ปล.รูปประกอบไม่เกี่ยวข้องกับที่มาของเนื้อหา
ความต้องการใช้ไฟฟ้าของไทยที่เพิ่มขึ้นตามการเติบโตของเศรษฐกิจ ส่งผลให้กระทรวงพลังงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องเร่งวางแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า หนึ่งในเชื้อเพลิงที่ถูกบรรจุอยู่ในแผน ก็คือ เชื้อเพลิงนิวเคลียร์ แต่นิวเคลียร์ จำเป็นแค่ไหนสำหรับประเทศไทย
โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ในประเทศไทย เริ่มต้นเมื่อปี 2509 จากการที่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. เสนอโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ต่อรัฐบาลในขณะนั้น ซึ่งเดินหน้าจนถึงขั้นตอนกำหนดพื้นที่ก่อสร้าง และจองซื้อเชื้อเพลิงยูเรเนียม
แต่แล้วก็ถูกพับโครงการไปในปี 2521 เนื่องจากค้นพบก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย แต่ระหว่างนี้ รัฐบาล ก็ยังคงทำการศึกษาแนวทางพัฒนาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ต่อไป
จนกระทั่งในปี 2550 คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ หรือ พีดีพี 2007 และกำหนดให้มีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์ จำนวน 2 พันเมกะวัตต์ ในปี 2563 และอีก 2 พันเมกะวัตต์ ในปี 2564
แต่สุดท้ายในปี 2552 คณะรัฐมนตรี ก็ปรับลดกำลังผลิตในปีดังกล่าว เหลือ 1 พันเมกะวัตต์ต่อปี ในแผนพีดีพี 2007 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2
1 ปีให้หลัง คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบแผนพีดีพี 2010 ในเดือนมีนาคม 2553 เน้นการพัฒนาพลังงานสะอาด หรือ กรีน พีดีพี (Green PDP) และกำหนดก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ขนาด 1 พันเมกะวัตต์ จำนวน 5 โรง กำลังการผลิตรวม 5 พันเมกะวัตต์ โดย 2 โรงแรก จะก่อสร้างในปี 2563 และ 2564
ต่อมาปี 2554 ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ หรือ กพช. ได้เลื่อนแผนก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ออกไป 3 ปี จากเดิมที่จะเข้าระบบในปี 2563 เป็น 2566 หลังเกิดเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในญี่ปุ่นระเบิด กระทบความเชื่อมั่นและการยอมรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทันที จนต้องปลดโรงไฟฟ้าเหลือ 4 โรง เพราะโรงที่ 5 อยู่นอกกรอบ พีดีพี ฉบับนี้
อย่างไรก็ตาม แผนพีดีพี 2010 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3 ที่ใช้ล่าสุด ยังคงแผนพัฒนาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ 2 พันเมกะวัตต์ และขยับเวลามาเป็นปี 2563 ตามเดิม
ปัจจุบัน กระทรวงพลังงาน อยู่ระหว่างรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน ในการจัดทำแผนพีดีพี 20 ปี ฉบับใหม่ เบื้องต้น คาดว่าจะมีพลังงานนิวเคลียร์อยู่ในแผนประมาณร้อยละ 5 ของกำลังการผลิตทั้งหมด ซึ่งภาครัฐ มองว่ายังจำเป็น เพราะมีความได้เปรียบในเรื่องต้นทุนต่อหน่วยและความสามารถในการผลิตไฟฟ้าได้ต่อเนื่อง
แม้จะยังไม่มีความชัดเจนว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จะเกิดขึ้นในเมืองไทยได้จริงหรือไม่ แต่การที่ภาครัฐ ยังเลือกที่จะบรรจุเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ไว้ในแผน พีดีพี ถือเป็นการส่งสัญญาณว่า ไม่ช้าก็เร็ว เราอาจจะได้เห็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เกิดขึ้นในประเทศไทย ก็เป็นได้
22 กันยายน 2557 เวลา 17:18 น.
ที่มา : voice TV
ถึงเวลาหรือยังที่ไทยต้องมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ? เปิดแผน PDP ไทยจำเป็นต้องมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
ความต้องการใช้ไฟฟ้าของไทยที่เพิ่มขึ้นตามการเติบโตของเศรษฐกิจ ส่งผลให้กระทรวงพลังงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องเร่งวางแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า หนึ่งในเชื้อเพลิงที่ถูกบรรจุอยู่ในแผน ก็คือ เชื้อเพลิงนิวเคลียร์ แต่นิวเคลียร์ จำเป็นแค่ไหนสำหรับประเทศไทย
โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ในประเทศไทย เริ่มต้นเมื่อปี 2509 จากการที่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. เสนอโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ต่อรัฐบาลในขณะนั้น ซึ่งเดินหน้าจนถึงขั้นตอนกำหนดพื้นที่ก่อสร้าง และจองซื้อเชื้อเพลิงยูเรเนียม
แต่แล้วก็ถูกพับโครงการไปในปี 2521 เนื่องจากค้นพบก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย แต่ระหว่างนี้ รัฐบาล ก็ยังคงทำการศึกษาแนวทางพัฒนาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ต่อไป
จนกระทั่งในปี 2550 คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ หรือ พีดีพี 2007 และกำหนดให้มีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์ จำนวน 2 พันเมกะวัตต์ ในปี 2563 และอีก 2 พันเมกะวัตต์ ในปี 2564
แต่สุดท้ายในปี 2552 คณะรัฐมนตรี ก็ปรับลดกำลังผลิตในปีดังกล่าว เหลือ 1 พันเมกะวัตต์ต่อปี ในแผนพีดีพี 2007 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2
1 ปีให้หลัง คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบแผนพีดีพี 2010 ในเดือนมีนาคม 2553 เน้นการพัฒนาพลังงานสะอาด หรือ กรีน พีดีพี (Green PDP) และกำหนดก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ขนาด 1 พันเมกะวัตต์ จำนวน 5 โรง กำลังการผลิตรวม 5 พันเมกะวัตต์ โดย 2 โรงแรก จะก่อสร้างในปี 2563 และ 2564
ต่อมาปี 2554 ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ หรือ กพช. ได้เลื่อนแผนก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ออกไป 3 ปี จากเดิมที่จะเข้าระบบในปี 2563 เป็น 2566 หลังเกิดเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในญี่ปุ่นระเบิด กระทบความเชื่อมั่นและการยอมรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทันที จนต้องปลดโรงไฟฟ้าเหลือ 4 โรง เพราะโรงที่ 5 อยู่นอกกรอบ พีดีพี ฉบับนี้
อย่างไรก็ตาม แผนพีดีพี 2010 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3 ที่ใช้ล่าสุด ยังคงแผนพัฒนาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ 2 พันเมกะวัตต์ และขยับเวลามาเป็นปี 2563 ตามเดิม
ปัจจุบัน กระทรวงพลังงาน อยู่ระหว่างรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน ในการจัดทำแผนพีดีพี 20 ปี ฉบับใหม่ เบื้องต้น คาดว่าจะมีพลังงานนิวเคลียร์อยู่ในแผนประมาณร้อยละ 5 ของกำลังการผลิตทั้งหมด ซึ่งภาครัฐ มองว่ายังจำเป็น เพราะมีความได้เปรียบในเรื่องต้นทุนต่อหน่วยและความสามารถในการผลิตไฟฟ้าได้ต่อเนื่อง
แม้จะยังไม่มีความชัดเจนว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จะเกิดขึ้นในเมืองไทยได้จริงหรือไม่ แต่การที่ภาครัฐ ยังเลือกที่จะบรรจุเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ไว้ในแผน พีดีพี ถือเป็นการส่งสัญญาณว่า ไม่ช้าก็เร็ว เราอาจจะได้เห็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เกิดขึ้นในประเทศไทย ก็เป็นได้
22 กันยายน 2557 เวลา 17:18 น.
ที่มา : voice TV