เซียนหุ้นจาก 1.2 ล้าน เป็น 100 ล้าน ภายใน 8 ปี
เครดิตบทความโดย....
http://www.stockscorner.org/2012/01/12-100-8.html
วิธีเล่นหุ้นของผม ( คุณ chin )
1. การเลือกหุ้นผมจะคิดถึงว่าในอนาคตจะเกิดอะไรบ้าง โดยวันๆผมจะนั่ง มองไปรอบๆตัว ว่าเกิดอะไรขึ้น พยายามหาเหตุ ของผล ที่จะตามมาแหง ๆ เช่น ปีนี้ ตัวเลขผู้ใช้ Smart Phone และ Tablet สูงขึ้นจากปีที่แล้วมากๆ (เพราะ อุปกรณ์มันถูกลงไปเยอะ และตรงกับ Life Style)หรือ คนหันมาอยู่เรียบรถไฟฟ้าเพิ่มขึ้น (เพราะคอนโดมันขึ้นเยอะแถวรถไฟฟ้า ซึ่งเป็นผลจาก Demand ที่เยอะ ซึ่งเป็นผลของวิถีชีวิตการทำงานใน Office)ฟังดูอาจเหมือนยาก ที่จะคิดว่า อะไรจะเกิดขึ้นล่วงหน้า แต่จริงๆมันก็เหมือนกับที่ ทุกคนพอจะเดาสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เช่น เมื่อคืนเรา นอนดึก วันนี้จึงตื่นสาย ซึ่งไปทำงานสายแบบนี้ หัวหน้าคงจะต่อว่า ซึ่ง มันเป็นลูกโซ่ไปเรื่อยๆ หรือถ้านักเทคนิคก็ เช่น หุ้นวันนี้ขึ้นแรง พรุ่งนี้จะขึ้นต่อ และต่อไปเรื่อยๆ จนมันไม่ขึ้น ก็จะนิ่ง พอนิ่งแล้วก็จะลง แล้วก็ลงไปเรื่อยๆ พอลงไปเรื่อยๆ จนไม่ลงก็จะนิ่ง แล้วก็จะเริ่มขึ้น คือผมว่า มันก็เป็นเหตุการณ์ต่อเนื่องที่คาดการณ์ได้ไม่ยาก บ่อยครั้ง ที่ผมจะพบกับคนที่บอกว่าหุ้นตัวนั้นดี ตัวนี้ถูก เพราะ P/E ต่ำ P/B ต่ำ หรือ PEG ต่ำ สำหรับผมมันไม่ใช่ เหตุผลที่หุ้นจะขึ้น เนื่องจาก P/E ต่ำใครๆก็เห็น อะไรที่คนอื่นเขายังไม่เห็น แต่เราเห็นได้ สิ่งนั้นก็คืออนาคต อีกทั้งบางครั้ง ภาพลางๆ คนจะไม่ค่อยเชื่อ กว่าจะเชื่อก็ต้องเห็นชัดๆแล้ว
2. ผมดูว่าหุ้นตัวไหน ได้ประโยชน์จากเหตุการณ์ 1และ ดูว่า ยังคุ้มค่าลงทุนหรือไม่ โดยวัดจาก EV/EBITDA เป็นหลัก ในความคิดผม ผมว่า ตัวเลขนี้สะท้อนความคุ้มค่าแบบ นักธุรกิจ หรือพ่อค้า เปรียบเหมือนกับ เวลาลงทุนเป็นเงินสด จะวัดผลตอบแทนก็ต้องวัดเป็น เงินสด ที่กลับมา ไม่ใช่ กำไร ซึ่ง ตรงนี้เป็นข้อแตกต่างที่ทำให้บ่อยครั้งผมเจอหุ้นที่ถูกในสายตาผม และแพงในสายตาคนอื่น เพราะ P/E >10 เท่าหรือ NA (คือมันขาดทุนทางบัญชี) แต่EV/EBITDA ต่ำกว่า10เท่า โดยนโยบายการลงทุนผม ผมคาดหวังกำไร 100% ขึ้นไป ใน 5 ปี ถึงคุ้ม จึงพยายามหาEV/EBITDA ที่ต่ำกว่า 5 เท่า เช่น JAS ตอนราคาต่ำๆ มีแต่คนมองว่าเป็นหุ้นเน่า P/E สูง แต่EV/EBITDA เขาอยู่แค่ 4 เท่าเอง ปรับแต่งทางบัญชี ขั้นตอนต่างๆ หากเราเข้าใจ จะรู้ได้ทันที ว่าหุ้นจะขึ้นเดือนไหน เพราะเหตุใด Write off หุ้น TT&T ทำให้กำไรน้อย ปีต่อมา พอไม่มีเหตุการณ์นี้ ยังไงนสพ. ก็พาดหัวว่ากำไรโตอยู่แล้ว ทั้งๆที่จริงกำไรมันดีอยู่แล้ว หากเราหยิบตัวเลข EV/EBITDA มาวัด ไม่ใช่ว่าใช้ P/E วัด
3. หากคิดผิดต้องไม่ขาดทุนในระยะยาว เนื่องจาก ผมต้องการ Port ที่โตเรื่อยๆ ไม่ใช่ หวือหวา เช่น เริ่ม 100 ได้ 50% ได้ 150พอเสีย 50% เหลือ 75 แบบนี้ต้องมานั่งแก้ ให้ได้ 33% ให้กลับเป็น 100% อีก แบบนี้ Port ไม่ไปไหนสักที เสียเวลา และโอกาส โดย ต้องมองว่า เหตุการณ์แย่สุดๆ ต่อกิจการ ที่มีโอกาสเกิดขึ้น เป็นอย่างไร หากแย่ขนาดนั้นผลประกอบการก็ยังคุ้มค่าเมื่อเทียบกับราคาที่เราซื้อ ซึ่งกิจการที่ไม่ผันผวนนัก EV/EBITDA ต่ำกว่า 5 เท่า ก็ช่วยป้องกันความเสี่ยงได้มากแล้ว แต่หากกิจการผันผวนได้มาก ก็แค่ไม่ลงทุนครับ หาตัวอื่นแทน นอกจากนี้ ผมจะดูโครงสร้างการเงินว่า และอื่นๆ ว่ามันเสี่ยงล้มได้ไหม ถ้าเสี่ยง ก็ไม่ยุ่งดีกว่าหวังว่า พอจะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านนะครับพอดีเห็นกระทู้เถียงกันเรื่อง VI กับ VS หรือถือยาวกับถือสั้นผม ก็นั่งคิด เราเป็น VI หรือ VS กันแน่ในนิยามคนอื่นแต่ผมว่าจริงๆผมก็แค่นักลงทุนที่คิดแบบพ่อค้าครับตอนนี้ port ถึงเป้าหมายที่อยากได้แล้ว อยู่ 9 หลักโดยเป็นเงินเริ่มต้นจากเงินเดือนประมาณ 3 แสน และมาบวกกับเงินลงทุนของที่บ้านภายหลังอีก 2ล้าน โดยใช้แนวทางนี้ และมีการบริหาร Leverage และ Riskใช้ เวลา 8ปีครับ ทำกำไรหุ้นแค่ 3 ตัว ได้แก่ PSL, ACL, JASปล. 1,2,3 มันเกี่ยวโยงกัน ไม่ได้เป็นลำดับขั้นบางครั้ง ดู 2 ก่อน ค่อยพิจารณา 1 กับ 3
ปล. บทความนี้เคยมีคนที่นำมาโพส แต่นานมาแล้ว เห็นว่าน่าสนใจดีครับเลยนำมา re-run ใหม่ อีกประเด็นว่าจะเป็นความจริงหรือปล่าวผมไม่ได้สนใจตรงนั้น แต่มองไปที่วิธีการมากกว่า ว่าน่าสนมากและมีความเป็นไปได้สูงครับ
เซียนหุ้นจาก 1.2 ล้าน เป็น 100 ล้าน ภายใน 8 ปี
เครดิตบทความโดย....http://www.stockscorner.org/2012/01/12-100-8.html
วิธีเล่นหุ้นของผม ( คุณ chin )
1. การเลือกหุ้นผมจะคิดถึงว่าในอนาคตจะเกิดอะไรบ้าง โดยวันๆผมจะนั่ง มองไปรอบๆตัว ว่าเกิดอะไรขึ้น พยายามหาเหตุ ของผล ที่จะตามมาแหง ๆ เช่น ปีนี้ ตัวเลขผู้ใช้ Smart Phone และ Tablet สูงขึ้นจากปีที่แล้วมากๆ (เพราะ อุปกรณ์มันถูกลงไปเยอะ และตรงกับ Life Style)หรือ คนหันมาอยู่เรียบรถไฟฟ้าเพิ่มขึ้น (เพราะคอนโดมันขึ้นเยอะแถวรถไฟฟ้า ซึ่งเป็นผลจาก Demand ที่เยอะ ซึ่งเป็นผลของวิถีชีวิตการทำงานใน Office)ฟังดูอาจเหมือนยาก ที่จะคิดว่า อะไรจะเกิดขึ้นล่วงหน้า แต่จริงๆมันก็เหมือนกับที่ ทุกคนพอจะเดาสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เช่น เมื่อคืนเรา นอนดึก วันนี้จึงตื่นสาย ซึ่งไปทำงานสายแบบนี้ หัวหน้าคงจะต่อว่า ซึ่ง มันเป็นลูกโซ่ไปเรื่อยๆ หรือถ้านักเทคนิคก็ เช่น หุ้นวันนี้ขึ้นแรง พรุ่งนี้จะขึ้นต่อ และต่อไปเรื่อยๆ จนมันไม่ขึ้น ก็จะนิ่ง พอนิ่งแล้วก็จะลง แล้วก็ลงไปเรื่อยๆ พอลงไปเรื่อยๆ จนไม่ลงก็จะนิ่ง แล้วก็จะเริ่มขึ้น คือผมว่า มันก็เป็นเหตุการณ์ต่อเนื่องที่คาดการณ์ได้ไม่ยาก บ่อยครั้ง ที่ผมจะพบกับคนที่บอกว่าหุ้นตัวนั้นดี ตัวนี้ถูก เพราะ P/E ต่ำ P/B ต่ำ หรือ PEG ต่ำ สำหรับผมมันไม่ใช่ เหตุผลที่หุ้นจะขึ้น เนื่องจาก P/E ต่ำใครๆก็เห็น อะไรที่คนอื่นเขายังไม่เห็น แต่เราเห็นได้ สิ่งนั้นก็คืออนาคต อีกทั้งบางครั้ง ภาพลางๆ คนจะไม่ค่อยเชื่อ กว่าจะเชื่อก็ต้องเห็นชัดๆแล้ว
2. ผมดูว่าหุ้นตัวไหน ได้ประโยชน์จากเหตุการณ์ 1และ ดูว่า ยังคุ้มค่าลงทุนหรือไม่ โดยวัดจาก EV/EBITDA เป็นหลัก ในความคิดผม ผมว่า ตัวเลขนี้สะท้อนความคุ้มค่าแบบ นักธุรกิจ หรือพ่อค้า เปรียบเหมือนกับ เวลาลงทุนเป็นเงินสด จะวัดผลตอบแทนก็ต้องวัดเป็น เงินสด ที่กลับมา ไม่ใช่ กำไร ซึ่ง ตรงนี้เป็นข้อแตกต่างที่ทำให้บ่อยครั้งผมเจอหุ้นที่ถูกในสายตาผม และแพงในสายตาคนอื่น เพราะ P/E >10 เท่าหรือ NA (คือมันขาดทุนทางบัญชี) แต่EV/EBITDA ต่ำกว่า10เท่า โดยนโยบายการลงทุนผม ผมคาดหวังกำไร 100% ขึ้นไป ใน 5 ปี ถึงคุ้ม จึงพยายามหาEV/EBITDA ที่ต่ำกว่า 5 เท่า เช่น JAS ตอนราคาต่ำๆ มีแต่คนมองว่าเป็นหุ้นเน่า P/E สูง แต่EV/EBITDA เขาอยู่แค่ 4 เท่าเอง ปรับแต่งทางบัญชี ขั้นตอนต่างๆ หากเราเข้าใจ จะรู้ได้ทันที ว่าหุ้นจะขึ้นเดือนไหน เพราะเหตุใด Write off หุ้น TT&T ทำให้กำไรน้อย ปีต่อมา พอไม่มีเหตุการณ์นี้ ยังไงนสพ. ก็พาดหัวว่ากำไรโตอยู่แล้ว ทั้งๆที่จริงกำไรมันดีอยู่แล้ว หากเราหยิบตัวเลข EV/EBITDA มาวัด ไม่ใช่ว่าใช้ P/E วัด
3. หากคิดผิดต้องไม่ขาดทุนในระยะยาว เนื่องจาก ผมต้องการ Port ที่โตเรื่อยๆ ไม่ใช่ หวือหวา เช่น เริ่ม 100 ได้ 50% ได้ 150พอเสีย 50% เหลือ 75 แบบนี้ต้องมานั่งแก้ ให้ได้ 33% ให้กลับเป็น 100% อีก แบบนี้ Port ไม่ไปไหนสักที เสียเวลา และโอกาส โดย ต้องมองว่า เหตุการณ์แย่สุดๆ ต่อกิจการ ที่มีโอกาสเกิดขึ้น เป็นอย่างไร หากแย่ขนาดนั้นผลประกอบการก็ยังคุ้มค่าเมื่อเทียบกับราคาที่เราซื้อ ซึ่งกิจการที่ไม่ผันผวนนัก EV/EBITDA ต่ำกว่า 5 เท่า ก็ช่วยป้องกันความเสี่ยงได้มากแล้ว แต่หากกิจการผันผวนได้มาก ก็แค่ไม่ลงทุนครับ หาตัวอื่นแทน นอกจากนี้ ผมจะดูโครงสร้างการเงินว่า และอื่นๆ ว่ามันเสี่ยงล้มได้ไหม ถ้าเสี่ยง ก็ไม่ยุ่งดีกว่าหวังว่า พอจะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านนะครับพอดีเห็นกระทู้เถียงกันเรื่อง VI กับ VS หรือถือยาวกับถือสั้นผม ก็นั่งคิด เราเป็น VI หรือ VS กันแน่ในนิยามคนอื่นแต่ผมว่าจริงๆผมก็แค่นักลงทุนที่คิดแบบพ่อค้าครับตอนนี้ port ถึงเป้าหมายที่อยากได้แล้ว อยู่ 9 หลักโดยเป็นเงินเริ่มต้นจากเงินเดือนประมาณ 3 แสน และมาบวกกับเงินลงทุนของที่บ้านภายหลังอีก 2ล้าน โดยใช้แนวทางนี้ และมีการบริหาร Leverage และ Riskใช้ เวลา 8ปีครับ ทำกำไรหุ้นแค่ 3 ตัว ได้แก่ PSL, ACL, JASปล. 1,2,3 มันเกี่ยวโยงกัน ไม่ได้เป็นลำดับขั้นบางครั้ง ดู 2 ก่อน ค่อยพิจารณา 1 กับ 3
ปล. บทความนี้เคยมีคนที่นำมาโพส แต่นานมาแล้ว เห็นว่าน่าสนใจดีครับเลยนำมา re-run ใหม่ อีกประเด็นว่าจะเป็นความจริงหรือปล่าวผมไม่ได้สนใจตรงนั้น แต่มองไปที่วิธีการมากกว่า ว่าน่าสนมากและมีความเป็นไปได้สูงครับ