สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 26
จงฟ้องด่วน
เมื่อเป็นโจทก์ฟ้องคดีแพ่งละเมิดลิขสิทธิ์
การละเมิดลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 27 – มาตรา 31 เป็นความผิดตามกฎหมายทั้งในทางแพ่งและทางอาญา
เมื่อเจ้าของลิขสิทธิ์ถูกบุคคลใดละเมิดลิขสิทธิ์ในงานอันมีลิขสิทธิ์ของตน เจ้าของลิขสิทธิ์ก็ชอบที่จะใช้สิทธิเป็นโจทก์ฟ้องร้องดำเนินคดีกับบุคคลที่มาละเมิดลิขสิทธิ์ได้ทั้งทางแพ่งและอาญา ดังนี
ขั้นตอนการดำเนินคดีแพ่งตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์
1. จัดเตรียมคดี (พิจารณา พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 27 – 31 แล้วแต่กรณี ประกอบกับมาตรา 64)
โดยอาจจัดทำเป็นรายงานวิเคราะห์คดีว่า คดีละเมิดลิขสิทธิ์นั้นเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ต่อ งานอันมีลิขสิทธิ์ประเภทใดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 27 – 31 ทั้งนี้เพราะการกระทำอันจะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในบางประเภทนั้นมีลักษณะเฉพาะแตกต่างกัน
2. ดำเนินการร่างคำฟ้อง
2.1) ส่วนประกอบสำคัญในการร่างคำฟ้อง ได้แก่ เอกสารหลักฐานตลอดจนรายละเอียดข้อมูลต่างๆ อาทิเช่น
(ก) ภาพถ่ายหรือเอกสารแสดงผลงานอันมีลิขสิทธิ์เฉพาะที่เจ้าของลิขสิทธิ์ถูกบุคคลอื่นทำละเมิด
(ข) เอกสารที่แสดงรายละเอียดในการสร้างสรรค์งานอันมีลิขสิทธิ์ ตั้งแต่เริ่มดำเนินการจนกระทั่งได้สร้างงานแล้วเสร็จ (หากเจ้าของลิขสิทธิ์ได้แจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ไว้ต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา เจ้าของลิขสิทธิ์สามารถนำหนังสือรับรองการแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ที่เจ้าหน้าที่ลิขสิทธิ์ออกให้มาเป็นพยานหลักฐานในการดำเนินคดีได้)
(ค) รายชื่อบุคคลที่จะเข้ามาเป็นผู้รับมอบอำนาจในการดำเนินคดี , สำเนาบัตรประชาชน
พร้อมรายละเอียดที่อยู่ปัจจุบันของบุคคลดังกล่าว
(ง) รายชื่อพยานบุคคล , สำเนาบัตรประชาชน พร้อมรายละเอียดที่อยู่ปัจจุบันของบุคคลดังกล่าว
(จ) รายละเอียดเกี่ยวกับค่าเสียหาย พร้อมหลักฐานแสดง
2.2) ประเด็นฟ้องในคดีแพ่ง คือเรียกค่าเสียหาย(1) ซึ่งในคดีละเมิดลิขสิทธิ์ส่วนใหญ่เจ้าของลิขสิทธิ์ (ฐานะโจทก์) มักจะเรียกร้องค่าเสียหายดังนี้
ประเภทที่ 1 ค่าเสียหายอันเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงจากการที่เจ้าของลิขสิทธิ์ได้ดำเนินการสร้างสรรค์งานอันมีลิขสิทธิ์ ตั้งแต่เริ่มต้นผลิตผลงานจนกระทั่งแล้วเสร็จ ซึ่งค่าเสียหายในส่วนนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่เจ้าของลิขสิทธิ์ (ฐานะโจทก์) จะต้องมีหลักฐานการจ่ายเงินมาแสดงต่อศาล เพราะโดยปกติศาลไม่อาจรู้ได้แน่นอนว่า ค่าเสียหายที่เป็นค่าใช้จ่ายในส่วนนี้มีจำนวนเท่าใด ศาลจึงต้องถือตัวเลขค่าเสียหายเฉพาะที่มีหลักฐานมาแสดง (ศาลมักจะให้ค่าเสียหายในส่วนนี้เต็มจำนวนตามที่โจทก์มีหลักฐานมาแสดง)
ประเภทที่ 2 ค่าเสียหายที่เป็นค่าขาดประโยชน์ หากจะเรียกให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ ค่าเสียหายในการต้องเสียลูกค้าไป อันเนื่องจากการแอบอ้างของบุคคลที่ทำละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งโดยปกติค่าเสียหายในส่วนนี้จะไม่มีหลักฐานแน่นอนเหมือนอย่างค่าเสียหายในประเภทแรก ดังนั้นเจ้าของลิขสิทธิ์ (ฐานะโจทก์) จะต้องกะประมาณค่าเสียหายในส่วนนี้เพื่อเสนอต่อศาล เพื่อที่ศาลจะได้ใช้ดุลพินิจกำหนดค่าเสียหาย (ศาลมักใช้ดุลพินิจให้ค่าเสียหายในส่วนนี้ไม่เต็มจำนวนตามฟ้อง)
ข้อสังเกตุ ค่าเสียหายอันเนื่องจากการขาดประโยชน์ หากผู้ทำละเมิดเป็นบริษัท โจทก์สามารถกะประมาณค่าเสียหาย โดยดูจากงบการเงินของบริษัท(จำเลย) 100% นั้น น่าจะหรือควรจะเป็นเงินที่บริษัท (จำเลย) ได้มาจากการทำละเมิดต่องานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์กี่เปอร์เซ็นต์
ประเภทที่ 3 ค่าเสียหายอันเป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียไปในการฟ้องร้องดำเนินคดี อาทิเช่น ค่าธรรมเนียมศาล ค่าทนายความ เป็นต้น
2.3) การคำนวณจำนวนทุนทรัพย์ของคดี จะคำนวณจากจำนวนเงินของค่าเสียหายแต่ละประเภทตามที่กล่าวไว้ในข้อ 2.2) ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ (ฐานะโจทก์) ประสงค์จะเรียกร้องจากผู้ทำละเมิดลิขสิทธิ์ (จำเลย) บวกกับดอกเบี้ยนับแต่วันทำละเมิดจนถึงวันฟ้องในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี
3. ดำเนินการยื่นฟ้อง
ในวันที่เจ้าของลิขสิทธิ์ (โจทก์) ยื่นฟ้องผู้ละเมิดลิขสิทธิ์เป็นจำเลยต่อศาล เจ้าของลิขสิทธิ์
(โจทก์)ต้องวางค่าธรรมเนียมต่อศาลในอัตราร้อยละ 2.5 ของจำนวนทุนทรัพย์ตามที่คำนวณได้ในข้อ 2.3)
แต่ไม่เกิน 200,000 บาท โดยทำแคชเชียร์เช็คสั่งจ่ายให้กับ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง
หมายเหตุ ค่าธรรมเนียมศาลที่โจทก์วางเป็นค่าขึ้นศาลสำหรับการฟ้องคดีนั้น หากท้ายสุด โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดี (แม้จะชนะเป็นบางส่วน คือได้ค่าเสียหายแต่ละประเภทไม่เต็มตามฟ้องก็ตาม) ตามปกติศาลก็จะมีคำสั่งให้จำเลยชดใช้ค่าธรรมเนียมในส่วนของค่าขึ้นศาลดังกล่าวให้กับโจทก์เต็มจำนวน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 161 แต่ถ้าศาลมีคำสั่งให้จำเลยชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมให้แก่โจทก์เพียงบางส่วนหรือสั่งให้เป็นพับ (ไม่ต้องใช้แทนเลย) กรณีนี้โจทก์มีสิทธิที่จะยื่นอุทธรณ์หรือฏีกาในประเด็นเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 168
การฟ้องคดีละเมิดลิขสิทธิ์ในทางแพ่ง พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 63 บัญญัติห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนด 3 ปี นับแต่วันที่เจ้าของลิขสิทธิ์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้กระทำละเมิด
แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์
4. ขั้นตอนภายหลังการยื่นฟ้องคดี
เมื่อศาลรับคำฟ้องของโจทก์ไว้แล้ว ขั้นตอนต่อไปมีดังนี้
4.1) ศาลจะออกหมายเรียกให้จำเลยยื่นคำให้การต่อศาลภายใน 15 วันนับแต่จำเลยได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง หรือภายใน 30 วันนักแต่วันปิดหมาย
4.2) นัดชี้สองสถานหรือนัดพร้อมเพื่อกำหนดประเด็นพิพาทและแนวทางการดำเนินกระบวนพิจารณา
4.3) นัดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลย
4.4) นัดฟังคำพิพากษา
5. อุทธรณ์
เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มีคำพิพากษาแล้ว คู่ความสามารถอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ ไปยังศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาฯ ได้โดยตรงภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่ศาลได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่ง (คำพิพากษา/คำสั่งของศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาฯ ถือเป็นที่สุด)
เครดิต เดบิต เอทีเอ็ม ...
เกศรินทร์ แตงโสภา (ทนายความ)
www.fpmconsultant.com
e-mail : iamkate@fpmconsultant.com
เมื่อเป็นโจทก์ฟ้องคดีแพ่งละเมิดลิขสิทธิ์
การละเมิดลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 27 – มาตรา 31 เป็นความผิดตามกฎหมายทั้งในทางแพ่งและทางอาญา
เมื่อเจ้าของลิขสิทธิ์ถูกบุคคลใดละเมิดลิขสิทธิ์ในงานอันมีลิขสิทธิ์ของตน เจ้าของลิขสิทธิ์ก็ชอบที่จะใช้สิทธิเป็นโจทก์ฟ้องร้องดำเนินคดีกับบุคคลที่มาละเมิดลิขสิทธิ์ได้ทั้งทางแพ่งและอาญา ดังนี
ขั้นตอนการดำเนินคดีแพ่งตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์
1. จัดเตรียมคดี (พิจารณา พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 27 – 31 แล้วแต่กรณี ประกอบกับมาตรา 64)
โดยอาจจัดทำเป็นรายงานวิเคราะห์คดีว่า คดีละเมิดลิขสิทธิ์นั้นเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ต่อ งานอันมีลิขสิทธิ์ประเภทใดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 27 – 31 ทั้งนี้เพราะการกระทำอันจะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในบางประเภทนั้นมีลักษณะเฉพาะแตกต่างกัน
2. ดำเนินการร่างคำฟ้อง
2.1) ส่วนประกอบสำคัญในการร่างคำฟ้อง ได้แก่ เอกสารหลักฐานตลอดจนรายละเอียดข้อมูลต่างๆ อาทิเช่น
(ก) ภาพถ่ายหรือเอกสารแสดงผลงานอันมีลิขสิทธิ์เฉพาะที่เจ้าของลิขสิทธิ์ถูกบุคคลอื่นทำละเมิด
(ข) เอกสารที่แสดงรายละเอียดในการสร้างสรรค์งานอันมีลิขสิทธิ์ ตั้งแต่เริ่มดำเนินการจนกระทั่งได้สร้างงานแล้วเสร็จ (หากเจ้าของลิขสิทธิ์ได้แจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ไว้ต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา เจ้าของลิขสิทธิ์สามารถนำหนังสือรับรองการแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ที่เจ้าหน้าที่ลิขสิทธิ์ออกให้มาเป็นพยานหลักฐานในการดำเนินคดีได้)
(ค) รายชื่อบุคคลที่จะเข้ามาเป็นผู้รับมอบอำนาจในการดำเนินคดี , สำเนาบัตรประชาชน
พร้อมรายละเอียดที่อยู่ปัจจุบันของบุคคลดังกล่าว
(ง) รายชื่อพยานบุคคล , สำเนาบัตรประชาชน พร้อมรายละเอียดที่อยู่ปัจจุบันของบุคคลดังกล่าว
(จ) รายละเอียดเกี่ยวกับค่าเสียหาย พร้อมหลักฐานแสดง
2.2) ประเด็นฟ้องในคดีแพ่ง คือเรียกค่าเสียหาย(1) ซึ่งในคดีละเมิดลิขสิทธิ์ส่วนใหญ่เจ้าของลิขสิทธิ์ (ฐานะโจทก์) มักจะเรียกร้องค่าเสียหายดังนี้
ประเภทที่ 1 ค่าเสียหายอันเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงจากการที่เจ้าของลิขสิทธิ์ได้ดำเนินการสร้างสรรค์งานอันมีลิขสิทธิ์ ตั้งแต่เริ่มต้นผลิตผลงานจนกระทั่งแล้วเสร็จ ซึ่งค่าเสียหายในส่วนนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่เจ้าของลิขสิทธิ์ (ฐานะโจทก์) จะต้องมีหลักฐานการจ่ายเงินมาแสดงต่อศาล เพราะโดยปกติศาลไม่อาจรู้ได้แน่นอนว่า ค่าเสียหายที่เป็นค่าใช้จ่ายในส่วนนี้มีจำนวนเท่าใด ศาลจึงต้องถือตัวเลขค่าเสียหายเฉพาะที่มีหลักฐานมาแสดง (ศาลมักจะให้ค่าเสียหายในส่วนนี้เต็มจำนวนตามที่โจทก์มีหลักฐานมาแสดง)
ประเภทที่ 2 ค่าเสียหายที่เป็นค่าขาดประโยชน์ หากจะเรียกให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ ค่าเสียหายในการต้องเสียลูกค้าไป อันเนื่องจากการแอบอ้างของบุคคลที่ทำละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งโดยปกติค่าเสียหายในส่วนนี้จะไม่มีหลักฐานแน่นอนเหมือนอย่างค่าเสียหายในประเภทแรก ดังนั้นเจ้าของลิขสิทธิ์ (ฐานะโจทก์) จะต้องกะประมาณค่าเสียหายในส่วนนี้เพื่อเสนอต่อศาล เพื่อที่ศาลจะได้ใช้ดุลพินิจกำหนดค่าเสียหาย (ศาลมักใช้ดุลพินิจให้ค่าเสียหายในส่วนนี้ไม่เต็มจำนวนตามฟ้อง)
ข้อสังเกตุ ค่าเสียหายอันเนื่องจากการขาดประโยชน์ หากผู้ทำละเมิดเป็นบริษัท โจทก์สามารถกะประมาณค่าเสียหาย โดยดูจากงบการเงินของบริษัท(จำเลย) 100% นั้น น่าจะหรือควรจะเป็นเงินที่บริษัท (จำเลย) ได้มาจากการทำละเมิดต่องานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์กี่เปอร์เซ็นต์
ประเภทที่ 3 ค่าเสียหายอันเป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียไปในการฟ้องร้องดำเนินคดี อาทิเช่น ค่าธรรมเนียมศาล ค่าทนายความ เป็นต้น
2.3) การคำนวณจำนวนทุนทรัพย์ของคดี จะคำนวณจากจำนวนเงินของค่าเสียหายแต่ละประเภทตามที่กล่าวไว้ในข้อ 2.2) ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ (ฐานะโจทก์) ประสงค์จะเรียกร้องจากผู้ทำละเมิดลิขสิทธิ์ (จำเลย) บวกกับดอกเบี้ยนับแต่วันทำละเมิดจนถึงวันฟ้องในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี
3. ดำเนินการยื่นฟ้อง
ในวันที่เจ้าของลิขสิทธิ์ (โจทก์) ยื่นฟ้องผู้ละเมิดลิขสิทธิ์เป็นจำเลยต่อศาล เจ้าของลิขสิทธิ์
(โจทก์)ต้องวางค่าธรรมเนียมต่อศาลในอัตราร้อยละ 2.5 ของจำนวนทุนทรัพย์ตามที่คำนวณได้ในข้อ 2.3)
แต่ไม่เกิน 200,000 บาท โดยทำแคชเชียร์เช็คสั่งจ่ายให้กับ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง
หมายเหตุ ค่าธรรมเนียมศาลที่โจทก์วางเป็นค่าขึ้นศาลสำหรับการฟ้องคดีนั้น หากท้ายสุด โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดี (แม้จะชนะเป็นบางส่วน คือได้ค่าเสียหายแต่ละประเภทไม่เต็มตามฟ้องก็ตาม) ตามปกติศาลก็จะมีคำสั่งให้จำเลยชดใช้ค่าธรรมเนียมในส่วนของค่าขึ้นศาลดังกล่าวให้กับโจทก์เต็มจำนวน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 161 แต่ถ้าศาลมีคำสั่งให้จำเลยชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมให้แก่โจทก์เพียงบางส่วนหรือสั่งให้เป็นพับ (ไม่ต้องใช้แทนเลย) กรณีนี้โจทก์มีสิทธิที่จะยื่นอุทธรณ์หรือฏีกาในประเด็นเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 168
การฟ้องคดีละเมิดลิขสิทธิ์ในทางแพ่ง พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 63 บัญญัติห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนด 3 ปี นับแต่วันที่เจ้าของลิขสิทธิ์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้กระทำละเมิด
แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์
4. ขั้นตอนภายหลังการยื่นฟ้องคดี
เมื่อศาลรับคำฟ้องของโจทก์ไว้แล้ว ขั้นตอนต่อไปมีดังนี้
4.1) ศาลจะออกหมายเรียกให้จำเลยยื่นคำให้การต่อศาลภายใน 15 วันนับแต่จำเลยได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง หรือภายใน 30 วันนักแต่วันปิดหมาย
4.2) นัดชี้สองสถานหรือนัดพร้อมเพื่อกำหนดประเด็นพิพาทและแนวทางการดำเนินกระบวนพิจารณา
4.3) นัดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลย
4.4) นัดฟังคำพิพากษา
5. อุทธรณ์
เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มีคำพิพากษาแล้ว คู่ความสามารถอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ ไปยังศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาฯ ได้โดยตรงภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่ศาลได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่ง (คำพิพากษา/คำสั่งของศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาฯ ถือเป็นที่สุด)
เครดิต เดบิต เอทีเอ็ม ...
เกศรินทร์ แตงโสภา (ทนายความ)
www.fpmconsultant.com
e-mail : iamkate@fpmconsultant.com
แสดงความคิดเห็น
ASTV ผู้จัดการสุดสัปดาห์ เอางานของผมไปใช้ลงปก แบบไม่ขออนุญาต
มาอัพเดทเรื่องปัญหากับทางASTVสุดสัปดาห์ครับ
เมื่อวันศุกร์ไปคุยมารอบนึงแล้วก็มีข้อเสนอมา แล้วก็มีการต่อรองกัน
แล้ววันนี้ก็เพิ่งไปคุยกันอีกครั้งก็ตกลงกันได้แล้วครับ
โดยทางASTVก็ยอมรับผิดทุกอย่างแล้วก็ลงขอโทษให้ในฉบับปัจจุบันแล้ว
ส่วนค่าเสียหายก็ได้ชดใช้ให้เป็นทั้งเงินสดและพื้นที่สื่อใน manager online
รวมมูลค่าแล้วประมาณแสนกว่าบาท (ครอบครัวผมทำธุรกิจเกี่ยวกับสื่ออยู่ครับ
ดังนั้นพื้นที่สื่อของ manager online ก็สามารถเอาไปเปลี่ยนเป็นเงินได้)
ผมคิดว่าเป็นราคาที่พอใจแล้ว เพราะถ้าอยากได้มากกว่านี้ก็อาจจะต้องไปเป็นคดีความ
ซึ่งช่วงนี้ผมก็มีงานทำหลายอย่าง ถ้าจะเอาเวลาจากการทำงานไปขึ้นศาลและเอาเงินไปจ้างทนาย
อาจจะไม่คุ้มเท่าไหร่ครับ (ผมขี้เกียจด้วย)
ขอบคุณทุกคนที่สนใจ ติดตามแล้วก็ช่วยแชร์นะครับ
หลังจากนี้ก็จะทำงานออกมาเรื่อยๆเหมือนเดิมครับ
---------------------------------------------------------------
อัพเดตความคืบหน้าล่าสุดครับ 21.10.2557
เมื่อคืนนี้ตอนประมาณตีหนึ่ง บก.ของนิตยสาร mars (ซึ่งเป็นเครือเดียวกันกับผู้จัดการ)
ได้ส่งไลน์มานัดไปคุยกับผู้บริหารที่ออฟฟิศของเค้าวันศุกร์นี้ตอนสิบโมงครับ
พร้อมบอกจะลงขอโทษให้ในบทบรรณาธิการของ ASTVสุดสัปดาห์ ฉบับถัดไป(ทางนั้นอยากลงเอง)
ซึ่งเป็นความรับผิดชอบเบื้องต้น ส่วนความรับผิดชอบอื่นๆ ให้ไปเจรจากันวันศุกร์นี้ครับ
ขอบคุณครับ
----------------------------------------------------------------------------------------------
อัพเดตความคืบหน้านะครับ
เมื่อเวลา 19.40 ทางนั้นส่งอีเมล์มาขอโทษครับ
พอโทรไปตามเบอร์ที่ให้มาก็บอกให้ไปคุยกันที่สำนักพิมพ์ ที่บ้านพระอาทิตย์วันพรุ่งนี้ครับ
แต่เนื่องจากผมไม่สะดวก เลยเลื่อนนัดเป็นวันศุกร์ที่คอนโดผมแถวๆสาทรแทนครับ
ถ้าคุยกันแล้วได้หรือไม่ได้อะไรยังไง แล้วจะเอายังไงต่อ เดี๋ยวจะมาบอกอีกทีครับ
ขอบคุณทุกคนที่สนใจและช่วยให้คำแนะนำครับ
----------------------------------------------------------------------------------------------
สวัสดีครับ ผมเป็นนักวาดรูปพิกเซล เป็นคนทำเพจ neuroopmok นะครับ
วันพุธที่ผ่านมาผมได้วาดรูปพี่บัวขาวทำท่า L-O-V-E ลงในเพจ ตามนี้ครับ
https://www.facebook.com/pageneuroopmok/photos/a.482110595189365.1073741826.477072725693152/723184827748606/?type=1&theater
แล้วเมื่อวานเพื่อนผมไปเห็น ASTV รายสัปดาห์ในเซเว่น ว่าปกเป็นรูปงานของผมครับ
ก็เลยเดินไปดูให้เห็นกับตาซะหน่อย เห็นว่าใช่แน่นอนก็เลยอุดหนุนซื้อมาเล่มนึงครับ
ก็เลยสงสัยว่ามันไม่ผิดกฎหมายเหรอครับ ที่เอางานของผมมาลงในปก แล้ววางขายทั่วประเทศเลย
(คือผมค่อนข้างมั่นใจว่าผิด แต่ทำไมเค้ากล้าทำ)
จะอ้างว่าไม่รู้ก็คงไม่น่าเชื่อครับ เป็นถึงสื่อใหญ่ มีชื่อเสียงระดับประเทศขนาดนี้
ผมสามารถเรียกร้อง หรือฟ้องร้องอะไรได้บ้างหรือเปล่าครับ
แล้วเค้าจะสามารถรับผิดชอบอะไรให้ผมได้บ้าง
ขอบคุณมากครับ