ประกอบจักรยานไฟฟ้าไว้ใช้เองจ้า

วันนี้ผมขอแชร์ประสบการณ์ของการใช้จักรยานไฟฟ้าประกอบเองในชีวิตประจำวัน ครับ

ก่อนหน้าที่ผมจะใช้จักรยานไฟฟ้า ผมก็ใช้งานจักรยาน(fixedgear)เป็นพาหนะปกติทั่วไปในชีวิตประจำวัน ไปโน่นไปนี่ แต่ปัญหามันอยู่ที่ตอนจะไปทำงานในฤดูร้อน ปั่นไปแล้วมันเหงื่อออกเยอะเหลือเกิน เสื้อผ้าก็เปียก ตัวก็เหม็น และทำเวลาได้ก็แบบฉิวเฉียด(ให้ทันรถไฟฟ้า) เพราะตื่นสายด้วย ทำยังไงดีที่จะไม่ต้องมีเหงื่อเยอะแบบนี้ และเดินทางได้เร็วขึ้น แต่ก็ไม่อยากได้มอเตอร์ไซค์เพราะค่าใช้จ่ายที่สูงเกินไป ค่ารถ+ค่าน้ำมัน เพราะส่วนที่ต้องจ่ายไปนั้นสามารถเอาเงินไปทำอย่าอื่นได้เยอะเลย นั้นทำให้ผมเกิด idea ทำจักรยานไฟฟ้าใช้เองดีกว่าน่าจะ OK นะ

ผมก็ตั้งวัตถุประสงค์หลักของจักรยานไฟฟ้าที่ผมต้องการใช้งานคือ
1. ใช้แทนรถมอเตอร์ไซค์ได้ในระดับนึงและควรมีความเร็วที่สูงกว่าจักรยาน
2. ลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางเช่น ค่าน้ำมัน โดยค่าใช้จ่ายรวมทั้งหมดต่อระยะทาง ที่ถูกกว่ามอเตอร์ไซค์ มากๆ
3.ต้องการใช้ในระยะทางที่กำจัด ไม่ได้ออกนอกเส้นทาง
4.ถ้าพลังงานหรือแบตเตอรี่หมดก็ยังปั่นได้เรื่อยๆ

แต่มันก็มีข้อจำกัดเหมือนกัน สำหรับคนที่ต้องการใช้จักรยานไฟฟ้าก็ต้องยอมรับจุดนี้ด้วย
1. ระยะทางการใช้งานที่จำกัดตามปริมาณแบตเตอรรี่นั้นๆ
2. ราคาชุดคิทและแบตเตอรี่ที่สูงพอสมควร
3. น้ำหนักแบตที่เพิ่มขึ้นทำให้ความสามารถในการปั่นแบบปกติจะลดลง
4. ลุยน้ำลุยฝนไม่ดีแน่ๆ

นี่เป็นสเปกชุดคิทที่ใช้งานอยู่คือ
1. Hub motor 250w 48v ขับเคลื่อนล้อหน้า(700c)+Controller+คันเร่ง+เบรกหน้าหลัง

2. แบตเตอรี่ Lifepo4 48v 12 ah อายุการใช้งาน 5 ปีหรือชาร์จได้ 2,000 ครั้ง

3.ประกอบกับรถ Fixedgear เก่าที่มีอยู่


ประกอบเสร็จแล้วจ้า

คันเร่งและเบรก+สวิทช์ on-off + สวิทช์ปรับความเร็ว

Hub motor

แบตเตอรี่ lifepo 4 48v 12ah


การใช้งาน
ความเร็วสูงสุดที่ทำได้ประมาณ 42-46 km/hr ได้ระยะทางทั้งหมด 55-60 km ต่อการชาร์จ 1 ครั้ง โดยความเร็วในการวิ่งถือว่าเร็วพอสมควรสำหรับจักรยาน  การเร่งความเร็วแบบพุ่งๆสามารถทำได้ไม่ยากเลย พูดง่ายๆคือ ช่วยกันปั่นนั้นเอง(มอเตอร์+แรงคน) จะทำให้มีความสนุกในการขับขี่เพิ่มขึ้น แต่ถ้าแบตหมดกลางทางจะไม่สนุกเท่าไหร่ครับ ถ้ารถไม่มีเกียร์ แบบนี้ มันจะแบกน้ำหนักแบบรู้สึกได้เลยล่ะ
ตารางบันทึกการใช้งาน


ความคาดหวัง
ผมทำการคำนวณระยะทางและค่าใช้จ่ายทั้งหมดดู คิดว่ามันมีต้นทุนที่ถูกมาก ถ้าเทียบกับการใช้พาหนะที่ใช้น้ำมัน แต่มันก็อาจไม่ถูกต้องทั้งหมดอยู่ที่แนวคิดของแต่ละท่านเอง โดยผมคิดระยะทางแบบไม่รวมค่าเสื่อมของแบต(แบตเสื่อมก็ยังปั่นได้)+ค่าไฟที่ชาร์จแต่ละครั้งคิดไว้เผื่อสูงสุดแล้ว

ค่าชุดคิท+แบต = 15,000 บาท
ใช้แบตจนพังรถจะวิ่งได้ ---(รถวิ่งได้ 55 กม/ชาร์จ 1 ครั้ง)  x  (แบตชาร์จได้ 2000 ครั้ง) = 110,000 กม/แบต 1 ลูก
ค่าไฟทั้งหมดจนแบตพัง ---(ค่าไฟฟ้า 4 บาท/ชาร์จ 1 ครั้ง) x  (แบตชาร์จได้ 2000 ครั้ง) = 8,000 บาท/ลูก

จะเห็นได้ว่า แบต 1 ลูกจะวิ่งได้ระยะทางรวม 110,000 กม โดยเสียค่าใช้จ่ายแค่ 8,000 บาทเท่านั้น แต่ถ้าเป็นรถที่ใช้น้ำมันคงจะทำแบบนี้ไม่ได้แน่ๆ
......ค่าใช้จ่ายโดยรวมแบบไม่รวมค่าสึกหรอก " จักรยาน+15,000+8,000 = 23,000 บาท วิ่งได้ 110,000 กม."
ผลที่ได้จากข้างต้น อาจไม่ถูกต้องเสมอไปก็ได้ แต่นั้นก็เป็นเป้าหมายที่ผมตั้งไว้ครับ

แต่ก็อย่างว่าการใช้งาน มันก็มีข้อจำกัดของตัวมันเอง ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเลือกแบบไหนให้เหมาะสมกับเรามากที่สุดเท่านั้นเอง

ขอบคุณครับยิ้ม
แก้ไขข้อความเมื่อ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่