ความสะดวกสบายจะมีคุณค่าอย่างแท้จริง ก็ต่อเมื่อเป็น "มรรค" ไม่ใช่เป็น "ผล" หรือจุดหมายในตัวมันเอง
ในทางพระพุทธศาสนา “สัปปายะ” (ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า “สบาย” ) ถือเป็นธรรมฝ่ายกุศลที่สำคัญ
แต่ “ความสบาย” ดังกล่าวมิใช่จุดหมายสูงสุด ไม่ว่าจะเป็นความสบายทางด้านที่อยู่อาศัย (อาวาสสัปปายะ)
ความสบายทางด้านอาหาร (โภชนสัปปายะ) ความสายทางด้านดินฟ้าอากาศ (อุตุสัปปายะ)
ตลอดจนความสบายอีก ๔ ประการ ที่เหลือนั้นล้วนมีประโยชน์ตรงที่เป็นปัจจัยเอื้อเฟื้อเกื้อกูลแก่การทำคุณงามความดี
เพื่อให้ชีวิตจิตใจเจริญงอกงาม (เรียกสั้นๆว่า “การปฏิบัติธรรม”)
หากมีความสะดวกสบายในด้านที่พักและอาหารแล้ว ไม่ใช้โอกาสอันเกื้อกูลนี้ทำกุศลเพื่อให้เกิดประโยชน์ตนประโยชน์ท่าน
กลับเพลิดเพลินในความสุข จนไม่ทำงานการ แถมเกิดความโลภ อยากได้ความสะดวกสบายมาปรนเปรอตนยิ่งขึ้น
นั้นก็แสดงว่า ความสะดวกสบายกลายเป็นพิษภัยทิ่มแทงชีวิตแล้ว
เนื่องจากความสะดวกสบายมิได้เป็นจุดหมายในตัวมันเอง หากเป็นเพียงอุปกรณ์และเงื่อนไขไปสู่สิ่งที่ดีงามกว่า
ดังนั้นจึงต้องมีขอบเขต กล่าวอีกนัยหนึ่งคือเราพึงรู้จักพอหรือรู้จักประมาณในความสะดวกสบาย
การหมกมุ่นอยู่ในความสะดวกสบาย จนเห็นเป็นพระเจ้าที่อยู่เหนือทุกสิ่งทุกอย่างจึงเป็นการ ”ใช้” หรือเกี่ยวข้องกับความสะดวกสบายอย่างไม่ถูกต้อง
ผลจะเป็นอื่นไปไม่ได้ นอกจากการเป็นโทษแก่ตนเองและผู้อื่น
พระไพศาล วิสาโล
http://www.visalo.org/article/chaladsue_8.htm
https://th-th.facebook.com/visalo
อย่าหมกมุ่นอยู่ในความสะดวกสบาย
ในทางพระพุทธศาสนา “สัปปายะ” (ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า “สบาย” ) ถือเป็นธรรมฝ่ายกุศลที่สำคัญ
แต่ “ความสบาย” ดังกล่าวมิใช่จุดหมายสูงสุด ไม่ว่าจะเป็นความสบายทางด้านที่อยู่อาศัย (อาวาสสัปปายะ)
ความสบายทางด้านอาหาร (โภชนสัปปายะ) ความสายทางด้านดินฟ้าอากาศ (อุตุสัปปายะ)
ตลอดจนความสบายอีก ๔ ประการ ที่เหลือนั้นล้วนมีประโยชน์ตรงที่เป็นปัจจัยเอื้อเฟื้อเกื้อกูลแก่การทำคุณงามความดี
เพื่อให้ชีวิตจิตใจเจริญงอกงาม (เรียกสั้นๆว่า “การปฏิบัติธรรม”)
หากมีความสะดวกสบายในด้านที่พักและอาหารแล้ว ไม่ใช้โอกาสอันเกื้อกูลนี้ทำกุศลเพื่อให้เกิดประโยชน์ตนประโยชน์ท่าน
กลับเพลิดเพลินในความสุข จนไม่ทำงานการ แถมเกิดความโลภ อยากได้ความสะดวกสบายมาปรนเปรอตนยิ่งขึ้น
นั้นก็แสดงว่า ความสะดวกสบายกลายเป็นพิษภัยทิ่มแทงชีวิตแล้ว
เนื่องจากความสะดวกสบายมิได้เป็นจุดหมายในตัวมันเอง หากเป็นเพียงอุปกรณ์และเงื่อนไขไปสู่สิ่งที่ดีงามกว่า
ดังนั้นจึงต้องมีขอบเขต กล่าวอีกนัยหนึ่งคือเราพึงรู้จักพอหรือรู้จักประมาณในความสะดวกสบาย
การหมกมุ่นอยู่ในความสะดวกสบาย จนเห็นเป็นพระเจ้าที่อยู่เหนือทุกสิ่งทุกอย่างจึงเป็นการ ”ใช้” หรือเกี่ยวข้องกับความสะดวกสบายอย่างไม่ถูกต้อง
ผลจะเป็นอื่นไปไม่ได้ นอกจากการเป็นโทษแก่ตนเองและผู้อื่น
พระไพศาล วิสาโล
http://www.visalo.org/article/chaladsue_8.htm
https://th-th.facebook.com/visalo