''I will practice believing my husband loves me but I could be wrong.''
-Amy Dunne
Gone Girl (2014)
คำว่า “หลงรักเมื่อแรกพบ” บางครั้งอาจไม่จำกัดการใช้แค่เพียงคนที่เรารักเท่านั้น แต่ยังสามารถสื่อความไปถึงสิ่งใดก็ตามที่เราพบเจอ ภาพยนตร์ก็ไม่ต่างกัน ครั้งแรกที่ได้รู้จักกับหนังเรื่อง Gone Girl นั้นมันเป็นความประทับใจจากภาพนิ่ง บนหน้าปกนิตยาสารภาพยนตร์ ซึ่งเป็นรูปของ คู่หนุ่มสาวกอดกันในวันแต่งงาน ทั้งคู่แลดูมีความสุข แต่ไฉน กลับมีรอยร้าวขนาดใหญ่อยู่ที่ใบหน้าของเจ้าสาว มันเป็นความย้อนแย้งกัน ระหว่างความสุขกับความแตกร้าว ที่ถูกนำเสนอออกมาในรูปแบบของภาพนิ่งที่ดึงดูดผมเป็นอย่างยิ่ง ผมก็ไม่รอช้า เริ่มเข้าไปทำความรู้จักกับหนังเรื่องนี้อย่างทันทีทันใด
Gone Girl เป็นภาพยนตร์ที่ดัดแปลงมาจากนวนิยายชื่อดังแต่งโดย นักเขียนสาวสวยอย่าง กิลเลียน ฟลิน โดยหนังสือใช้ชื่อว่า Gone Girl เหมือนกับที่ภาพยนตร์ใช้ เนื้อเรื่องของ Gone Girl เดินเรื่องผ่านตัวละครหลักสองตัว ซึ่งเป็นคู่รักกันอย่าง Nick Dunne(Ben Affleck) และ Amy Dunne (Rosamund Pike) ทั้งสองแต่งงานและใช้ชีวิตร่วมกันได้ห้าปี โดยแต่ละปีเมื่อถึงวันครบรอบการแต่งงาน พวกเขาจะเล่นเกมส์ทายปริศนา หาสมบัติที่ต่างฝ่ายต่างเป็นทั้งคนทายปริศนาและตั้งปริศนา ส่วนรางวัลนั้นก็แตกต่างต่างกันไปในแต่ละปี แต่สิ่งที่เหมือนกันทุกปีก็คงจะเป็นเซ็กอันเร่าร้อนในสถานที่นั้นๆ อาจเพื่อเป็นการเติมเชื้อไฟในการใช้ชีวิตคู่ที่ดูจะลดเลือนเมื่อเวลาเลยผ่านไป แต่เมื่อถึงวันที่พวกเขาแต่งงานกันครบรอบห้าปี นิคที่เพิ่งกลับมาถึงบ้าน เขาได้พบร่องรอยการต่อสู้ในบ้านของตนเอง และที่เลวร้ายไปกว่านั้น เอมี่ ภรรยาสุดสวยของเขาได้หายตัวไป การสืบสวนค้นหาเริ่มขึ้นและจากการแสดงออกที่ดูไม่ค่อยแยแสและเสียใจกับสถานการณ์กับเท่าไหร่ของนิค ทำให้เขาถูกสงสัยว่าเป็นคนที่ปลิดชีวิตเอมี่และนำศพของเธอไปอำพราง นิคต้องทำทุกวิถีทางในการควานหาตัวเอมี่ เพื่อมาพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนเอง พล็อตเรื่องคร่าวๆดูจะเป็น Triller สืบสวน สอบสวนหาความจริง บวกกับการที่ได้ผู้กำกับชื่อดังอย่าง David Fincher ซึ่งฝากผลงานที่ขึ้นหิ้งมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นหนังแนวจิตวิทยา ที่เล่นกับจิตใจมนุษย์อย่าง Fight Club(1999) และ Se7en หรือจะเป็นหนังดราม่า เนื้อหาน่าติดตามอย่าง The Curious Case of Benjamin Button ตอนที่ผมรู้ครั้งแรกนั้นก็ยังแปลกใจอยู่ว่าทำไมผู้กำกับท่านนี้ถึงเลือกที่จะถ่ายทอดเรื่องราวของการตามหาภรรยายผู้สูญหาย แต่เมื่อได้ไปดูGone Girlมาก็เข้าใจทันที เพราะหนังเรื่องนี้ มันไม่ใช่แค่ Thriller สืบสวน สอบสวนเท่านั้น มันยังเต็มไปด้วยประเด็นการเสียดสีสังคม ที่เคยพบเห็นกันมาแล้ว ใน Fight Club บวกกับสิ่งที่ไม่คาดคิดว่าจะเจออย่างมุกตลกร้ายที่พบเจออยู่เรื่อยๆ มันคอยส่งเสริมเนื้อเรื่องได้ดีเลยทีเดียว โดยประเด็นที่สำคัญที่ Gone Girl แสดงให้เห็นเป็นเรื่องของความสัมพันธ์สองประเภท อย่างแรกคงหนีไม่พ้นความสันพันธ์ของคู่สามี ภรรยา
ในช่วงแรกของ Gone Girl นั้นเต็มไปด้วยความน่าสนใจ และปริศนาเต็มไปหมด แต่สิ่งนั้นกลับไม่ใช่ประเด็นสำคัญ ประเด็นสำคัญก็คือการที่สะท้อนการใข้ชีวิตคู่ของคนสองคน ซึ่งหนังช่วงนี้ได้ถ่ายทอดออกมาในสองแง่ ทั้งจากไดอารี่ที่เขียนโดยเอมี และ ฉากปัจจุบัน จากคำพูดโดยรวมของนิค พวกเขานั้นตกหลุมรักกันเมื่อแรกพบ เพราะว่านิคนั้นมีคารมและหน้าตาที่ไม่เป็นรองใคร บวกกับเอมี่ ที่เป็นหญิงสาวที่สวย และมีความมั่นใจสูง แลดูมีเสน่ห์ ซึ่งถ้าดูจากภายนอกแล้วเธอไร้ที่ติเป็นอย่างยิ่ง อยู่มาวันหนึ่ง พวกเขาทั้งสองตกลงที่จะแต่งงานกัน และนั่นก็คงเป็นวันที่ผิดพลาดที่สุดในชีวิตของพวกเขา ความรักแรกเริ่มมันช่างหวานชื่นงดงามเพราะว่าพวกเขาถูกอารมณ์ตัณหา ณ ขณะนั้น บังคับให้พวกเขาใส่หน้ากากปิดบังจุดด้อยของตนเอง เมื่อคนใส่หน้ากากสองคนมาทำความรู้จักและที่สำคัญคือมารักกัน นั่นก็คงทำให้พวกเขาสองคนมีช่วงเวลาที่ดีที่สุดในชีวิตของพวกเขา แต่นั่นไม่ใช่การแต่งงาน เมื่อทั้งสองต้องมาใช้ชีวิตร่วมกัน มาเจอปัญหาด้วยกัน และที่สำคัญคือต้องฝ่าปัญหาต่างๆไปด้วยกัน ความเบื่อหน่ายซึ่งกันและกันย่อมตามมา การโกหกปิดบังกันก็ย่อมตามมา เมื่อถึงเวลานั้น พวกเขาพร้อมที่จะถอดหน้ากากที่ใช้ปิดบังจุดด้อยของตนเอง และใส่หน้ากากแห่งการโกหกเพื่อปกปิดความลับซึ่งกันและกันเข้ามาแทน ถ้าคุณได้เคยดูเรื่อง Blue Valentine มาก่อนจะพอเห็นภาพได้ว่าความเหนื่อยหน่ายในชีวิตคู่นั้นมันน่ากลัวยังไง แต่สำหรับ Gone Girl นั้น กลับน่ากลัวกว่าเพราะทุกอย่างที่ทั้งคู่มีกันนั้นมันไม่ใช่แค่เพียงความเบื่อหน่ายเท่านั้น มันยังเต็มไปด้วยคำพูดโป้ปดและความหวาดระแวงต่อกัน พวกเขาไม่รู้จักกันเลยด้วยซ้ำว่าต่างฝ่ายต่างเป็นคนอย่างไร มีเพื่อนบ้าน รู้จักใครไหม วันๆทำอะไร ทั้งๆที่พวกเขาแต่งงานกันมาได้ห้าปีแล้ว โดยเฉพาะฉากที่ตำรวจถามถึงข้อมูลต่างๆของเอมี่จาก นิค แต่นิคไม่สามารถตอบอะไรได้เลย เพราะเขาไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับเอมี นั่นก็เป็นหนึ่งในหลายๆฉากที่เสียดสีถึงการเมินเฉยต่อคู่ภรรยาได้ดีเหลือเกิน ปัญหาประเด็นนี้ก่อเกิดปัญหาที่ใหญ่กว่าตามมามากมายทั้งๆที่ต้นเหตุมันเริ่มมาจากสิ่งเล็กๆที่เราเรียกว่าความรักนั่นเอง อย่างที่ได้กล่าวไป มันเริ่มมาจากอารมณ์ ความรักของคนสองคน แต่สุดท้ายอาจก่อเกิดปัญหาทางสังคมขึ้นมาได้ ไม่ว่าจะเป็นการ หย่าร้าง ปัญหาอาชญากรรมในครัวเรือน ปัญหาเยาวชนขาดการดูแล และอีกหลายๆอย่าง
ผลงานของFincher ที่มีอิทธิพลต่อชีวิตของผมมาตลอดคงต้องยกให้ Fight Club ที่ดูจบแล้วแทบจะไม่อยากใช้เงินซื้อจ่ายของฟุ่มเฟือยอีกต่อไป อาจเพราะว่ากลัวพี่ไทเลอร์ซัดเข้าที่ใบหน้า มาคราวนี้เขากลับทำได้อีกครั้งกับ Gone Girl ที่สร้างอิทธิพลในชีวิตผมอย่างเต็มๆในด้านการเสพสื่อ ไม่ว่าจะเป็นการดูข่าวหรือข้อความบนโลกออนไลน์ มันทำให้ผมย้อนคิดกลับไปหาตัวเองว่า ‘สื่อที่เราเสพอยู่ทุกวันนี้ มันเปิดโลกเราให้กว้างขึ้นแบบที่เราเคยเข้าใจหรือว่ามันตอกย้ำและยัดเยียดข้อมูลให้โลกของเรากลับแคบมากกว่าเดิม’ เหตุผลที่ผมยกให้ Gone Girl เป็นหนังเรื่องโปรด มันกลับไม่ใช่เพราะว่าประเด็นด้านสถาบันครอบครัวแต่อย่างใดแต่จะมีหนังซักกี่เรื่องที่จะยกนำประเด็นเรื่องจรรยาบรรณและการทำงานของสื่อมาเสียดสีออกหน้าจอได้อย่างเจ็บแสบเพียงนี้ และที่เจ็บไปกว่านั้นก็คงเป็นเรื่องของพฤติกรรมของผู้รับสื่อที่ขาดการคิดวิเคราะห์และปล่อยความคิดของเขาให้ถูกโยกตามคำพูดของใครก็ตามที่ไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามันคือข้อเท็จจริงหรือไม่ เคยดูรายการข่าวที่นำผู้ที่ขัดแย้งกันสองฝั่งมานั่งคุยกันไหมครับ คุณจะเห็นว่าถึงแม้พวกเขานั่งคุยกัน แต่คำพูดกลับขัดแย้งกันโดยสิ้นเชิง ปัญหาก็คง ที่ว่า “ใครล่ะที่พูดความจริง”
“ใครล่ะที่พูดความจริง”
คุณใช้อะไรตัดสินคำถามนี้ ความคิดวิเคราะห์ที่คุณมี หรือว่า อคติที่อาจเกิดมาจากปัจจัยภายนอก ถ้าเป็นอย่างหลัง คำตอบที่คุณได้มันคงเป็นคำตอบที่คุณอยากให้เป็นแต่มันไม่จำเป็นต้องเป็นคำตอบที่ถูกต้องเสมอไป
-Gone Girl (2014)
บทความผ่านแผ่นฟิล์ม
ติดตามผลงานของอื่นๆของผมได้ครับผ่านช่องทางนี้
https://www.facebook.com/pages/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%9F%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B9%8C%E0%B8%A1/680159158772066?ref=hl
<Gone Girl> หนังเรื่องนี้มีอิทธิพลต่อผมยิ่งนัก
-Amy Dunne
Gone Girl (2014)
คำว่า “หลงรักเมื่อแรกพบ” บางครั้งอาจไม่จำกัดการใช้แค่เพียงคนที่เรารักเท่านั้น แต่ยังสามารถสื่อความไปถึงสิ่งใดก็ตามที่เราพบเจอ ภาพยนตร์ก็ไม่ต่างกัน ครั้งแรกที่ได้รู้จักกับหนังเรื่อง Gone Girl นั้นมันเป็นความประทับใจจากภาพนิ่ง บนหน้าปกนิตยาสารภาพยนตร์ ซึ่งเป็นรูปของ คู่หนุ่มสาวกอดกันในวันแต่งงาน ทั้งคู่แลดูมีความสุข แต่ไฉน กลับมีรอยร้าวขนาดใหญ่อยู่ที่ใบหน้าของเจ้าสาว มันเป็นความย้อนแย้งกัน ระหว่างความสุขกับความแตกร้าว ที่ถูกนำเสนอออกมาในรูปแบบของภาพนิ่งที่ดึงดูดผมเป็นอย่างยิ่ง ผมก็ไม่รอช้า เริ่มเข้าไปทำความรู้จักกับหนังเรื่องนี้อย่างทันทีทันใด
Gone Girl เป็นภาพยนตร์ที่ดัดแปลงมาจากนวนิยายชื่อดังแต่งโดย นักเขียนสาวสวยอย่าง กิลเลียน ฟลิน โดยหนังสือใช้ชื่อว่า Gone Girl เหมือนกับที่ภาพยนตร์ใช้ เนื้อเรื่องของ Gone Girl เดินเรื่องผ่านตัวละครหลักสองตัว ซึ่งเป็นคู่รักกันอย่าง Nick Dunne(Ben Affleck) และ Amy Dunne (Rosamund Pike) ทั้งสองแต่งงานและใช้ชีวิตร่วมกันได้ห้าปี โดยแต่ละปีเมื่อถึงวันครบรอบการแต่งงาน พวกเขาจะเล่นเกมส์ทายปริศนา หาสมบัติที่ต่างฝ่ายต่างเป็นทั้งคนทายปริศนาและตั้งปริศนา ส่วนรางวัลนั้นก็แตกต่างต่างกันไปในแต่ละปี แต่สิ่งที่เหมือนกันทุกปีก็คงจะเป็นเซ็กอันเร่าร้อนในสถานที่นั้นๆ อาจเพื่อเป็นการเติมเชื้อไฟในการใช้ชีวิตคู่ที่ดูจะลดเลือนเมื่อเวลาเลยผ่านไป แต่เมื่อถึงวันที่พวกเขาแต่งงานกันครบรอบห้าปี นิคที่เพิ่งกลับมาถึงบ้าน เขาได้พบร่องรอยการต่อสู้ในบ้านของตนเอง และที่เลวร้ายไปกว่านั้น เอมี่ ภรรยาสุดสวยของเขาได้หายตัวไป การสืบสวนค้นหาเริ่มขึ้นและจากการแสดงออกที่ดูไม่ค่อยแยแสและเสียใจกับสถานการณ์กับเท่าไหร่ของนิค ทำให้เขาถูกสงสัยว่าเป็นคนที่ปลิดชีวิตเอมี่และนำศพของเธอไปอำพราง นิคต้องทำทุกวิถีทางในการควานหาตัวเอมี่ เพื่อมาพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนเอง พล็อตเรื่องคร่าวๆดูจะเป็น Triller สืบสวน สอบสวนหาความจริง บวกกับการที่ได้ผู้กำกับชื่อดังอย่าง David Fincher ซึ่งฝากผลงานที่ขึ้นหิ้งมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นหนังแนวจิตวิทยา ที่เล่นกับจิตใจมนุษย์อย่าง Fight Club(1999) และ Se7en หรือจะเป็นหนังดราม่า เนื้อหาน่าติดตามอย่าง The Curious Case of Benjamin Button ตอนที่ผมรู้ครั้งแรกนั้นก็ยังแปลกใจอยู่ว่าทำไมผู้กำกับท่านนี้ถึงเลือกที่จะถ่ายทอดเรื่องราวของการตามหาภรรยายผู้สูญหาย แต่เมื่อได้ไปดูGone Girlมาก็เข้าใจทันที เพราะหนังเรื่องนี้ มันไม่ใช่แค่ Thriller สืบสวน สอบสวนเท่านั้น มันยังเต็มไปด้วยประเด็นการเสียดสีสังคม ที่เคยพบเห็นกันมาแล้ว ใน Fight Club บวกกับสิ่งที่ไม่คาดคิดว่าจะเจออย่างมุกตลกร้ายที่พบเจออยู่เรื่อยๆ มันคอยส่งเสริมเนื้อเรื่องได้ดีเลยทีเดียว โดยประเด็นที่สำคัญที่ Gone Girl แสดงให้เห็นเป็นเรื่องของความสัมพันธ์สองประเภท อย่างแรกคงหนีไม่พ้นความสันพันธ์ของคู่สามี ภรรยา
ในช่วงแรกของ Gone Girl นั้นเต็มไปด้วยความน่าสนใจ และปริศนาเต็มไปหมด แต่สิ่งนั้นกลับไม่ใช่ประเด็นสำคัญ ประเด็นสำคัญก็คือการที่สะท้อนการใข้ชีวิตคู่ของคนสองคน ซึ่งหนังช่วงนี้ได้ถ่ายทอดออกมาในสองแง่ ทั้งจากไดอารี่ที่เขียนโดยเอมี และ ฉากปัจจุบัน จากคำพูดโดยรวมของนิค พวกเขานั้นตกหลุมรักกันเมื่อแรกพบ เพราะว่านิคนั้นมีคารมและหน้าตาที่ไม่เป็นรองใคร บวกกับเอมี่ ที่เป็นหญิงสาวที่สวย และมีความมั่นใจสูง แลดูมีเสน่ห์ ซึ่งถ้าดูจากภายนอกแล้วเธอไร้ที่ติเป็นอย่างยิ่ง อยู่มาวันหนึ่ง พวกเขาทั้งสองตกลงที่จะแต่งงานกัน และนั่นก็คงเป็นวันที่ผิดพลาดที่สุดในชีวิตของพวกเขา ความรักแรกเริ่มมันช่างหวานชื่นงดงามเพราะว่าพวกเขาถูกอารมณ์ตัณหา ณ ขณะนั้น บังคับให้พวกเขาใส่หน้ากากปิดบังจุดด้อยของตนเอง เมื่อคนใส่หน้ากากสองคนมาทำความรู้จักและที่สำคัญคือมารักกัน นั่นก็คงทำให้พวกเขาสองคนมีช่วงเวลาที่ดีที่สุดในชีวิตของพวกเขา แต่นั่นไม่ใช่การแต่งงาน เมื่อทั้งสองต้องมาใช้ชีวิตร่วมกัน มาเจอปัญหาด้วยกัน และที่สำคัญคือต้องฝ่าปัญหาต่างๆไปด้วยกัน ความเบื่อหน่ายซึ่งกันและกันย่อมตามมา การโกหกปิดบังกันก็ย่อมตามมา เมื่อถึงเวลานั้น พวกเขาพร้อมที่จะถอดหน้ากากที่ใช้ปิดบังจุดด้อยของตนเอง และใส่หน้ากากแห่งการโกหกเพื่อปกปิดความลับซึ่งกันและกันเข้ามาแทน ถ้าคุณได้เคยดูเรื่อง Blue Valentine มาก่อนจะพอเห็นภาพได้ว่าความเหนื่อยหน่ายในชีวิตคู่นั้นมันน่ากลัวยังไง แต่สำหรับ Gone Girl นั้น กลับน่ากลัวกว่าเพราะทุกอย่างที่ทั้งคู่มีกันนั้นมันไม่ใช่แค่เพียงความเบื่อหน่ายเท่านั้น มันยังเต็มไปด้วยคำพูดโป้ปดและความหวาดระแวงต่อกัน พวกเขาไม่รู้จักกันเลยด้วยซ้ำว่าต่างฝ่ายต่างเป็นคนอย่างไร มีเพื่อนบ้าน รู้จักใครไหม วันๆทำอะไร ทั้งๆที่พวกเขาแต่งงานกันมาได้ห้าปีแล้ว โดยเฉพาะฉากที่ตำรวจถามถึงข้อมูลต่างๆของเอมี่จาก นิค แต่นิคไม่สามารถตอบอะไรได้เลย เพราะเขาไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับเอมี นั่นก็เป็นหนึ่งในหลายๆฉากที่เสียดสีถึงการเมินเฉยต่อคู่ภรรยาได้ดีเหลือเกิน ปัญหาประเด็นนี้ก่อเกิดปัญหาที่ใหญ่กว่าตามมามากมายทั้งๆที่ต้นเหตุมันเริ่มมาจากสิ่งเล็กๆที่เราเรียกว่าความรักนั่นเอง อย่างที่ได้กล่าวไป มันเริ่มมาจากอารมณ์ ความรักของคนสองคน แต่สุดท้ายอาจก่อเกิดปัญหาทางสังคมขึ้นมาได้ ไม่ว่าจะเป็นการ หย่าร้าง ปัญหาอาชญากรรมในครัวเรือน ปัญหาเยาวชนขาดการดูแล และอีกหลายๆอย่าง
ผลงานของFincher ที่มีอิทธิพลต่อชีวิตของผมมาตลอดคงต้องยกให้ Fight Club ที่ดูจบแล้วแทบจะไม่อยากใช้เงินซื้อจ่ายของฟุ่มเฟือยอีกต่อไป อาจเพราะว่ากลัวพี่ไทเลอร์ซัดเข้าที่ใบหน้า มาคราวนี้เขากลับทำได้อีกครั้งกับ Gone Girl ที่สร้างอิทธิพลในชีวิตผมอย่างเต็มๆในด้านการเสพสื่อ ไม่ว่าจะเป็นการดูข่าวหรือข้อความบนโลกออนไลน์ มันทำให้ผมย้อนคิดกลับไปหาตัวเองว่า ‘สื่อที่เราเสพอยู่ทุกวันนี้ มันเปิดโลกเราให้กว้างขึ้นแบบที่เราเคยเข้าใจหรือว่ามันตอกย้ำและยัดเยียดข้อมูลให้โลกของเรากลับแคบมากกว่าเดิม’ เหตุผลที่ผมยกให้ Gone Girl เป็นหนังเรื่องโปรด มันกลับไม่ใช่เพราะว่าประเด็นด้านสถาบันครอบครัวแต่อย่างใดแต่จะมีหนังซักกี่เรื่องที่จะยกนำประเด็นเรื่องจรรยาบรรณและการทำงานของสื่อมาเสียดสีออกหน้าจอได้อย่างเจ็บแสบเพียงนี้ และที่เจ็บไปกว่านั้นก็คงเป็นเรื่องของพฤติกรรมของผู้รับสื่อที่ขาดการคิดวิเคราะห์และปล่อยความคิดของเขาให้ถูกโยกตามคำพูดของใครก็ตามที่ไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามันคือข้อเท็จจริงหรือไม่ เคยดูรายการข่าวที่นำผู้ที่ขัดแย้งกันสองฝั่งมานั่งคุยกันไหมครับ คุณจะเห็นว่าถึงแม้พวกเขานั่งคุยกัน แต่คำพูดกลับขัดแย้งกันโดยสิ้นเชิง ปัญหาก็คง ที่ว่า “ใครล่ะที่พูดความจริง”
“ใครล่ะที่พูดความจริง”
คุณใช้อะไรตัดสินคำถามนี้ ความคิดวิเคราะห์ที่คุณมี หรือว่า อคติที่อาจเกิดมาจากปัจจัยภายนอก ถ้าเป็นอย่างหลัง คำตอบที่คุณได้มันคงเป็นคำตอบที่คุณอยากให้เป็นแต่มันไม่จำเป็นต้องเป็นคำตอบที่ถูกต้องเสมอไป
-Gone Girl (2014)
บทความผ่านแผ่นฟิล์ม
ติดตามผลงานของอื่นๆของผมได้ครับผ่านช่องทางนี้ https://www.facebook.com/pages/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%9F%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B9%8C%E0%B8%A1/680159158772066?ref=hl