สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 4
ในรถยนต์หรือมอเตอร์ไซต์เรียกว่า back fire ครับ มีหลายแบบ คือมันเกิดตรงไหน ถ้าเกิดแถวๆวาวล์ไอเสียไม่ดีแน่นอนครับ ถ้าเกิดก่อนเข้าห้องเผาไหม้เช่นที่ท่อร่วมไอดีก็ไม่ดีครับเครื่องมีโอกาสพังได้ ที่แน่นอนท่อร่วมไอดีพังครับ (อาการนี้เกิดกับรถติดแก๊ส และเผาไม่หมดจนมีไอดีหนาย้อนออกไป หรือ ห้องเครื่องร้อนมากจนไอดีระเบิดนอกห้องเผาไหม้) อีกแบบเกิดในห้องเผาไหม้ แต่ดันเกิดก่อนลูกสูบเคลื่อนถึง "จุด" ที่ดีที่สุดที่จะเกิดการจุดระเบิด อาการนี้เรียกว่า อาการน๊อค ซื้อก็คือการจุดระเบิดก่อนที่ควรจะเป็นไม่ดีเช่นกัน พังเอาได้ง่ายๆ
back fire ที่เราได้ยินกันที่ท่อไอเสีย ถ้าคนจูนรถทำเป็น หรือ รถสแตนดาร์ด มันจะระเบิดที่ปลายท่อไอเสีย และ ต้องเป็นช่วงจังหวะยกคันเร่ง หรือ ปิดลิ้นปีกผีเสื้อเท่านั้น ที่สำคัญไม่เกิดขึ้นบ่อยครับ จะเกิดช่วงอากาศเย็นหรือหลังฝนตก เพราะมีอ๊อกซิเจนในอากาศหนาแน่นกว่าปกติ ถ้านอกจากนี้ทุกกรณีไปจูนใหม่ครับไม่ถูกต้อง
ทำไมรถสแตนดาร์ด จึงมีเสียง back fire โดยมากเกิดกับรถแรงๆมาจากโรงงาน หรือ พวกรถวาวล์แข็งๆที่มันปิดไม่สนิท มันมีไอดีบางส่วนปนออกมาที่ไอเสีย พอมาเจอความร้อนที่ท่อ และ เจออ๊อกซิเจนที่ท่อไอเสีย มันก็ระเบิดนอกท่อ รถสแตนดาร์ดโอกาสเกิดน้อยครับ เพราะวิศวกรโรงงานคำนวณ ความยาวและขนาดของคอท่อให้เหมาะสมกับอัตราการไหลของไอเสียของรถแต่ละรุ่นและขนาดเครื่องยนต์ ถ้าขนาดคอท่อและความยาวเหมาะสมมันจะเกิด "back pressure" หรือ "แรงดันย้อนกลับ" ที่พอเหมาะกับการดันไอดีที่ล้นออกมาที่วาวล์ไอเสียให้อยู่ในห้องเผาไหม้ในจังหวะโอเวอแล๊บของการปิดวาล์วของแคมช๊าฟ ในจังหวะที่ถูกต้องกับการเปิดปิดวาวล์ ประโยชน์ที่ได้ก็ ไม่มีมลพิษจากไอน้ำมัน ประหยัดน้ำมัน back fire แบบนี้ไม่มีอันตรายครับกับเครื่องยนต์ และจะเกิดกับจังหวะปิดคันเร่งเท่านั้น เพราะจังหวะอื่นวิศวกรเขาไม่ยอมปล่อยออกมาครับดันกลับหมด หรือเผาไหม่หมดจดในห้องเผาไหม้ ลองคิดดูท่อแต่งที่มีเยอะแยะจะทำได้ไหมครับ ไม่แปลกครับที่ท่อตดกันเป็นแถบ บางคันกินน้ำมันเพื่มขึ้นด้วย
เรื่องจาก ท่อแต่ง ที่ชอบตด เป็นเรื่องปกติครับ เพราะ ท่อแต่งเขาจะเน้น ลด back pressure ของไอเสีย เพื่อ "ความโล่ง" ของไอเสีย เมื่อโล่งไอเสียก็ไหลเร็ว จังหวะโอเวอแล๊บก็จะดึงไอดีออกมาด้วยสำหรับรถแต่งสุดๆ แต่ลดเดิมๆมันจะดึงไอดีที่เผาไม่หมดตามไอเสียออกมาซึ่งปริมาณไม่มากเท่ารถแต่ง (นึกถึงรถแรงๆ อย่าง F1 หรือ MotoGP ตอนก่อนเข้าโค้งครับ ไฟแล๊บที่ท่อกันเป็นส่วนใหญ่ เพราะจังหวะ "ยก" คันเร่งทุกคัน) แต่รถบ้านไอดีไม่หนาขนาดนั้นเลยไม่ไฟแล๊บ แต่เกิด "ตด" แทน ไอดีที่ถูกดึงออกมานี้เมื่อผ่านมาที่ท่อไอเสีย ที่มีอ๊อกซิเจนอยู่และมีความร้อนเพียงพอก็เกิด "สันดาบ" หรือ เผาไหม้ที่ท่อไอเสียที่เอง จึงเกิดเสียง "ตด" ดังปุบๆๆ นี่คือเหตุผลที่ท่อแต่งจะตดครับ แต่การที่จะทำท่อแต่งไม่ให้ตดก็ได้ครับ วิธีคือไม่ให้มีอ๊อกซิเจนในท่อไอเสีย ก็เท่านั้นเอง ท่อแต่งเหล่านี้จะเป้นพวก Slip-on หรือ Full system ก็ได้ครับแต่โดยมากทะลวงแคทออกหมดแล้ว
สงสัยไหมครับว่า ท่อไอเสียจะมีอ๊อกซิเจนอยู่ได้อย่างไรมันเข้าไปตอนไหน ตรงนี้วิศกรจงใจให้อ๊ออกซิเจนเข้าไปครับ ซึ่งผมก็กำลังจะบอกว่า เสียงตดก็เกิดจากความจงใจของวิศกรเหมือนกัน ที่จริงเขาไม่อยากให้ตดหรอกครับ แต่"ต้องลดมลภาวะเพื่อให้ผ่านกฏหมายเรื่องไอเสีย" วิศกรเขาออกแบบระบบสูญญากาศเพื่อป้อนอ๊อกซิเจนเข้าระบบไอเสียเพื่อลดปริมาณ คาบอนไดอ๊อกไซด์ และ ก๊าซพิษอื่นๆ ที่จริงไม่ลดลงหรอก แต่แหกตาคนตรวจเท่านั้นเอง เนื่องจากปริมาณอ๊อกซิเจนเข้าไปเจือจางไอเสียแล้ว ระบบที่ป้อนอ๊อกซิเจนถูกเรียกว่า PAIR system (Pluse Air Injection) หรือ Secondary Air Supply มีทั้งในรถยนต์และมอเตอร์ไซต์ครับ แต่ลักษณะการทำงานแตกต่างกันตามรอบเครื่องและ "จังหวะที่เกิดไอเสียสูง" อย่างเช่นในรถยนต์จะทำงานที่ "รอบเดินเบา หรือ Idle speed" ส่วนมอเตอร์ไซต์ทำทุกรอบเครื่องที่แรงดันในระบบสูญญากาศมีมากพอที่จะเปิด วาวล์ ป้อนอ๊อกซิเจนจากหม้อกรองอากาศ ระบบ PAIR จะมีในรถเครื่องใหญ่ๆตั้งแต่ 600 ซีซีขึ้นไปครับเท่าที่พบเห้นนะครับ มีทุกยี่ห้อ อ๊อกซิเจนจะถูดป้อนที่ "หลัง Port Valve ไอเสียด้านนอกครับ" โดยดูอากาศดีมาจากหม้อกรองแล้วพ่นเข้าไปที่หลังวาวล์ไอเสีย อ๊อกซิเจนเหล่านี้ก็จะไหลปนเข้าไปที่ท่อไอเสีย พอเจอความร้อนและไอดีมากพอและผสมเข้ากับอ๊อกซิเจน ก็เกิดสันดาบทันทีครับ จึงมีเสียง "ตด" นั่นเอง ถ้ารถแรงอย่าง F1 หรือ MotogP ก็เกิดประกายไฟที่ท่อไอเสียในจังหวะยกก่อนเข้าโค้ง อาการ Back Fire ลักษณะนี้ไม่มีอันตรายกับเครื่องยนต์ครับ
แต่ แต่ มีผลกับ "ความแรง" ของรถ เพราะจูนรถไม่นิ่งได้ถ้ามีระบบ PAIR
ดังนั้นโดยทั่วไปถ้าจะจูนรถ โดยการปรับค่าอัตราส่วนอากาศกับน้ำมัน ต้องปิดระบบ PAIR ก่อน ไม่งั้น Oxegen sensor จะอ่านค่าผิดพลาดเพราะบางจังหวะมีอ๊อกซิเจนนอกระบบ (ซึ่งมาจากระบบ PAIR) ปนไอเสียทำให้เรา ตั้งค่าน้ำมันหนาเกินไป พอบางจังหวะอากาศจาก PAIR ไม่ป้อนเข้ามาก็เกิดอาการ "สดุดเพราะน้ำมันแก่เกินไป รถไม่มีกำลัง" อาการนี้จะเป็นช่วงๆไม่แน่นอนครับ ดังนั้นก่อนจูนรถให้ ปิดระบบ PAIR ก่อนครับ ง่ายๆก็ "อุดท่อที่ต่อจากหม้อกรองอากาศเข้าไปที่เครื่องที่ตำแหน่งวาวล์ไอเสีย" ก็เท่านั้น พอจูนรถนิ่งค่อยต่อท่อเข้าไหม่ ถ้าไม่รำคาญเสียงตด
ผมเคยเห็นบางคันนี่เล่นเป็นลูกๆเลย ปุงๆๆๆ คนที่ไม่รู้ก็จะมองเราแปลกๆ ที่จริงไม่มีปัญหาใดๆครับ
กรณีของ KLX 125 ไม่มีระบบ PAIR แบบเครื่องใหญ่ครับ แต่ที่ ปุงๆๆ กันเพราะไอดีมันหลุดออกมาเป้นเรื่องปกติ และมาระเบิดทีท่อไอเสีย โดยเฉพาะรถเปลี่ยนท่อแต่ง และ จูนเครื่อง
รถผมเดิมๆ ท่อเดิม ก็ ตดครับ อากาศเย็น หลัง ฝนตก เปิดคันเร่งหนักๆ แล้ว ยก มี ปุบๆ ครับ แต่ไม่บ่อย ตรงนี้ คาวาทำการบ้านมาอ่อนครับ มันไม่ควรจะมีเลย แสดงว่าบางจังหวะชงแก่ไปนิด หรือมีหลุดช่วงโอเวอร์แล๊บ
KLX/DTK 125 ไม่มี PAIR แต่ระบบ EGR (Exhaust Gas Recirculation) (ผมเรียกเอง) ครับ มันคล้าย EGR คือ หมุนไอเสียบางส่วนเข้าไปที่หม้อกรองอากาศครับ เข้าใจว่ามุ่งหวังเรื่องลดมลภาวะ เพิ่มอุณหภูมิไอดีก่อนเข้าห้องเผาไหม้ ไม่เป็นระบบอิเล็กทาอนิกครับเป็นระบบสูญญากาศ
เครดิต : http://www.dtrackerthailand.com/board/index.php?topic=24532.10;wap2
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
back fire ที่เราได้ยินกันที่ท่อไอเสีย ถ้าคนจูนรถทำเป็น หรือ รถสแตนดาร์ด มันจะระเบิดที่ปลายท่อไอเสีย และ ต้องเป็นช่วงจังหวะยกคันเร่ง หรือ ปิดลิ้นปีกผีเสื้อเท่านั้น ที่สำคัญไม่เกิดขึ้นบ่อยครับ จะเกิดช่วงอากาศเย็นหรือหลังฝนตก เพราะมีอ๊อกซิเจนในอากาศหนาแน่นกว่าปกติ ถ้านอกจากนี้ทุกกรณีไปจูนใหม่ครับไม่ถูกต้อง
ทำไมรถสแตนดาร์ด จึงมีเสียง back fire โดยมากเกิดกับรถแรงๆมาจากโรงงาน หรือ พวกรถวาวล์แข็งๆที่มันปิดไม่สนิท มันมีไอดีบางส่วนปนออกมาที่ไอเสีย พอมาเจอความร้อนที่ท่อ และ เจออ๊อกซิเจนที่ท่อไอเสีย มันก็ระเบิดนอกท่อ รถสแตนดาร์ดโอกาสเกิดน้อยครับ เพราะวิศวกรโรงงานคำนวณ ความยาวและขนาดของคอท่อให้เหมาะสมกับอัตราการไหลของไอเสียของรถแต่ละรุ่นและขนาดเครื่องยนต์ ถ้าขนาดคอท่อและความยาวเหมาะสมมันจะเกิด "back pressure" หรือ "แรงดันย้อนกลับ" ที่พอเหมาะกับการดันไอดีที่ล้นออกมาที่วาวล์ไอเสียให้อยู่ในห้องเผาไหม้ในจังหวะโอเวอแล๊บของการปิดวาล์วของแคมช๊าฟ ในจังหวะที่ถูกต้องกับการเปิดปิดวาวล์ ประโยชน์ที่ได้ก็ ไม่มีมลพิษจากไอน้ำมัน ประหยัดน้ำมัน back fire แบบนี้ไม่มีอันตรายครับกับเครื่องยนต์ และจะเกิดกับจังหวะปิดคันเร่งเท่านั้น เพราะจังหวะอื่นวิศวกรเขาไม่ยอมปล่อยออกมาครับดันกลับหมด หรือเผาไหม่หมดจดในห้องเผาไหม้ ลองคิดดูท่อแต่งที่มีเยอะแยะจะทำได้ไหมครับ ไม่แปลกครับที่ท่อตดกันเป็นแถบ บางคันกินน้ำมันเพื่มขึ้นด้วย
เรื่องจาก ท่อแต่ง ที่ชอบตด เป็นเรื่องปกติครับ เพราะ ท่อแต่งเขาจะเน้น ลด back pressure ของไอเสีย เพื่อ "ความโล่ง" ของไอเสีย เมื่อโล่งไอเสียก็ไหลเร็ว จังหวะโอเวอแล๊บก็จะดึงไอดีออกมาด้วยสำหรับรถแต่งสุดๆ แต่ลดเดิมๆมันจะดึงไอดีที่เผาไม่หมดตามไอเสียออกมาซึ่งปริมาณไม่มากเท่ารถแต่ง (นึกถึงรถแรงๆ อย่าง F1 หรือ MotoGP ตอนก่อนเข้าโค้งครับ ไฟแล๊บที่ท่อกันเป็นส่วนใหญ่ เพราะจังหวะ "ยก" คันเร่งทุกคัน) แต่รถบ้านไอดีไม่หนาขนาดนั้นเลยไม่ไฟแล๊บ แต่เกิด "ตด" แทน ไอดีที่ถูกดึงออกมานี้เมื่อผ่านมาที่ท่อไอเสีย ที่มีอ๊อกซิเจนอยู่และมีความร้อนเพียงพอก็เกิด "สันดาบ" หรือ เผาไหม้ที่ท่อไอเสียที่เอง จึงเกิดเสียง "ตด" ดังปุบๆๆ นี่คือเหตุผลที่ท่อแต่งจะตดครับ แต่การที่จะทำท่อแต่งไม่ให้ตดก็ได้ครับ วิธีคือไม่ให้มีอ๊อกซิเจนในท่อไอเสีย ก็เท่านั้นเอง ท่อแต่งเหล่านี้จะเป้นพวก Slip-on หรือ Full system ก็ได้ครับแต่โดยมากทะลวงแคทออกหมดแล้ว
สงสัยไหมครับว่า ท่อไอเสียจะมีอ๊อกซิเจนอยู่ได้อย่างไรมันเข้าไปตอนไหน ตรงนี้วิศกรจงใจให้อ๊ออกซิเจนเข้าไปครับ ซึ่งผมก็กำลังจะบอกว่า เสียงตดก็เกิดจากความจงใจของวิศกรเหมือนกัน ที่จริงเขาไม่อยากให้ตดหรอกครับ แต่"ต้องลดมลภาวะเพื่อให้ผ่านกฏหมายเรื่องไอเสีย" วิศกรเขาออกแบบระบบสูญญากาศเพื่อป้อนอ๊อกซิเจนเข้าระบบไอเสียเพื่อลดปริมาณ คาบอนไดอ๊อกไซด์ และ ก๊าซพิษอื่นๆ ที่จริงไม่ลดลงหรอก แต่แหกตาคนตรวจเท่านั้นเอง เนื่องจากปริมาณอ๊อกซิเจนเข้าไปเจือจางไอเสียแล้ว ระบบที่ป้อนอ๊อกซิเจนถูกเรียกว่า PAIR system (Pluse Air Injection) หรือ Secondary Air Supply มีทั้งในรถยนต์และมอเตอร์ไซต์ครับ แต่ลักษณะการทำงานแตกต่างกันตามรอบเครื่องและ "จังหวะที่เกิดไอเสียสูง" อย่างเช่นในรถยนต์จะทำงานที่ "รอบเดินเบา หรือ Idle speed" ส่วนมอเตอร์ไซต์ทำทุกรอบเครื่องที่แรงดันในระบบสูญญากาศมีมากพอที่จะเปิด วาวล์ ป้อนอ๊อกซิเจนจากหม้อกรองอากาศ ระบบ PAIR จะมีในรถเครื่องใหญ่ๆตั้งแต่ 600 ซีซีขึ้นไปครับเท่าที่พบเห้นนะครับ มีทุกยี่ห้อ อ๊อกซิเจนจะถูดป้อนที่ "หลัง Port Valve ไอเสียด้านนอกครับ" โดยดูอากาศดีมาจากหม้อกรองแล้วพ่นเข้าไปที่หลังวาวล์ไอเสีย อ๊อกซิเจนเหล่านี้ก็จะไหลปนเข้าไปที่ท่อไอเสีย พอเจอความร้อนและไอดีมากพอและผสมเข้ากับอ๊อกซิเจน ก็เกิดสันดาบทันทีครับ จึงมีเสียง "ตด" นั่นเอง ถ้ารถแรงอย่าง F1 หรือ MotogP ก็เกิดประกายไฟที่ท่อไอเสียในจังหวะยกก่อนเข้าโค้ง อาการ Back Fire ลักษณะนี้ไม่มีอันตรายกับเครื่องยนต์ครับ
แต่ แต่ มีผลกับ "ความแรง" ของรถ เพราะจูนรถไม่นิ่งได้ถ้ามีระบบ PAIR
ดังนั้นโดยทั่วไปถ้าจะจูนรถ โดยการปรับค่าอัตราส่วนอากาศกับน้ำมัน ต้องปิดระบบ PAIR ก่อน ไม่งั้น Oxegen sensor จะอ่านค่าผิดพลาดเพราะบางจังหวะมีอ๊อกซิเจนนอกระบบ (ซึ่งมาจากระบบ PAIR) ปนไอเสียทำให้เรา ตั้งค่าน้ำมันหนาเกินไป พอบางจังหวะอากาศจาก PAIR ไม่ป้อนเข้ามาก็เกิดอาการ "สดุดเพราะน้ำมันแก่เกินไป รถไม่มีกำลัง" อาการนี้จะเป็นช่วงๆไม่แน่นอนครับ ดังนั้นก่อนจูนรถให้ ปิดระบบ PAIR ก่อนครับ ง่ายๆก็ "อุดท่อที่ต่อจากหม้อกรองอากาศเข้าไปที่เครื่องที่ตำแหน่งวาวล์ไอเสีย" ก็เท่านั้น พอจูนรถนิ่งค่อยต่อท่อเข้าไหม่ ถ้าไม่รำคาญเสียงตด
ผมเคยเห็นบางคันนี่เล่นเป็นลูกๆเลย ปุงๆๆๆ คนที่ไม่รู้ก็จะมองเราแปลกๆ ที่จริงไม่มีปัญหาใดๆครับ
กรณีของ KLX 125 ไม่มีระบบ PAIR แบบเครื่องใหญ่ครับ แต่ที่ ปุงๆๆ กันเพราะไอดีมันหลุดออกมาเป้นเรื่องปกติ และมาระเบิดทีท่อไอเสีย โดยเฉพาะรถเปลี่ยนท่อแต่ง และ จูนเครื่อง
รถผมเดิมๆ ท่อเดิม ก็ ตดครับ อากาศเย็น หลัง ฝนตก เปิดคันเร่งหนักๆ แล้ว ยก มี ปุบๆ ครับ แต่ไม่บ่อย ตรงนี้ คาวาทำการบ้านมาอ่อนครับ มันไม่ควรจะมีเลย แสดงว่าบางจังหวะชงแก่ไปนิด หรือมีหลุดช่วงโอเวอร์แล๊บ
KLX/DTK 125 ไม่มี PAIR แต่ระบบ EGR (Exhaust Gas Recirculation) (ผมเรียกเอง) ครับ มันคล้าย EGR คือ หมุนไอเสียบางส่วนเข้าไปที่หม้อกรองอากาศครับ เข้าใจว่ามุ่งหวังเรื่องลดมลภาวะ เพิ่มอุณหภูมิไอดีก่อนเข้าห้องเผาไหม้ ไม่เป็นระบบอิเล็กทาอนิกครับเป็นระบบสูญญากาศ
เครดิต : http://www.dtrackerthailand.com/board/index.php?topic=24532.10;wap2
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แสดงความคิดเห็น
ไฟออกท่อ ดีหรือไม่ครับ ?
http://www.youtube.com/watch?v=MUVPtcGvy38