อึ้ง!! ข้อมูลใหม่ติดเชื้ออีโบลา "หมอไมเคิล" พบอาการ "สะอึกช่วง 1 วันหลังมีไข้" ส่วนอุจาระร่วงเป็นสาเหตุสำคัญของการแพร่ระบาด หวั่นสถานการณ์เลวร้ายหนัก ม.ค.58 อาจมีผู้ป่วยพุ่ง 1.4 ล้านคน พร้อมเผยรอดจากติดเชื้อด้วยการใช้เจลล้างมือบ่อย ๆ
เมื่อวันที่ 4 ต.ค. นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผอ.ศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยโลกไวรัสสัตว์สู่คน
ได้นำบทสัมภาษณ์ ศ.นพ.ไมเคิล คาลาแฮน โรงเรียนแพทย์ฮาร์เวิร์ด สหรัฐอเมริกา และศ.พิเศษ ศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยโลกด้านค้นคว้าและอบรมโรคติดเชื้อไวรัสสัตว์สู่คน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาเผยแพร่ทางเฟซบุ๊กส่วนตัว “Thiravat Hemachudha”
โดย ศ.นพ.ธีระวัฒน์ ได้ให้สัมภาษณ์กับ "เดลินิวส์" ว่า จากการสัมภาษณ์ ศ.นพ.ไมเคิล พบว่าข้อมูลใหม่คือผู้ติดเชื้อไวรัสอีโบลา
จะมีอาการสะอึกในช่วง 1 วันหลังจากมีไข้แล้ว ซึ่งแตกต่างจากโรคติดเชื้อประเภทอื่น ๆ แต่ก็ไม่ทราบว่ากลไกของการสะอึกเป็นอย่างไร
ซึ่งอาจจะต้องมีการศึกษาต่อไป นอกจากนี้ยังพบว่าอาการท้องเสียคืออีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดการระบาดอย่างหนัก
และ
สิ่งที่ทำให้ผู้เชี่ยวชาญรอดจากการติดเชื้อครั้งนี้มาได้ คือการล้างมือด้วยเจลล้างมือปกติที่ใช้กันในช่วงการระบาดของไข้หวัดใหญ่
ไม่ว่าจะไปสัมผัสกับสิ่งใดมาก็จะล้างมือบ่อยมาก อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวเห็นว่า
เนื่องจากเจลล้างมือเป็นส่วนหนึ่งที่สามารถป้องกันโรคได้ ในขณะที่สายการบินต่าง ๆ ห้ามนำขึ้นเครื่อง
จึงอยากให้ทางสายการบินได้จัดเตรียมไว้ให้กับผู้โดยสารอย่างเพียงพอด้วย
นพ.ธีระวัฒน์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ในส่วนของประเทศไทยอยากจะให้เตรียมพร้อมในการรับกับสถานการณ์การระบาดอย่างเข้มข้น
โดยเฉพาะระบบคัดแยกผู้ป่วยติดเชื้ออีโบลา กับผู้ป่วยปกติออกจากกัน ตั้งแต่กระบวนการคัดกรองผู้ป่วย
เนื่องจากขณะนี้จะเห็นว่ายังหละหลวมในขั้นตอนสอบประวัติผู้ป่วยเบื้องต้น ที่ทุกคนมาอยู่รวมกันจุดเดียว
นอกจากนี้ยังต้องเตรียมความพร้อมของบุคลากรซักซ้อมแผนอย่างสม่ำเสมอ ไม่อยากให้นิ่งนอนใจ
ทั้งนี้จากคำให้สัมภาษณ์ของ ศ.นพ.ไมเคิล ระบุว่า สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาในประเทศกินี ไลบีเรีย และเซียราลีโอน
ช่วงเดือน ก.ย.ถือว่ารุนแรงที่สุดเมื่อเทียบกับช่วง 7 เดือนก่อนหน้านี้ ในจำนวนนี้สถานการณ์ในประเทศไลบีเรียหนักที่สุดมีผู้ป่วย 3,458 คน เสียชีวิต 1,830 คน
ทั้งนี้ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคแห่งชาติสหรัฐอเมริกา คาดประมาณจำนวนผู้ป่วยในประเทศไลบีเรียและเชียร์ราลีโอน ว่าจากการจำลองสถานการณ์
ในกรณีที่ไม่ดีขึ้นขึ้นคาดว่าจะมีผู้ป่วยสูงถึงประมาณ 550,000 คน ในเดือน ม.ค. 2558 และอาจจะสูงถึง 1.4 ล้านคน
“ส่วนเชื้อไวรัสจะรุนแรงหรือกลายพันธุ์หรือไม่นั้น คุณหมอไมเคิลบอกว่าอีโบลาระบาดมาหลายครั้งแล้ว ถึงแม้จะมีการเปลี่ยนรหัสพันธุกรรมหลายร้อยตำแหน่ง
แต่ยังไม่มีหลักฐานที่ชี้บ่งชัดเจนว่าไวรัสมีความสามารถในการแพร่ได้รุนแรงเป็นพิเศษกว่าเดิมหรือสามารถแพร่ทางอากาศผ่านทางการหายใจ เช่น ซาร์ส
หรือโรคอีสุกอีใส และไม่แพร่ผ่านทางยุง แมลงอย่างเช่นไข้เลือดออกเด็งกี หรือมาลาเรีย” นพ.ธีระวัฒน์ กล่าว
ทั้งนี้ถ้าจำเป็นต้องไปแอฟริกา ต้องแน่ใจว่าได้รับวัคซีนป้องกันโรคต่างๆ แล้ว และสิ่งที่ต้องจำเป็นคือ
1.ไม่เดินทางไปในพื้นที่การระบาดอย่างน้อย 9 เดือน
2.ถ้าเจ็บป่วยในแอฟริกาให้เข้ารักษาที่ รพ.ที่มีเครื่องมือพร้อม และมีระบบป้องกันการแพร่เชื้อ หลีกเลี่ยงสถานพยาบาล หรือ รพ.ที่รับผู้ป่วยอีโบลา
3. หลีกเลี่ยงการสัมผัสใดๆ กับสิ่งคัดหลั่งทุกชนิดกับคนที่สงสัยว่าจะป่วย
4. ล้างมือบ่อยๆ ด้วยเจลล้างมือแอลกอฮอล์ที่มีความเข้มข้นไม่น้อยกว่า 62% หรือล้างด้วยสบู่มาตรฐานที่ใช้ใน รพ. หรือถ้าไม่มีสบู่ในแอฟริกาใช้น้ำยาซักผ้าขาว เจือจางในน้ำอัตราส่วน 1:20 โดยเฉพาะหลังสัมผัสกับอุปกรณ์ต่างๆ
5. ห้ามใช้อุปกรณ์ต่างๆ ร่วมกับผู้อื่น
6. ห้ามแตะต้อง
7. ห้ามแตะต้องหรืออุ้มสัตว์โดยเฉพาะสัตว์ป่า หรือการให้อาหารลิงในแอฟฟริกา
8. ถ้ามีไข้เกิน 38.6 องศาเซลเซียสและมีอาการเข้าข่ายอย่างใดอย่างหนึ่งให้รีบพบแพทย์ด่วน เป็นต้น.
http://variety.teenee.com/foodforbrain/63997.html
อึ้ง!! ข้อมูลใหม่ จุดสังเกตติดเชื้ออีโบลา "หมอไมเคิล" พบอาการ "สะอึกช่วง 1 วันหลังมีไข้"
เมื่อวันที่ 4 ต.ค. นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผอ.ศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยโลกไวรัสสัตว์สู่คน
ได้นำบทสัมภาษณ์ ศ.นพ.ไมเคิล คาลาแฮน โรงเรียนแพทย์ฮาร์เวิร์ด สหรัฐอเมริกา และศ.พิเศษ ศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยโลกด้านค้นคว้าและอบรมโรคติดเชื้อไวรัสสัตว์สู่คน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาเผยแพร่ทางเฟซบุ๊กส่วนตัว “Thiravat Hemachudha”
โดย ศ.นพ.ธีระวัฒน์ ได้ให้สัมภาษณ์กับ "เดลินิวส์" ว่า จากการสัมภาษณ์ ศ.นพ.ไมเคิล พบว่าข้อมูลใหม่คือผู้ติดเชื้อไวรัสอีโบลา
จะมีอาการสะอึกในช่วง 1 วันหลังจากมีไข้แล้ว ซึ่งแตกต่างจากโรคติดเชื้อประเภทอื่น ๆ แต่ก็ไม่ทราบว่ากลไกของการสะอึกเป็นอย่างไร
ซึ่งอาจจะต้องมีการศึกษาต่อไป นอกจากนี้ยังพบว่าอาการท้องเสียคืออีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดการระบาดอย่างหนัก
และสิ่งที่ทำให้ผู้เชี่ยวชาญรอดจากการติดเชื้อครั้งนี้มาได้ คือการล้างมือด้วยเจลล้างมือปกติที่ใช้กันในช่วงการระบาดของไข้หวัดใหญ่
ไม่ว่าจะไปสัมผัสกับสิ่งใดมาก็จะล้างมือบ่อยมาก อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวเห็นว่า
เนื่องจากเจลล้างมือเป็นส่วนหนึ่งที่สามารถป้องกันโรคได้ ในขณะที่สายการบินต่าง ๆ ห้ามนำขึ้นเครื่อง
จึงอยากให้ทางสายการบินได้จัดเตรียมไว้ให้กับผู้โดยสารอย่างเพียงพอด้วย
นพ.ธีระวัฒน์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ในส่วนของประเทศไทยอยากจะให้เตรียมพร้อมในการรับกับสถานการณ์การระบาดอย่างเข้มข้น
โดยเฉพาะระบบคัดแยกผู้ป่วยติดเชื้ออีโบลา กับผู้ป่วยปกติออกจากกัน ตั้งแต่กระบวนการคัดกรองผู้ป่วย
เนื่องจากขณะนี้จะเห็นว่ายังหละหลวมในขั้นตอนสอบประวัติผู้ป่วยเบื้องต้น ที่ทุกคนมาอยู่รวมกันจุดเดียว
นอกจากนี้ยังต้องเตรียมความพร้อมของบุคลากรซักซ้อมแผนอย่างสม่ำเสมอ ไม่อยากให้นิ่งนอนใจ
ทั้งนี้จากคำให้สัมภาษณ์ของ ศ.นพ.ไมเคิล ระบุว่า สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาในประเทศกินี ไลบีเรีย และเซียราลีโอน
ช่วงเดือน ก.ย.ถือว่ารุนแรงที่สุดเมื่อเทียบกับช่วง 7 เดือนก่อนหน้านี้ ในจำนวนนี้สถานการณ์ในประเทศไลบีเรียหนักที่สุดมีผู้ป่วย 3,458 คน เสียชีวิต 1,830 คน
ทั้งนี้ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคแห่งชาติสหรัฐอเมริกา คาดประมาณจำนวนผู้ป่วยในประเทศไลบีเรียและเชียร์ราลีโอน ว่าจากการจำลองสถานการณ์
ในกรณีที่ไม่ดีขึ้นขึ้นคาดว่าจะมีผู้ป่วยสูงถึงประมาณ 550,000 คน ในเดือน ม.ค. 2558 และอาจจะสูงถึง 1.4 ล้านคน
“ส่วนเชื้อไวรัสจะรุนแรงหรือกลายพันธุ์หรือไม่นั้น คุณหมอไมเคิลบอกว่าอีโบลาระบาดมาหลายครั้งแล้ว ถึงแม้จะมีการเปลี่ยนรหัสพันธุกรรมหลายร้อยตำแหน่ง
แต่ยังไม่มีหลักฐานที่ชี้บ่งชัดเจนว่าไวรัสมีความสามารถในการแพร่ได้รุนแรงเป็นพิเศษกว่าเดิมหรือสามารถแพร่ทางอากาศผ่านทางการหายใจ เช่น ซาร์ส
หรือโรคอีสุกอีใส และไม่แพร่ผ่านทางยุง แมลงอย่างเช่นไข้เลือดออกเด็งกี หรือมาลาเรีย” นพ.ธีระวัฒน์ กล่าว
ทั้งนี้ถ้าจำเป็นต้องไปแอฟริกา ต้องแน่ใจว่าได้รับวัคซีนป้องกันโรคต่างๆ แล้ว และสิ่งที่ต้องจำเป็นคือ
1.ไม่เดินทางไปในพื้นที่การระบาดอย่างน้อย 9 เดือน
2.ถ้าเจ็บป่วยในแอฟริกาให้เข้ารักษาที่ รพ.ที่มีเครื่องมือพร้อม และมีระบบป้องกันการแพร่เชื้อ หลีกเลี่ยงสถานพยาบาล หรือ รพ.ที่รับผู้ป่วยอีโบลา
3. หลีกเลี่ยงการสัมผัสใดๆ กับสิ่งคัดหลั่งทุกชนิดกับคนที่สงสัยว่าจะป่วย
4. ล้างมือบ่อยๆ ด้วยเจลล้างมือแอลกอฮอล์ที่มีความเข้มข้นไม่น้อยกว่า 62% หรือล้างด้วยสบู่มาตรฐานที่ใช้ใน รพ. หรือถ้าไม่มีสบู่ในแอฟริกาใช้น้ำยาซักผ้าขาว เจือจางในน้ำอัตราส่วน 1:20 โดยเฉพาะหลังสัมผัสกับอุปกรณ์ต่างๆ
5. ห้ามใช้อุปกรณ์ต่างๆ ร่วมกับผู้อื่น
6. ห้ามแตะต้อง
7. ห้ามแตะต้องหรืออุ้มสัตว์โดยเฉพาะสัตว์ป่า หรือการให้อาหารลิงในแอฟฟริกา
8. ถ้ามีไข้เกิน 38.6 องศาเซลเซียสและมีอาการเข้าข่ายอย่างใดอย่างหนึ่งให้รีบพบแพทย์ด่วน เป็นต้น.
http://variety.teenee.com/foodforbrain/63997.html