ที่กรุงเทพฯ มีกิจกรรมน่าสนใจเกิดขึ้นคือ "กินข้าวในสวน" นำจัดกิจกรรมโดยคุณชูเกียรติ โกแมน บรมครูด้านเกษตรในเมืองคนสำคัญ
และทีมสวนผักคนเมือง รวมถึงคณะทำงานกินเปลี่ยนโลก มีการจัดการอบรมและแลกเปลี่ยนเรื่องราวการทำเกษตรแบบคนเมืองและรสชาติอาหารที่ปรุงจาก
ผลผลิตคนเมืองที่สวนสาธารณะ รวมถึง การโยงสู่เรื่องราวปลูกปัญญาเรื่องอื่นๆ โดยนอกจากผู้ตั้งใจเข้ามาร่วมกิจกรรมแล้วยังมีผู้คนสัญจรไปมาแวะเวียนเข้ามาดูอยู่บ้าง
ตอนหนึ่ง คุณชูเกียรติได้เปรยขึ้นว่า สวนสาธารณะของเมืองใหญ่ในบ้านเรา เน้นปลูกแต่ไม้ยืนต้น ไม่ปลูกพืชที่กินได้ด้วย ซึ่งการปลูกพืชอาหารในสวนสาธารณะ
นอกจากจะได้อาหารพร้อมๆ ไปกับอากาศที่ดีแล้ว ยังจะเกิดกระบวนการเรียนรู้ขึ้นอีกด้วย จากที่ผู้คนที่ผ่านเข้ามาพักผ่อนในพื้นที่สาธารณะแห่งนี้ จะได้เห็นพืชผักหรือไม้ผล
รวมไปถึงการเพาะปลูก การดูแลหรือแม้แต่การเก็บเกี่ยวอีกด้วย
ผู้เขียนขอตั้งต้นจากมุมมองของคุณชูเกียรติและน่าจะเป็นที่เห็นพ้องของทุกคนที่เข้ามาร่วมในวันนั้น และขอนำเข้าสู่การเรียนรู้เรื่องราวของที่อื่นเกี่ยวโยงกับเรื่องนี้
ซึ่งน่าจะช่วยสะท้อนให้เห็นตัวอย่างดีๆ และช่วยขยายแนวคิดเรื่องนี้ในบ้านเราออกไปได้ กรณีที่จะหยิบยกในวันนี้ก็คือสวนผักในสวนสาธารณะใจกลางเมืองใหญ่
อย่างมหานครลอนดอนที่มีชื่อว่า รีเจนต์ปราค (Regent’s park)
ท่ามกลางมวลหมู่ไม้รวมถึงบรรดาไม้ดอกไม้ประดับพันธุ์ต่างๆ รีเจนต์ปราคยังมีการกันพื้นที่ส่วนหนึ่งไว้สำหรับแปลงผัก
โดยให้คนเมืองที่สนใจมาเพาะปลูกและดูแลแปลงผัก แปลงผักที่นี่ถูกแบ่งเป็นล็อตเรียก "Allotment" การแบ่งที่เล็กๆ ให้คนเมืองมาเพาะปลูกแบบนี้
เกิดขึ้นมานานมากแล้วในสังคมอังกฤษจนกลายเป็นวัฒนธรรมไปแล้ว (Allotment culture) จากการเรียกร้องของคนจนเมืองในอดีต ช่วงปี 1659 - 1650
(ภายหลังจากมีการล้อมรั้ว หรือแนวคิดเรื่องกรรมสิทธิในที่ดินซึ่งเป็นรากฐานของการเกิดสังคมเมืองสมัยใหม่) โดยขบวนการดังกล่าวถูกเรียกว่า "Diggers"
(ขบวนการนักขุดดิน) ซึ่งนับเป็นการเรียกร้องอธิปไตยหรือสิทธิในอาหารครั้งแรกๆ ของโลกเลยทีเดียว และคำว่า "Digger" หรือ "นักขุดดิน" นี้ยังคงถูกใช้เรียกตัวเอง
สำหรับบรรดาคนเมืองผู้ดีที่ทำสวนผักมากกว่าคำว่าเกษตรกร (Farmer) อยู่จนถึงทุกวันนี้ นอกจากนี้ การเพาะปลูกบน "Allotment" ยังเป็นหลักฐานที่ดีที่ช่วยตอบโต้ว่า
พื้นที่น้อยจะไปทำอะไรได้ เพราะคนที่นี่ได้ที่มาเท่ากับหลุมฝังศพคนๆ เดียว แต่ก็ผลิตอาหารเลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้ อย่างไรก็ตาม ทุกวันนี้ หลายพื้นที่ในอังกฤษ
ได้เปลี่ยนจากการแจกมาเป็นให้เช่าแทน แต่ก็ยังนับว่าคุ้มค่ากว่าการชื้อในท้องตลาดอยู่ดี เพราะพืชผักที่นี่แพงไม่น้อย และยิ่งเป็นผักที่ขึ้นป้ายว่า Organic ยิ่งแพงหูฉีก
ทั้งที่อาจจะจริงหรือไม่จริงก็ได้ (นับเป็นเรื่องหนึ่งที่อังกฤษยังด้อยพัฒนาอยู่)
"Allotment" ที่รีเจนต์ปราคก็คิดค่าเช่าเช่นกัน แต่แม้ว่าจะคิดค่าเช่า ก็นับว่ายังดีที่มีการให้ความสำคัญกับสวนผักในสวนสาธารณะ อนึ่ง นอกจากสวนสาธารณะรีเจนต์
จะกันพื้นที่สำหรับสวนผักให้คนเมืองมาเพาะปลูกแล้ว ยังมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ ที่เกี่ยวโยงกับกิจกรรมการเพาะปลูกในสวนผักแห่งนี้ด้วย โดยมีตารางกิจกรรม
แสดงบนกระดานด้านหน้าสวนผักซึ่งถูกอัพเดทอยู่เรื่อยๆ ตลอดทั้งปี ซึ่งได้รับความร่วมมือด้วยดีจากเจ้าของแปลงในการอนุญาติให้คนเมืองที่มาเดินสวน
เข้ามาเยี่ยมชมแปลงผักและทำหน้าที่เล่าเรื่องราวต่างๆ ตามความสนใจของผู้มาเยือนอย่างภาคภูมิใจ
หนึ่งในกิจกรรมที่สวนผักจัดขึ้นคือเทศกาลการเก็บเกี่ยว (Harvest festival) ซึ่งผู้เขียนมีโอกาสไปร่วมกิจกรรมดังกล่าวด้วย กิจกรรมนี้จัดขึ้นหลังจากผลผลิตในแปลง
งอกงามถึงเวลาแห่งการเก็บเกี่ยวแล้ว โดยมีการประชาสัมพันธ์ให้คนเมืองทั่วไปได้เข้ามาเยี่ยมชมและเรียนรู้การเก็บเกี่ยวไปพร้อมๆ กับเจ้าของแปลง
ในงานนี้ มีผู้คนที่เข้ามาเดินสวนแวะเวียนมาชมจำนวนไม่น้อย เกิดการเรียนรู้สาธารณะในพื้นที่สาธารณะอย่างแท้จริง โดยเฉพาะสำหรับบรรดาเด็กๆ ที่ได้เข้ามาเยี่ยมชม
โดยบางแปลงมีการสาธิตแนวปฏิบัติต่างๆ ในสวน และให้ความรู้เรื่องแมลง ซึ่งเด็กๆ ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ในขณะที่บางแปลงเจ้าของได้เตรียมอุปกรณ์
ทำอาหารแบ่งปันผู้มาเยือนให้ได้ลิ้มลองผักสดๆ ร่วมด้วยก็มี
ย้อนกลับไปที่จุดตั้งต้น คงจะดีไม่น้อยถ้าเรื่องราวเล็กๆ ที่งอกงามของสวนผักในสวนสาธารณะใจกลางเมืองใหญ่ในอังกฤษเกิดขึ้นในสวนสาธารณะใจกลางเมืองบ้านเราบ้าง
(ถ้าสวนไหนมีเรื่องราวเช่นนี้อยู่แล้วก็อย่าลืมนำเรื่องราวมาเล่าสู่กันฟังบ้างนะครับ)
http://www.thaicityfarm.com/autopagev4/show_page.php?topic_id=363&auto_id=40&TopicPk=
สวนผักในสวนสาธารณะ ที่กรุงลอนดอน
และทีมสวนผักคนเมือง รวมถึงคณะทำงานกินเปลี่ยนโลก มีการจัดการอบรมและแลกเปลี่ยนเรื่องราวการทำเกษตรแบบคนเมืองและรสชาติอาหารที่ปรุงจาก
ผลผลิตคนเมืองที่สวนสาธารณะ รวมถึง การโยงสู่เรื่องราวปลูกปัญญาเรื่องอื่นๆ โดยนอกจากผู้ตั้งใจเข้ามาร่วมกิจกรรมแล้วยังมีผู้คนสัญจรไปมาแวะเวียนเข้ามาดูอยู่บ้าง
ตอนหนึ่ง คุณชูเกียรติได้เปรยขึ้นว่า สวนสาธารณะของเมืองใหญ่ในบ้านเรา เน้นปลูกแต่ไม้ยืนต้น ไม่ปลูกพืชที่กินได้ด้วย ซึ่งการปลูกพืชอาหารในสวนสาธารณะ
นอกจากจะได้อาหารพร้อมๆ ไปกับอากาศที่ดีแล้ว ยังจะเกิดกระบวนการเรียนรู้ขึ้นอีกด้วย จากที่ผู้คนที่ผ่านเข้ามาพักผ่อนในพื้นที่สาธารณะแห่งนี้ จะได้เห็นพืชผักหรือไม้ผล
รวมไปถึงการเพาะปลูก การดูแลหรือแม้แต่การเก็บเกี่ยวอีกด้วย
ผู้เขียนขอตั้งต้นจากมุมมองของคุณชูเกียรติและน่าจะเป็นที่เห็นพ้องของทุกคนที่เข้ามาร่วมในวันนั้น และขอนำเข้าสู่การเรียนรู้เรื่องราวของที่อื่นเกี่ยวโยงกับเรื่องนี้
ซึ่งน่าจะช่วยสะท้อนให้เห็นตัวอย่างดีๆ และช่วยขยายแนวคิดเรื่องนี้ในบ้านเราออกไปได้ กรณีที่จะหยิบยกในวันนี้ก็คือสวนผักในสวนสาธารณะใจกลางเมืองใหญ่
อย่างมหานครลอนดอนที่มีชื่อว่า รีเจนต์ปราค (Regent’s park)
ท่ามกลางมวลหมู่ไม้รวมถึงบรรดาไม้ดอกไม้ประดับพันธุ์ต่างๆ รีเจนต์ปราคยังมีการกันพื้นที่ส่วนหนึ่งไว้สำหรับแปลงผัก
โดยให้คนเมืองที่สนใจมาเพาะปลูกและดูแลแปลงผัก แปลงผักที่นี่ถูกแบ่งเป็นล็อตเรียก "Allotment" การแบ่งที่เล็กๆ ให้คนเมืองมาเพาะปลูกแบบนี้
เกิดขึ้นมานานมากแล้วในสังคมอังกฤษจนกลายเป็นวัฒนธรรมไปแล้ว (Allotment culture) จากการเรียกร้องของคนจนเมืองในอดีต ช่วงปี 1659 - 1650
(ภายหลังจากมีการล้อมรั้ว หรือแนวคิดเรื่องกรรมสิทธิในที่ดินซึ่งเป็นรากฐานของการเกิดสังคมเมืองสมัยใหม่) โดยขบวนการดังกล่าวถูกเรียกว่า "Diggers"
(ขบวนการนักขุดดิน) ซึ่งนับเป็นการเรียกร้องอธิปไตยหรือสิทธิในอาหารครั้งแรกๆ ของโลกเลยทีเดียว และคำว่า "Digger" หรือ "นักขุดดิน" นี้ยังคงถูกใช้เรียกตัวเอง
สำหรับบรรดาคนเมืองผู้ดีที่ทำสวนผักมากกว่าคำว่าเกษตรกร (Farmer) อยู่จนถึงทุกวันนี้ นอกจากนี้ การเพาะปลูกบน "Allotment" ยังเป็นหลักฐานที่ดีที่ช่วยตอบโต้ว่า
พื้นที่น้อยจะไปทำอะไรได้ เพราะคนที่นี่ได้ที่มาเท่ากับหลุมฝังศพคนๆ เดียว แต่ก็ผลิตอาหารเลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้ อย่างไรก็ตาม ทุกวันนี้ หลายพื้นที่ในอังกฤษ
ได้เปลี่ยนจากการแจกมาเป็นให้เช่าแทน แต่ก็ยังนับว่าคุ้มค่ากว่าการชื้อในท้องตลาดอยู่ดี เพราะพืชผักที่นี่แพงไม่น้อย และยิ่งเป็นผักที่ขึ้นป้ายว่า Organic ยิ่งแพงหูฉีก
ทั้งที่อาจจะจริงหรือไม่จริงก็ได้ (นับเป็นเรื่องหนึ่งที่อังกฤษยังด้อยพัฒนาอยู่)
"Allotment" ที่รีเจนต์ปราคก็คิดค่าเช่าเช่นกัน แต่แม้ว่าจะคิดค่าเช่า ก็นับว่ายังดีที่มีการให้ความสำคัญกับสวนผักในสวนสาธารณะ อนึ่ง นอกจากสวนสาธารณะรีเจนต์
จะกันพื้นที่สำหรับสวนผักให้คนเมืองมาเพาะปลูกแล้ว ยังมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ ที่เกี่ยวโยงกับกิจกรรมการเพาะปลูกในสวนผักแห่งนี้ด้วย โดยมีตารางกิจกรรม
แสดงบนกระดานด้านหน้าสวนผักซึ่งถูกอัพเดทอยู่เรื่อยๆ ตลอดทั้งปี ซึ่งได้รับความร่วมมือด้วยดีจากเจ้าของแปลงในการอนุญาติให้คนเมืองที่มาเดินสวน
เข้ามาเยี่ยมชมแปลงผักและทำหน้าที่เล่าเรื่องราวต่างๆ ตามความสนใจของผู้มาเยือนอย่างภาคภูมิใจ
หนึ่งในกิจกรรมที่สวนผักจัดขึ้นคือเทศกาลการเก็บเกี่ยว (Harvest festival) ซึ่งผู้เขียนมีโอกาสไปร่วมกิจกรรมดังกล่าวด้วย กิจกรรมนี้จัดขึ้นหลังจากผลผลิตในแปลง
งอกงามถึงเวลาแห่งการเก็บเกี่ยวแล้ว โดยมีการประชาสัมพันธ์ให้คนเมืองทั่วไปได้เข้ามาเยี่ยมชมและเรียนรู้การเก็บเกี่ยวไปพร้อมๆ กับเจ้าของแปลง
ในงานนี้ มีผู้คนที่เข้ามาเดินสวนแวะเวียนมาชมจำนวนไม่น้อย เกิดการเรียนรู้สาธารณะในพื้นที่สาธารณะอย่างแท้จริง โดยเฉพาะสำหรับบรรดาเด็กๆ ที่ได้เข้ามาเยี่ยมชม
โดยบางแปลงมีการสาธิตแนวปฏิบัติต่างๆ ในสวน และให้ความรู้เรื่องแมลง ซึ่งเด็กๆ ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ในขณะที่บางแปลงเจ้าของได้เตรียมอุปกรณ์
ทำอาหารแบ่งปันผู้มาเยือนให้ได้ลิ้มลองผักสดๆ ร่วมด้วยก็มี
ย้อนกลับไปที่จุดตั้งต้น คงจะดีไม่น้อยถ้าเรื่องราวเล็กๆ ที่งอกงามของสวนผักในสวนสาธารณะใจกลางเมืองใหญ่ในอังกฤษเกิดขึ้นในสวนสาธารณะใจกลางเมืองบ้านเราบ้าง
(ถ้าสวนไหนมีเรื่องราวเช่นนี้อยู่แล้วก็อย่าลืมนำเรื่องราวมาเล่าสู่กันฟังบ้างนะครับ)
http://www.thaicityfarm.com/autopagev4/show_page.php?topic_id=363&auto_id=40&TopicPk=