ทรัพย์สินและหนี้สินของ
นายอิสระ ว่องกุศลกิจ ที่รวมแล้วมีทรัพย์สิน
มากกว่าหนี้สิน 5,225,733,133 บาท
ไม่แปลก
เช่นเดียวกับที่
นางพิไลพรรณ สมบัติศิริ มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 1,313,781,715 บาท
เช่นเดียวกับที่
นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 315,438,477 บาท
ก็ไม่แปลก
เพราะรับรู้กันมาอย่างยาวนานว่า
นายอิสระ ว่องกุศลกิจ เป็นนักธุรกิจเจ้าของบริษัท
ในเครือมิตรผล เพราะรับรู้กันมาอย่างยาวนานว่า
นางพิไลพรรณ สมบัติศิริ เป็นเจ้าของ
ธุรกิจโรงแรมในเครือปาร์คนายเลิศ
และเพราะรับรู้กันมาอย่างยาวนานว่า
นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร คือหุ้นส่วนใหญ่
เครือโตชิบา (ประเทศไทย)
แล้วความรู้สึกแปลกอยู่ที่ไหน
อยู่ที่
พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล มีทรัพย์สิน 108,821,375 บาท อยู่ที่
พล.อ.ปรีชา จันทร์โอชา
มีทรัพย์สิน 79,821,468 บาท อยู่ที่
พล.อ.ธีรชัย นาควานิช มีทรัพย์สิน 70,232,161 บาท
แปลกตรงที่ท่านเป็น "ข้าราชการ"
เหตุปัจจัยใดทำให้เมื่อเห็นความร่ำรวยของ "ข้าราชการ" แล้วผู้คนมักจะตื่นตะลึง
สำแดงอาการแปลกใจ
1 เพราะว่าความรับรู้ในลักษณะ
"สะสม"
เป็นลักษณะสะสมอันมีลักษณะเร่งอัดฉีดอย่างสูงยิ่งในห้วงก่อนรัฐประหาร 2549
และก่อนรัฐประหาร 2557 ว่า การกอบโกย โกงกินล้วนเป็นเรื่องของ
"นักการเมือง"
1 เป็นลักษณะสะสมอันมาจากวาทกรรม
"คนดี" ในท่วงทำนองแบบ
"หมอจ๊ะหมอจ๋า"
ในท่วงทำนองแบบ
"อธิการบดี" ซึ่งออกมาร่วมเคลื่อนไหวในการ
"ชัตดาวน์" กทม.กับ
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ในห้วงต้นปี 2557
การเปิดเผยทรัพย์สินมีมากกว่าหนี้สินของ
พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ์ ที่มาก
ถึง 263,355,186 บาท จึงเป็นเรื่องน่าตื่นตาตื่นใจ
เหมือนที่
พล.อ.ไพโรจน์ พานิชสมัย มีมากถึง 388,207,253 บาท
เหมือนที่
นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ อธิการบดี มศว มี 95,787,349 บาท เหมือนที่
นายทวีศักดิ์ สูทกวาทิน ประธานสภาคณาจารย์นิด้ามี 94,982,259 บาท
สนช.ยัง
"รวย" ขนาดนี้แล้ว
"ครม." จะขนาดไหน
พลันที่เห็นรายละเอียดของบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของเหล่า สนช.อันมาจาก
การแต่งตั้งของ คสช. ผู้คนจำนวนไม่น้อยก็ร้อง
"ฮ้อ"
ร้องฮ้อและมิได้แปลกใจที่มีการเคลื่อนไหวจาก 28 สนช.ยื่นคำร้องต่อศาลปกครอง
เพื่อให้วินิจฉัยว่าไม่จำเป็นต้องแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินต่อ ป.ป.ช.
เพราะ
"ตัวเลข" เหล่านี้ย่อมมีผล
"ข้างเคียง"
ที่บอกว่า
"นักการเมือง" ร่ำรวยก็อาจจะจริง แต่ที่ร่ำรวยมาอย่างประสานกับ
นักการเมืองก็คือ บรรดา
"ข้าราชการ" ทั้งหลาย
ยิ่งเป็น "คนดี" ยิ่ง "ร่ำรวย"
ด้าน 1 ท่านเหล่านี้ได้รับความไว้วางใจจาก คสช.แต่งตั้งให้มาดำรงตำแหน่ง
เป็นสมาชิก สนช. ขณะเดียวกัน ด้าน 1 เมื่อมีตำแหน่งในฐานะเป็นเจ้าหน้าที่
ของรัฐก็มีความจำเป็นทางกฎหมายต้องชี้แจงแสดงบัญชีทรัพย์สิน
ชาวบ้านก็ตาลุกโพลงกันถ้วนหน้า
ที่ว่าเป็น
"นายทหารนับขวด เป็นนายตำรวจนับแบงก์" นั้นท่าทางจะไม่จริงเสมอไป
เพราะเป็นทหารก็มีสิทธิร่ำรวยได้เหมือนกัน
คำถามที่ตามมา คือ รวยมาอย่างไร
โลกนี้มิได้อยู่ด้วย มณี เดียวนา ทรายและสิ่งอื่นมี ร่วมสร้าง อย่างที่
อังคาร กัลยาณพงศ์ ว่าไว้
กล่าวในเชิงบัญชีย่อมปรากฏ 2 ช่องให้เห็นและได้ศึกษาเสมอ ช่อง 1 ย่อมเป็นรายรับ
ช่อง 1 ย่อมเป็นรายจ่าย
ภายใน "รายรับ" ที่ตามมาคือ "รายจ่าย"
.............
(ที่มา:มติชนรายวัน 7 ตุลาคม 2557)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1412670417
ทรัพย์สิน หนี้สิน ในรายรับ มี"รายจ่าย" มุม"ข้าราชการ" วิเคราะห์ มติชนออนไลน์
มากกว่าหนี้สิน 5,225,733,133 บาท
ไม่แปลก
เช่นเดียวกับที่ นางพิไลพรรณ สมบัติศิริ มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 1,313,781,715 บาท
เช่นเดียวกับที่ นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 315,438,477 บาท
ก็ไม่แปลก
เพราะรับรู้กันมาอย่างยาวนานว่า นายอิสระ ว่องกุศลกิจ เป็นนักธุรกิจเจ้าของบริษัท
ในเครือมิตรผล เพราะรับรู้กันมาอย่างยาวนานว่า นางพิไลพรรณ สมบัติศิริ เป็นเจ้าของ
ธุรกิจโรงแรมในเครือปาร์คนายเลิศ
และเพราะรับรู้กันมาอย่างยาวนานว่า นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร คือหุ้นส่วนใหญ่
เครือโตชิบา (ประเทศไทย)
แล้วความรู้สึกแปลกอยู่ที่ไหน
อยู่ที่ พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล มีทรัพย์สิน 108,821,375 บาท อยู่ที่ พล.อ.ปรีชา จันทร์โอชา
มีทรัพย์สิน 79,821,468 บาท อยู่ที่ พล.อ.ธีรชัย นาควานิช มีทรัพย์สิน 70,232,161 บาท
แปลกตรงที่ท่านเป็น "ข้าราชการ"
เหตุปัจจัยใดทำให้เมื่อเห็นความร่ำรวยของ "ข้าราชการ" แล้วผู้คนมักจะตื่นตะลึง
สำแดงอาการแปลกใจ
1 เพราะว่าความรับรู้ในลักษณะ "สะสม"
เป็นลักษณะสะสมอันมีลักษณะเร่งอัดฉีดอย่างสูงยิ่งในห้วงก่อนรัฐประหาร 2549
และก่อนรัฐประหาร 2557 ว่า การกอบโกย โกงกินล้วนเป็นเรื่องของ
"นักการเมือง"
1 เป็นลักษณะสะสมอันมาจากวาทกรรม "คนดี" ในท่วงทำนองแบบ "หมอจ๊ะหมอจ๋า"
ในท่วงทำนองแบบ "อธิการบดี" ซึ่งออกมาร่วมเคลื่อนไหวในการ "ชัตดาวน์" กทม.กับ
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ในห้วงต้นปี 2557
การเปิดเผยทรัพย์สินมีมากกว่าหนี้สินของ พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ์ ที่มาก
ถึง 263,355,186 บาท จึงเป็นเรื่องน่าตื่นตาตื่นใจ
เหมือนที่ พล.อ.ไพโรจน์ พานิชสมัย มีมากถึง 388,207,253 บาท
เหมือนที่ นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ อธิการบดี มศว มี 95,787,349 บาท เหมือนที่
นายทวีศักดิ์ สูทกวาทิน ประธานสภาคณาจารย์นิด้ามี 94,982,259 บาท
สนช.ยัง "รวย" ขนาดนี้แล้ว "ครม." จะขนาดไหน
พลันที่เห็นรายละเอียดของบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของเหล่า สนช.อันมาจาก
การแต่งตั้งของ คสช. ผู้คนจำนวนไม่น้อยก็ร้อง
"ฮ้อ"
ร้องฮ้อและมิได้แปลกใจที่มีการเคลื่อนไหวจาก 28 สนช.ยื่นคำร้องต่อศาลปกครอง
เพื่อให้วินิจฉัยว่าไม่จำเป็นต้องแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินต่อ ป.ป.ช.
เพราะ "ตัวเลข" เหล่านี้ย่อมมีผล "ข้างเคียง"
ที่บอกว่า "นักการเมือง" ร่ำรวยก็อาจจะจริง แต่ที่ร่ำรวยมาอย่างประสานกับ
นักการเมืองก็คือ บรรดา "ข้าราชการ" ทั้งหลาย
ยิ่งเป็น "คนดี" ยิ่ง "ร่ำรวย"
ด้าน 1 ท่านเหล่านี้ได้รับความไว้วางใจจาก คสช.แต่งตั้งให้มาดำรงตำแหน่ง
เป็นสมาชิก สนช. ขณะเดียวกัน ด้าน 1 เมื่อมีตำแหน่งในฐานะเป็นเจ้าหน้าที่
ของรัฐก็มีความจำเป็นทางกฎหมายต้องชี้แจงแสดงบัญชีทรัพย์สิน
ชาวบ้านก็ตาลุกโพลงกันถ้วนหน้า
ที่ว่าเป็น "นายทหารนับขวด เป็นนายตำรวจนับแบงก์" นั้นท่าทางจะไม่จริงเสมอไป
เพราะเป็นทหารก็มีสิทธิร่ำรวยได้เหมือนกัน
คำถามที่ตามมา คือ รวยมาอย่างไร
โลกนี้มิได้อยู่ด้วย มณี เดียวนา ทรายและสิ่งอื่นมี ร่วมสร้าง อย่างที่ อังคาร กัลยาณพงศ์ ว่าไว้
กล่าวในเชิงบัญชีย่อมปรากฏ 2 ช่องให้เห็นและได้ศึกษาเสมอ ช่อง 1 ย่อมเป็นรายรับ
ช่อง 1 ย่อมเป็นรายจ่าย
ภายใน "รายรับ" ที่ตามมาคือ "รายจ่าย"
.............
(ที่มา:มติชนรายวัน 7 ตุลาคม 2557)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1412670417