ถึงวันที่ 20 ตุลาคม ซึ่งเป็นวันแรกที่มีการใช้คูปองทีวีดิจิตอลอย่างเป็นทางการ วันนี้ผมก็จะมาแนะนำเรื่องของการ "ซื้อชุดทีวีดิจิตอลอย่างไรให้คุ้มค่าคุ้มราคา"
ทำไมผมต้องพูดว่า "ชุดทีวีดิจิตอล" ทำไมไม่เรียกว่า "กล่องทีวีดิจิตอล" เพราะหลายท่านคงไม่ได้ซื้อกล่อง Set Top Box เพียงอย่างเดียว มันจะต้องมี "เสาอากาศ" ตามมาด้วย หรือบางท่านก็ไม่ได้ซื้อกล่อง แต่ไปซื้อทีวีที่มีจูนเนอร์ในตัวครับ
ตอนนี้ผมขอเสนอเป็นตอนแรก "อยากจะซื้อกล่อง มองให้รอบคอบ" ก่อนนะครับ
ตอนที่ 1 อยากจะซื้อกล่อง มองให้รอบคอบ
กล่อง Set Top Box ราคา 690 บาท ใช่ว่าจะเอาไปใช้ได้ทุกกล่องนะครับ เพราะบางกล่องอาจเป็นกล่องที่ดูได้อย่างเดียว แต่คุณภาพแทบจะหาไม่ได้ จนเกือบจะเป็นที่ทับกระดาษแทนไปซะแล้ว... จึงขอฝากให้ดูที่คุณสมบัติต่างๆ ตามที่ผมกล่าวมาดังนี้จ้าาา
(1) ฟังก์ชั่นของกล่อง หลายกล่อง หลายยี่ห้อ หลายรุ่น ก็มีฟังก์ชั่นที่แตกต่างกันไป อย่างกล่องยี่ห้อนี้อาจมีฟังก์ชั่นเพิ่มเติมแบบนี้ กล่องนั้นอาจมีฟังก์ชั่นเพิ่มเติมแบบโน้น แต่สิ่งพื้นฐานจริงๆ ที่ควรจะมีก็คือ:-
------1 รองรับระบบ HD 1080 อันนี้เป็นพื้นฐานสุดๆ ที่กล่องทีวีดิจิตอลทุกกล่องต้องมี
------2 มีช่อง AV 3 สี สำหรับทีวีรุ่นเก่าที่ไม่ได้รองรับทีวีดิจิตอล
------3 มีช่อง HDMI อันนี้สำหรับจอมอนิเตอร์ หรือทีวีจอแบนที่ไม่ได้มีจูนเนอร์ในตัว
------4 ช่อง USB สำหรับอัพเกรดโปรแกรม เล่นไฟล์ และอัดรายการ (และนอกจากนี้ ถ้าเล่นไฟล์ได้หลากหลาย กล่องนั้นก็จะได้เปรียนทันทีครับ)
------5 การจ่ายกระแสไฟให้สายอากาศ อันนี้ไม่ต้องถามครับ ทุกกล่องที่ผ่าน กสทช. มีอยู่แล้ว
5 อย่างนี้ถ้าขาดอย่างใดอย่างหนึ่งเนี่ย... กล่องนี้ขายไม่ออกชัวร์ป้าบแน่นอนฮะ สอบตกค่ะ 555555
หมายเหตุ: ช่อง Loop Out (หรือที่เขียนว่า Ant. Out) อันนี้จะใช้ได้ก็ต่อเมื่อ 1.จอที่ดูเป็นจอทีวีอนาล็อก 2.ท่านอยากดูช่องอนาล็อกช่องนั้นจริงๆ แต่บังเอิญว่าช่องนั้นดันไม่ได้ออกอากาศดิจิตอลในพื้นที่นั้นๆ (ThaiPBS และช่อง 3 ใช้โครงข่ายของ ThaiPBS ช่อง 5 และช่อง 7 ใช้โครงข่ายของ ททบ.5 ช่อง 9 และ NBT SD ใช้โครงข่ายของช่อง 9)
ส่วนฟังก์ชั่นเพิ่มเติมที่ควรจะมีสำหรับการใช้งานในอนาคต อันนี้ใครอยากมี หรือไม่มี ก็ตามใจท่านละกันนะคะ (แต่อาจต้องเพิ่มเงินด้วยนะฮะ แล้วแต่ว่ากล่องนั้นจะราคาเท่าไหร่) อิอิ
------1 ช่อง Coaxial อันนี้สำหรับระบบเสียง Dolby โดยเฉพาะ ถ้าท่านใดอยากฟังเสียงแบบเต็มๆ (เหมือนไทยรัฐทีวีเค้าทำอยู่) ก็เอามาต่อกับเครื่องเสียงได้เลยครับ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น กล่องนั้นจะต้องมีโปรแกรมถอดรหัสเสียง Dolby ลิขสิทธิ์แท้ก่อนนะครับถึงจะเอาไปใช้ได้
------2 ปุ่มหน้ากล่อง อันนี้ก็เพิ่มเติมขึ้นมาสำหรับท่านใดที่ขี้เกียจกดรีโมท หรือหารีโมทไม่เจอ อันนี้กล่องใดมีจุดนี้ถือว่าได้เปรียบเลยทีเดียวครับผม
------3 เลขช่องหน้ากล่อง ไว้ดูว่าตอนนี้เราเปิดช่องอะไรอยู่ อาจมีหรือไม่มีก็ได้แล้วแต่ศรัทธา แต่ที่สำคัญ ไฟสถานะอย่าให้เสียเด็ดขาด ไม่งั้นกล่องนี้จะไม่รู้เลยนะครับว่าเปิดกล่องอยู่หรือปิดกล่องไปแล้ว เจ๊งเลยค่ะงานนี้
------4 ความไวในการเปลี่ยนช่อง มีท่านหนึ่งในพันทิปกล่าวว่า "ถ้าอยากจะดูความเร็วในการเปลี่ยนช่อง ให้เปลี่ยนช่องไปช่องใดก็ได้ที่อยู่คนละ MUX" ถ้ากล่องนั้นเปลี่ยนช่องระหว่าง MUX แล้วมันแสดงผลไว นั่นคือว่ากล่องนั้นเปลี่ยนช่องไว แต่ถ้าเกิดอาการหน่วง แสดงว่ากล่องนั้นกลายเป็นจุดด้อยอย่างหนึ่งเลยครับผม
------5 รูปลักษณ์หน้าตาโปรแกรมในกล่อง (UI) หน้าตาไหนดี ฟอนต์สวย ได้เปรียบเลยครับ เพราะหน้าตาโปรแกรมก็สำคัญใช่ย่อยเหมือนกัน (เห็นกล่องทีมีโปรแกรมสวยก็ไม่กี่กล่อง หลายกล่องเหมือนมาจากจีนแดงยังไงไม่รู้ เอิ่มมมมมมมมม)
(2) ความทนทาน อันนี้ก็สำคัญไม่แพ้กัน หลายกล่องอาจทำด้วยวัสดุที่ไม่ค่อยทนทาน อาจทำให้วงจรข้างในเสียหายได้ ดังนั้นยังไงก็ดูก่อนว่ากล่องนั้นทนทานหรือไม่ เอาแค่เรื่องกล่องหล่นก็พอครับ เรื่องทนไฟไม่ต้อง เพราะวงจรข้างในโดนไฟแล้วเจ๊งสถานเดียวจ้าาาา
(3) อัตราการกินไฟ ส่วนมากโหมด Standby จะอยู่ที่ 1 วัตต์ หรือน้อยกว่านั้น แต่ช่วงเปิดกล่อง อย่างน้อยจะต้องดูว่ากินไฟเท่าไหร่ ยิ่งวัตต์น้อย ยิ่งประหยัดค่าไฟได้มากเลยนะฮะ
(4) รีโมท อันนี้สำคัญไม่แพ้กัน ยิ่งปุ่มใหญ่ยิ่งกดง่ายมากขึ้น (โดยเฉพาะผู้สูงอายุ) และถ้ารีโมทตัวนั้นมีภาษาไทยแล้ว ก็จะทำให้เข้าใจได้ง่ายอยู่ไม่น้อยเหมือนกันนะฮะ อิอิ
(5) การรับประกันและบริการหลังการขาย อันนี้สำคัญมากๆ เลยนะครับ เพราะการบริการสำคัญมาก ถ้าบริการไม่ดี อาจมีผลต่อกล่องเจ้านั้นไปโดยปริยายเลยนะ และระยะการประกันส่วนมากจะอยู่ที่ 2 ปี มีหลายกล่องที่รับประกันถึง 3 ปี ซึ่งทำให้หลายท่านได้ไว้วางใจในเรื่องการรับประกันได้อีกทางหนึ่งอีกด้วยฮ่ะ
(6) คำวิจารณ์จากรีวิว สามารถหารีวิวได้จากเว็บต่างๆ หรือหาได้ในพันทิปครับผม มีเยอะแยะ จะดีไม่ดีท่านลองใช้วิจารณญาณเอาเองละกันฮะ
จาก 5 อย่างที่ผมได้กล่าวไปแล้ว หวังว่าท่านจะได้ความรู้จากการซื้อกล่องทีวีดิจิตอลบ้าง และก็ดูไม่ยากแล้วใช้มั้ยครับ ถ้าท่านต้องการฟังก์ชั่นอะไร ก็ลองดูได้นะครับผม ถ้าสงสัยอะไร คอมเมนต์มาได้เลยครับ
ตอนต่อไป ผมจะกล่าวถึง iDTV "ทีวีจูนเนอร์ในตัว" กันนะฮะ ตอนนี้ผมขอลาไปก่อน พบกันใหม่ตอนหน้า (ก็พรุ่งนี้ล่ะสินะ) สวัสดีครับ.
นายเบนซ์อภินันท์-Abhinan'zCH Twitter: @benz_abhinan - Facebook: Abhinan'z CH
หากท่านต้องการให้ผมรีวิวกล่องทีวีดิจิตอล สามารถนำกล่องมาให้ผมรีวิวได้ที่นี่ครับผม
>> คุณอภินันท์ เจริญรักษ์วิทยา ตู้ ปณ.32 ปณจ.ภูเก็ต 83000 วงเล็บที่กล่องด้วยว่า "รีวิวกล่องทีวีดิจิตอล" ครับผม (ช่วยหลังไมค์ก่อนจะส่งกล่องให้รีวิวด้วยนะครับ)
ซื้อชุดทีวีดิจิตอลอย่างไรให้คุ้มค่าคุ้มราคา By Abhinan'zCH ตอนที่ 1 อยากจะซื้อกล่อง มองให้รอบคอบ
ทำไมผมต้องพูดว่า "ชุดทีวีดิจิตอล" ทำไมไม่เรียกว่า "กล่องทีวีดิจิตอล" เพราะหลายท่านคงไม่ได้ซื้อกล่อง Set Top Box เพียงอย่างเดียว มันจะต้องมี "เสาอากาศ" ตามมาด้วย หรือบางท่านก็ไม่ได้ซื้อกล่อง แต่ไปซื้อทีวีที่มีจูนเนอร์ในตัวครับ
ตอนนี้ผมขอเสนอเป็นตอนแรก "อยากจะซื้อกล่อง มองให้รอบคอบ" ก่อนนะครับ
ตอนที่ 1 อยากจะซื้อกล่อง มองให้รอบคอบ
กล่อง Set Top Box ราคา 690 บาท ใช่ว่าจะเอาไปใช้ได้ทุกกล่องนะครับ เพราะบางกล่องอาจเป็นกล่องที่ดูได้อย่างเดียว แต่คุณภาพแทบจะหาไม่ได้ จนเกือบจะเป็นที่ทับกระดาษแทนไปซะแล้ว... จึงขอฝากให้ดูที่คุณสมบัติต่างๆ ตามที่ผมกล่าวมาดังนี้จ้าาา
(1) ฟังก์ชั่นของกล่อง หลายกล่อง หลายยี่ห้อ หลายรุ่น ก็มีฟังก์ชั่นที่แตกต่างกันไป อย่างกล่องยี่ห้อนี้อาจมีฟังก์ชั่นเพิ่มเติมแบบนี้ กล่องนั้นอาจมีฟังก์ชั่นเพิ่มเติมแบบโน้น แต่สิ่งพื้นฐานจริงๆ ที่ควรจะมีก็คือ:-
------1 รองรับระบบ HD 1080 อันนี้เป็นพื้นฐานสุดๆ ที่กล่องทีวีดิจิตอลทุกกล่องต้องมี
------2 มีช่อง AV 3 สี สำหรับทีวีรุ่นเก่าที่ไม่ได้รองรับทีวีดิจิตอล
------3 มีช่อง HDMI อันนี้สำหรับจอมอนิเตอร์ หรือทีวีจอแบนที่ไม่ได้มีจูนเนอร์ในตัว
------4 ช่อง USB สำหรับอัพเกรดโปรแกรม เล่นไฟล์ และอัดรายการ (และนอกจากนี้ ถ้าเล่นไฟล์ได้หลากหลาย กล่องนั้นก็จะได้เปรียนทันทีครับ)
------5 การจ่ายกระแสไฟให้สายอากาศ อันนี้ไม่ต้องถามครับ ทุกกล่องที่ผ่าน กสทช. มีอยู่แล้ว
5 อย่างนี้ถ้าขาดอย่างใดอย่างหนึ่งเนี่ย... กล่องนี้ขายไม่ออกชัวร์ป้าบแน่นอนฮะ สอบตกค่ะ 555555
หมายเหตุ: ช่อง Loop Out (หรือที่เขียนว่า Ant. Out) อันนี้จะใช้ได้ก็ต่อเมื่อ 1.จอที่ดูเป็นจอทีวีอนาล็อก 2.ท่านอยากดูช่องอนาล็อกช่องนั้นจริงๆ แต่บังเอิญว่าช่องนั้นดันไม่ได้ออกอากาศดิจิตอลในพื้นที่นั้นๆ (ThaiPBS และช่อง 3 ใช้โครงข่ายของ ThaiPBS ช่อง 5 และช่อง 7 ใช้โครงข่ายของ ททบ.5 ช่อง 9 และ NBT SD ใช้โครงข่ายของช่อง 9)
ส่วนฟังก์ชั่นเพิ่มเติมที่ควรจะมีสำหรับการใช้งานในอนาคต อันนี้ใครอยากมี หรือไม่มี ก็ตามใจท่านละกันนะคะ (แต่อาจต้องเพิ่มเงินด้วยนะฮะ แล้วแต่ว่ากล่องนั้นจะราคาเท่าไหร่) อิอิ
------1 ช่อง Coaxial อันนี้สำหรับระบบเสียง Dolby โดยเฉพาะ ถ้าท่านใดอยากฟังเสียงแบบเต็มๆ (เหมือนไทยรัฐทีวีเค้าทำอยู่) ก็เอามาต่อกับเครื่องเสียงได้เลยครับ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น กล่องนั้นจะต้องมีโปรแกรมถอดรหัสเสียง Dolby ลิขสิทธิ์แท้ก่อนนะครับถึงจะเอาไปใช้ได้
------2 ปุ่มหน้ากล่อง อันนี้ก็เพิ่มเติมขึ้นมาสำหรับท่านใดที่ขี้เกียจกดรีโมท หรือหารีโมทไม่เจอ อันนี้กล่องใดมีจุดนี้ถือว่าได้เปรียบเลยทีเดียวครับผม
------3 เลขช่องหน้ากล่อง ไว้ดูว่าตอนนี้เราเปิดช่องอะไรอยู่ อาจมีหรือไม่มีก็ได้แล้วแต่ศรัทธา แต่ที่สำคัญ ไฟสถานะอย่าให้เสียเด็ดขาด ไม่งั้นกล่องนี้จะไม่รู้เลยนะครับว่าเปิดกล่องอยู่หรือปิดกล่องไปแล้ว เจ๊งเลยค่ะงานนี้
------4 ความไวในการเปลี่ยนช่อง มีท่านหนึ่งในพันทิปกล่าวว่า "ถ้าอยากจะดูความเร็วในการเปลี่ยนช่อง ให้เปลี่ยนช่องไปช่องใดก็ได้ที่อยู่คนละ MUX" ถ้ากล่องนั้นเปลี่ยนช่องระหว่าง MUX แล้วมันแสดงผลไว นั่นคือว่ากล่องนั้นเปลี่ยนช่องไว แต่ถ้าเกิดอาการหน่วง แสดงว่ากล่องนั้นกลายเป็นจุดด้อยอย่างหนึ่งเลยครับผม
------5 รูปลักษณ์หน้าตาโปรแกรมในกล่อง (UI) หน้าตาไหนดี ฟอนต์สวย ได้เปรียบเลยครับ เพราะหน้าตาโปรแกรมก็สำคัญใช่ย่อยเหมือนกัน (เห็นกล่องทีมีโปรแกรมสวยก็ไม่กี่กล่อง หลายกล่องเหมือนมาจากจีนแดงยังไงไม่รู้ เอิ่มมมมมมมมม)
(2) ความทนทาน อันนี้ก็สำคัญไม่แพ้กัน หลายกล่องอาจทำด้วยวัสดุที่ไม่ค่อยทนทาน อาจทำให้วงจรข้างในเสียหายได้ ดังนั้นยังไงก็ดูก่อนว่ากล่องนั้นทนทานหรือไม่ เอาแค่เรื่องกล่องหล่นก็พอครับ เรื่องทนไฟไม่ต้อง เพราะวงจรข้างในโดนไฟแล้วเจ๊งสถานเดียวจ้าาาา
(3) อัตราการกินไฟ ส่วนมากโหมด Standby จะอยู่ที่ 1 วัตต์ หรือน้อยกว่านั้น แต่ช่วงเปิดกล่อง อย่างน้อยจะต้องดูว่ากินไฟเท่าไหร่ ยิ่งวัตต์น้อย ยิ่งประหยัดค่าไฟได้มากเลยนะฮะ
(4) รีโมท อันนี้สำคัญไม่แพ้กัน ยิ่งปุ่มใหญ่ยิ่งกดง่ายมากขึ้น (โดยเฉพาะผู้สูงอายุ) และถ้ารีโมทตัวนั้นมีภาษาไทยแล้ว ก็จะทำให้เข้าใจได้ง่ายอยู่ไม่น้อยเหมือนกันนะฮะ อิอิ
(5) การรับประกันและบริการหลังการขาย อันนี้สำคัญมากๆ เลยนะครับ เพราะการบริการสำคัญมาก ถ้าบริการไม่ดี อาจมีผลต่อกล่องเจ้านั้นไปโดยปริยายเลยนะ และระยะการประกันส่วนมากจะอยู่ที่ 2 ปี มีหลายกล่องที่รับประกันถึง 3 ปี ซึ่งทำให้หลายท่านได้ไว้วางใจในเรื่องการรับประกันได้อีกทางหนึ่งอีกด้วยฮ่ะ
(6) คำวิจารณ์จากรีวิว สามารถหารีวิวได้จากเว็บต่างๆ หรือหาได้ในพันทิปครับผม มีเยอะแยะ จะดีไม่ดีท่านลองใช้วิจารณญาณเอาเองละกันฮะ
จาก 5 อย่างที่ผมได้กล่าวไปแล้ว หวังว่าท่านจะได้ความรู้จากการซื้อกล่องทีวีดิจิตอลบ้าง และก็ดูไม่ยากแล้วใช้มั้ยครับ ถ้าท่านต้องการฟังก์ชั่นอะไร ก็ลองดูได้นะครับผม ถ้าสงสัยอะไร คอมเมนต์มาได้เลยครับ
ตอนต่อไป ผมจะกล่าวถึง iDTV "ทีวีจูนเนอร์ในตัว" กันนะฮะ ตอนนี้ผมขอลาไปก่อน พบกันใหม่ตอนหน้า (ก็พรุ่งนี้ล่ะสินะ) สวัสดีครับ.
นายเบนซ์อภินันท์-Abhinan'zCH Twitter: @benz_abhinan - Facebook: Abhinan'z CH
หากท่านต้องการให้ผมรีวิวกล่องทีวีดิจิตอล สามารถนำกล่องมาให้ผมรีวิวได้ที่นี่ครับผม
>> คุณอภินันท์ เจริญรักษ์วิทยา ตู้ ปณ.32 ปณจ.ภูเก็ต 83000 วงเล็บที่กล่องด้วยว่า "รีวิวกล่องทีวีดิจิตอล" ครับผม (ช่วยหลังไมค์ก่อนจะส่งกล่องให้รีวิวด้วยนะครับ)