน ถ้าเทียบปริมาณใช้งานระหว่างช่วงไตรมาส 2 ถึงไตรมาส 3 ปริมาณการใช้งานดาต้าบนรถไฟใต้ดินเติบโตราว 24% ซึ่งถือว่าสูงขึ้นมากในช่วงเวลาสั้นๆ.
http://www.thaipost.net/news/211014/97857
______________________________
แนะผู้บริโภคมีสิทธิเลิกใช้บริการเน็ตกับผู้ให้บริการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
ในการประชุมคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคมครั้งที่ผ่านมา คณะอนุกรรมการฯ ได้มีการหยิบยกประเด็นปัญหาการยกเลิกบริการอินเทอร์เน็ต หารือในที่ประชุม เนื่องจากได้รับการร้องเรียนจากผู้ใช้บริการในหลายพื้นที่ ที่ประชุมจึงขอให้สำนักงาน กสทช. รายงานสถิติเรื่องร้องเรียนของผู้ใช้บริการ จนพบว่านับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 จนถึงปัจจุบัน มีการร้องเรียนกรณีประสบปัญหาผู้ประกอบการโทรคมนาคมคิดค่าปรับ ค่าธรรมเนียม หรือค่าใช้จ่ายอื่นใด เมื่อผู้ใช้บริการต้องการยกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนดเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีจำนวนเรื่องร้องเรียนทั้งหมด 757 กรณี และมีข้อเท็จจริงปรากฏชัดว่าผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมหลายรายมีการใช้แบบสัญญาซึ่งมีข้อกำหนดที่ขัดต่อกฎหมายและเป็นข้อสัญญาที่มิได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ
ทั้งนี้สำนักกฎหมายโทรคมนาคม สำนักงาน กสทช. ได้ตรวจสอบข้อมูลการให้ความเห็นชอบสัญญาให้บริการโทรคมนาคมที่ผ่านมา ก็พบว่า ไม่ปรากฏว่า กทช. หรือ กสทช. เคยได้ให้ความเห็นชอบสัญญาให้บริการอินเทอร์เน็ตของผู้ให้บริการรายใด ดังนั้นเมื่อ กทช. หรือ กสทช. ยังไม่ได้ให้ความเห็นชอบ ผู้ให้บริการย่อมไม่มีสิทธินำสัญญาหรือเงื่อนไขนั้นไปใช้กับผู้ใช้บริการได้
นอกจากนี้ที่ผ่านมา กทค. ได้เคยพิจารณาเงื่อนไขในลักษณะเช่นเดียวกันนี้ โดยมีความเห็นให้ตัดเงื่อนไขดังกล่าวออก เนื่องจาก การกำหนดให้ผู้ใช้บริการจะต้องชำระเงินค่าใช้บริการที่เป็นส่วนลดพิเศษ พร้อมทั้งค่าติดตั้งและค่าลงทะเบียนที่ได้รับยกเว้นให้แก่ผู้ให้บริการ หากเลิกสัญญาก่อนระยะเวลาที่กำหนด ถือเป็นข้อสัญญาที่มีลักษณะเป็นการลงโทษ (penalty clause) แก่ผู้ใช้บริการ นอกจากนี้ การกำหนดข้อสัญญาในลักษณะดังกล่าวเป็นการบังคับให้ลูกค้าไม่สามารถยกเลิกสัญญาก่อนระยะเวลาที่กำหนดได้ มิฉะนั้นจะต้องเสียค่าใช้จ่ายหรือก่อให้เกิดภาระอย่างหนึ่งอย่างใดเข้าข่ายเป็น tie-in-contact ซึ่งขัดต่อหลักกฎหมายแข่งขันทางการค้า หลักกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค และหลักการส่งเสริมการแข่งขันอันเป็นการปิดกั้นสิทธิและทางเลือกของผู้บริโภคในการเลือกรับบริการ ยกเลิกบริการ หรือเปลี่ยนแปลง ผู้ให้บริการ
ดังนั้นการที่ผู้ประกอบการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม หรือค่าติดตั้งแรกเข้ากับผู้บริโภคหากยกเลิกบริการก่อนกำหนด จึงเป็นการกระทำที่ขัดต่อมาตรา 51วรรคสามแห่ง พรบ. การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549ที่กำหนดว่า เมื่อผู้รับใบอนุญาตได้รับความเห็นชอบในสัญญาหรือเงื่อนไขใดๆ แล้ว ให้ผู้รับใบอนุญาตมีสิทธินำสัญญาหรือเงื่อนไขนั้นไปใช้กับผู้ใช้บริการได้ และข้อสัญญาลักษณะดังกล่าวยังขัดต่อข้อ 15 ของประกาศ กทช. เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 ซึ่งห้ามบริษัทผู้ให้บริการคิดค่าปรับ หรือค่าเสียหายจากการที่ผู้ใช้บริการยกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนด
จากข้อเท็จจริงดังกล่าว ผู้บริโภคทุกรายจึงมีสิทธิยกเลิกสัญญาใช้บริการอินเทอร์เน็ตกับผู้ให้บริการได้ โดยผู้ให้บริการไม่มีสิทธิคิดค่าติดตั้งแรกเข้าหรือค่าธรรมเนียมใดใด เพราะ คณะกรรมการ กสทช. ยังมิได้พิจารณาให้ความเห็นชอบเงื่อนไข สัญญา ของผู้ประกอบการ แบบหรือเงื่อนไขสัญญาดังกล่าว จึงไม่มีผลผูกพันผู้ใช้บริการ
เนื่องจากการดำเนินการดังกล่าวของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต เป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมายโทรคมนาคม ที่ประชุมคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคมจึงมีมติดังนี้
1) ขอให้กสทช. แจ้งให้ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมยุติ การกระทำที่ผิดกฎหมายในการคิดค่าปรับ ค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายอื่นใดกับผู้ให้บริการ หากผู้ใช้บริการยกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนด
2) ให้มีการดำเนินการเพื่อสั่งปรับทางปกครองตามกฎหมายกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตทุกราย ซึ่งกระทำความผิดตามมาตรา 51แห่งพรบ. การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549และข้อ 15ของประกาศ กทช. เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549
3) ขอให้ กสทช. สั่งให้ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมทุกรายคืนเงินให้แก่ผู้ใช้บริการ กรณีเรียกเก็บค่าธรรมเนียม หรือค่าใช้จ่ายอื่นใดที่ได้เก็บจากผู้ใช้บริการเพราะเหตุยกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนด
4) ขอให้สำนักงาน กสทช. ดำเนินการประชาสัมพันธ์ ให้ผู้บริโภครับทราบ ถึงสิทธิของผู้ใช้บริการ โดยผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตไม่สามารถเรียกเก็บค่าใช้จ่ายอื่นใดจากผู้ใช้บริการได้เพราะเหตุยกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนด
http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9570000121209&Keyword=%A1%CA%B7