ผ่อนรถยนต์ชิลๆไป หรือ จะโปะหรือจะปิดบัญชีไฟแนนซ์ไปเลย (คุ้มไม่คุ้มมาดูกัน!!!)
กระทู้นี้ เจ้าของกระทู้ตั้งใจแค่อยากแชร์ หลักการ (คร่าว ๆ) หรือทำให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับการคำนวณค่างวดรถยนต์ อัตราดอกเบี้ย
และส่วนลดที่ได้รับในการตัดสินใจหลังจากที่ได้ขอสินเชื่อมาแล้ว
การชั่งใจอยู่ว่าจะโปะดี หรือ จะ ผ่อนชิลๆดี หรือจะผ่อนทบดี
หรือ อาจเป็นประโยชน์ให้กับคนที่กำลังจะขอสินเชื่ออยู่ ณ ขณะนี้
กระทู้นี้ทำให้เห็นความต่างระหว่างเงื่อนไขในแต่ละข้อว่า ในแต่ละการตัดสินใจของคุณ มันมีผลกระทบต่อเงินในกระเป๋า ของคุณมากน้อยแค่ไหน
สำหรับกูรูผู้รู้ทั้งหลาย หากท่านรู้และเข้าใจอยู่แล้วกระทู้นี้อาจถูกใจหรือไม่ถูกใจท่านต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยค่ะ
(ผู้น้อยมิอาจล่วงเกิน)
คำอธิบายภาพประกอบ
รถยนต์ราคาสุทธิคือ 856,000 บาท
จริงๆแล้ว ในก้อนนี้จะมี VAT หรือ ภาษีมูลค่าเพิ่ม อยู่ด้วยคือ 56,000 บาท
การคำนวณเพื่อถอด VAT ออกมานั้น ใช้สูตรมาตรฐานก็คือ x 100 แล้ว ก็ หาร 107
แต่ในที่นี้ จขกท. รวบรัดก็คือ หาร 1.07 เลย ก็ได้ตัวเลขที่เท่ากัน
จะสั่งเกตุได้ว่า ไม่ว่าจะคำนวณแบบไหน ทั้งราคาก่อน VAT หรือ หลัง VAT
ผลการคำนวณ ค่างวดก็จะออกมาได้เท่ากันค่ะ 15,693.34 / งวด
ทั้งนี้ในช่องสีช่องซ้าย(สีส้ม) สามารถนำไปใช้กับเวลาคำนวณรถมือสองได้ด้วยค่ะ
เพราะราคารถยนต์มือสองที่ขายกันตามเต้นท์ก็ตาม หรือ ซื้อขายกันเองแล้วเอาไปเข้าไฟแนนซ์ก็ตาม
ส่วนใหญ่ เป็นราคาที่ยังไม่มี VAT ทั้งนั้นค่ะ
อย่างที่เข้าใจสินค้าที่ขายถูกต้องมีการเสียภาษีชัดเจน ก็ต้องเข้า ระบบ VAT7 % (ภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ซึ่งหลายๆ คนยังเข้าใจผิดเกี่ยวกับว่า ซื้อรถป้ายแดง เวลาผ่อนไม่ต้องบวก VAT แต่รถมือสองพอจัดไฟแนนซ์เวลาผ่อนแล้วต้องบวก VAT แต่ที่จริงแล้ว ทั้งสองอย่างก็ต้องมี VAT อยู่ด้วยเสมอ ขึ้นอยู่กับว่า เขาจะรวมให้คุณตอนไหน ซึ่งผู้บริโภคคนสุดท้ายมักจะถูกผลักภาระภาษีให้รับไปเสมอ
โดยส่วนใหญ่สถาบันการเงินจะเป็นผู้รับผิดชอบ เก็บ VAT จากผู้ขอสินเชื่อเอง
มาต่อนะคะ =>
หลายๆ คนเคยสงสัยและตั้งคำถามว่า บังเอิญเงินเดือนเกิดขึ้น หรือได้เลื่อนตำแหน่ง หรืองานมันเวิร์คมากทำให้รายได้ต่อเดือนมันเยอขึ้น จากที่เคยดีลค่างวดไว้ 15,693.34 / งวด อยากจะ โป๊ะแบบทบไปเลย เบิ้ลเลยว่างั้น แต่มันจะมีผลอะไรกับชีวิตคุณมั๊ย ลองมาดูกัน
ส่วนใหญ่สถาบันการเงินชั้นนำของประเทศไทย ในการปล่อยสินเชื่อกับรถยนต์จะใช้ระบบดอกเบี้ยแบบคงที่
และในที่นี้ขอเอ่ยถึงแค่ อัตราดอกเบี้ยแบบคงที่เท่านั้นนะคะ
ซึ่งไม่ว่า จะโปะ จะโบก จะผ่อนเกิน มันไม่มีผลกับดอกเบี้ยแต่มันจะกระทบแท้ตอนท้ายแค่นั้น
ถ้าอยากได้ส่วนลดดอกเบี้ย คุณสามารถทำได้โดยวิธีการปิดบัญชี
ซึ่งติดตามอ่านต่อไปนะคะ มีเขียนไว้ ท่อนกลางๆ
ตัวอย่าง 1
คุณผ่อนเดือนนี้เกินไปละ 1,000 บาท จาก ค่างวดปกติ 15,693.34 เป็น 16,693.34
ผลของมันคือ เดือนหน้าถ้าคุณชำระ เท่าเดิม ที่ยอด 15,693.34
และยังคงผ่อน ตามปกติไปเรื่อยๆ จนครบสัญญา
แต่งวดสุดท้าย (งวดที่ 60) คุณไม่ต้องจ่ายเต็มคะ คุณจะชำระแค่ 14,693.34 เท่านั้น
ตัวอย่าง 2
คุณผ่อนเกินไปละ 1,000 บาท ทุกเดือน จาก ค่างวดปกติ 15,693.34 เป็น 16,693.34
ก็คือ
1,000 x 60 งวด = 60,000
สรุปคือคุณผ่อนเกินไป 60,000 บาท
เท่ากับว่า คุณผ่อน งวดที่ 57 = 15,693.34 ยอดเกินคงเหลือ 44,306.66
คุณผ่อน งวดที่ 58 = 15,693.34 ยอดเกินคงเหลือ 28,613.32
คุณผ่อน งวดที่ 59 = 15,693.34 ยอดเกินคงเหลือ 12,919.98
และงวด ที่ 60 คุณจะเหลือเพียงแค่ = 12,919.98 ปิดบัญชี
เท่ากับว่า ถ้าผ่อนเกินไปเดือนละพัน ค่างวดจะจบที่งวด 57
ทำให้ดูว่าเงินทั้งก้อนมันจะตัดไปตอนไหนนะคะ ว่าถ้าคุณผ่อนเกินๆ ไป
ผลที่ได้คือ เงินที่เกินมันไปตัดปลายทางสัญญาของคุณขึ้นมาเรื่อยๆ คะ
ตัวอย่าง 3
คุณผ่อนเดือนนี้ผ่อนขาดไป 1,000 บาท จาก ค่างวดปกติ 15,693.34 เป็น 14,693.34
ผลของมันคือ เดือนหน้าคุณก็ต้องชำระ เพิ่ม อีก 1000 ที่หายไป รวมเป็น 16,693.34
หากคุณไม่ชำระ ยอดที่ค้าง
แต่สถานะบัญชีของคุณจะกลายเป็นค้างชำระ..........นะคะ
จะมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมล่าช้าเกิดขึ้น อันนี้ต้องระวัง (เก็บหรือไม่ มากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับสถาบันการเงิน)
เพราะแต่ละสถาบันการเงินมีกฎของการติดตามทวงนี้ที่แตกต่างกัน ความยืดหยุ่นก็แตกต่างกัน
ดังนั้น สัญญากะเขาว่าจะผ่อนเดือนละเท่าไหร่ ก็จ่ายเท่านั้น นะคะ ถ้าไม่อยากให้เกิดความยุ่งยาก
แต่ถ้าคุณ ผ่อนในเดือนถัดไป เป็นค่างวดปกติ 15,693.34
และยังคงไม่จ่ายที่คุณค้างเขาอยู่ 1,000 บาท
ยอดนี้ก็จะค้างไปในเดือนถัดไปและยังคงอยู่ตลอดอายุสัญญา ค้างไปเรื่อยๆ .........
จนกว่าคุณจะจ่ายส่วนที่ขาดให้เขาและจะมีผลทำให้การประวัติการชำระของคุณไม่ค่อยสวย
และส่งผลกับการขอสินเชื่ออื่นๆ ในอนาคต
มาต่อกันค่ะ ====>
คืออันนี้ไม่ต้องสนใจ VAT นะคะ เอาแก่นแท้ของการคำนวณไปเลย
เพราะ (ยอดเงินต้น + ดอกเบี้ย ) x VAT 7% ก็เท่ากับยอด ข้างบนแหละค่ะ
15,693.34 เป็นยอดรวม Vat
คำอธิบายประกอบทางเลือกที่ 2
ง่ายๆ คือ 60 งวด ผ่อนมา ครึ่งทางคือ 30 งวดทุกอย่าง หาร 2 เลยง่าย ๆ
จะเห็นได้ว่าดอกเบี้ย คงเหลือ คือ 40,000
สถาบันการเงินส่วนใหญ่ กรณีผ่อนมาเกินกว่าระยะที่เขาอนุญาตให้เทปิดได้
(เงื่อนไขแบบละเอียดต้องสอบถามสถาบันการเงินเอง เพราะแต่ละที่ไม่เหมือนกัน)
ถ้าเทปิดหมดเลย เขาจะลดดอกเบี้ยคงเหลือให้ 50 %
ย้ำ ลดดอกเบี้ยคงเหลือ
ดังนั้น หากเทปิด ณ ตอนนี้ ที่ผ่อนมาแล้ว 30 งวด คุณจะต้องชำระเงินทั้งสิ้น
= 400,000 + (40,000 ÷ 2)
= 420,0000
รวมเงินที่ประหยัดได้ 20,000 บาท
ทั้งนี้ก็ได้ข้อสรุปของตัวเลขไว้ให้ทุกท่านประกอบการตัดสินใจนะคะ ว่าแบบไหน ดี หรือไม่ดีเหมาะกับ สถานะการเงินหรือไม่
หรือแบ่งสรรค์บันส่วนให้เหมาะกับแต่ละช่วงจังหวะชีวิตคุณค่ะ
หากกระทูนี้มีข้อผิดพลาดประการใดต้องขออภัยท่านผู้อ่านไว้ ณ ที่นี้นะคะ และ จขกท พร้อมเอาไปปรับปรุง หรือ แก้ไขข้อมูล เพื่อให้เป็นประโยชน์กับผู้อ่านต่อไปคะ
ผ่อนรถยนต์ชิลๆไป หรือ จะโปะหรือจะปิดบัญชีไฟแนนซ์ไปเลย (คุ้มไม่คุ้มมาดูกัน!!!)
กระทู้นี้ เจ้าของกระทู้ตั้งใจแค่อยากแชร์ หลักการ (คร่าว ๆ) หรือทำให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับการคำนวณค่างวดรถยนต์ อัตราดอกเบี้ย
และส่วนลดที่ได้รับในการตัดสินใจหลังจากที่ได้ขอสินเชื่อมาแล้ว
การชั่งใจอยู่ว่าจะโปะดี หรือ จะ ผ่อนชิลๆดี หรือจะผ่อนทบดี
หรือ อาจเป็นประโยชน์ให้กับคนที่กำลังจะขอสินเชื่ออยู่ ณ ขณะนี้
กระทู้นี้ทำให้เห็นความต่างระหว่างเงื่อนไขในแต่ละข้อว่า ในแต่ละการตัดสินใจของคุณ มันมีผลกระทบต่อเงินในกระเป๋า ของคุณมากน้อยแค่ไหน
สำหรับกูรูผู้รู้ทั้งหลาย หากท่านรู้และเข้าใจอยู่แล้วกระทู้นี้อาจถูกใจหรือไม่ถูกใจท่านต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยค่ะ
(ผู้น้อยมิอาจล่วงเกิน)
คำอธิบายภาพประกอบ
รถยนต์ราคาสุทธิคือ 856,000 บาท
จริงๆแล้ว ในก้อนนี้จะมี VAT หรือ ภาษีมูลค่าเพิ่ม อยู่ด้วยคือ 56,000 บาท
การคำนวณเพื่อถอด VAT ออกมานั้น ใช้สูตรมาตรฐานก็คือ x 100 แล้ว ก็ หาร 107
แต่ในที่นี้ จขกท. รวบรัดก็คือ หาร 1.07 เลย ก็ได้ตัวเลขที่เท่ากัน
จะสั่งเกตุได้ว่า ไม่ว่าจะคำนวณแบบไหน ทั้งราคาก่อน VAT หรือ หลัง VAT
ผลการคำนวณ ค่างวดก็จะออกมาได้เท่ากันค่ะ 15,693.34 / งวด
ทั้งนี้ในช่องสีช่องซ้าย(สีส้ม) สามารถนำไปใช้กับเวลาคำนวณรถมือสองได้ด้วยค่ะ
เพราะราคารถยนต์มือสองที่ขายกันตามเต้นท์ก็ตาม หรือ ซื้อขายกันเองแล้วเอาไปเข้าไฟแนนซ์ก็ตาม
ส่วนใหญ่ เป็นราคาที่ยังไม่มี VAT ทั้งนั้นค่ะ
อย่างที่เข้าใจสินค้าที่ขายถูกต้องมีการเสียภาษีชัดเจน ก็ต้องเข้า ระบบ VAT7 % (ภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ซึ่งหลายๆ คนยังเข้าใจผิดเกี่ยวกับว่า ซื้อรถป้ายแดง เวลาผ่อนไม่ต้องบวก VAT แต่รถมือสองพอจัดไฟแนนซ์เวลาผ่อนแล้วต้องบวก VAT แต่ที่จริงแล้ว ทั้งสองอย่างก็ต้องมี VAT อยู่ด้วยเสมอ ขึ้นอยู่กับว่า เขาจะรวมให้คุณตอนไหน ซึ่งผู้บริโภคคนสุดท้ายมักจะถูกผลักภาระภาษีให้รับไปเสมอ
โดยส่วนใหญ่สถาบันการเงินจะเป็นผู้รับผิดชอบ เก็บ VAT จากผู้ขอสินเชื่อเอง
มาต่อนะคะ =>
หลายๆ คนเคยสงสัยและตั้งคำถามว่า บังเอิญเงินเดือนเกิดขึ้น หรือได้เลื่อนตำแหน่ง หรืองานมันเวิร์คมากทำให้รายได้ต่อเดือนมันเยอขึ้น จากที่เคยดีลค่างวดไว้ 15,693.34 / งวด อยากจะ โป๊ะแบบทบไปเลย เบิ้ลเลยว่างั้น แต่มันจะมีผลอะไรกับชีวิตคุณมั๊ย ลองมาดูกัน
ส่วนใหญ่สถาบันการเงินชั้นนำของประเทศไทย ในการปล่อยสินเชื่อกับรถยนต์จะใช้ระบบดอกเบี้ยแบบคงที่
และในที่นี้ขอเอ่ยถึงแค่ อัตราดอกเบี้ยแบบคงที่เท่านั้นนะคะ
ซึ่งไม่ว่า จะโปะ จะโบก จะผ่อนเกิน มันไม่มีผลกับดอกเบี้ยแต่มันจะกระทบแท้ตอนท้ายแค่นั้น
ถ้าอยากได้ส่วนลดดอกเบี้ย คุณสามารถทำได้โดยวิธีการปิดบัญชี
ซึ่งติดตามอ่านต่อไปนะคะ มีเขียนไว้ ท่อนกลางๆ
ตัวอย่าง 1
คุณผ่อนเดือนนี้เกินไปละ 1,000 บาท จาก ค่างวดปกติ 15,693.34 เป็น 16,693.34
ผลของมันคือ เดือนหน้าถ้าคุณชำระ เท่าเดิม ที่ยอด 15,693.34
และยังคงผ่อน ตามปกติไปเรื่อยๆ จนครบสัญญา
แต่งวดสุดท้าย (งวดที่ 60) คุณไม่ต้องจ่ายเต็มคะ คุณจะชำระแค่ 14,693.34 เท่านั้น
ตัวอย่าง 2
คุณผ่อนเกินไปละ 1,000 บาท ทุกเดือน จาก ค่างวดปกติ 15,693.34 เป็น 16,693.34
ก็คือ
1,000 x 60 งวด = 60,000
สรุปคือคุณผ่อนเกินไป 60,000 บาท
เท่ากับว่า คุณผ่อน งวดที่ 57 = 15,693.34 ยอดเกินคงเหลือ 44,306.66
คุณผ่อน งวดที่ 58 = 15,693.34 ยอดเกินคงเหลือ 28,613.32
คุณผ่อน งวดที่ 59 = 15,693.34 ยอดเกินคงเหลือ 12,919.98
และงวด ที่ 60 คุณจะเหลือเพียงแค่ = 12,919.98 ปิดบัญชี
เท่ากับว่า ถ้าผ่อนเกินไปเดือนละพัน ค่างวดจะจบที่งวด 57
ทำให้ดูว่าเงินทั้งก้อนมันจะตัดไปตอนไหนนะคะ ว่าถ้าคุณผ่อนเกินๆ ไป
ผลที่ได้คือ เงินที่เกินมันไปตัดปลายทางสัญญาของคุณขึ้นมาเรื่อยๆ คะ
ตัวอย่าง 3
คุณผ่อนเดือนนี้ผ่อนขาดไป 1,000 บาท จาก ค่างวดปกติ 15,693.34 เป็น 14,693.34
ผลของมันคือ เดือนหน้าคุณก็ต้องชำระ เพิ่ม อีก 1000 ที่หายไป รวมเป็น 16,693.34
หากคุณไม่ชำระ ยอดที่ค้าง
แต่สถานะบัญชีของคุณจะกลายเป็นค้างชำระ..........นะคะ
จะมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมล่าช้าเกิดขึ้น อันนี้ต้องระวัง (เก็บหรือไม่ มากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับสถาบันการเงิน)
เพราะแต่ละสถาบันการเงินมีกฎของการติดตามทวงนี้ที่แตกต่างกัน ความยืดหยุ่นก็แตกต่างกัน
ดังนั้น สัญญากะเขาว่าจะผ่อนเดือนละเท่าไหร่ ก็จ่ายเท่านั้น นะคะ ถ้าไม่อยากให้เกิดความยุ่งยาก
แต่ถ้าคุณ ผ่อนในเดือนถัดไป เป็นค่างวดปกติ 15,693.34
และยังคงไม่จ่ายที่คุณค้างเขาอยู่ 1,000 บาท
ยอดนี้ก็จะค้างไปในเดือนถัดไปและยังคงอยู่ตลอดอายุสัญญา ค้างไปเรื่อยๆ .........
จนกว่าคุณจะจ่ายส่วนที่ขาดให้เขาและจะมีผลทำให้การประวัติการชำระของคุณไม่ค่อยสวย
และส่งผลกับการขอสินเชื่ออื่นๆ ในอนาคต
มาต่อกันค่ะ ====>
คืออันนี้ไม่ต้องสนใจ VAT นะคะ เอาแก่นแท้ของการคำนวณไปเลย
เพราะ (ยอดเงินต้น + ดอกเบี้ย ) x VAT 7% ก็เท่ากับยอด ข้างบนแหละค่ะ
15,693.34 เป็นยอดรวม Vat
คำอธิบายประกอบทางเลือกที่ 2
ง่ายๆ คือ 60 งวด ผ่อนมา ครึ่งทางคือ 30 งวดทุกอย่าง หาร 2 เลยง่าย ๆ
จะเห็นได้ว่าดอกเบี้ย คงเหลือ คือ 40,000
สถาบันการเงินส่วนใหญ่ กรณีผ่อนมาเกินกว่าระยะที่เขาอนุญาตให้เทปิดได้
(เงื่อนไขแบบละเอียดต้องสอบถามสถาบันการเงินเอง เพราะแต่ละที่ไม่เหมือนกัน)
ถ้าเทปิดหมดเลย เขาจะลดดอกเบี้ยคงเหลือให้ 50 %
ย้ำ ลดดอกเบี้ยคงเหลือ
ดังนั้น หากเทปิด ณ ตอนนี้ ที่ผ่อนมาแล้ว 30 งวด คุณจะต้องชำระเงินทั้งสิ้น
= 400,000 + (40,000 ÷ 2)
= 420,0000
รวมเงินที่ประหยัดได้ 20,000 บาท
ทั้งนี้ก็ได้ข้อสรุปของตัวเลขไว้ให้ทุกท่านประกอบการตัดสินใจนะคะ ว่าแบบไหน ดี หรือไม่ดีเหมาะกับ สถานะการเงินหรือไม่
หรือแบ่งสรรค์บันส่วนให้เหมาะกับแต่ละช่วงจังหวะชีวิตคุณค่ะ
หากกระทูนี้มีข้อผิดพลาดประการใดต้องขออภัยท่านผู้อ่านไว้ ณ ที่นี้นะคะ และ จขกท พร้อมเอาไปปรับปรุง หรือ แก้ไขข้อมูล เพื่อให้เป็นประโยชน์กับผู้อ่านต่อไปคะ