Jas ฟ้องกลับ สิบสามคน เรียกค่าเสียหาย 6300 ล้าน
บริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ( มหาชน ) ("จัสมิน") ขอรายงานให้ทราบว่า เมื่อวันที่
25 กันยายน 2557 อคิวเมนท์ บริษัทย่อยของจัสมิน (โดยจัสมินถือหุ้นเกือบ 100% ของทุนจดทะเบียน)
ได้ยื่นฟ้อง ทีทีแอนด์ที รวมทั้งบุคคลและนิติบุคคลที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ บริษัท พี ซี แอล แพลนเนอร์
จำกัด, นายชาย วัฒนสุวรรณ, นายชลิต สถิตทอง, นายกิตติพัฒน์ อินทรเกษตร, นายเพิ่มศักดิ์ เดชะไกศยะ,
นายพินิจ อาภานันทิกุล, นายบุญเสริม แสงทอง, นายชำนาญ กิจสมมารถ, นายตริณญ์ อินทรโอภาส, บริษัท อยุธยา
ลิมิเต็ด, บริษัท อันดามันซี เมเนจเม้นท์ ลิมิเต็ด และนายไลชุง แมน เป็นจำเลยรวมสิบสามคน
ต่อศาลจังหวัดนนทบุรี เป็นคดีหมายเลขดำที่ พ.1625/2557
จากการที่จำเลยทั้งสิบสามได้ร่วมกันกระทำละเมิดต่อ อคิวเมนท์
โดยการนำบันทึกข้อตกลงในการใช้สิทธิซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัท ทริปเปิลที บรอดแบนด์ จำกัด (มหาชน)
ลงวันที่ 13 กันยายน 2549 ระหว่าง ทีทีแอนด์ที กับ อคิวเมนท์ ("บันทึกข้อตกลงฯ")
ที่จำเลยทั้งหมดรู้ดีว่าสิ้นผลบังคับไปนานแล้วมาฟ้องอคิวเมนท์ ให้ทำการโอนขายหุ้นทริปเปิลที
ที่อคิวเมนท์ถืออยู่ในทริปเปิลทีให้แก่ผู้ถือหุ้นของทีทีแอนด์ที หรือผู้สืบสิทธิ เป็นจำนวน 876.9
ล้านหุ้นเศษ เป็นคดีหมายเลขดำที่ พ.882/2557
โดยเจาะจงฟ้องคดีและร้องขอให้ศาลคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างที่ ทริปเปิลที
(ซึ่งเป็นบริษัทที่มีอคิวเมนท์เป็นผู้ถือหุ้นเกือบทั้งหมด)
กำลังดำเนินการยื่นเรื่องขอจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม
ซึ่งเริ่มมาด้วยดีตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ปีนี้จนใกล้จะเสร็จสิ้นกระบวนการ
การฟ้องคดีดังกล่าวเป็นการที่จำเลยทั้งสิบสามได้ร่วมกันและแบ่งแยกหน้าที่กันดำเนินการโดยยอมเสียค่าทนายค
วามและค่าใช้จ่ายอื่นๆ เป็นจำนวนมากในการฟ้องคดีทั้งๆ
ที่ทีทีแอนด์ทีจะไม่ได้รับประโยชน์ใดเป็นส่วนตนจากการฟ้องคดีเลย
แต่ต้องการใช้เหตุที่มีการฟ้องคดีและการร้องขอให้ศาลคุ้มครองประโยชน์นั้นมาทำให้การจัดตั้งกองทุนรวมของ
ทริปเปิลที ไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้
ซึ่งเป็นการใช้สิทธิทางศาลโดยไม่สุจริตทำให้อคิวเมนท์ได้รับความเสียหาย
อคิวเมนท์ได้เรียกร้องค่าเสียหายในคดีนี้เป็นเงินจำนวนทั้งสิ้น 6,350 ล้านบาท
โดยอคิวเมนท์ได้ขอให้ศาลกำหนดค่าเสียหายเอากับจำเลยแต่ละรายตามความหนักเบาของพฤติการณ์ในการทำละเมิด
โดยขอให้ ทีทีแอนด์ที, บริษัท พีซีแอล แพลนเนอร์ จำกัด, นายชาย วัฒนสุวรรณ, นายชลิต สถิตทอง
และนายกิตติพัฒน์ อินทรเกษตร (คือ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5) ร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงินจำนวน
2,500 ล้านบาท ขอให้นายเพิ่มศักดิ์ เดชะไกศยะ, นายพินิจ อาภานันทิกุล, นายบุญเสริม แสงทอง,นายชำนาญ
กิจสมมารถ และนายตริณญ์ อินทรโอภาส (คือ จำเลยที่ 6 ถึงที่ 10) ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงินจำนวน
1,200 ล้านบาท และขอให้บริษัท อยุธยา ลิมิเต็ด, บริษัท อันดามันซี เมเนจเม้นท์ ลิมิเต็ด และนายไลชุง แมน
(คือ จำเลยที่ 11 ถึงที่ 13) ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงินจำนวน 2,650 ล้านบาท ทั้งนี้
ศาลได้มีคำสั่งให้รับฟ้องของ อคิวเมนท์ไว้แล้วเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2557 โดยได้กำหนดนัดชี้สองสถาน
และนัดพร้อมไว้ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 9.00 น.
ขณะนี้เจ้าหน้าที่ของศาลกำลังส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยทั้งสิบสาม
Jas โดนฟ้อง ลงกระจัดกระจาย Jas ฟ้องกลับจะพุ่งไปดาวอังคารหรือไม่
บริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ( มหาชน ) ("จัสมิน") ขอรายงานให้ทราบว่า เมื่อวันที่
25 กันยายน 2557 อคิวเมนท์ บริษัทย่อยของจัสมิน (โดยจัสมินถือหุ้นเกือบ 100% ของทุนจดทะเบียน)
ได้ยื่นฟ้อง ทีทีแอนด์ที รวมทั้งบุคคลและนิติบุคคลที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ บริษัท พี ซี แอล แพลนเนอร์
จำกัด, นายชาย วัฒนสุวรรณ, นายชลิต สถิตทอง, นายกิตติพัฒน์ อินทรเกษตร, นายเพิ่มศักดิ์ เดชะไกศยะ,
นายพินิจ อาภานันทิกุล, นายบุญเสริม แสงทอง, นายชำนาญ กิจสมมารถ, นายตริณญ์ อินทรโอภาส, บริษัท อยุธยา
ลิมิเต็ด, บริษัท อันดามันซี เมเนจเม้นท์ ลิมิเต็ด และนายไลชุง แมน เป็นจำเลยรวมสิบสามคน
ต่อศาลจังหวัดนนทบุรี เป็นคดีหมายเลขดำที่ พ.1625/2557
จากการที่จำเลยทั้งสิบสามได้ร่วมกันกระทำละเมิดต่อ อคิวเมนท์
โดยการนำบันทึกข้อตกลงในการใช้สิทธิซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัท ทริปเปิลที บรอดแบนด์ จำกัด (มหาชน)
ลงวันที่ 13 กันยายน 2549 ระหว่าง ทีทีแอนด์ที กับ อคิวเมนท์ ("บันทึกข้อตกลงฯ")
ที่จำเลยทั้งหมดรู้ดีว่าสิ้นผลบังคับไปนานแล้วมาฟ้องอคิวเมนท์ ให้ทำการโอนขายหุ้นทริปเปิลที
ที่อคิวเมนท์ถืออยู่ในทริปเปิลทีให้แก่ผู้ถือหุ้นของทีทีแอนด์ที หรือผู้สืบสิทธิ เป็นจำนวน 876.9
ล้านหุ้นเศษ เป็นคดีหมายเลขดำที่ พ.882/2557
โดยเจาะจงฟ้องคดีและร้องขอให้ศาลคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างที่ ทริปเปิลที
(ซึ่งเป็นบริษัทที่มีอคิวเมนท์เป็นผู้ถือหุ้นเกือบทั้งหมด)
กำลังดำเนินการยื่นเรื่องขอจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม
ซึ่งเริ่มมาด้วยดีตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ปีนี้จนใกล้จะเสร็จสิ้นกระบวนการ
การฟ้องคดีดังกล่าวเป็นการที่จำเลยทั้งสิบสามได้ร่วมกันและแบ่งแยกหน้าที่กันดำเนินการโดยยอมเสียค่าทนายค
วามและค่าใช้จ่ายอื่นๆ เป็นจำนวนมากในการฟ้องคดีทั้งๆ
ที่ทีทีแอนด์ทีจะไม่ได้รับประโยชน์ใดเป็นส่วนตนจากการฟ้องคดีเลย
แต่ต้องการใช้เหตุที่มีการฟ้องคดีและการร้องขอให้ศาลคุ้มครองประโยชน์นั้นมาทำให้การจัดตั้งกองทุนรวมของ
ทริปเปิลที ไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้
ซึ่งเป็นการใช้สิทธิทางศาลโดยไม่สุจริตทำให้อคิวเมนท์ได้รับความเสียหาย
อคิวเมนท์ได้เรียกร้องค่าเสียหายในคดีนี้เป็นเงินจำนวนทั้งสิ้น 6,350 ล้านบาท
โดยอคิวเมนท์ได้ขอให้ศาลกำหนดค่าเสียหายเอากับจำเลยแต่ละรายตามความหนักเบาของพฤติการณ์ในการทำละเมิด
โดยขอให้ ทีทีแอนด์ที, บริษัท พีซีแอล แพลนเนอร์ จำกัด, นายชาย วัฒนสุวรรณ, นายชลิต สถิตทอง
และนายกิตติพัฒน์ อินทรเกษตร (คือ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5) ร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงินจำนวน
2,500 ล้านบาท ขอให้นายเพิ่มศักดิ์ เดชะไกศยะ, นายพินิจ อาภานันทิกุล, นายบุญเสริม แสงทอง,นายชำนาญ
กิจสมมารถ และนายตริณญ์ อินทรโอภาส (คือ จำเลยที่ 6 ถึงที่ 10) ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงินจำนวน
1,200 ล้านบาท และขอให้บริษัท อยุธยา ลิมิเต็ด, บริษัท อันดามันซี เมเนจเม้นท์ ลิมิเต็ด และนายไลชุง แมน
(คือ จำเลยที่ 11 ถึงที่ 13) ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงินจำนวน 2,650 ล้านบาท ทั้งนี้
ศาลได้มีคำสั่งให้รับฟ้องของ อคิวเมนท์ไว้แล้วเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2557 โดยได้กำหนดนัดชี้สองสถาน
และนัดพร้อมไว้ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 9.00 น.
ขณะนี้เจ้าหน้าที่ของศาลกำลังส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยทั้งสิบสาม