เตงกูร์ อามีร์ ฮัมซาร์ เป็นกวีชาวอินโดนีเซียและวีรบุรุษแห่งชาติอินโดนีเซีย เขาเกิดในครอบครัวชนชั้นสูงในรัฐสุลต่านแห่งลังกัด สุมาตราเหนือเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1911 เขาได้เข้าศึกษาทั้งในเกาะสุมาตราและเกาะชวา ขณะที่เขาเรียนที่โรงเรียนมัธยมในสุรกาตา (เมืองโซโลในชวากลาง) ในช่วงปี 1930 เขาได้เข้าร่วมขบวนการเรียกร้องเอกราชและแอบชอบเพื่อนสาวชาวชวาที่ชื่อ อิริก ซุนดาหลี แม้ว่าหลังจากที่เขาไปเรียนต่อที่เมืองปัตตาเวีย (ปัจจุบันคือกรุงจาร์กาตา) พวกเขาทั้งสองก็ยังอยู่ชิดกันตลอด แม้ว่าปี 1937 ที่อามีร์ได้กลับบ้านไปแต่งงานกับพระธิดาของสุลต่านและเข้ารับเป็นข้าหลวงในวังสุลต่าน แม้ว่าเขาไม่มีความสุขกับการแต่งงาน เขาก็ยังคงทำหน้าที่เป็นข้าหลวงในราชสำนักอย่างเต็มที่ หลังจากอินโดนีเซียประกาศเอกราชในปี 1945 เขาได้รับเลือกเป็น ส.ส.ในลังกัด ทว่าปีต่อมาเขากลับถูกสังหารโดยพรรคคอมมิวนิสต์อินโดนีเซียในช่วงการปฏิวัติสุมาตราตะวันออกในวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ.1946
อามีร์ได้เริ่มแต่งกลอนตั้งแต่เขายังเป็นหนุ่ม แม้ว่าผลงานของเขาจะมีน้อยมาก โดยเขาเริ่มแต่งกลอนครั้งแรกเมื่อเดินทางไปเกาะชวา โดยเขาได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมมาเลย์และศาสนาอิสลาม รวมไปถึงศาสนาคริสต์และวัฒนธรรมทางตะวันออกด้วย อามีร์แต่งกลอนราว 50 บท ร้อยแก้ว 18 บท และผลงานอื่นๆอีกมากมาย รวมไปถึงงานแปลหนังสือต่างๆด้วย ในปี 1932 เขาได้จัดทำหนังสือ "กวียุคใหม่" (Poedjangga Baroe) ขึ้น เขาหยุดเขียนผลงานลงหลังจากกลับไปยังเกาะสุมาตรา งาน 2 ชิ้นที่นิยมมากที่สุดคือ "เพลงแห่งความเงียบ" (Nyanyi Sunyi) และ "ผลไม้แห่งความปรารถนา" (Buah Rindu) โดยมีการตีพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือกวียุคใหม่นั้นเอง
กวีของอามีร์เต็มไปด้วยเนื้อหาทางศาสนาและความรัก และบทกวีของเขามักจะสะท้อนความขัดแย้งอยู๋ลึกๆ คำพูดของเขาที่แต่งมักจะใช้ทั้งภาษามาเลย์และภาษาชวา เขาได้ขยายรูปแบบการแต่งกลอนโดยใช้จังหวะและการเว้นวรรคแบบใหม่ ซึ่งเป็นการแสดงสัญลักษณ์ของเขาโดยเฉพาะ ผลงานช่วงแรกๆของเขามักจะมีเนื้อหาแห่งการเร้าอารมณ์ และความรักที่เงียบสงบอยู่ แต่ในยุคต่อมา ผลงานส่วนใหญ่จะมีความหมายทางศาสนาแฝงอยู่ด้วย ซึ่ง "เพลงแห่งความเงียบ" ถือเป็นงานชิ้นหนึ่งที่บ่งบอกถึงการพัฒนาของเขา อามีร์ได้รับการยกย่องให้เป็น "ราชาแห่งกวียุคใหม่" และเป็นกวีคนเดียวที่ได้รับการยกย่องก่อนการปฏิวัติชาติอินโดนีเซีย
อามีร์ ฮัมซาร์ กวีแห่งอินโดนีเซีย
อามีร์ได้เริ่มแต่งกลอนตั้งแต่เขายังเป็นหนุ่ม แม้ว่าผลงานของเขาจะมีน้อยมาก โดยเขาเริ่มแต่งกลอนครั้งแรกเมื่อเดินทางไปเกาะชวา โดยเขาได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมมาเลย์และศาสนาอิสลาม รวมไปถึงศาสนาคริสต์และวัฒนธรรมทางตะวันออกด้วย อามีร์แต่งกลอนราว 50 บท ร้อยแก้ว 18 บท และผลงานอื่นๆอีกมากมาย รวมไปถึงงานแปลหนังสือต่างๆด้วย ในปี 1932 เขาได้จัดทำหนังสือ "กวียุคใหม่" (Poedjangga Baroe) ขึ้น เขาหยุดเขียนผลงานลงหลังจากกลับไปยังเกาะสุมาตรา งาน 2 ชิ้นที่นิยมมากที่สุดคือ "เพลงแห่งความเงียบ" (Nyanyi Sunyi) และ "ผลไม้แห่งความปรารถนา" (Buah Rindu) โดยมีการตีพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือกวียุคใหม่นั้นเอง
กวีของอามีร์เต็มไปด้วยเนื้อหาทางศาสนาและความรัก และบทกวีของเขามักจะสะท้อนความขัดแย้งอยู๋ลึกๆ คำพูดของเขาที่แต่งมักจะใช้ทั้งภาษามาเลย์และภาษาชวา เขาได้ขยายรูปแบบการแต่งกลอนโดยใช้จังหวะและการเว้นวรรคแบบใหม่ ซึ่งเป็นการแสดงสัญลักษณ์ของเขาโดยเฉพาะ ผลงานช่วงแรกๆของเขามักจะมีเนื้อหาแห่งการเร้าอารมณ์ และความรักที่เงียบสงบอยู่ แต่ในยุคต่อมา ผลงานส่วนใหญ่จะมีความหมายทางศาสนาแฝงอยู่ด้วย ซึ่ง "เพลงแห่งความเงียบ" ถือเป็นงานชิ้นหนึ่งที่บ่งบอกถึงการพัฒนาของเขา อามีร์ได้รับการยกย่องให้เป็น "ราชาแห่งกวียุคใหม่" และเป็นกวีคนเดียวที่ได้รับการยกย่องก่อนการปฏิวัติชาติอินโดนีเซีย