เชื่อว่าหลายคนคงคิดตรงกันว่า “ข้าวกล่อง” หรือ “เบนโตะ” ของญี่ปุ่นเป็นอะไรที่น่ารักและน่ากินที่สุด
แม้คำว่า “เบนโตะ” จะเพี้ยนมาจากคำว่า “เปี้ยนตัง” (Bian Dang) ในภาษาจีนที่มีความหมายว่า “สะดวกสบาย” (ในจีนและไต้หวันก็ใช้คำนี้เรียกข้าวกล่องด้วยการยืมมาจากญี่ปุ่นอีกที) แต่สิ่งที่ทำให้เบนโตะกลายเป็นวัฒนธรรมขึ้นชื่อและมีเสน่ห์ก็คือความละเมียดละไมในการทำ ไม่ใช่เป็นอาหารที่เน้นความสะดวกเหมือนอย่างความหมาย เพราะชาวญี่ปุ่นเชื่อว่าข้าวกล่องจะสามารถสื่อถึงความตั้งใจและความรักไปถึงผู้รับ โดยเฉพาะบรรดาคุณแม่ที่นิยมทำข้าวกล่องให้ลูกไปโรงเรียน เอาเป็นว่าเปิดฝากล่องเมื่อไร กลิ่นความรักอบอวลขึ้นมาเมื่อนั้น
ในยุคแรกๆ การทำข้าวกล่องของญี่ปุ่นไม่ได้ซับซ้อนอะไรมาก เพียงนำข้าวตากแห้งใส่ถุงผ้าพกติดตัวก็เป็นอันจบพิธี แต่พอราวๆ ศตวรรษที่ 16 วัฒนธรรมเบนโตะก็เริ่มเป็นรูปเป็นร่าง เมื่อชาวญี่ปุ่นทำอาหารบรรจุลงในกล่องไม้ เพื่อนั่งกินระหว่างชมดอกซากุระบานหรือในพิธีชงชา ตั้งแต่นั้นวัฒนธรรมนี้ก็ขยายตัวและรุ่งเรืองสุดๆ ในสมัยเอโดะ (Edo Period ค.ศ. 1603-1867) ที่เหล่านักเดินทางต่างพากันนำ “โอนิกิริ” (Onigiri) หรือข้าวปั้นไส้ต่างๆ มาเรียงใส่กล่องไม้ไผ่ แต่ที่โด่งดังที่สุดแห่งยุคคงต้องยกให้กับ “มากุโนะอุชิ เบนโตะ” (Makunouchi Bento) เบนโตะอลังการงานสร้าง ประกอบด้วยข้าว เนื้อ ปลา ผัก และบ๊วยดอง (Umeboshi) วางสวยอยู่ในกล่องสี่เหลี่ยมใบใหญ่ ซึ่งนิยมกินกันตอนพักครึ่งระหว่างชมละครคาบูกิ
ส่วนข้าวกล่องรถไฟ หรือ “เอกิเบน” (Ekiben) เริ่มวางขายครั้งแรกในสมัยเมจิ (Meji Period ค.ศ. 1868-1912) ราวๆ ปี ค.ศ. 1885 ที่สถานีอุตสึโนะมิยะ (Utsunomiya) ข้าวกล่องรถไฟกล่องแรกมีเพียงข้าวปั้น 2 ก้อน วางคู่กับหัวไช้เท้าดองเท่านั้น ก่อนที่ความอร่อยจะห่ออย่างสวยงามด้วยใบไผ่ ตั้งแต่นั้นข้าวกล่องรถไฟก็เริ่มขยายไปยังสถานีต่างๆ เช่นเดียวกับ “โอเบนโตะ” (Obento) หรือร้านขายข้าวกล่องที่ทยอยเปิดตัวกันให้เห็นตามสถานที่ต่างๆ ในแหล่งชุมชน รวมถึงห้างสรรพสินค้ามาจนถึงทุกวันนี้
ภายในเบนโตะประกอบด้วยอาหารมากมายหลายชนิด ทั้งที่เป็นอาหารจากทะเล อาหารจากภูเขา รวมทั้งอาหารที่ได้จากท้องถิ่น ปรุงด้วยวิธีการต่างๆ และมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น นิโมะโนะ (Nimono) คือผักต้ม ยะกิโมะโนะ (Yakimono) คือปลาย่าง สึเกะโมะโนะ” (Tsukemono) คือผักดอง ซุโนะโมะโนะ (Sunomono) คืออาหารประเภทปลาและผักที่ผ่านการหมักในน้ำส้มมาแล้ว และอะเงะโมะโนะ (Agemono) คือของทอด โดยทั้งหมดจะจัดเรียงอย่างสวยงาม อันแสดงให้เห็นถึงสุนทรียะในการใช้ชีวิตของคนญี่ปุ่นอย่างชัดเจน
ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกที่วัฒนธรรมเบนโตะจะสามารถครองใจผู้คนมาได้อย่างยาวนาน อีกทั้งยังยืนหยัดด้วยการผสมผสานเอาความน่ารักความบันเทิงใส่ลงไป ไม่ว่าจะเป็นคาราเบน (Charaben) ข้าวกล่องที่ทำหน้าตาเลียนแบบตัวการ์ตูนในอะนิเมะขวัญใจเด็กๆ หรือจะเป็นอุเอคะคิเบน” (Oekakiben) เบนโตะที่จำลองรูปเหมือนต่างๆ อย่างเช่นดอกไม้ คน ภูเขา ที่ทำเอาทุกคนพูดว่า...
สวยจนไม่กล้ากิน!
เนื้อหาโดย นิตยสาร Gourmet & Cuisine
ที่มาจาก สนุกดอทคอม
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://women.sanook.com/23637/bento-the-adorable-lunch-%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A-%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%95%E0%B8%B0/
“Bento” The Adorable Lunch : อร่อยน่ารักแบบ “เบนโตะ”
เชื่อว่าหลายคนคงคิดตรงกันว่า “ข้าวกล่อง” หรือ “เบนโตะ” ของญี่ปุ่นเป็นอะไรที่น่ารักและน่ากินที่สุด
แม้คำว่า “เบนโตะ” จะเพี้ยนมาจากคำว่า “เปี้ยนตัง” (Bian Dang) ในภาษาจีนที่มีความหมายว่า “สะดวกสบาย” (ในจีนและไต้หวันก็ใช้คำนี้เรียกข้าวกล่องด้วยการยืมมาจากญี่ปุ่นอีกที) แต่สิ่งที่ทำให้เบนโตะกลายเป็นวัฒนธรรมขึ้นชื่อและมีเสน่ห์ก็คือความละเมียดละไมในการทำ ไม่ใช่เป็นอาหารที่เน้นความสะดวกเหมือนอย่างความหมาย เพราะชาวญี่ปุ่นเชื่อว่าข้าวกล่องจะสามารถสื่อถึงความตั้งใจและความรักไปถึงผู้รับ โดยเฉพาะบรรดาคุณแม่ที่นิยมทำข้าวกล่องให้ลูกไปโรงเรียน เอาเป็นว่าเปิดฝากล่องเมื่อไร กลิ่นความรักอบอวลขึ้นมาเมื่อนั้น
ในยุคแรกๆ การทำข้าวกล่องของญี่ปุ่นไม่ได้ซับซ้อนอะไรมาก เพียงนำข้าวตากแห้งใส่ถุงผ้าพกติดตัวก็เป็นอันจบพิธี แต่พอราวๆ ศตวรรษที่ 16 วัฒนธรรมเบนโตะก็เริ่มเป็นรูปเป็นร่าง เมื่อชาวญี่ปุ่นทำอาหารบรรจุลงในกล่องไม้ เพื่อนั่งกินระหว่างชมดอกซากุระบานหรือในพิธีชงชา ตั้งแต่นั้นวัฒนธรรมนี้ก็ขยายตัวและรุ่งเรืองสุดๆ ในสมัยเอโดะ (Edo Period ค.ศ. 1603-1867) ที่เหล่านักเดินทางต่างพากันนำ “โอนิกิริ” (Onigiri) หรือข้าวปั้นไส้ต่างๆ มาเรียงใส่กล่องไม้ไผ่ แต่ที่โด่งดังที่สุดแห่งยุคคงต้องยกให้กับ “มากุโนะอุชิ เบนโตะ” (Makunouchi Bento) เบนโตะอลังการงานสร้าง ประกอบด้วยข้าว เนื้อ ปลา ผัก และบ๊วยดอง (Umeboshi) วางสวยอยู่ในกล่องสี่เหลี่ยมใบใหญ่ ซึ่งนิยมกินกันตอนพักครึ่งระหว่างชมละครคาบูกิ
ส่วนข้าวกล่องรถไฟ หรือ “เอกิเบน” (Ekiben) เริ่มวางขายครั้งแรกในสมัยเมจิ (Meji Period ค.ศ. 1868-1912) ราวๆ ปี ค.ศ. 1885 ที่สถานีอุตสึโนะมิยะ (Utsunomiya) ข้าวกล่องรถไฟกล่องแรกมีเพียงข้าวปั้น 2 ก้อน วางคู่กับหัวไช้เท้าดองเท่านั้น ก่อนที่ความอร่อยจะห่ออย่างสวยงามด้วยใบไผ่ ตั้งแต่นั้นข้าวกล่องรถไฟก็เริ่มขยายไปยังสถานีต่างๆ เช่นเดียวกับ “โอเบนโตะ” (Obento) หรือร้านขายข้าวกล่องที่ทยอยเปิดตัวกันให้เห็นตามสถานที่ต่างๆ ในแหล่งชุมชน รวมถึงห้างสรรพสินค้ามาจนถึงทุกวันนี้
ภายในเบนโตะประกอบด้วยอาหารมากมายหลายชนิด ทั้งที่เป็นอาหารจากทะเล อาหารจากภูเขา รวมทั้งอาหารที่ได้จากท้องถิ่น ปรุงด้วยวิธีการต่างๆ และมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น นิโมะโนะ (Nimono) คือผักต้ม ยะกิโมะโนะ (Yakimono) คือปลาย่าง สึเกะโมะโนะ” (Tsukemono) คือผักดอง ซุโนะโมะโนะ (Sunomono) คืออาหารประเภทปลาและผักที่ผ่านการหมักในน้ำส้มมาแล้ว และอะเงะโมะโนะ (Agemono) คือของทอด โดยทั้งหมดจะจัดเรียงอย่างสวยงาม อันแสดงให้เห็นถึงสุนทรียะในการใช้ชีวิตของคนญี่ปุ่นอย่างชัดเจน
ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกที่วัฒนธรรมเบนโตะจะสามารถครองใจผู้คนมาได้อย่างยาวนาน อีกทั้งยังยืนหยัดด้วยการผสมผสานเอาความน่ารักความบันเทิงใส่ลงไป ไม่ว่าจะเป็นคาราเบน (Charaben) ข้าวกล่องที่ทำหน้าตาเลียนแบบตัวการ์ตูนในอะนิเมะขวัญใจเด็กๆ หรือจะเป็นอุเอคะคิเบน” (Oekakiben) เบนโตะที่จำลองรูปเหมือนต่างๆ อย่างเช่นดอกไม้ คน ภูเขา ที่ทำเอาทุกคนพูดว่า...
สวยจนไม่กล้ากิน!
เนื้อหาโดย นิตยสาร Gourmet & Cuisine
ที่มาจาก สนุกดอทคอม
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้