ในการขอสินเชื่อกับธนาคารใดก็ตาม มีด่านสำคัญประการแรกที่ใช้เป็นตัวชี้วัดว่าเครดิตของผู้ขอสินเชื่อมีแนวโน้มจะคืนเงินหรือไม่
คือ ตรวจสอบข้อมูลกับเครดิตบูโรแห่งชาติ ด้วยรหัสสถานะทางความเชื่อมั่นที่ เครดิตบูโรแห่งชาติเป็นผู้กำหนด
ทำไมผมถึงตั้งกระทู้ ถึงเวลาที่หน่วยงานกำกับดูแล เครดิตบูโรแห่งชาติ จะเข้ามาปรับปรุงข้อกำหนดในการชี้เป็นชี้ตายผู้ขอสินเชื่อ
แล้วหรือยัง เพราะมันมีประเด็นสำคัญคือรหัส 42 ความหมาย คือ ขายหนี้
จริงอยู่ที่ผู้กู้ผิดนัดชำระหนี้เกินกว่าข้อตกลงที่ทำกันไว้ ธนาคารมีหน้าที่ส่งข้อมูลให้กับเครดิตบูโรแห่งชาติ ว่าธนาคารได้ขายหนี้
ให้กับใครก็แล้วแต่ไม่รู้ไปแล้วน่ะ ก็ส่งข้อมูลไปที่เครดิตบูโรแห่งชาติ ว่า สถานะปัจจุบันคือ 42 แต่แล้วเมื่อผู้กู้มีกำลังมีความ
สามารถทางการเงินกลับมารับผิดชอบหนี้ ต้องตามไปชำระหนี้กับบริษัทเอกชนที่เข้ามาซื้อหนี้จากธนาคารไป ฟังดูมันก็เหมือน
ไม่มีอะไร แต่เมื่อเราชำระหนี้แล้วเราร้องขอให้ทางบริษัทเอกชนส่งข้อมูลไปที่เครดิตบูโรแห่งชาติเพื่อเปลี่ยนสถานะจาก 42
(ขายหนี้) เป็นสถานะ 11 (ปิดบัญชี) ทางบริษัทเอกชนนั้นได้บอกว่าทางบริษัทไม่ได้เป็นสมาชิกของเครดิตบูโรแห่งชาติ ไม่สามารถ
ส่งข้อมูลเพื่อแก้ไขประวัติได้ ที่นี้จึงย้อนกลับไปที่ธนาคารที่เป็นผู้ขายหนี้และเป็นเจ้าหนี้เดิมเรา และเป็นสมาชิกเครดิตบูโรแห่งชาติ
พร้อมทั้งส่งใบปิดยอดหนี้กับบริษัทเอกชนไปให้ดูว่าเราหมดภาระหนี้ที่ก่อไว้แล้วน่ะ แต่คำตอบที่ได้คือ ในเมื่อธนาคารขายหนี้ไปแล้ว
ธนาคารไม่รู้ไม่เห็นและไม่ทำอะไรทั้งนั้น ซึ่งจริงๆแล้วนี่คือหน้าที่ของธนาคารไม่ใช่หรือ ธนาคารมีหน้าที่ส่งข้อมูลให้กับเครดิต
บูโรแห่งชาติ ที่นี้ก็เอาล่ะทางสุดท้ายส่งหนังสือคัดค้านสถานะไปที่ เครดิตบูโรแห่งชาติ คำตอบที่ได้ก็ไม่ผิดไปจากที่คิด
ทางเครดิตบูโรแห่งชาติ มีหน้าที่รับและเรียบเรียงข้อมูลและจัดเก็บข้อมูลเท่านั้น ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลใดๆได้ ก็ได้แต่กอด
ใบปิดหนี้ไว้แน่นพร้อมกับรหัส 42 ที่จะตราหน้าเราไปอีก 3 ปี
ประเด็นสำคัญกลับมาที่ว่าในเมื่อเราใช้หนี้ที่เราก่อหมดแล้วเหตุใด ธนาคารจึงปัดความรับผิดชอบในส่วนนี้ไป และ เหตุใดในยามที่เรา
เครดิตดี ธนาคารขายข้อมูลให้บริษัทประกันได้ โดยที่เราไม่ยินยอม
ถึงเวลาที่หน่วยงานกำกับดูแล เครดิตบูโรแห่งชาติ จะเข้ามาปรับปรุงข้อกำหนดในการชี้เป็นชี้ตายผู้ขอสินเชื่อ
แล้วหรือยัง
ถึงเวลาที่หน่วยงานกำกับดูแล เครดิตบูโรแห่งชาติ จะเข้ามาปรับปรุงข้อกำหนดในการชี้เป็นชี้ตายผู้ขอสินเชื่อแล้วหรือยัง
คือ ตรวจสอบข้อมูลกับเครดิตบูโรแห่งชาติ ด้วยรหัสสถานะทางความเชื่อมั่นที่ เครดิตบูโรแห่งชาติเป็นผู้กำหนด
ทำไมผมถึงตั้งกระทู้ ถึงเวลาที่หน่วยงานกำกับดูแล เครดิตบูโรแห่งชาติ จะเข้ามาปรับปรุงข้อกำหนดในการชี้เป็นชี้ตายผู้ขอสินเชื่อ
แล้วหรือยัง เพราะมันมีประเด็นสำคัญคือรหัส 42 ความหมาย คือ ขายหนี้
จริงอยู่ที่ผู้กู้ผิดนัดชำระหนี้เกินกว่าข้อตกลงที่ทำกันไว้ ธนาคารมีหน้าที่ส่งข้อมูลให้กับเครดิตบูโรแห่งชาติ ว่าธนาคารได้ขายหนี้
ให้กับใครก็แล้วแต่ไม่รู้ไปแล้วน่ะ ก็ส่งข้อมูลไปที่เครดิตบูโรแห่งชาติ ว่า สถานะปัจจุบันคือ 42 แต่แล้วเมื่อผู้กู้มีกำลังมีความ
สามารถทางการเงินกลับมารับผิดชอบหนี้ ต้องตามไปชำระหนี้กับบริษัทเอกชนที่เข้ามาซื้อหนี้จากธนาคารไป ฟังดูมันก็เหมือน
ไม่มีอะไร แต่เมื่อเราชำระหนี้แล้วเราร้องขอให้ทางบริษัทเอกชนส่งข้อมูลไปที่เครดิตบูโรแห่งชาติเพื่อเปลี่ยนสถานะจาก 42
(ขายหนี้) เป็นสถานะ 11 (ปิดบัญชี) ทางบริษัทเอกชนนั้นได้บอกว่าทางบริษัทไม่ได้เป็นสมาชิกของเครดิตบูโรแห่งชาติ ไม่สามารถ
ส่งข้อมูลเพื่อแก้ไขประวัติได้ ที่นี้จึงย้อนกลับไปที่ธนาคารที่เป็นผู้ขายหนี้และเป็นเจ้าหนี้เดิมเรา และเป็นสมาชิกเครดิตบูโรแห่งชาติ
พร้อมทั้งส่งใบปิดยอดหนี้กับบริษัทเอกชนไปให้ดูว่าเราหมดภาระหนี้ที่ก่อไว้แล้วน่ะ แต่คำตอบที่ได้คือ ในเมื่อธนาคารขายหนี้ไปแล้ว
ธนาคารไม่รู้ไม่เห็นและไม่ทำอะไรทั้งนั้น ซึ่งจริงๆแล้วนี่คือหน้าที่ของธนาคารไม่ใช่หรือ ธนาคารมีหน้าที่ส่งข้อมูลให้กับเครดิต
บูโรแห่งชาติ ที่นี้ก็เอาล่ะทางสุดท้ายส่งหนังสือคัดค้านสถานะไปที่ เครดิตบูโรแห่งชาติ คำตอบที่ได้ก็ไม่ผิดไปจากที่คิด
ทางเครดิตบูโรแห่งชาติ มีหน้าที่รับและเรียบเรียงข้อมูลและจัดเก็บข้อมูลเท่านั้น ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลใดๆได้ ก็ได้แต่กอด
ใบปิดหนี้ไว้แน่นพร้อมกับรหัส 42 ที่จะตราหน้าเราไปอีก 3 ปี
ประเด็นสำคัญกลับมาที่ว่าในเมื่อเราใช้หนี้ที่เราก่อหมดแล้วเหตุใด ธนาคารจึงปัดความรับผิดชอบในส่วนนี้ไป และ เหตุใดในยามที่เรา
เครดิตดี ธนาคารขายข้อมูลให้บริษัทประกันได้ โดยที่เราไม่ยินยอม
ถึงเวลาที่หน่วยงานกำกับดูแล เครดิตบูโรแห่งชาติ จะเข้ามาปรับปรุงข้อกำหนดในการชี้เป็นชี้ตายผู้ขอสินเชื่อ
แล้วหรือยัง