"Retune" = "ย้ายความถี่ใหม่" เรื่องที่เมืองนอกเค้าทำกันหลังปิดทีวีอนาล๊อก

สวัสดีครับ
กระทู้วันนี้จะมาพูดถึงเรื่องการ "Retune" ช่องทีวีกัน ซึ่งหลายๆประเทศก็ได้ทำไปแล้ว มันมีความสำคัญอย่างไร และทำไปทำไม มาดูกันครับ

คำแนะนำก่อนอ่าน
- ข้อมูลบางส่วนอาจจะผิดพลาดได้ แนะนำให้หาอ่านต่อยอดในเน็ตครับ เพราะผมก็อ่านจากในเน็ตและอธิบายตามที่ผมเข้าใจ ถ้ามีข้อมูลที่ถูกต้องก็จะมาแก้ไขเนื้อหาในกระทู้ให้ครับ
- ข้อมูลนี้จะอิงต่างประเทศ เน้นญี่ปุ่นและออสเตรเลีย เพราะข้อมูลหาได้ง่ายและกำลังอยู่ในช่วงของการ Retune อยู่พอดี
- เนื้อหาและการสรุปในกระทู้นี้ มาจากความเข้าใจและความคิดของผม ซึ่งมันอาจจะไม่จริงหรือจริงน้อยก็ได้ แนะนำว่าให้หาข้อมูลเพิ่มเติมและกรองข้อมูลครับ



การ "Retune" คือการจูนหรือค้นหาสัญญาณโทรทัศน์ใหม่ เมื่อมีการเปลี่ยนความถี่ หรือเพิ่มความถี่ช่องโทรทัศน์ในระบบทั้งทางภาคพื้นดินและดาวเทียม แต่คำนี้ส่วนมากจะใช้กับภาคพื้นดินอย่างเดียว ถ้าเปรียบเทียบกับทางดาวเทียม ก็คล้ายกับการ OTA เพื่อเพิ่มช่องหรือเมื่อช่องเปลี่ยนความถี่ แต่ในจุดนี้ เราต้องเป็นคนทำเอง แต่ไม่ได้เปลี่ยนบ่อยหรอกครับ เปลี่ยนแค่ครั้งเดียวสำหรับ Mux เดิม แต่ถ้ามี Mux ใหม่มา เราก็จูนเพิ่มเข้าไปแค่นั้น

ส่วนการที่ Mux เปลี่ยนแปลงช่องในเครือข่ายตัวเอง เช่น ช่องจาก Mux A ย้ายไป Mux B หรือมีการอัพช่อง SD เป็น HD ใน Mux เดิม ถ้าทีวีหรือกล่องรองรับการ OTA ที่ทาง Mux ส่งมา ช่องต่างๆจะทำการเปลี่ยนเอง เราไม่ต้องกดอะไร แต่ถ้าไม่รองรับ ช่องหายไปดื้อๆ อันนี้เราอาจต้องจูนเองซักรอบ เพื่อให้การเปลี่ยนแปลงมีผล (ยกตัวอย่างกล่อง Createch ที่ผมมี เมื่อวันที่ 30 ก.ย. ที่ Mux TPBS เปลี่ยนแปลงค่า PSIP [ชื่อช่อง] มัน OTA ปรับให้เอง ไม่ต้องทำอะไร แต่ PlanetComm ต้องจูน Mux TPBS เข้าไปใหม่เพราะช่องหาย)

Retune ทำไม?



การเปลี่ยนแปลงช่องรายการหรือความถี่ ถ้าเป็นในดาวเทียม จะมีการ OTA สม่ำเสมอโดยบริษัทเจ้าของกล่องอยู่แล้ว เพราะในดาวเทียมมีการเปลี่ยนแปลงช่องรายการอยู่เสมอตามผู้เช่า TP หรือช่องทีวี แต่สำหรับภาคพื้นดิน การเปลี่ยนความถี่ถือเป็นเรื่องใหญ่ การเปลี่ยนความถี่ต้องเปลี่ยนให้สัมพันธ์กับพื้นที่นั้นๆ และการวางแผนใช้คลื่นในอนาคต เนื่องจากคลื่นภาคพื้นดินมีจำกัดและถือเป็นคลื่นพื้นฐานของประเทศ เหตุผลที่ต้อง Retune ก็คือ

- เอาความถี่ที่ได้คืนจากทีวีอนาล๊อกมาใช้งานทีวีดิจิตอล
- ปรับเปลี่ยนความถี่ทีวีให้เหมาะสมกับพื้นที่และแรงส่ง
- ปรับความถี่ให้เหมาะสมกับแผนความถี่ในอนาคต เช่น จะมีการให้บริการโทรศัพท์ในความถี่ย่าน 700MHz ก็ต้องปรับความถี่ลงมา สำหรับช่องที่อยู่ความถี่สูง
- ให้ความถี่ทีวีห่างกันไม่มาก ผลการรับสัญญาณจะใกล้เคียงกัน และหาจุดเหมาะสมของชนิดเสาอากาศที่ใช้ได้ในพื้นที่นั้นๆ

บางพื้นที่อาจไม่ต้อง Retune หลังปิดทีวีอนาล๊อก เพราะคลื่นเหมาะสมกับแผนในอนาคตและเหมาะสมกับพื้นที่ แต่บางพื้นที่นั้นจำเป็น การที่จะ Retune ทั้งประเทศหรือบางพื้นที่ อยู่ที่หน่วยงานที่ดูแลจะวางแผนร่วมกับทาง Mux หรือสถานีต่างๆ
การ Retune ในหลายๆพื้นที่จะใช้ความถี่ไปทดแทนทีวีอนาล๊อกเดิม เนื่องด้วยเหตุผลด้านการส่งสัญญาณให้มีประสิทธิภาพ

ยกตัวอย่างการ Retune



ยกตัวอย่างในรูปนี้ เป็นความถี่ทีวีอนาล๊อกของเสาส่งบนเกาะ Nii-jima จังหวัดโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
แต่เดิมพื้นที่นี้ ทีวีอนาล๊อกใช้ความถี่ย่าน UHF ทุกช่อง เนื่องจากพื้นที่รับชมมีขนาดเล็ก (แรงส่ง 300W ERP 9kW)



ส่วนนี่คือความถี่ทีวีดิจิตอล ที่ชี้ไปคือความถี่หลัง Retune (แรงส่ง 30W ERP 740W)

Credit
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

จะสังเกตได้ว่าความถี่เดิม อยู่ในช่วงช่องสัญญาณ UHF 20-27 ส่วนความถี่ใหม่อยู่ช่องสัญญาณ UHF 35, 41-43, 45, 48, 51, 52 ซึ่งสูงกว่า และขยับให้ใกล้เคียงกับความถี่อนาล๊อกเดิม ที่ใช้ความถี่สูงขึ้นเพราะพื้นที่ส่งสัญญาณเป็นเกาะมีพื้นที่ไม่มาก รอบๆเป็นทะเล จึงไม่ต้องใช้ความถี่ล่างๆแต่ใช้ความถี่บนๆ ให้ส่งสัญญาณได้พอดีกับพื้นที่ มีความเข้มของสัญญาณที่สูง

สรุปแนวทาง Retune ของญี่ปุ่น = ปรับความถี่บางพื้นที่เท่านั้น ปรับเพื่อให้เหมาะสมกับพื้นที่ ให้คุ้มค่าและไม่สิ้นเปลืองเกินไปในแรงส่งเท่าเดิม
* ญี่ปุ่นใช้โครงข่ายแบบ MFN ทุกเสาส่งต้องสลับความถี่กัน ทำให้บางทีรับสัญญาณช่องเดียวกัน เลขซ้อนกันได้ (เช่น กดเช็ค EPG กดเลข 1 มีช่องย่อย 3ช่อง ชื่อช่องเหมือนกัน ซึ่งที่จริง มันก็เหมือนกันหมดนั่นแหละ แต่มันย่อยเลข เพราะทีวีหาเจอช่องที่ตั้งเลขเดียวกัน จาก 3เสาส่ง)

หรือว่าช่องต่างๆในประเทศที่พื้นที่กว้างมากๆอย่างแคนาดา, อเมริกา และออสเตรเลีย มีหลายสถานีย้ายมาส่งจาก UHF มาเป็น VHF ทับความถี่อนาล๊อกเดิม หรือเสาส่งขนาดเล็กหลายแห่ง ย้ายจากความถี่ UHF สูงๆ มาอยู่กลางๆ เพราะไม่มีอนาล๊อกมาแทรกความถี่ที่ดีแล้ว



นี่คือตัวอย่าง 4 เสาส่งทีวีดิจิตอลของออสเตรเลีย ในเอกสารแจ้งพื้นที่และความถี่ Retune [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

จะเห็นได้ว่าความถี่ทีวีดิจิตอลเดิมของออสเตรเลียส่วนใหญ่ จะอยู่ความถี่ที่สูงทีเดียว ซึ่งบางพื้นที่เป็นพื้นที่ราบกว้างมาก โล่งจริง แต่ใช้ UHF ความถี่สูง ซึ่งสัญญาณอาจจะไปได้ไม่ดีพอ และหลายพื้นที่ทีวีดิจิตอลใช้ความถี่ที่ห่างกันฟ้ากับเหว (Mux นึงอยู่ VHF High อีก Mux นึงอยู่ UHF สูงลิ่ว) ทำให้ผลการรับสัญญาณต่างกันมาก ที่ทำไปแบบนี้เพราะหลบความถี่อนาล๊อกใช้ VHF และ UHF ล่างๆ โดยในตัวอย่างนี้ เสาส่ง Emarald เป็นเสาส่งรอง ส่งเฉพาะตัวเมืองและเมืองเล็กโดยรอบ (อีก 3 เป็นเสาส่งเล็ก) ความถี่ทีวีดิจิตอลเดิมอยู่สูงซะ แต่ Retune ลงมาให้เป็น VHF เพื่อให้กระจายสัญญาณในพื้นที่ราบโล่งให้ดีขึ้น และส่วนหนึ่งก็หลบความถี่ที่จะใช้กับมือถือย่าน 700MHz ด้วย (รัฐบาลออสเตรเลียอนุมัติมือถือคลื่น 700MHz และ 2.5GHz เมื่อปีที่แล้ว)

เสาส่งเล็กต่างๆ จะครอบคลุมพื้นที่ไม่มาก จึงลดความถี่ลงมาไม่มาก จาก UHF สูงๆ (50-65 โดยประมาณ) ลงมากลางๆแทน (30-45 โดยประมาณ)


เสาส่ง Emarald ออสเตรเลีย Mux SBS ความถี่ UHF 57 (ก่อน Retune)

เสาส่ง Emarald ออสเตรเลีย Mux ABC ความถี่ VHF 9 (หลัง Retune)

แรงส่ง ERP เสานี้อยู่ที่ Mux ละ 625W (Mux SBS อยู่ความถี่ VHF 12 ระยะรับสัญญาณใกล้เคียงกัน) พื้นที่รับสัญญาณโดยประมาณอ้างอิงเสาก้างปลา 14E จะเห็นได้ว่าพื้นที่รับสัญญาณได้มีมากขึ้น

แต่บางพื้นที่จะสวนทาง (บางพื้นที่จริงๆ) ก็คือ Retune จาก VHF High ไป UHF (อนาล๊อกใช้ UHF ตอนนี้ดิจิตอลไปเสียบความถี่แทน) เนื่องจากบางที VHF ที่ใช้อยู่กระจายสัญญาณได้สูญเปล่าเกินไป เช่น สัญญาณออกทะเลไปเยอะ ก็ต้องปรับความถี่ขึ้นมาเพื่อให้สัญญาณไม่กระจายสูญเปล่ามากไปและเพิ่มความเข้มในสัญญาณในพื้นที่รับสัญญาณ (พื้นที่ปลายสัญญาณ สัญญาณอาจต่ำลงได้ แต่อาจจะมีเสาส่งใกล้เคียงที่ปรับความถี่ ที่มีสัญญาณที่ดีกว่าเข้ามาแทนที่)


ตัวอย่างเช่น เสาส่ง Batemans Bay (ERP 10kW) ที่ความถี่โดดห่างกันมาก ได้ทำ Retune ให้ความถี่มาอยู่ในช่วง UHF 40-44 โดยพื้นที่รับสัญญาณทางภาคพื้นอาจลดลงสำหรับช่องที่ส่ง VHF แต่ก็มีเสาส่ง Ulladula ที่ห่างกันประมาณ 40กม. มาช่วยเสริมพื้นที่รับสัญญาณ เพราะลดความถี่ลงมา (ERP 40kW)

สรุปแนวทาง Retune ของออสเตรเลีย = แก้ความถี่ที่อยู่สูงเกินไป และกระโดดเกินไป ในแทบทุกเสาส่งของประเทศ เนื่องจากหลีกความถี่อนาล๊อกและไม่ให้ความถี่ชนกันเอง ให้มีความเหมาะสมกับพื้นที่ ความถี่ที่สูงลิ่วก็ไม่สูงเกินไป ไม่ทับความถี่ย่าน 700MHz ที่จะทำเครือข่ายมือถือ บางพื้นที่ปรับเป็น VHF เพื่อให่การส่งสัญญาณในที่โล่งกว้างดีขึ้น
* โครงข่ายทีวีดิจิตอลของออสเตรเลียใช้แบบ SFN สัญญาณโครงข่ายเดียวกัน Mux เดียวกัน เนื้อหาเดียว พื้นที่เดียวกัน คลื่นเดียวกันสามารถทับกันได้ ถ้าจูนรับได้ 2-3เสาในพื้นที่โครงข่ายเมืองเดียวกัน (เสาหลักและเสารอง) ก็ถือว่าเป็น 1 โครงข่าย

ข้อเสียของการ Retune

การ Retune ไม่ได้ดีเสมอไป ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือทีวีดิจิตอลในอเมริกา เมื่อมีการปิดอนาล๊อกปี 2009 หลายสถานีทั่วประเทศ ย้ายความถี่ทีวีดิจิตอลจาก UHF มาเป็น VHF อยู่แทนอนาล๊อกเดิมแทบจะทันที (ปิดปั๊บย้ายเลย) เพื่อให้ง่ายต่อการจำและตรงกับเลขช่อง โดยไม่ค่อยสนกับการครอบคลุมพื้นที่เท่าไร การเปลี่ยนความถี่ทีวีในอเมริกา ทาง FCC (กสทช. ของอเมริกา) จะมีการจัดเรียงช่องความถี่ทีวีดิจิตอลทั่วประเทศใหม่หลังปิดอนาล๊อก เพื่อเพิ่มช่องสัญญาณที่ใช้ได้ในหลายพื้นที่

การที่ทีวีดิจิตอลในอเมริกามีการใช้ความถี่จำนวนมาก การ Retune ทำให้เกิดพิษตรงที่ว่า ช่องสัญญาณของหลายสถานีนั้น ชอบย้ายลงมาอยู่ VHF High กัน เพราะมาตามเลขช่องที่ตัวเองตั้งไว้ (แต่ไม่เปลี่ยนลงมาก็มี อยู่ที่เดิมก็มี) แล้วให้สถานีอื่นๆมาอยู่แทนความถี่เดิม (ใน Los Angeles มีทีวีดิจิตอลถึง 31 Mux [ช่องสัญญาณ] โดยมี abc [7] และ FOX [11] อยู่ VHF High ความถี่ตามเลขช่อง)

หลังจากทำการ Retune ไป ก็มี Feedback มากมายว่าสัญญาณทีวีดิจิตอลที่เคยรับได้ดันหายไป ทาง FCC ก็ได้รวบรวมข้อมูลการรับสัญญาณทีวีดิจิตอลทั้งประเทศ จนพบว่าหลังจาก Retune แล้ว มีหลายพื้นที่ๆรับได้ แต่ก็มีอีกหลายพื้นที่ๆรับไม่ได้จากที่เคยได้ ครั้นจะเปลี่ยนความถี่ก็น่าจะยาก เพราะความถี่ที่ใช้สำหรับทีวีในอเมริกานั้นมันแน่นเหลือเกิน มีทั้ง Full-Power (ERP 200-1000kW [แรงส่งเครื่อง 10-40kW]) หรือ Low-Power (ERP ไม่เกิน 100W)
* ผมเคยเห็นรูปที่ FCC รวบรวมข้อมูลมา แต่ผมหาไม่เจอครับ ก็เลยไม่ได้เอามาดูกัน ถ้าใครเห็นช่วยโพสทีนะครับ
* อเมริกาใช้โครงข่ายแบบ MFN ผสม SFN โดย SFN ใช้ในพื้นที่โล่งกว้าง (ง่ายๆ บ้านนอกและทุรกันดาร) หรือพื้นที่บริการกว้างมากๆ ซึ่งต้องใช้เสาเสริมมาช่วย
* อเมริกา, แคนาดาไม่ค่อยนิยมติดตั้งเสาเสริมเหมือนประเทศอื่นๆ เนื่องจากประเทศกว้างมากๆ แต่จะเน้นติดตั้งเสาส่งตามเมืองใหญ่ในรัฐแล้วปล่อยโดยให้ค่า ERP แรงระดับร้อย kW ขึ้นไป (หรือว่าเค้าไม่แคร์โครงข่ายหรือเปล่า เพราะเคเบิ้ลมันก็ดูได้แบบ HD นิ อเมริกาถือเป็นประเทศแห่งเคเบิ้ลทีวีโดยแท้)

และข้อเสียที่เรียกได้ว่าสามัญสุดๆคือ เราต้องจูนช่องใหม่ด้วยตนเองครับ ไม่มีการ OTA เพราะว่าความถี่เดิมนั้นหายไปเลย ย้ายไปความถี่ใหม่ เราก็ต้องจูนเพื่อจับความถี่ใหม่ที่ได้ทำการ Retune

ความเป็นไปได้ในเมืองไทยที่จะทำ Retune ตามความคิดของผม

สำหรับเมืองไทย เท่าที่อ่านความถี่ในหลายๆพื้นที่ ค่อนข้างจะโดดไปหน่อย ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าทุกโซนเสาส่ง มีคลื่นอนาล๊อก UHF อยู่ และอยู่ในจุดที่กำลังพอดีซะด้วย ซึ่งก็คือช่วง UHF 26-40 โดยประมาณ หลังปิดอนาล๊อก ทีวีดิจิตอล Mux ที่อยู่ความถี่ค่อนข้างสูงก็จะปรับลงมาตามแผนที่ได้วางไว้ (ในแผนความถี่ของ ITU ที่อยู่ในวงเล็บแดง นั่นแหละครับ ความถี่ใหม่หลัง Retune โดยจะมี 1-2Mux ที่จะได้ย้ายลงมา) ผมว่าเมืองไทยค่อนข้างที่จะเหมาะทำ Retune ทีเดียว แต่ดูจากพื้นที่โดยรวมของประเทศ ไม่ค่อยเหมาะทำ VHF

สรุปโดยรวมของการทำ Retune
- ใช้ความถี่จากอนาล๊อกย่าน UHF ให้เป็นประโยชน์
- ย้ายความถี่ไม่ให้ทับกับความถี่ที่จะใช้ในอนาคต เช่น มือถือย่าน 700MHz
- ย้ายความถี่ให้พอดีกับพื้นที่นั้นๆ และไม่โดดเกินไป อยู่
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่