วิจักขณ์ พานิช: "ใครฆ่า?" คำถามทางศีลธรรมในวันที่หกตุลา
คอลัมน์ ธรรมนัว มติชนรายวัน 12 ตุลาคม 2557
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1413118284
สังคมไทยมีวงจรอุบาทว์ของการฆ่าและปราบปรามประชาชนซ้ำๆ ผูกพันอยู่กับการทำรัฐประหารตัดตอนประชาธิปไตย ความรุนแรงโดยรัฐเช่นนี้ ไม่อาจทำให้หมดไปด้วยการส่งเสริมให้คนเป็นคนดี มีศีลธรรม ไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต กินเจ หรือปฏิบัติธรรมทั้งประเทศหรอกนะครับ ศีลธรรมทางสังคมกับศีลธรรมของปัจเจกบุคคล ผมมองว่าเป็นคนละเรื่องกัน และบ่อยครั้งที่การมุ่งเน้นย้ำแต่เรื่องศีลธรรมในระดับปัจเจกบุคคลได้ไปลดทอนความสำคัญของกระบวนการทางการเมืองที่จะนำไปสู่การสร้างศีลธรรมและจิตสำนึกในระดับสังคมโดยที่เราไม่รู้ตัว
เหตุการณ์หกตุลาผ่านไปแล้วสามสิบแปดปี คำถามก็ยังคงเป็นคำถามเดิม การฆ่า การปราบปราม การสังหารหมู่ประชาชนโดยรัฐที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าในสังคมไทยจะหมดไปจากสังคมนี้ได้อย่างไร? เราจะหลีกเลี่ยงเหตุการณ์อย่าง ตุลา 19 พฤษภา 35 พฤษภา 53 ไม่ให้เกิดขึ้นอีกได้หรือไม่? ศีลธรรมทางสังคมอย่าง "การไม่ฆ่า" จะกลายเป็นสามัญสำนึกและจิตสำนึกร่วมของความเป็นพลเมืองของรัฐที่อำนาจสูงสุดเป็นของประชาชนทุกคนได้อย่างไร?
บางทีเราก็คิดกันแต่ในแง่การอบรมสั่งสอนให้คนทุกคนเป็นคนดี เราเรียกร้องให้เลือกนักการเมืองที่ดี ผู้ปกครองที่ดี ไม่โกง ไม่คอร์รัปชั่น ไม่ซื้อเสียง หารู้ไม่ว่าในขณะเดียวกัน เราก็สนับสนุนให้มีอำนาจนอกระบบมาจัดการนักการเมืองที่โกง คนโกง คนเลว อย่างไม่ต้องมีบรรทัดฐาน ไม่ต้องมีกติกา ไม่ต้องเคารพพื้นฐานความเป็นคน หากรัฐบาลแย่ เราก็สนับสนุนการล้มกระดาน รัฐประหาร ยินยอมให้มีคณะคนดีมาปกครองประเทศแทน หากบ้านเมืองวุ่นวาย คนออกมาต่อต้าน ชุมนุมประท้วง เราก็โอเคหากจะมีวิธีใดก็ได้ที่จะช่วยทำให้ความสงบสุขกลับมาโดยเร็ว เรามองเห็นแต่ความเลวร้ายในใครบางคนที่จำเป็นต้องถูกกำจัดทิ้ง แต่กลับมองไม่เห็นความเป็นคนของเขา-ของเราที่ถูกกระทืบไปพร้อมๆ กัน
ความมักง่ายทางศีลธรรมของเราเป็นแบบนี้ ศีลธรรมของคนดี ศีลธรรมแบบเทวดา ศีลธรรมแบบผู้ (อยาก) มีอำนาจ
พอฆ่ากันเสร็จเรียบร้อย เราก็กลับมาเริ่มต้นใหม่ ทำจิตใจให้ขาวรอบ ทำลายหลักฐาน ภาพความทรงจำ และกระบวนการค้นหาความจริงจนหมดสิ้น ศีลธรรมของเราคือการกลับมารักกันเหมือนเดิม มองโลกในแง่บวก คืนความสุข แล้วก้าวต่อไปข้างหน้า เพราะบ้านเมืองเสียหายมามากพอแล้ว เรากล่าวหาคนพวกนั้นว่าเป็นพวกไร้ศีลธรรม เพราะพยายามฟื้นฝอยหาตะเข็บ ตั้งคำถามกับสิ่งที่ไม่ควรถาม พยายามกวนน้ำให้ขุ่น จุดชนวนความขัดแย้งให้ปะทุขึ้นมาใหม่ ศีลธรรมของเราคือความจงรัก พร้อมๆ กับการแอบซ่อนความจงชังคนที่ไม่รักเหมือนเรา
นอกจากนั้น เรายังสนับสนุนวัฒนธรรมการให้อภัย ใครสั่งฆ่าประชาชนในเหตุการณ์ใดๆ ก็ไม่มีใครเคยถูกจับได้ ไม่มีใครถูกดำเนินคดี ไม่มีจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ และควรเลิกถามกันได้แล้ว "ความจริงเป็นเรื่องซับซ้อน ขึ้นอยู่กับว่าจะมองในแง่มุมไหน..." เพราะฉะนั้นทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง (รวมทั้งผู้สั่งฆ่า) ควรได้รับการนิรโทษกรรม (ยกเว้นคนบางคนที่เลวจริงๆ อย่างไม่มีข้อแม้)
เราบอกว่าช่างมันเหอะ แล้วก็แล้วกันไป ให้เรื่องมันจบๆ วงจรศีลธรรมอุบาทว์จึงเกิดขึ้นซ้ำๆ ปะทุขึ้น ลุกลาม แล้วปราบปรามกันไป ลบแล้วเขียนใหม่ จากอำนาจที่สะกดจิตซ้ำๆ ว่าประชาชนยังโง่เกินไปสำหรับการไว้วางใจแสงสว่างในตัวเอง
ประวัติศาสตร์สังคมไทยร่วมสมัยจึงกลายเป็นประวัติศาสตร์แห่งความรู้รักสามัคคีอันศักดิ์สิทธิ์ชั่วนิจนิรันดร์ ประวัติศาสตร์ของศีลธรรมความดีอันไม่มีพื้นที่แก่ความทุกข์ ความไม่รู้หรือความผิดพลาดให้ได้ถูกจารึกไว้เตือนสติ ดังนั้นแม้คนไทยจะหมั่นปฏิบัติธรรมเจริญสติ แต่สังคมอันไร้สติก็จะยังเทิดทูนประวัติศาสตร์ของการฆ่า การล้างผิด ล้างบางอันไม่รู้สึกรู้สากันต่อไป ซุกความจริงอันเจ็บปวดไว้ภายใต้สำนึกอันสูงส่งตามอย่างพุทธศาสนาแบบเทวดา ฝังกลบสติปัญญาและสามัญสำนึกธรรมดาๆ ของความเป็นคนจนไม่เหลือปรากฏ
รำลึก 6 ตุลาปีนี้ คนแรกที่ผมนึกถึง คือ อ.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
น่าหดหู่นะครับ สังคมไทย
อาจารย์สอนหนังสือ เขียน-พูด วิชาการ กระตุ้นเตือนให้สังคมคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล
ต้องหายหนีไปอย่างไร้ร่องรอย โดยไม่มีใครการันตีได้เลยว่าในสถานการณ์แบบนี้ ถ้ายังอยู่ในเมืองไทยแกจะโดนอะไรบ้าง
นึกถึงวันที่อาจารย์สมศักดิ์โดนมือปืนสาดกระสุนเข้าบ้าน
นึกถึงการเสียชีวิตของ ไม้หนึ่ง ก.กุนที
นึกถึงนักโทษความคิดและนักโทษการเมืองจำนวนมากที่ถูกยัดข้อหาหลังรัฐประหาร
นึกถึงอากง
ดูเหมือนเรื่องราวทำนองนี้จะเกิดขึ้นเป็นธรรมดาเหลือเกินในสังคมไทย จนเราอาจคิดว่า คนเรา เกิด-แก่-เจ็บ-จับ-ขัง-ตาย ทางการเมืองกันเป็นธรรมชาติไปเสียแล้ว
วิจักขณ์ พานิช: "ใครฆ่า?" คำถามทางศีลธรรมในวันที่หกตุลา
คอลัมน์ ธรรมนัว มติชนรายวัน 12 ตุลาคม 2557
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1413118284
สังคมไทยมีวงจรอุบาทว์ของการฆ่าและปราบปรามประชาชนซ้ำๆ ผูกพันอยู่กับการทำรัฐประหารตัดตอนประชาธิปไตย ความรุนแรงโดยรัฐเช่นนี้ ไม่อาจทำให้หมดไปด้วยการส่งเสริมให้คนเป็นคนดี มีศีลธรรม ไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต กินเจ หรือปฏิบัติธรรมทั้งประเทศหรอกนะครับ ศีลธรรมทางสังคมกับศีลธรรมของปัจเจกบุคคล ผมมองว่าเป็นคนละเรื่องกัน และบ่อยครั้งที่การมุ่งเน้นย้ำแต่เรื่องศีลธรรมในระดับปัจเจกบุคคลได้ไปลดทอนความสำคัญของกระบวนการทางการเมืองที่จะนำไปสู่การสร้างศีลธรรมและจิตสำนึกในระดับสังคมโดยที่เราไม่รู้ตัว
เหตุการณ์หกตุลาผ่านไปแล้วสามสิบแปดปี คำถามก็ยังคงเป็นคำถามเดิม การฆ่า การปราบปราม การสังหารหมู่ประชาชนโดยรัฐที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าในสังคมไทยจะหมดไปจากสังคมนี้ได้อย่างไร? เราจะหลีกเลี่ยงเหตุการณ์อย่าง ตุลา 19 พฤษภา 35 พฤษภา 53 ไม่ให้เกิดขึ้นอีกได้หรือไม่? ศีลธรรมทางสังคมอย่าง "การไม่ฆ่า" จะกลายเป็นสามัญสำนึกและจิตสำนึกร่วมของความเป็นพลเมืองของรัฐที่อำนาจสูงสุดเป็นของประชาชนทุกคนได้อย่างไร?
บางทีเราก็คิดกันแต่ในแง่การอบรมสั่งสอนให้คนทุกคนเป็นคนดี เราเรียกร้องให้เลือกนักการเมืองที่ดี ผู้ปกครองที่ดี ไม่โกง ไม่คอร์รัปชั่น ไม่ซื้อเสียง หารู้ไม่ว่าในขณะเดียวกัน เราก็สนับสนุนให้มีอำนาจนอกระบบมาจัดการนักการเมืองที่โกง คนโกง คนเลว อย่างไม่ต้องมีบรรทัดฐาน ไม่ต้องมีกติกา ไม่ต้องเคารพพื้นฐานความเป็นคน หากรัฐบาลแย่ เราก็สนับสนุนการล้มกระดาน รัฐประหาร ยินยอมให้มีคณะคนดีมาปกครองประเทศแทน หากบ้านเมืองวุ่นวาย คนออกมาต่อต้าน ชุมนุมประท้วง เราก็โอเคหากจะมีวิธีใดก็ได้ที่จะช่วยทำให้ความสงบสุขกลับมาโดยเร็ว เรามองเห็นแต่ความเลวร้ายในใครบางคนที่จำเป็นต้องถูกกำจัดทิ้ง แต่กลับมองไม่เห็นความเป็นคนของเขา-ของเราที่ถูกกระทืบไปพร้อมๆ กัน
ความมักง่ายทางศีลธรรมของเราเป็นแบบนี้ ศีลธรรมของคนดี ศีลธรรมแบบเทวดา ศีลธรรมแบบผู้ (อยาก) มีอำนาจ
พอฆ่ากันเสร็จเรียบร้อย เราก็กลับมาเริ่มต้นใหม่ ทำจิตใจให้ขาวรอบ ทำลายหลักฐาน ภาพความทรงจำ และกระบวนการค้นหาความจริงจนหมดสิ้น ศีลธรรมของเราคือการกลับมารักกันเหมือนเดิม มองโลกในแง่บวก คืนความสุข แล้วก้าวต่อไปข้างหน้า เพราะบ้านเมืองเสียหายมามากพอแล้ว เรากล่าวหาคนพวกนั้นว่าเป็นพวกไร้ศีลธรรม เพราะพยายามฟื้นฝอยหาตะเข็บ ตั้งคำถามกับสิ่งที่ไม่ควรถาม พยายามกวนน้ำให้ขุ่น จุดชนวนความขัดแย้งให้ปะทุขึ้นมาใหม่ ศีลธรรมของเราคือความจงรัก พร้อมๆ กับการแอบซ่อนความจงชังคนที่ไม่รักเหมือนเรา
นอกจากนั้น เรายังสนับสนุนวัฒนธรรมการให้อภัย ใครสั่งฆ่าประชาชนในเหตุการณ์ใดๆ ก็ไม่มีใครเคยถูกจับได้ ไม่มีใครถูกดำเนินคดี ไม่มีจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ และควรเลิกถามกันได้แล้ว "ความจริงเป็นเรื่องซับซ้อน ขึ้นอยู่กับว่าจะมองในแง่มุมไหน..." เพราะฉะนั้นทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง (รวมทั้งผู้สั่งฆ่า) ควรได้รับการนิรโทษกรรม (ยกเว้นคนบางคนที่เลวจริงๆ อย่างไม่มีข้อแม้)
เราบอกว่าช่างมันเหอะ แล้วก็แล้วกันไป ให้เรื่องมันจบๆ วงจรศีลธรรมอุบาทว์จึงเกิดขึ้นซ้ำๆ ปะทุขึ้น ลุกลาม แล้วปราบปรามกันไป ลบแล้วเขียนใหม่ จากอำนาจที่สะกดจิตซ้ำๆ ว่าประชาชนยังโง่เกินไปสำหรับการไว้วางใจแสงสว่างในตัวเอง
ประวัติศาสตร์สังคมไทยร่วมสมัยจึงกลายเป็นประวัติศาสตร์แห่งความรู้รักสามัคคีอันศักดิ์สิทธิ์ชั่วนิจนิรันดร์ ประวัติศาสตร์ของศีลธรรมความดีอันไม่มีพื้นที่แก่ความทุกข์ ความไม่รู้หรือความผิดพลาดให้ได้ถูกจารึกไว้เตือนสติ ดังนั้นแม้คนไทยจะหมั่นปฏิบัติธรรมเจริญสติ แต่สังคมอันไร้สติก็จะยังเทิดทูนประวัติศาสตร์ของการฆ่า การล้างผิด ล้างบางอันไม่รู้สึกรู้สากันต่อไป ซุกความจริงอันเจ็บปวดไว้ภายใต้สำนึกอันสูงส่งตามอย่างพุทธศาสนาแบบเทวดา ฝังกลบสติปัญญาและสามัญสำนึกธรรมดาๆ ของความเป็นคนจนไม่เหลือปรากฏ
รำลึก 6 ตุลาปีนี้ คนแรกที่ผมนึกถึง คือ อ.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
น่าหดหู่นะครับ สังคมไทย
อาจารย์สอนหนังสือ เขียน-พูด วิชาการ กระตุ้นเตือนให้สังคมคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล
ต้องหายหนีไปอย่างไร้ร่องรอย โดยไม่มีใครการันตีได้เลยว่าในสถานการณ์แบบนี้ ถ้ายังอยู่ในเมืองไทยแกจะโดนอะไรบ้าง
นึกถึงวันที่อาจารย์สมศักดิ์โดนมือปืนสาดกระสุนเข้าบ้าน
นึกถึงการเสียชีวิตของ ไม้หนึ่ง ก.กุนที
นึกถึงนักโทษความคิดและนักโทษการเมืองจำนวนมากที่ถูกยัดข้อหาหลังรัฐประหาร
นึกถึงอากง
ดูเหมือนเรื่องราวทำนองนี้จะเกิดขึ้นเป็นธรรมดาเหลือเกินในสังคมไทย จนเราอาจคิดว่า คนเรา เกิด-แก่-เจ็บ-จับ-ขัง-ตาย ทางการเมืองกันเป็นธรรมชาติไปเสียแล้ว