คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 7
ค่ายรถญี่ปุ่นที่ขายในยุโรปและอเมริกา..ในโมเดลรถนั่ง..มีเครื่องยนต์ดีเซลติดตั้งจากโรงงานเกือบทุกยี่ห้อครับ..
ข้อดีของเครื่องยนต์ดีเซล..
- มลภาวะต่ำกว่าเคื่องยนต์เบนซินที่ซีซีเท่ากันและเป็นเครื่องยนต์เปล่าๆทั้งคู่(ไม่ใช่รถไฮบริด)..เนื่องจากการเผาไหม้ในระบบดีเซลคอมมอนเรียว+เทอร์โบแปรผันรุ่นใหม่ๆ..เผาไหม้หมดจดกว่า
- ที่เครื่องยนต์ทั้งเครื่องเปล่าและพ่วงไฮบริด..ดีเซลประหยัดเชื้อเพลิงมากกว่า(กม./ลิตร)..เพราะเครื่องยนต์ดีเซลทำงานที่รอบต่ำกว่า แต่สร้างแรงบิดที่สูง อัตราการทดเกียร์จึงต่ำ ทำให้ที่ความเร็ว(ไม่ใช่อัตราเร่ง)เท่าๆกัน ดีเซลใช้รอบเครื่องต่ำกว่า
- การดูแลรักษาต่ำกว่า..เพราะอย่างน้อย..หลักการจุดระเบิดของดีเซลไม่ต้องอาศัยหัวเทียน
- น้ำหนักเครื่องปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีวัสดุศาสตร์ที่ทันสมัยขึ้น..น้ำหนักเครื่องดีเซลที่สร้างแรงบิดได้พอๆกับเครื่องยนต์เบนซิน..เครื่องยนต์ดีเซลจะมีน้ำหนักน้อยกว่า ซีซีน้อยกว่า เครื่องยนต์มีขนาดเล็กกว่า
- สำหรับเมืองไทย..ถ้าเครื่องยนต์ทั้งเบนซิน(ไม่ติดตั้งแก๊ส..ยกเว้นเครื่องที่เติมE85ได้)และดีเซลกินเชื้อเพลิง(กม./ลิตร)พอๆกัน..น้ำมันดีเซลถูกกว่า
ข้อเสียของเครื่องยนต์ดีเซล..
- อัตราเร่ง ตอนออกตัว (เข็มหน้าปัดขึ้น 0-100 กม./ชม.) ช้ากว่าเบนซินที่ซีซีเท่ากัน
- แรงม้าน้อยกว่าเครื่องยนต์เบนซินที่ซีซีเท่ากัน
ลูกค้ารถนั่งส่วนใหญ่ต้องการความคล่องตัว การตอบสนองที่ฉับไว ส่วนใหญ่เป็นการใช้งานในเมือง ไม่เน้นบรรทุกหนัก
ฮอนด้าเองก็เคยนำตัวซีวิคนิวไดเมนชั่น เครื่องยนต์ดีเซลเทอร์โบ 1.9 ที่ออกแบบโดยอีซูซุ มาให้ลูกค้าในไทยทดลองขับ..ผลคือ..ลูกค้าพอใจในอัตราการประหยัดเชื้อเพลิง..แต่ไม่ชอบที่มันอืดอัคราเร่ง 0-100 ต่ำ..และความเร็วปลายที่ต่ำ...สู้กับซีรี่ 3 ไม่ได้
ข้อดีของเครื่องยนต์ดีเซล..
- มลภาวะต่ำกว่าเคื่องยนต์เบนซินที่ซีซีเท่ากันและเป็นเครื่องยนต์เปล่าๆทั้งคู่(ไม่ใช่รถไฮบริด)..เนื่องจากการเผาไหม้ในระบบดีเซลคอมมอนเรียว+เทอร์โบแปรผันรุ่นใหม่ๆ..เผาไหม้หมดจดกว่า
- ที่เครื่องยนต์ทั้งเครื่องเปล่าและพ่วงไฮบริด..ดีเซลประหยัดเชื้อเพลิงมากกว่า(กม./ลิตร)..เพราะเครื่องยนต์ดีเซลทำงานที่รอบต่ำกว่า แต่สร้างแรงบิดที่สูง อัตราการทดเกียร์จึงต่ำ ทำให้ที่ความเร็ว(ไม่ใช่อัตราเร่ง)เท่าๆกัน ดีเซลใช้รอบเครื่องต่ำกว่า
- การดูแลรักษาต่ำกว่า..เพราะอย่างน้อย..หลักการจุดระเบิดของดีเซลไม่ต้องอาศัยหัวเทียน
- น้ำหนักเครื่องปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีวัสดุศาสตร์ที่ทันสมัยขึ้น..น้ำหนักเครื่องดีเซลที่สร้างแรงบิดได้พอๆกับเครื่องยนต์เบนซิน..เครื่องยนต์ดีเซลจะมีน้ำหนักน้อยกว่า ซีซีน้อยกว่า เครื่องยนต์มีขนาดเล็กกว่า
- สำหรับเมืองไทย..ถ้าเครื่องยนต์ทั้งเบนซิน(ไม่ติดตั้งแก๊ส..ยกเว้นเครื่องที่เติมE85ได้)และดีเซลกินเชื้อเพลิง(กม./ลิตร)พอๆกัน..น้ำมันดีเซลถูกกว่า
ข้อเสียของเครื่องยนต์ดีเซล..
- อัตราเร่ง ตอนออกตัว (เข็มหน้าปัดขึ้น 0-100 กม./ชม.) ช้ากว่าเบนซินที่ซีซีเท่ากัน
- แรงม้าน้อยกว่าเครื่องยนต์เบนซินที่ซีซีเท่ากัน
ลูกค้ารถนั่งส่วนใหญ่ต้องการความคล่องตัว การตอบสนองที่ฉับไว ส่วนใหญ่เป็นการใช้งานในเมือง ไม่เน้นบรรทุกหนัก
ฮอนด้าเองก็เคยนำตัวซีวิคนิวไดเมนชั่น เครื่องยนต์ดีเซลเทอร์โบ 1.9 ที่ออกแบบโดยอีซูซุ มาให้ลูกค้าในไทยทดลองขับ..ผลคือ..ลูกค้าพอใจในอัตราการประหยัดเชื้อเพลิง..แต่ไม่ชอบที่มันอืดอัคราเร่ง 0-100 ต่ำ..และความเร็วปลายที่ต่ำ...สู้กับซีรี่ 3 ไม่ได้
แสดงความคิดเห็น
ทำไมบางยี่ห้อ ไม่เอาเครื่อง ดีเซลมาใส่ในรถนั่ง
โตโยต้า, มิตซู, มาสด้า น่าจะทำนะเพราะก็ขายกระบะอยู่แล้วด้วย