สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 14
ปัญหามันหลายอย่าง ทั้งการเก็งกำไรอย่างบ้าคลั่ง ไม่ว่าจะเป็นหุ้น ที่ดิน และการกู้เงินต่างประเทศเข้ามา Carry Trade สรุปคือเจ๊งกันไปหมด
เหตุผลที่เจ๊งมีหลายอย่าง ถ้าหุ้น ที่ดิน ที่เก็งๆกันไป พอเวลามันลงมาก็นั่นแหละ พัง อันนี้ก็คงรู้กันดี
แต่ส่วนที่สำคัญคือการ Carry Trade เช่น เงินฝากในประเทศ ให้อัตราดอกเบี้ย 7% ต่อปี (บางแห่งสูงถึง 15% ก็มี)
แต่เงินต่างประเทศเช่นสหรัฐ เงินกู้อาจจะอยู่ที่ 3-4% ดังนั้นเราก็จะเห็นว่า เมื่อเรากู้ดอกเบี้ยถูก มาลงทุน/ฝาก ได้ดอกเบี้ยแพง
คนก็แห่ไปกู้เงินกันมา และในสมัยนั้นอัตราแลกเปลี่ยนเป็นแบบตระกร้าเงิน คือ คงที่อยู่ที่ 25 บาทต่อดอลลาร์
เมื่อเงินทุนไหลเข้ามากๆเข้า ตามหลัก Demand Supply เงินบาทต้องแข็ง เพื่อลด Premium ของเงิน แต่เมื่อมัน Fix ที่ 25 บาท ก็สบาย
แต่เมื่อทุกอย่างเริ่มพังทลายลง เศรษฐกิจไม่เติบโตอย่างที่คาด ฟองสบู่อสังหาแตก ฟองสบู่ตลาดหุ้นแตก
เงินบาทเริ่มไหลออกจำนวนมาก นักลงทุนเริ่มหนี พวกมีเงินกู้ก็หนีตาย พอเงินบาทจะให้รับแลกออกข้างนอกหมด
ก็ทำอะไรไม่ได้นอกจากต้องกู้มาเพิ่ม เพื่อจ่าย และกู้แล้ว กู้อีก จนทุนสำรองเงินตราแทบไม่เหลือ
หลังจากนั้นจึงต้องประกาศลดค่าเงินบาท ปล่อยค่าเงินให้เป็นระบบลอยตัว อัตราแลกเปลี่ยนพุ่งขึ้นจาก 25 บาท ไป 52 บาท
ในระยะเวลาเพียงแค่ 6 เดือน นั่นทำให้หนี้สินของผู้ประกอบการเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว และภาระดอกเบี้ยก็เพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม
ลองนึกดูนะ สมมติว่าปี 2539 คุณกู้เงินมา 1 ล้านดอลลาร์ จะได้เงิน 25 ล้านบาท
พอปี 2540 เงินบาทลอยตัว ค่าเงินบาทพุ่งไปที่ 50 บาทต่อดอลลาร์ การที่คุณจะแลกเงิน 1 ล้านดอลลาร์ไปคืน
คุณก็ต้องใช้เงิน 50 ล้านบาท หรือนั่นทำให้ภาระต้นทุนการกู้ยืมของคุณเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าเพราะอัตราแลกเปลี่ยน
และทุกอย่างพังพินาศลง เศรษฐกิจหดตัวอย่างรุนแรง แต่ข้อดีในเวลานั้นคือ ประเทศไทยยังมีแต่คนจนเต็มไปหมด
คนที่เจ๊งก็คือคนรวย ดังนั้นคนที่จนอยู่แล้ว ก็ยังจนอยู่อย่างเดิม แต่คนที่รวยอยู่กลับกลายเป็นคนที่จนลง
แม้ทุกวันนี้ สังคมไทยก็ยังคงเต็มไปด้วยคนจนกว่าครึ่งค่อนประเทศ แต่หลังจากปี 40 เป็นต้นมา เราก็มีเศรษฐีใหม่เกิดขึ้นมามากมาย
ด้วยเหตุผลเพราะการยกระดับเศรษฐกิจ และกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยภาค SME และการส่งออก จากนั้นเศรษฐกิจไทยจึงกลับมา
ถามว่าทำไม SME กลายเป็นตัวชูโรงหลังปี 40 เหตุผลคือภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจขนาดใหญ่ตายลง ธุรกิจใหม่ๆก็กลับมาเกิด
เป็นธรรมดาของมัน และธุรกิจขนาดใหญ่ๆที่เราเห็นทุกวันนี้ หลายบริษัทก็ยังเป็นบริษัท SME มาก่อน
ถ้าดูจากภาคธนาคารก็จะเห็นได้เลยว่า KBANK จากธนาคาร Thai Farmer Bank ง่อยๆ ล้าหลัง ธรรมดาช่วงปี 40
เป็นแค่ธนาคารเล็กๆ แต่ปัจจุบันเป็นอันดับ Top 3 ของประเทศ ก็เติบโตขึ้นมาได้เพราะมี SME เป็นตัวผลักดัน Balance sheet
เพราะ KBANK มีสินเชื่อหลักคือกลุ่ม SME แตกต่างจาก BBL ที่ยังคงเส้นคงวามีแต่สินเชื่อบริษัทขนาดใหญ่
นับตั้งแต่ปี 40 เป็นต้นมา BBL แทบไม่ปรากฎให้เห็นศักยภาพว่าจะเติบโตได้อีกเลย
ควันหลงจากปี 40 จนมาถึงตอนนี้ผ่านมาแล้ว 16 ปี แต่หลายๆอย่างที่ยังคาราคาซังในประเทศ ก็ยังไม่ได้จบ เคลียร์หายไป
เป็นต้นว่ายังมีตึกร้างจำนวนมากในกรุงเทพ ที่ยังติดภาระหนี้ธนาคาร และธนาคารก็ยังไม่ขาย (ไม่ลดราคา ไม่คัทลอส)
เมื่อธนาคารยังถือหนี้เน่าอยู่ ขายใครไม่ได้ (ถือหนี้เน่า ของเน่า แต่อยากขายแพง) ก็ไม่มีใครซื้อ
สุดท้ายมันก็ยังกลายเป็นพื้นที่ไม่ได้รับการพัฒนา หรือมีปัญหาต่อไปเรื่อยๆจนเป็นภาระลูกตา หรือภาระการพัฒนา
อย่างอาคารสาทรยูนิค หรือชาวบ้านเรียก "ตึกโค้ก" ใกล้ๆกับแถวสะพานตากสิน ถ้าจะขึ้นเรือไป Asiatique ยังไงก็ต้องเห็น
เป็นซากตึกร้างซึ่งแล้วเสร็จไปประมาณ 95% มีแต่โครงตึก แต่เจอวิกฤตซะก่อน ขาดสภาพคล่อง ง่อยเลยทีเดียว
ทุกวันนี้เจ้าหนี้คือธนาคารกรุงไทย ขายอยู่ที่ราวๆ 1.3 พันล้านบาท ผ่านมาแล้ว 16 ปี ยังไม่มีใครสนใจจะซื้อเลย เหอๆ
หรืออย่างสำนักงานใหญ่กรุงไทยตรงเพลินจิต ก็อาคารเก่ายึดมาหลังจากปี 40 ภายหลังก็เอามา Renovate
เป็นสำนักงานกรุงไทยเพลินจิต อาคารบางแห่งยังมีภาระอยู่ ที่ดินบางแปลงยังไม่มีข้อสรุป ยังไม่มีทางแก้ไข
ทุกวันนี้เศรษฐกิจที่ฟื้น มาจากการเร่งเรื่องการท่องเที่ยว และการส่งออก ซึ่งเป็นตัวทำเงินหลักของประเทศไทย
ในขณะที่ภาคเกษตรกรรม เป็นภาคที่ใช้คนมากที่สุด และเป็นภาระทางการคลังมากที่สุดที่ต้องอุ้มราคาสินค้าการเกษตร
แต่ก็ต้องมี เพราะเป็นภาคที่ยังคงจำเป็นต้องให้มีคนจ้างงานกว่าเป็นสิบล้านคน เพื่อให้ประเทศยังคงมีการจ้างงานต่อไป
และคิดว่านับจากวันนี้อีก 10 ปีข้างหน้า ประเทศไทยก็คงไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากทุกวันนี้เท่าไหร่นัก
เหตุผลที่เจ๊งมีหลายอย่าง ถ้าหุ้น ที่ดิน ที่เก็งๆกันไป พอเวลามันลงมาก็นั่นแหละ พัง อันนี้ก็คงรู้กันดี
แต่ส่วนที่สำคัญคือการ Carry Trade เช่น เงินฝากในประเทศ ให้อัตราดอกเบี้ย 7% ต่อปี (บางแห่งสูงถึง 15% ก็มี)
แต่เงินต่างประเทศเช่นสหรัฐ เงินกู้อาจจะอยู่ที่ 3-4% ดังนั้นเราก็จะเห็นว่า เมื่อเรากู้ดอกเบี้ยถูก มาลงทุน/ฝาก ได้ดอกเบี้ยแพง
คนก็แห่ไปกู้เงินกันมา และในสมัยนั้นอัตราแลกเปลี่ยนเป็นแบบตระกร้าเงิน คือ คงที่อยู่ที่ 25 บาทต่อดอลลาร์
เมื่อเงินทุนไหลเข้ามากๆเข้า ตามหลัก Demand Supply เงินบาทต้องแข็ง เพื่อลด Premium ของเงิน แต่เมื่อมัน Fix ที่ 25 บาท ก็สบาย
แต่เมื่อทุกอย่างเริ่มพังทลายลง เศรษฐกิจไม่เติบโตอย่างที่คาด ฟองสบู่อสังหาแตก ฟองสบู่ตลาดหุ้นแตก
เงินบาทเริ่มไหลออกจำนวนมาก นักลงทุนเริ่มหนี พวกมีเงินกู้ก็หนีตาย พอเงินบาทจะให้รับแลกออกข้างนอกหมด
ก็ทำอะไรไม่ได้นอกจากต้องกู้มาเพิ่ม เพื่อจ่าย และกู้แล้ว กู้อีก จนทุนสำรองเงินตราแทบไม่เหลือ
หลังจากนั้นจึงต้องประกาศลดค่าเงินบาท ปล่อยค่าเงินให้เป็นระบบลอยตัว อัตราแลกเปลี่ยนพุ่งขึ้นจาก 25 บาท ไป 52 บาท
ในระยะเวลาเพียงแค่ 6 เดือน นั่นทำให้หนี้สินของผู้ประกอบการเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว และภาระดอกเบี้ยก็เพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม
ลองนึกดูนะ สมมติว่าปี 2539 คุณกู้เงินมา 1 ล้านดอลลาร์ จะได้เงิน 25 ล้านบาท
พอปี 2540 เงินบาทลอยตัว ค่าเงินบาทพุ่งไปที่ 50 บาทต่อดอลลาร์ การที่คุณจะแลกเงิน 1 ล้านดอลลาร์ไปคืน
คุณก็ต้องใช้เงิน 50 ล้านบาท หรือนั่นทำให้ภาระต้นทุนการกู้ยืมของคุณเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าเพราะอัตราแลกเปลี่ยน
และทุกอย่างพังพินาศลง เศรษฐกิจหดตัวอย่างรุนแรง แต่ข้อดีในเวลานั้นคือ ประเทศไทยยังมีแต่คนจนเต็มไปหมด
คนที่เจ๊งก็คือคนรวย ดังนั้นคนที่จนอยู่แล้ว ก็ยังจนอยู่อย่างเดิม แต่คนที่รวยอยู่กลับกลายเป็นคนที่จนลง
แม้ทุกวันนี้ สังคมไทยก็ยังคงเต็มไปด้วยคนจนกว่าครึ่งค่อนประเทศ แต่หลังจากปี 40 เป็นต้นมา เราก็มีเศรษฐีใหม่เกิดขึ้นมามากมาย
ด้วยเหตุผลเพราะการยกระดับเศรษฐกิจ และกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยภาค SME และการส่งออก จากนั้นเศรษฐกิจไทยจึงกลับมา
ถามว่าทำไม SME กลายเป็นตัวชูโรงหลังปี 40 เหตุผลคือภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจขนาดใหญ่ตายลง ธุรกิจใหม่ๆก็กลับมาเกิด
เป็นธรรมดาของมัน และธุรกิจขนาดใหญ่ๆที่เราเห็นทุกวันนี้ หลายบริษัทก็ยังเป็นบริษัท SME มาก่อน
ถ้าดูจากภาคธนาคารก็จะเห็นได้เลยว่า KBANK จากธนาคาร Thai Farmer Bank ง่อยๆ ล้าหลัง ธรรมดาช่วงปี 40
เป็นแค่ธนาคารเล็กๆ แต่ปัจจุบันเป็นอันดับ Top 3 ของประเทศ ก็เติบโตขึ้นมาได้เพราะมี SME เป็นตัวผลักดัน Balance sheet
เพราะ KBANK มีสินเชื่อหลักคือกลุ่ม SME แตกต่างจาก BBL ที่ยังคงเส้นคงวามีแต่สินเชื่อบริษัทขนาดใหญ่
นับตั้งแต่ปี 40 เป็นต้นมา BBL แทบไม่ปรากฎให้เห็นศักยภาพว่าจะเติบโตได้อีกเลย
ควันหลงจากปี 40 จนมาถึงตอนนี้ผ่านมาแล้ว 16 ปี แต่หลายๆอย่างที่ยังคาราคาซังในประเทศ ก็ยังไม่ได้จบ เคลียร์หายไป
เป็นต้นว่ายังมีตึกร้างจำนวนมากในกรุงเทพ ที่ยังติดภาระหนี้ธนาคาร และธนาคารก็ยังไม่ขาย (ไม่ลดราคา ไม่คัทลอส)
เมื่อธนาคารยังถือหนี้เน่าอยู่ ขายใครไม่ได้ (ถือหนี้เน่า ของเน่า แต่อยากขายแพง) ก็ไม่มีใครซื้อ
สุดท้ายมันก็ยังกลายเป็นพื้นที่ไม่ได้รับการพัฒนา หรือมีปัญหาต่อไปเรื่อยๆจนเป็นภาระลูกตา หรือภาระการพัฒนา
อย่างอาคารสาทรยูนิค หรือชาวบ้านเรียก "ตึกโค้ก" ใกล้ๆกับแถวสะพานตากสิน ถ้าจะขึ้นเรือไป Asiatique ยังไงก็ต้องเห็น
เป็นซากตึกร้างซึ่งแล้วเสร็จไปประมาณ 95% มีแต่โครงตึก แต่เจอวิกฤตซะก่อน ขาดสภาพคล่อง ง่อยเลยทีเดียว
ทุกวันนี้เจ้าหนี้คือธนาคารกรุงไทย ขายอยู่ที่ราวๆ 1.3 พันล้านบาท ผ่านมาแล้ว 16 ปี ยังไม่มีใครสนใจจะซื้อเลย เหอๆ
หรืออย่างสำนักงานใหญ่กรุงไทยตรงเพลินจิต ก็อาคารเก่ายึดมาหลังจากปี 40 ภายหลังก็เอามา Renovate
เป็นสำนักงานกรุงไทยเพลินจิต อาคารบางแห่งยังมีภาระอยู่ ที่ดินบางแปลงยังไม่มีข้อสรุป ยังไม่มีทางแก้ไข
ทุกวันนี้เศรษฐกิจที่ฟื้น มาจากการเร่งเรื่องการท่องเที่ยว และการส่งออก ซึ่งเป็นตัวทำเงินหลักของประเทศไทย
ในขณะที่ภาคเกษตรกรรม เป็นภาคที่ใช้คนมากที่สุด และเป็นภาระทางการคลังมากที่สุดที่ต้องอุ้มราคาสินค้าการเกษตร
แต่ก็ต้องมี เพราะเป็นภาคที่ยังคงจำเป็นต้องให้มีคนจ้างงานกว่าเป็นสิบล้านคน เพื่อให้ประเทศยังคงมีการจ้างงานต่อไป
และคิดว่านับจากวันนี้อีก 10 ปีข้างหน้า ประเทศไทยก็คงไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากทุกวันนี้เท่าไหร่นัก
แสดงความคิดเห็น
วิกฤตการณ์ต้มยำกุ้ง รุนแรงแค่ไหนครับ
ใครได้ผลกระทบกับเหตุการณ์ดังกล่าวบ้าง ถึงขั้นเจ็บตัวไหมครับ